สรุปวิกฤต "Dot-Com": หรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย?

1. วิกฤต หุ้นเทคโนโลยี หรือ วิกฤต “Dot-Com” นั้นผ่านมา 19 ปีแล้ว ณ ตอนนี้ ดัชนี NASDAQ อยู่ที่ระดับ 7500 ขึ้นมาจากจุดจบของวิกฤต ถึง ประมาณ 7 เท่าตัว วิกฤตนี้เกิดขึ้นได้ยังไง? ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่? ไปหาคำตอบกัน
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
2. ในช่วงต้นของยุค 90 (1990-1999) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเนื่องจากมีราคาที่เข้าถึงได้และการใช้งานที่ง่ายขึ้น
‍‍‍‍‍‍ ‍‍ ‍‍‍‍‍‍ ‍‍
3. เพราะฮารด์แวร์คอมพิวเตอร์กลายเป็นเหมือนกับสินค้าโภคภันฑ์ที่ทำงานได้เหมือนๆกันหมด ทำให้บริษัททีผลิตสินค้าฮาร์ดแวร์ต้องไปแข่งขันกันที่ราคา
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
4. ทำให้อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ของอเมริกาไป เจาะจงที่การผลิตซอฟต์แวร์แทน ซึ่งมีกำไรที่สูงกว่า และสร้างรายได้เรื่อยๆจากการขาย ลิขสิทธิ์การใช้งาน
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
5.ยิ่งไปกว่านั้นซอฟต์แวร์ยังได้รับการป้องกันจากกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้การเลียนแบบสินค้าเข้ามาแข่งขันนั้นเป็นไปได้ยาก
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
6. ยุค 90 เป็นยุคที่อุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์สหรัฐเฟื่องฟูอย่างมาก เกิดผู้ประกอบการใหม่ๆที่ฝันอยากจะเป็นแบบไมโครซอฟตฺ์บ้างเกิดขึ้นมากมาย
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
7. การที่มีบริษัทซอฟต์แวร์เล็กๆเกิดขึ้นมากมาย ทำให้กลุ่มทุนมีตัวเลือกมากมายในการลงทุนในบริษัทเหล่านี้และนำเข้าตลาดหุ้นเพื่อทำกำไรอย่างมหาศาล ยุคทองของซอฟท์แวร์นี่คือจุดเริ่มต้นของ ฟองสบู่ “Dot-Com”
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
8.ในปี 1994 ปีแรกที่คนทั่วๆไปสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เป็นวงกว้างด้วยบริการของ America Online หรือ AOL และยังมีบริษัทชื่อดังเช่น Yahoo! Amazon และ Ebay เกิดขึ้นในช่วงนี้
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
9.เมื่อคนหมู่มากเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้นและผู้ก่อตั้งบริษัทที่ทำธุรกิจออนไลน์ร่ำรวยขึ้นอย่างมาก หุ้นเทคโนโลยีก็ทะยานขึ้นทุกวัน ทำให้บริษัทเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์มากมาย
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
10. หุ้นเทคโนโลยีเหล่านี้ราคาเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากราคา IPO ตั้งแต่วันเข้าตลาดหุ้นวันแรก กำไรง่าย กำไรเร็ว คือสิ่งที่ทำให้นักลงทุนให้ความสนใจอย่างมาก แม้ว่าบริษัทหลายบริษัทนั้นยังมีผลกำไรเลย นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของความไม่มีเหตุผลของตลาดหุ้น
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
11.ในช่วงปลายของยุค 90 นักเศรษฐศาสตร์บางคนบอกว่า ตอนนี้เป็นยุคเศรษฐกิจใหม่แล้ว ภาวะเงินเฟ้อเป็นแค่เรื่องตลกและภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแต่เพียงในอดีต
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
12. นักวิเคราะห์บางคนถึงกับพูดว่า รายได้ของบริษัทและข้อมูลทางการเงินทั้งหลาย นั่นไม่มีความสำคัญในการวิเคราะห์บริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้แม้แต่น้อย
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
13. ในระยะเวลาเพียง 4 ปี (1996-2000) ดัชนี NASDAQ ซึ่งชุกชุมไปด้วยบริษัทเทคโนโลยีพุ่งทะยานกว่าสิบเท่าจาก 600 ไปที่ 5000
