เปิดซิงประสบการณ์โดนหุ้นเวียตนาม Floor ทุกวัน 5 ปีก่อน … และปัญหาที่ซุกซ่อนถึงตอนนี้โดยแอดฯของ BottomLiner
เชื่อว่าหลายท่านยังใหม่ต่อตลาดเวียตนาม 1 ในทีมงานได้เริ่มต้นลงทุนเวียตนามตั้งแต่ 2012 มีเรื่องดีๆมาเล่าให้ฟังกัน สำหรับท่านที่สนใจลงทุนในเวียตนาม เพราะตอนนั้นภายในไม่ถึงปี ก็พบกำไรเกือบ 100% แบบสบายๆ หลายท่านอาจคิดว่าเก่งหรือขี้โม้ แต่อยากให้สนใจว่า
มันเป็นการลากไปเชือด … เม่านอก ที่ใหม่ต่อตลาดเวียตนาม .. (คล้ายๆรอบนี้ เห็นหุ้นลงนิดเดียว แต่บางคนดอยหนักครับ)
เพราะหลังจากนั้นมันคือการลงแบบ 20 จุดไม่รู้กี่วันติด
เหมือนจะน้อยแต่นั่นคือวันละ 5% และที่สำคัญ หุ้นที่ไม่ใช่ตัวใหญ่ที่คนไทยเล่นๆกัน เละครับ ตอนนั้นหุ้นในพอร์ต floor ทุกวัน !!!
สัญญาณเตือนภัยมีอะไรบ้าง ….
จริงๆ คือช่วงตั้งแต่เดือน พฤษภาคมปี 2012 มีสัญญาณแปลกๆมาเป็นระยะ ซึ่งค่อนข้างชัดแต่อารมณ์เราตอนนั้นทำให้ละเลยอย่างไม่น่าให้อภัย
- หุ้นขนาดเล็ก-กลางที่นำขึ้นมา ทยอยลงมาอย่างช้าๆ ประมาณว่ารินขายทุกวัน !!
- หุ้นแบงค์ ก่อสร้างใหญ่ มีการชิงเพิ่มทุนเป็นขบวนพาเหรด !!
- อันนี้เด็ดสุด จำได้ติดตาคือ เอาข่าวเก่าเมื่อ ตอนต้นปีมาเล่นใหม่ (น่าจะเป็นข่าวญี่ปุ่นเข้ามาลงทุน) !!!
ซึ่งประสบการณ์ที่ผ่านมา สอนว่าแบบนี้ตลาดหมดมุขที่จะดันหุ้น…. สุดท้าย หุ้นเริ่มไหลครับ
ตั้งแต่จุดพีคตรงแถวๆ 500 ตอนนั้นดัชนีก็ลงไหลรินลงมาเรื่อยๆ แรกๆก็โลกสวย คิดว่าแค่ปรับฐานเล็กน้อย .. Healthy Correction !!! เพราะหุ้นมันขึ้นชันมา 4-5 เดือนจาก 300 กลางๆ … ไม่แปลกๆ … แต่ที่ไหนได้ .. มันลงไม่หยุดครับ … มีเด้งนิดเด้งหน่อยระหว่างทาง จนกระทั่งเข้าเดือนสิงหาคม (จำได้แม่น) อยู่ดีๆก็มีข่าวหลุดออกมาว่านาย Kien หรือ Nguyen Duc Kien ถูกจับในข้อหา Corruption !!!
แล้วมันน่ากลัวยังไง … ?
นาย Kien คนนี้เป็นผู้ก่อตั้ง Asia Commercial Bank (ACB) หนึ่งในธนาคารยักษ์ใหญ่ที่สุดของเวียตนาม แถมยังถือหุ้นแบงค์ใหญ่ตัวอื่นๆอีกด้วย เช่น Sacombank Vietbank … คราวนี้ตาสว่างครับ เพราะ
สัดส่วนหุ้นธนาคารในตลาด ใหญ่กว่าตอนนี้พอสมควรเลยทีเดียว หลังเหตุการณ์นี้ ผู้บริหารใหญ่ ACB ก็โดนจับ และตามมาด้วยการเข้าตรวจสอบแบงค์ใหญ่และธุรกิจหลายแห่งที่นาย Kien ถือหุ้นเนื่องจากรัฐบาลอ้างว่าแบงค์เหล่านี้อาจ corruption ซึ่งเป็นต้นเหตุของ NPL ที่สูงริ่ว และเลวร้ายที่สุดคือสื่อยังเน้นอย่างหนักว่านาย Kien เป็นเพื่อนกับ Nguyen Tan Dung นายกรัฐมนตรีขณะนั้นผู้เคยมีข่าวเรื่องคดโกงอยู่แล้ว ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นในรัฐบาลตกต่ำลงมาอีก
สรุปมันเกิดอะไรขึ้น?
สรุปเป็นข้อๆ ให้สั้นๆครับ
- ณ เวลานั้น ตลาดเวียตนาม มีสภาพคล่อง หรือ liquidity ที่น้อยมาก เทรดวันนึงไม่ถึงพันล้านบาท
- ผู้เล่นหลักคือรายย่อยกับต่างชาติยังไม่ได้มีสถาบันหรือปอปมาช่วย หรือง่ายๆก็คือเจ้ามือเวียตนาม กับต่างชาติ
- มี serie ข่าวร้ายจากสื่อต่างๆเช่นตัวเลข NPL หนี้สาธารณะ และตัวเลขจำนวนโครงการที่สร้างไม่เสร็จ จนเรานี่แทบจะสติแตก คนรู้จักที่รู้ว่าเราว่าเราลงเวียดนามก็มาถามกันว่าโอเคมั้ย (แน่นอนบางคนก็ปนสมน้ำหน้าสะใจอย่างชัดเจน 555)
บทเรียนที่สำคัญ
มีคนถามว่าทำไมไม่ขาย คัทๆมันไป คือมันไม่ใช่ไม่ขาย แต่มันขายไม่ได้ตะหาก !!!
