คนเรานั้นลืมง่าย เมื่อหุ้นใดถูกลากขึ้นไปสูง ๆ สัก 1000% พอย่อลงมา 30% ก็มักจะคิดว่ามันลงเยอะแล้ว

ผมพยายามหา template การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น และนี่คือส่วนหนึ่งจากที่สังเกตได้มาหลาย cycle ย่อยแล้ว กับอีก 1 cycle ใหญ่ รวมถึงศึกษาอดีตย้อนหลังไป ค้นพบว่าสมัยที่เรียกว่าหุ้นได้ south sea bubble ดูจะเหมาะเป็นจุดเริ่มต้น จนถึงปัจจุบันมันก็เดิม ๆ คือ มันเป็นผลพวงของพฤติกรรมมนุษย์ และวัฏจักรเศรษฐกิจ หากเราศึกษาในอดีตและพฤติกรรมมนุษย์ เราจะพอสรุปได้ว่า หุ้นหลายตัววิ่งขึ้นมาเยอะ ๆ แบบงง ๆ และเด้งไปเด้งมา 6 เดือน ถึง 1 ปี ก่อนขึ้นต่อ ถ้าหุ้นนั้นดี หรือก่อนปิดฉากไปกับตลาดขาลง…

มนุษย์นั้นขี้ลืม โลภ และการลงทุนหุ้นเป็นเรื่องของการค้นพบ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

มนุษย์อย่างเรา ๆ เริ่มต้นลงทุนใหม่ ๆ ก็ค่อย ๆ รู้จักสิ่งใหม่ ๆ ไปเรื่อย ๆ มีแต่เรื่องว้าว ๆ นั่นก็ดี นี่ก็ได้ ตัวนั้น 20% แล้ว ตัวนี้ 30% ดูน่าสนใจไปหมด เริ่มมีคำว่า “ช้า” เกิดขึ้นในหัว คำว่า “ง่าย” “เราทำได้” ผุดขึ้น อ้าวแล้วตำราที่เราอ่าน ๆ กันมา? ทิ้งเลยดีไหม และแน่นอนว่า เริ่มไปบอกคนอื่น ๆ เชียร์คนอื่น ๆ ให้เข้าสู่วัฏจักร (บ้างก็เชียร์ให้คนมารับไม้ต่อ หุ้นจะได้ขึ้นไว ๆ)

ลงทุนไปได้สักพัก กำไรเละเทะ … แต่แล้วฝันร้ายก็มักจะเกิดขึ้น

เพราะมือใหม่ต่อหุ้นตัวใหม่ ๆ นั้น มักเข้าสู่ตลาดหลัง

1. เห็นคนได้กำไรเยอะ

2. หุ้นฟื้นตัวมาได้สักระยะจากวิกฤต ทุกอย่างดูดี ไม่น่ากังวลอีกต่อไป ก็เพิ่งกลับมาซื้อหุ้น หรือมือใหม่เพิ่งเปิดบัญชีเสร็จ เพิ่งเริ่มเล่นหุ้นกัน ก็จะซื้อหุ้นดัง ๆ ก่อน

โดยเฉพาะพวกหุ้นเทคโนโลยี เหล่า EV AI เปลี่ยนโลก Adtech ล้ำสมัย e-commerce กว้างไกล ทั่วโลกใช้ big data

พวกนี้ยิ่งดูน่าตื่นเต้น น่าสนใจ เป็นอะไรใหม่ ๆ ดึงดูดหน้าใหม่ ๆให้ค้นพบ และที่สำคัญผมได้โอกาสเรียนรู้จาก VI หลาย ๆ ท่าน ผมสรุปสั้น ๆ ให้ว่า “ของที่มันดูประเมินค่าได้ยาก ราคายิ่งไปได้ไกล” และผมก็มาสรุปต่อจากประสบการณ์ที่แม้ไม่ยาวเท่าผู้สูงวัยแต่ก็เข้มข้นใช้ได้ และทำการบ้านย้อนอดีตไปเยอะ ๆ