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
14.ที่น่ากลัวก็คือแม้บริษัทเทคโนโลยีเหล่านั้นส่วนใหญ่จะถูกบริหารโดยนักศึกษาจบใหม่จากมหาลัยชื่อดัง แต่พวกเขาไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจนและถ้าเปิดดูงบก็จะพบว่าส่วนใหญ่ยังไม่มีรายได้อีกด้วย
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
15. บริษัทเหล่านี้ใช้จ่ายเงินไปกับการทำการตลาดโดยหวังให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Networking Effect เพื่อสร้างส่วนแบ่งตลาดให้เร็วที่สุด หลายบริษัทแจกสินค้า/บริการฟรีๆหรือมีส่วนลดเยอะๆ โดยคาดหวังว่าสิ่งที่ทำจะช่วยสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและสามารถที่จะสร้างรายได้ในระยะยาว ซึ่งทุกวันนี้ธุรกิจเทคโนโลยีหลายๆบริษัท ก็ยังทำแบบนี้อยู่
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
16. Pets.com เป็นตัวอย่างที่ดี บริษัทนั้นต้องการที่จะเป็นผู้นำด้านสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงบนโลกออนไลน์ บริษัทนั้นขาดทุนมหาศาลก่อนที่จะเข้าตลาด แต่กลับระดมทุนได้สูงถึง 300 ล้านดอลลาร์
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
17.เมื่อหุ้นเทคโนโลยีทุกตัวนั้นพุ่งทะยาน คนที่ไม่ลงทุนในหุ้นเหล่านี้จะดูเป็น “ไอ้โง่” ไปทันที ไม่มีนักลงทุนคนไหนอยากกลายเป็น “ไอ้โง่” สุดท้ายละเลยพื้นฐานการวิเคราะห์การลงทุน ไม่สนใจว่าบริษัทสามารถสร้างเงินสดได้มั้ยและทุ่มเงินซื้อหุ้นที่ราคาสูงเกินไปอย่างมีความสุข
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
18.ตลาดในช่วงนั้นถือเป็นขาขึ้นอย่างมาก จนการลาออกจากงานเพื่อมาเป็นเทรดเดอร์นั้นดูฉลาดมากกว่าการทำงานประจำ
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
19.นักลงทุนเหล่านั้นไม่รู้เลยว่าคนที่รวยจริงๆจาก บริษัทพวกนี้ก็คือเจ้าของที่สามารถทำกำไรจากหุ้นเมื่อ IPO , กลุ่มทุนที่ทำกำไรในทำนองเดียวกันและนักวาณิชธนกิจที่นำบริษัทเหล่านี้เข้าตลาดและกอบโกยเงินไปมหาศาล
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
20.ความจริงเริ่มคืบคลานเข้ามา ในช่วงต้นปี 2000 นักลงทุนเริ่มเข้าใจแล้วว่า ธุรกิจดอท-คอมเหล่านี้ เป็นเพียงฟองสบู่ฟองใหญ่เท่านั้น
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
21. ภายในไม่กี่เดือน ดัชนี NASDAQ ตกลงจาก 5000 ไปอยู่ที่ 2000 บริษัท ดอท-คอม ชื่อดังที่เคยมี มูลค่าตลาดหลายร้อยล้านดอลลาร์ เช่น Pets.com ตายไปจากตลาดอย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ใช่ทุกบริษัท ที่จะตาย AMAZON นั้นหุ้นตก เหลือ 7 ดอลลาร์จาก 100 ในช่วงพีคของฟองสบู่และกลายเป็นหุ้นหลายร้อยเด้งในวันนี้
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
22. ผลกระทบจากฟองสบู่ฟองนี้ทำให้อเมริกาต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีต่อมา คนที่ทำงานในสายเทคโนโลยีมากมายต้องตกงานและยิ่งกว่านั้นถ้าลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีเหล่านี้นอกจากตกงานแล้วพวกเค้ายังต้องสูญเสียเงินเก็บที่เก็บมาทั้งชีวิตอีกด้วย
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
23.19 ปีผ่านมา บริษัทอย่าง UBER ถูกตีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 120,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งทีขาดทุนสองปีติดต่อกัน 4 พันล้านดอลลาร์เมื่อปี 2018 และ 4.5 พันล้านดอลลาร์เมื่อปี 2017 แต่ก็ยังสามารถที่จะระดมทุนจากนักลงทุนได้เป็นจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
24.หุ้น Snapchat ในปี 2017 ถูกประเมินอยู่ที่ 24,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่ส่วนทุนใกล้หมดและยิ่งไปกว่านั้น อำนาจในการควบคุมบริษัทยังอยู่แค่กับเจ้าของเท่านั้นเนื่องจากหุ้นอื่นๆไม่มีสิทธิ์ในการโหวตเลย
