โควิดอยู่หรือไปจะคิดมากทำไม ถ้าเราเลือกกองทุนที่เหมาะสม
ข่าววัคซีนโควิดของ Pfizer รวมถึงวัคซีนจากอีกหลายบริษัทที่ทุ่มเงินวิจัยกันมาทั้งปี มีโอกาสจะได้รับอนุมัติให้ใช้งานเร็ว ๆ นี้ ซึ่งแม้ผลลัพธ์ยังไม่แน่ชัด แต่โลกการลงทุนเกิดการทำ Sector Rotation ครั้งใหญ่ ทิ้งหุ้นเทควิ่งหากลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักจากโควิด หนุนให้ราคาหุ้นโรงแรม โรงหนังวิ่งกันระเบิด
นักลงทุนหุ้นต่างประเทศสาย Hardcore คงมีหุ้นดี ๆ ในใจให้เลือกเก็บแล้ว แต่สำหรับนักลงทุนมือใหม่หรือกลุ่มที่ไม่ค่อยมีเวลาติดตามหุ้นต่างประเทศย่อมเกิดคำถามในใจว่า “ภาวะผันผวนรุนแรง” ควรทำอะไรกับพอร์ตลงทุนดี ?
วันนี้เราเลยขอแนะนำกองทุน อึด ถึก ทน “TMBGQG” (TMBGQGRMF สำหรับเวอร์ชั่น RMF) ที่เลือกลงทุนในหุ้นใหญ่ของโลกและได้ประโยชน์จาก Megatrend ในอนาคต ซึ่ง TMBGQG ลงทุนในบริษัทที่จะอยู่ได้สบาย ๆ ในยุควิกฤต Covid
เล่าให้ง่าย ๆ ก็คือ สินค้าหรือบริการจากหุ้นกลุ่มนี้เป็นสินค้าจำเป็นที่คนทั่วโลกยังไงก็ต้องใช้ ไม่ว่า Covid จะอยู่หรือไปมันก็เติบโต !
จุดเด่นของ TMBGQG
- ลงทุนในกองแม่ (Master Fund) ชื่อ Wellington Global Quality Growth Fund ที่มีการ กระจายลงทุนไปทั่วโลก แต่ยังเน้นหุ้นกลุ่มเทคโลยีที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว
- กองทุนลงทุนในหุ้นที่เป็นผู้ชนะในแต่ละอุตสาหกรรม ครองสัดส่วนการตลาดสูง และเหลือโอกาสการเติบโตในอนาคตอีกมาก
- กระจายน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยง เหมาะสำหรับสายเน้นปลอดภัยแต่ยังได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม
หุ้นที่ลงทุนมากสุด 5 อันดับเเรก (% ที่กองทุนถือเป็นค่าประมาณ) ข้อมูลของวันที่ 31 สิงหาคม 2563 อ้างอิงจากหนังสือชี้ชวนกองทุนหลัก
1. Apple Inc. (NASDAQ: APPL) ถือ 5%
ผู้ผลิต iPhone และเจ้าของระบบ iOS ที่แม้ผู้บริหารแห่งยุคอย่าง Steve Jobs ได้จากไปแล้ว แต่ทีมผู้บริหารรุ่นใหม่ก็ยังสามารถสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งต่อเนื่อง หนุนให้บริษัทมีมูลค่าถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ (เป็นบริษัทเดียวในโลกที่ทำได้)
แม้ยอดขาย iPhone, iPad, Mac จะตัน ๆ แต่ Apple กำลังได้เครื่องยนต์สร้างการเติบโตของรายได้ตัวใหม่ซึ่งก็คือธุรกิจ Service โดยเฉพาะการเก็บค่า Commission สำหรับทุกการใช้จ่ายใน Ecosystem ของบริษัท
2. Microsoft Corp. (NASDAQ: MSFT) ถือ 4%
บริษัทผลิตซอฟต์แวร์ Office 365 และระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งแม้มีโควิดระบาด แต่ก็ไม่ได้กระทบกับรายได้รวมของ Microsoft มากนัก ในด้านบวกโควิดช่วยให้ธุรกิจบริการ Cloud Computing “Azure” เติบโตเร็วขึ้นด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจแห่งทศวรรษที่หาไม่ได้จากหุ้นไทยเลย
3. Amazon.com Inc. (NASDAQ: AMZN) ถือ 4%
ผู้ให้บริการ E-commerce ยักษ์ใหญ่ในสหรัฐ ได้อานิสงส์จากยอดสั่งของออนไลน์ในช่วงเกิดโควิด และบริษัทยังเป็นเจ้าของบริการ Cloud Computing อย่าง “AWS” นอกจากนี้ Amazon ยังมีบริการ Streaming อย่าง Amazon Prime Video ที่แม้คนไทยจะไม่ค่อยรู้จัก แต่ในระดับโลกนั้นมันไม่ได้เป็นรอง Netflix เลย ถ้านับจำนวนผู้ใช้งาน !!
4. Alphabet Inc (NASDAQ: GOOG) ถือ 3%
เจ้าของ Search Engine รายใหญ่ที่สุดในโลก “Google” รวมถึงเว็บดูวิดีโอ “YouTube” ซึ่งบริษัทมีรายได้เกือบทั้งหมดมาจากค่าโฆษณาและให้บริการ Google Cloud Service ที่กำลังไล่แย่งส่วนแบ่งการตลาดจาก AWS (Amazon) และ Azure (Microsoft)
ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดี คนก็ต้องใช้ Google และ YouTube อยู่เหมือนเดิม แค่รายได้จากโฆษณาอาจลดลงไปบ้าง
เกร็ดความรู้: Google อาจมีปัญหากับ Apple ในอนาคต เนื่องจาก Apple จะลดการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ไม่ยอมให้ Apps ต่าง ๆ สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนเดิม ส่งผลให้ Google จะยิงโฆษณาตรงกลุ่มเป้าหมายยากขึ้น (แต่มีข่าวแว่วมาว่า Apple มีแผนที่จะพัฒนา Search Engine ของตัวเอง มายิงโฆษณาแข่ง !!)
5. Facebook Inc (NASDAQ: FB) ถือ 2%
Social Media Platform ที่คนใช้กันมากสุดทั่วโลก มีรายได้ค่าโฆษณาหลักจากทั้งใน Facebook และ Instragram ซึ่งกำลังจะสร้างระบบให้แพลตฟอร์มในเครือทุกอันสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง เช่น ประกาศขายของบน IG แต่ผู้ใช้งานจาก Facebook และ WhatsApp ก็เห็นด้วย เหตุผลสำคัญคือบริษัทหวังดันธุรกิจ Social Commerce ให้สำเร็จ
หุ้นที่ TMBGQG ถือมากสุดในอันดับถัด ๆ มาก็จะมี Tencent, UnitedHealth Group, Alibaba, Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) เรียกได้ว่ามีแต่ตัวน่าจับตามองทั้งนั้นเลย
TMBGQG มีค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน / สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้า = 1.5% และค่าใช้จ่ายของกองทุนทั้งหมด = 1.7% ต่อปี
เหมาะมากครับสำหรับคนที่หากองทุนที่กระจายความเสี่ยง ไม่ลงทุนกระจุก แต่มีอนาคตเติบโตได้เรื่อย ๆ
#เราไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆจากการเขียนบทความนี้ #การลงทุนมีความเสี่ยง
ถ้าชอบบทความนี้ช่วยแชร์ให้เพื่อนคุณอ่านด้วย !!
BottomLiner
ที่มาบทความ: https://bottomliner.co/fund/tmbgqg-1/
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”