ว่ารูปแบบการดำเนินนโยบายทางการเงิน และการคลัง ก็มีผลต่อระดับ valuation ถึงขั้นเปลี่ยน multiples, WACC จากหน้ามือเป็นหลังมือ แต่เอาจริง ๆ ตลาดไม่ได้คิดลึกซึ้งขนาดนั้นหรอก มันก็ไหลไปมา เป็น event-based + พีคทางจิตใจ (ไว้สำเร็จวิชา จะมาแชร์อีกที กลัวผิดพาดอยหมด)

แต่ก็พอจะสรุปได้ว่า easing valuation ยังไงก็บวม ส่วน tightening นั้นแล้วแต่ บ้างบวม บ้างหด แตกต่างกันไปแต่ละครั้ง

Disruption, Deep Learning, Blockchain… Buzzword เหล่านี้ + easing cycle ช่วยดันหุ้นให้ราคาขึ้นสูง เมื่อหุ้นเริ่มดังขึ้น หรือที่หลาย ๆ คนชอบเรียกว่าช่วง public money เม็ดเงินหลั่งไหลเข้า บางตัวรายได้โต กำไรโตจริงก็ดีไป บางตัวไม่มีอะไรเลย นอกจากความคาดหวัง

ยิ่งช่วง new paradigm คนเปลี่ยนความคิดว่ามันดี คนบอกไม่ซื้อ หันมาซื้อ ช่วงนี้หุ้นมักไม่ไปไหน ลงมีแรงซื้อ ทำให้คนเห็นราคานี้จนคุ้นตา พอลง 30% ก็กลายเป็นเยอะแล้ว

จุดจบมักไม่สวยนัก คุณลองคิดดูนะว่ามีแต่ข่าวดี คนแห่ซื้อ ทำไมมันไม่ขึ้น? เพราะมีคนขายน่ะสิ และมองอีกมุมหนึ่ง ทุกคนก็มีของกันหมดแล้ว ขึ้นรถไฟฟ้า เดินริมถนน กินข้าว มักได้ยินคนคุยหุ้นตัวนั้น

เม็ดเงินจากมือใหม่ หรือคนที่ไม่รู้จักหุ้นตัวนั้น บ้างยังไม่รู้เลยบริษัททำอะไร มีรายได้จากอะไร ก็มาซื้อหุ้นกันแล้ว เหล่านี้หรือจะสู้เม็ดเงินคนกำไร 1000% รอขายไม่ได้หรอกครับ รวมถึงขา short ที่รออยู่ แต้มต่อเค้าเยอะ เครื่องมือเค้ามี

แล้วจบไม่สวย ขนาดไหน? อยู่ที่พื้นฐาน ก็ต้องไปดู valuation ขาลง ว่าแถวไหนดี และเดี๋ยวก็มี event ให้หยุด panic กันเอง บ้างก็กลับไปที่เดิม บ้างก็ -50% -70% เรื่องธรรมดาน่ะ

แต่ถ้าของดี ยังไงก็มีวันฟื้นคืนจากหลุมได้ และตอนนี้ก็เป็นโอกาสของหุ้นบางตัว

ปลาใหญ่กินปลาเล็กเป็นทอด ๆ และพวกเราคือเหยื่ออันโอชะ ของรายใหญ่ที่คุมเกมส์อยู่ (คงพูดมากกว่านี้ไม่ได้) #เราต้องเอาตัวรอดกันเอง

หากใครอ่านแล้วท้อกับตลาดทุน ให้นึกถึงป้าแอน และภารโรง ที่ซื้อหุ้นดี ๆ ที่มองเห็นรอบตัวไปเรื่อย ๆ เวลาจะช่วยได้เอง หาหุ้นดี ๆ หรือหุ้นธรรมดาในราคาวิเศษ ให้เจอ แต่ถ้าใครหวังรวยเร็ว โพสนี้ไม่ใช่คำตอบ

#เขียนไว้เตือนตัวเองให้ระวัง

รูปจากชาวเน็ตนี้ ชอบจริง ๆ

คนเรานั้นลืมง่าย เมื่อหุ้นใดถูกลากขึ้นไปสูง ๆ สัก 1000% พอย่อลงมา 30% ก็มักจะคิดว่ามันลงเยอะแล้ว

BottomLiner

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/bottomlinerglobal/posts/4329708480377586

TSF2024