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
25. Linkedin หลังจากถูกซื้อไปโดย Microsoft ในราคา 26,000 ล้านดอลลาร์ จนบัดนี้ก็ยังไม่ทำกำไร
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
26. ทุกคนต่างหวังว่าบริษัทเหล่านี้จะสามารถจ่ายเงินไปเรื่อยๆเพื่อที่จะสร้าง Network Effects และสามารถที่จะกลายเป็นธุรกิจแบบ Winner take all เหมือนกับที่ Google, Facebook และ Amazon แต่ความเป็นจริงนั้นยังห่างไกลมากนัก
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
27. พฤติกรรมเหล่านี้บ่งบอกได้ว่าวิธีการประเมินมูลค่าพื้นฐานหุ้นยังคงถูกละเลยและถูกแทนที่ด้วยวิธีการประเมินการเติบโตมหาศาล ซึ่งก็ดูเหมือนจะใช้ได้ถ้าบริษัทไม่เจ๊งไปเสียก่อน
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
28.ในยุคนี้บริษัทที่คล้ายกับบริษัท “ดอทคอม” นั้นถูกแบ่งเป็นสองประเภท บริษัทที่ใช้คอนเทนท์ในการเรียกลูกค้าแหละหวังว่าจะขายโฆษณาหรือการสมัครสมาชิก เช่น Linkedin, Twitter, Snapchat, Facebook และบริษัทที่ขายสินค้าและบริการ อย่าง Uber, Lyft, Amazon
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
29.สำหรับบริษัทที่เน้น คอนเทนท์ นั้นการสร้างคอนเทน์เพื่อดึงดูดผู้ใช้ใหม่ๆนั้นยากและแพงมาก เงินของนักลงทุนจะถูกใช้ไปกับการสร้างคอนเทนท์และหวังว่าจะสามารถดึงดูดผู้ใช้ได้มากพอที่จะสร้างกำไรได้
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
30.สำหรับบริษัทที่ขายสินค้าหรือบริการ เงินของนักลงทุนจะถูกใช้ไปกับการโฆษณาและการทดแทนราคาสินค้าทั้งฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อเพื่อหวังที่จะสร้างฐานลูกค้าที่จะอยู่กับแพลตฟอร์มเมื่อบริษัทเลิกใช้กลยุทธ์แรงจูงใจทางราคา
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
31.แต่ในสินค้าหรือบริการที่ Switching cost ต่ำ เช่น การเรียกแท็กซี่หรือการส่งอาหาร ผู้ใช้ก็จะหาแต่สิ่งที่ถูกที่สุดโดยไม่ได้สนใจว่าจะเป็นบริการของแบรนด์ไหน
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
32. Facebook(ผู้ใช้นำไปสู่ผู้ใช้ที่มากขึ้น), Google(การค้นหาของผู้ใช้ช่วยสร้างข้อมูล), Amazon(ผู้ซื้อมีมากขึ้นเท่ากับผู้ขายก็มากขึ้นวนไป) นั่นเป็นกลุ่มแรกๆที่สร้าง Network Effects ได้สำเร็จ ซึ่งแตกต่างจากบริษัทเทคโนโลยีส่วนใหญ่
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
33. Uber นั่นเจอกับคู่แข่งมากมายรวมถึงการต่อต้านทั่วโลก Snapchat ก็ต้องไปสู้กับ Instragram และ Whatsapp ซึ่งทั้งสองบริษัทนี้ก็เป็นของพี่ใหญ่ Facebook ทำให้การแข่งขันนั้นเป็นไปอย่างยากเข็ญ
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
34. ฟองสบู่ เทคโนโลยีลูกใหม่จะมาถึงแน่นอน แต่จะมาเมื่อไหร่ไม่มีใครทราบได้ หุ้นเทคโนโลยีรุ่นใหญ่อย่าง Facebook และ Apple ก็ตกลงอย่างรุนแรงในปีที่ผ่านมา หรือนี่จะเป็นสัญญาณของอะไรบางอย่าง?
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
35. เมื่อเป็นเรื่องของการลงทุนนั้นอดีตมักจะซ้ำรอยเสมอ นักลงทุนทั้งหลายต้องระมัดระวังและจงอย่าละเลยพื้นฐานเด็ดขาด อย่าลืมว่าไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในธุรกิจอะไรก็ตาม การลงทุนจะยังคงเป็นการลงทุน ไม่มีนักลงทุนคนไหนไม่อยากได้กำไร แต่บริษัทที่พวกเขาซื้อกลับไม่มีกำไร? ในวิกฤตมีโอกาสฉันใด ในโอกาสก็มีวิกฤตได้ฉันนั้น ประวัติศาสตร์มักจะซำ้รอยเสมอ

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/buffettcode/posts/2593414087367507

สรุปวิกฤต "Dot-Com": หรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย?

TSF2024