เพราะเปิดมาราคา floor เป็น offer แล้ว !!!
แต่ก็ดีครับ พอขายไม่ได้ เลยมีเวลาคิด
หุ้นหลายตัวในพอร์ตจากกำไรหนักๆลงมาแทบขาดทุน แต่การที่ตลาดลงหนักๆ และเริ่มติดหุ้นมีข้อดีอย่างนึงคือมันทำให้เราได้เห็นอาการหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตชัดขึ้นว่าสู้มั้ย และแน่นอนจะบีบให้เราหาข้อมูลหุ้นเรามากขึ้นด้วย (เพื่อปลอบใจตัวเอง)
หุ้นที่มีช่องโหว่ชัดๆคือ PET ที่เดิมคิดว่าเป็น distributor สินค้า electronics … แต่พอแกะดูดีๆ คือมีธุรกิจสากกะเบือเรือรบ มีทั้งอสังหา โรงแรม และที่ตลกคือ มีมันสำปะหลังขายด้วย … แหม่ มองอีกมุมคือครบวงจรครับ
หุ้นแบบนี้ คือเรียกว่ามั่วมาก ไม่โฟกัส เสมือน บริษัทเทรดดิ้งกลวงๆ และมีหุ้นในตลาดอีกหลายตัวที่มีโครงสร้างแบบนี้ โดยเฉพาะบริษัทลูกที่เป็นอสังหา
ต้องยอมรับว่าสมัยนั้น แกะหุ้นได้ไม่ดี ลงไม่ลึกพอ อันเนื่องจากภาษา และความไกลตัว
เมื่อตลาดเวียดนามเริ่มเด้งตอนปลายปีพร้อมกับเริ่มตั้งสติได้ (ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตอนปลายปี 2012 มีหุ้นเล็กซิ่งในไทย ให้เล่นปลอบใจ อีกอย่างคือไตร่ตรองดูแล้วว่ายังไงก็ยังเอาเงินกลับไม่ได้เพราะยังไม่ข้ามปี) ก็เริ่มทยอยขายหุ้นประมาณนี้ในพอร์ตแล้วเอาเงินไปซื้อเพิ่มในหุ้นสองตัวที่คิดว่าพื้นฐานและอาการดีที่สุดคือ BIC และ DQC
แล้วก็ถือมาเรื่อยๆ โชคดีที่ตลาดตั้งแต่ปลายปีเริ่มสดใสขึ้น ต้นปี 2013 ตลาดก็กลับมาระดับ 500 อีกครั้งจนได้กำไรพอสมควร
มิวาย เบอนันเก้ พูดประโยคเดียว สะเทือนทั้งโลก !!!!
หุ้นก็ถล่มระเนระนาดอีกรอบ เลยรีบขายหมดครับ
จนถึงทุกวันนี้ปัญหาต่างๆเป็นอย่างไรบ้าง
ผ่านมาบัดนี้ มีพัฒนาการเยอะครับ คือ
- เปลี่ยนfloor เป็น 7%
- พึ่งเปิด derivative market
- reform bank sector โดยการ merge กันแล้วก็เอา vam (เหมือน bam) บ้านเราไปซื้อหนี้แบงค์
- เปลี่ยนกฏหมายการซื้อที่ดิน ให้ต่างชาติซื้อง่ายขึ้น
- เพิ่มสภาพคล่องในหุ้นตัวใหญ่โดยเพิ่ม foreign room
- มีนโยบายการ privatize บริษัทรัฐ
โดยตัวที่เข้าไปแล้ว และที่รอเข้าได้แก่
Telecommunication: Mobifone (telco ที่ใหญ่ที่สุดใน Vietnam)
Consumer products: Vinamilk, SJC (ผู้ผลิตทองแท่งที่ใหญ่ที่สุดใน Vietnam)
Insurance: BaoMinh, VinaRe (ประกันภัยต่อ หรือ reinsurance ที่ใหญ่ที่สุดใน Vietnam)
Transportation: VietjetAir, Vinalines, Danang Port, Nhatrang port
Oil & Gas: Binhson, Pvoil, PV Power
Construction and materials: Binh Minh, Tien Phong
Real estate: Handico, Udic, Rescovn, Benthanh
แต่ที่ยังรออยู่อีก คือปัญหาหนี้ธนาคาร … ล่าสุด หุ้นธนาคารกลับมา floor อีกแล้ว
การแก้ปัญหา NPL ที่ยังอยู่ในระดับสูง ไม่ต่างจากจีน (ให้ดูของ Moody’s อย่าดูตัว Official ครับ มีปกปิด) และอื่นๆอีกมาก เดี๋ยวไว้มาเล่าทีหลังครับ (ยาวแล้ว)
เดี๋ยวมีภาคต่อ …
หลังจากนั้น ตอนปลายปี 2013 จึงตัดสินใจบินไปเวียดนามครั้งแรก
เดี๋ยวจะมาเล่าต่อว่าตอนไปที่นั่นแล้วได้มุมมองอะไรใหม่ๆบ้างนะครับ กลับมาเปลี่ยนพอร์ตเป็นอย่างไร ความเสี่ยงมีอะไรซ่อนอยู่อีก
BottomLiner
ติดตาม BottomLiner ทาง Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/bottomliner/
หรือติดตาม BottomLiner ทาง line คลิ๊ก https://line.me/R/ti/p/%40bottomliner
หรือกดเพิ่มเพื่อน ค้นหา id แล้วพิมพ์ @bottomliner (ใส่ @ ด้วยครับ)