สงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน เป็นเรื่องเด่นที่ถูกฉายซ้ำในทุกวัน ซึ่งถ้าเรามองจากมุมกว้างจะเห็นว่าสงครามรอบนี้กำลังแบ่งโลกออกเป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มอำนาจเดิม นำโดยสหรัฐกับ EU จับมือกันผ่าน NATO หรือกลุ่ม G-7
- กลุ่มอำนาจใหม่ นำโดยจีนกับรัสเซีย จับมือกันผ่าน BRICS
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศใหญ่ ๆ ค่อนข้างมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เนื่องจากสหรัฐมีอิทธิพลเหนือประเทศอื่นมากจึงสามารถชี้นิ้วสั่งได้ตามใจ พอเป็นแบบนี้ภาคการผลิตของสหรัฐได้ไหลเข้ามาตั้งโรงงานในเอเชียซึ่งมีต้นทุนผลิตต่ำได้อย่างสบายใจเนื่องจากเสถียรภาพการเมืองและเศรษฐกิจค่อนข้างสูง จึงกดให้เงินเฟ้อต่ำต่อเนื่องเกือบ 30 ปีถัดมา
แต่หลังการขึ้นมาของ Donald Trump ที่ชูผลประโยชน์ชนชั้นแรงงานสหรัฐ ต้องการดึงภาคการผลิตกลับผ่านการใช้นโยบายกำแพงภาษี ทำให้ความขัดแย้งระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกับจีน
ถัดมาเป็นคิว Biden ซึ่งเมื่อไปดูนโยบายโดยรวมจะมีจุดยืนตรงข้าม Trump
แต่ถ้าเป็นเรื่องเอาใจชนชั้นแรงงานแล้วก็แทบจะลอกกันมา เน้นการลงทุนใหม่ในสหรัฐเพื่อให้ภาคการผลิตกลับมาและสร้างงานในประเทศ
เราจึงเห็นนโยบายของ Biden ที่ส่งเสริมการลงทุนในสหรัฐ ตั้งชื่อตอนหาเสียงเท่ๆ ว่า Build Back Better เพื่อมาชนกับ Made in China ของ Xi Jinping
ทำให้ภาพชัดมากว่าในช่วง 3-5 ปีต่อจากนี้ ประเทศใหญ่จะเน้นลงทุนโครงการใหญ่ เช่น อุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน ในประเทศตัวเองกันมากขึ้น
และตัวที่มาเร่งให้การลงทุนเกิดเร็วกว่าเดิมคือสงครามในยูเครน ซึ่งบีบให้ประเทศตะวันตกต้องลดการพึ่งพากับรัสเซียที่เป็นแหล่งผลิต พลังงาน แร่ และอาหาร ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
BottomLiner จึงมองเห็น 2 ธีมใหญ่
- ประเทศใหญ่เพิ่มระดับการลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จำเป็นต่ออนาคต
- ราคา Commodity จะสูง นำมาซึ่งเงินเฟ้อที่สูง เพราะการค้าขายระหว่างประเทศไม่เสรี และความขัดแย้งเพิ่มขึ้น
ทางด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จำเป็นต่ออนาคต เราโฟกัสไปที่ Clean Energy และ China Hardware (ในตอนนี้) เนื่องจากได้ปัจจัยสนับสนุนมากมาย เช่น นโยบายรัฐ เทรนด์ผู้บริโภค และราคาพลังงานสูง
สามารถแบ่งการลงทุนใน Clean Energy ผ่านกองทุนในไทย ได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ ธีมรถยนต์ไฟฟ้า และ ธีมโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด
ส่วน China Hardware จะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมโดดเด่นของจีนเพื่อลดการพึ่งพาตะวันตก
ขณะที่มุมมองว่าราคา Commodity และเงินเฟ้อจะสูง เราจึงเลือกลงทุนใน TIPS (พันธบัตรรัฐบาลที่มีการปรับมูลค่าโดยอ้างอิงจากอัตราเงินเฟ้อ) และ commodity
คุมความเสี่ยงด้วยเทคนิคเดียวกับ Ray Dalio All Weather Portfolio !!
กำหนดน้ำหนักลงทุนโดยใช้ Risk Budgeting โดยมองพอร์ตในรูปแบบของ Risk Contribution
คำว่า Risk Contribution คือพอร์ตเราถูกขับเคลื่อนโดยอะไร
สมมติลงทุนหุ้น 60% ตราสารหนี้ 40% ของพอร์ต ซึ่งถ้านำการเหวี่ยงของราคามาคิดจะเห็นว่าพอร์ตได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นสูงถึง 80% ส่วนที่เหลือเป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาตราสารหนี้
ในที่นี้ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนเป็นธีมได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น multi-asset ตัวอย่างเช่น ต้องการลงทุนใน ธีมรถยนต์ไฟฟ้า กับลงใน ธีมโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดเท่า ๆ กัน อย่างละครึ่ง ๆ คือ 50% .. แต่แบบนั้นจริง ๆ แล้ว พอร์ตเราอาจจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของราคากองทุน ธีมรถยนต์ไฟฟ้า สูงถึง 70% ส่วน โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดส่งผลต่อความผันผวนของพอร์ตเราเพียง 30%
ดังนั้น หากเราต้องการความเสี่ยงจาก รถยนต์ไฟฟ้า กับ โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดเท่า ๆ กัน ก็ควรลง รถยนต์ไฟฟ้า น้อยกว่า โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด เช่น 25% 75% (ตัวเลขสมมติ ของจริงจะได้จากการรันโมเดลความเสี่ยง)
พอร์ตนี้เหมาะกับผู้ที่…
- ต้องการลงทุนในหุ้น Megatrend ทั่วโลก และมีการคุมความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
- อยากได้ผลตอบแทนจากภูมิภาคอื่น นอกเหนือจากหุ้นไทย
- ไม่รู้จะลงทุนอะไรดี อยากลงอะไรที่มันได้กำไร รับความเสี่ยงขาดทุนได้ พร้อมลงทุนระยะยาวเกิน 1 ปีขึ้นไป
การปรับพอร์ต
ปรับแบบ Dynamic พิจารณาเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ไม่มีระยะเวลาตายตัว
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ Optimal Megatrend Opportunities (OMO) by BottomLiner
ลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ โดย BottomLiner ดูรายละเอียดพอร์ต >>> https://finno.me/guruport-bottomliner
BottomLiner