การเลือกหุ้นด้วยวิธี CANSLIM

กลยุทธ์การเลือกหุ้นเพื่อลงทุนนั้นมีหลายกลยุทธ์ ทั้งระยะยาวและระยะสั้น ทั้งเชิงพื้นฐานและเทคนิค วันนี้เราจะมานำเสนอกลยุทธ์การเลือกหุ้นอีกประเภทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักมากในต่างประเทศ คือ การเลือกหุ้นด้วยวิธี CANSLIM

การเลือกหุ้นแบบ CANSLIM ถูกคิดขึ้นโดย วิลเลียม โอนิล (William O’Neil) ผู้ซึ่งเคยเป็นนายหน้าขายหลักทรัพย์ และสามารถทำเงินได้อย่างมหาศาลในช่วงปี 1953-1990 โดยการเลือกหุ้น Winning stock ที่มีปัจจัยสนับสนุนที่ดี

CANSLIM นั้นประกอบด้วยหลักการ 7 ข้อ ตามตัวอักษร C-A-N-S-L-I-M ซึ่งแบ่งเป็นปัจจัยเชิงพื้นฐานบริษัท คือ C-A-N และเชิงเทคนิค คือ S-L และปัจจัยสนับสนุนคือ I-M ดังนี้

C = Current earnings

มองหาบริษัทที่ประกาศผลการดำเนินงานเป็นกำไรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 25% แต่ถ้าเป็นการเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเร่งจะยิ่งเป็นสัญญาณที่ดี

A = Annual earnings

บริษัทที่มีการเติบโตติดต่อกัน 3 ปี และโตไม่น้อยกว่า 25% ต่อปี และ ROE ควรสูงกว่า 17%

N = New product, service or highs

หุ้นที่ดีมักจะมีเรื่องราวใหม่ๆ เช่น สินค้าใหม่ นวัตกรรม ที่เป็นผลดีต่อธุรกิจ เช่น iPhone เป็นต้น

S = Supply and Demand

หาหุ้นขนาดเล็กที่มีปริมาณการซื้อขายสูงๆ จะทำให้โอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นสูงๆได้

L = Leader or laggard

เลือกหุ้นที่เป็นผู้นำจากอุตสาหกรรมที่เป็นผู้นำ 2-3 บริษัท โดยอาจใช้ Relative price strength

I = Institutional Sponsorship

หาหุ้นที่ถือโดยสถาบันในสัดส่วนที่พอดี เช่น กองทุนและธนาคาร แต่เราควรจะซื้อหุ้นในช่วงที่สถาบันกำลังเริ่มเข้าซื้อเนื่องจากจะได้หุ้นในราคาที่ไม่แพงเกินไป

M = Market direction

ภาวะตลาดโดยรวมควรเป็น uptrend ซึ่งจะช่วยผลักดันราคาหุ้นให้สูงขึ้นตามด้วย เขากล่าวว่าในภาวะที่ตลาดเป็นขาขึ้น สามในสี่ของหุ้นในตลาดจะมีทิศทางขาขึ้น

ตัวอย่างการเรียงลำดับและคัดเลือกหุ้นแบบ CANSLIM

ให้คะแนนจาก

  1. มูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ ยิ่งน้อยยิ่งดี
  2. อัตราการเติบโตของกำไรเฉลี่ย 5 ปีล่าสุด ยิ่งมากยิ่งดี
  3. ความผันผวนการเติบโตของกำไร ยิ่งน้อยยิ่งดี
  4. อัตราการเติบโตของ Q2/2560 YoY
  5. อัตราส่วนจากงบการเงิน ROA, ROE และ D/E ratio

ที่มา : Bloomberg

หมายเหตุ

  • ข้อมูลที่ได้อาจคลาดเคลื่อนกับตลาดหลักทรัพย์เล็กน้อยเนื่องจากระยะเวลาและวิธีการคำนวณ
  • เป็นการคัดหุ้นเชิงปริมาณจากงบการเงินเบื้องต้นเท่านั้น ผู้ที่นำไปใช้ควรนำไปคัดเชิงคุณภาพต่อไป ทั้งในด้านลักษณะการประกอบธุรกิจและสภาพคล่องของหลักทรัพย์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เขาแนะนำให้ทำการขายหุ้นตัดขาดทุนเมื่อหุ้นนั้นตกลงต่ำกว่า 6-8% จากราคาที่ซื้อมาโดยไม่มีข้อแม้ เนื่องจากกลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ของการคัดเลือกหุ้นเติบโตที่เต็มไปด้วยความคาดหวังที่สูงมาก ถ้ามีข่าวหรือผลประกอบการที่ผิดคาดอาจทำให้ราคาปรับตัวอย่างรุนแรง

ดังนั้น ต้องมีการตั้งเป้าหมายในการตัดขาดทุนก่อนการซื้อทุกครั้ง และไม่ควรพยายามถัวหุ้นขาลง เนื่องจากการลงทุนด้วยวิธีนี้คือ การซื้อหุ้นที่ราคา “แพง” และขายที่ราคา “แพงกว่า” นั่นเอง

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง