หลายท่านอาจสงสัย เลข 18xx อยู่ๆเปลี่ยนเป็น 19xx …. เปลี่ยนง่ายมว้ากกก …เค้า  มโน รึเปล่า?

……. บางค่าย สมัยก่อนเกือบใช่  แค่กำหนดเลขขึ้นมาเพียงเพื่อให้ขายได้ มีอ้างอิงเพียงนิดเดียว  แต่เดี๋ยวนี้นักวิเคราะห์มือดี เต็มไปหมดครับ เค้าจะมีที่มาให้ โดยใช้เทคนิคหลักๆ 3 แบบ (ไม่รวมพวกตีกราฟนะครับ) จะเล่าให้ฟังละเอียดในแบบสุดท้าย แบบเดียวก่อนนะครับ เป็นวิธีที่ BottomLiner ชอบใช้ที่สุด

1. วิธีแสนง่าย เช่น Market Cap to GDP

…เพียงแค่ดูเพื่อนบ้าน ว่ากี่เท่า ก็จับคูณเอาดื้อๆ วิธีนี้ผิดง่ายมาก เพราะ อัตราส่วนนี้ขยับไปตามความ bullish/bearish ทำให้ตัวอ้างอิง แปรเปลี่ยนไปได้ง่าย ต้องใช้ฝีมือในการคิดว่าอัตราส่วนจะเป็นเท่าไหร่ (GDP ขยับช้าอยู่แล้ว)

2. วิธีอ้อมโลก ฉบับสถาบัน เช่น ใช้ Earning Yield Gap

หรือ ส่วนกลับ PE – อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ดูว่าเหมาะสมที่เท่าไหร่ แล้วค่อยย้อน กลับมาที่เป้าดัชนี ที่เหมาะสม บ้างก็ใช้ Dividend Yield Gap แทนเพราะเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยเป็นรายย่อยจัด หรือแบบอื่นๆ เช่น Risk Premium ที่ตลาดรับได้ คิดย้อนยาวจนถึงเป้าดัชนี

3. วิธี ยอดฮิตที่สุด ตรงไปตรงมา คือกำหนดคิดว่า PE ดัชนีจะเป็นเท่าไหร่

ก็เอา PE คูณที่ EPS ออกมาเป็นเลขดัชนีเลย เช่น

  • คิดว่าดัชนี ณ สิ้นปี 2561 จะ PE 20 เท่า
  • คิดว่า EPS ดัชนี ณ สิ้นปี 2562 (62 นะจ๊ะ ไม่ใช่ 61) จะอยู่ที่ 100
    <เพราะช่วงปลายปี 61 ตลาดจะมอง EPS ในปีหน้ากันแล้ว>

เอา 20 x 100 = 2000 จุดดด   สุโก้ย ง่ายไหมล่ะ … ง่ายมาก ผิดก็ง่ายมากๆเช่นกัน เพราะอะไร? ท่านต้องแม่นทั้ง PE และ EPS จึงจะถูก แต่เอาเข้าจริงทาย PE ให้ถูกมันยากมาก แอดฯถามตอนนี้เลย คิดว่าหุ้นไทยควร PE เท่าไหร่?

วิธีนี้ทำไมถึงฮิต? 

เพราะมันอธิบายได้ง่าย และ ก็เพราะว่าหลายค่าย ประเมิน EPS ไว้อยู่แล้ว

แล้วทำไมถึงปรับเป้าง่ายจัง?  …. ส่วนใหญ่จะแค่ยก PE ขึ้นไปครับ

แล้ว BottomLiner มีเทคนิคอะไรรึเปล่าในการหากตัวเลขที่ใช่ สำหรับ PE และ EPS ? คำตอบคือมี!!

3.1 วิธีประเมิน PE ที่เหมาะสม

ก่อนอื่นต้องมอง PE ให้กระจ่างก่อน ยิ่ง PE สะท้อนความถูกแพง ยิ่งสูงแปลว่ายิ่งแพง แต่สำหรับนักลงทุน ณ เวลานั้นๆ ถือว่า justified เพราะปัจจัย บราบราบรา เต็มไปหมด เช่น มี QE สภาพคล่องล้น / ดอกเบี้ยต่ำเกิน / risk on

คราวนี้ เราก็ไปดูกันว่าในอดีต ช่วงหุ้นบูมๆ ตลาดเทรดที่เท่าไหร่ วิกฤต ตลาดเทรดที่เท่าไหร่ โดยดูผ่าน Forward PE Band .. ในอดีตจะพบว่าหลังวิกฤตจะเหลือ 7 เท่า (PE ธรรมดาแถวๆ 9เท่า) ส่วนตอนนี้ก็ 17 เท่า OMG all time high ของ for ward PE กันเลยทีเดียว

ถามว่าใช้ PE Band ธรรมดาได้มั้ย คำตอบ คือได้ ก็เอาเลข PE +2 เข้าไปครับ เพราะ EPS growth 1 ปี หุ้นไทยมันไม่ได้เยอะ แต่ที่ใช้ forward PE กัเพราะมันแกว่งน้อยกว่า และเห็นการ Revised down ของ EPS ในปีนั้นๆ ด้วย

3.2 วิธีประเมิน EPS ที่เหมาะสม

อันนี้ทำได้ค่อนข้างง่ายกว่ามาก เพราะแต่ละปี มันไม่ได้เปลี่ยนได้เยอะ ยกเว้นเกิดวิกฤต และมีตัวเลข Consensus ให้ใช้ (แต่เสียเงินกันหน่อย) ซึ่งบอกเลยว่าไม่มีความแม่นยำอยู่เลย 555+ (เพราะนักวิเคราะห์จะ forecast ไว้สูง แล้วค่อยลดลงเรื่อยๆ)  จริงๆแล้ว EPS ก็จะเติบโต +3-5 จาก GDP ครับ

ยกตัวอย่าง ลองเอา eps positive มาคูณกลับด้วย divisor แล้วหาความสัมพันธ์เทียบกับ GDP ดู (ตัดช่วงวิกฤตออก และการใช้ eps positive จะลดช่วงปัญหาวิกฤตน้ำมันได้ เพราะ eps ลงเยอะ แต่ gdp ลงนิดเดียว) จะพบว่ามันสัมพันธ์กันมากๆ Correlation สูงกว่า 90%

ซึ่งเราจะพอประมาณได้ว่า ตัวเลขเท่าไหร่ที่เป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ แล้วค่อยเลือก EPS ที่เหมาะสมมาใช้ เพราะตลาดมักประเมิน over ไว้เสมอในช่วงต้นปีแบบนี้

ให้เปิดลึกกว่านี้ ก็คือบอกแล้วว่าเค้าใช้เลขอะไรกัน เพราะอะไร อันนี้ก็แล้วแต่ค่ายนะครับ ผมคงพูดมากกว่านี้ไม่ได้

โดย  BottomLiner – บทสรุปการลงทุน

—————————-
Vithan Minaphinant
Securities Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ

TSF2024