เลือกอะไรดีในการวิเคราะห์หุ้น? ระหว่างความเรียบง่าย หรือความแม่นยำ

ถ้าต้องเลือกระหว่างความเรียบง่าย หรือความแม่นยำเพียงอย่างเดียว ผมเลือกความเรียบง่าย

ผมมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในวงการการเงิน เริ่มจากการเป็นนักวิเคราะห์การเงิน จนมาเป็นหัวหน้าฝ่ายวิจัยการเงิน ไอเดียที่ว่าเราจำเป็นต้องเลือกระหว่างความเรียบง่าย หรือความแม่นยำเพียงอย่างเดียวนั้นอยู่กับผมมาเกินหนึ่งทศวรรษแล้ว ในตอนนี้มันยิ่งต่อยอดไปได้มากกว่าเดิม

ทุกวันนี้ผมชอบทำทุกอย่างให้ง่ายที่สุด ทั้งนี้มันมีที่มาจากเมื่อก่อนในตอนที่ผมเข้าวงการการเงินใหม่ ๆ ความแม่นยำเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝนเพิ่มความซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ แต่นั่นไม่ได้ทำให้มันคุ้มค่าเลย

ตอนที่ผมเริ่มเป็นนักวิเคราะห์การเงินปีแรก ตอนนั้นหัวหน้าของผมกำลังคุยกับลูกค้าอยู่ หลังจากวางสาย เขาถามผมว่า“กำไรของหุ้นธนาคารกรุงเทพในปีหน้าที่คุณคาดการณ์ไว้คือเท่าไหร่” สิ่งที่ผมทำในวันนั้น คงจะเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์หน้าใหม่มักจะทำกัน นั่นก็คือการขอเวลาแล้วกลับไปวิเคราะห์ข้อมูลให้ได้ตัวเลขที่แน่นอน

เวลาผ่านไป จากนาทีกลายเป็นหลายชั่วโมงที่ผมใช้เวลาค้นไฟล์ Excel ที่ผมมีของธนาคารกรุงเทพ ตอนนั้นผมกลัวว่าจะตอบผิด ผมเลยใช้เวลาทั้งหมดไปกับการดูงบการเงินอย่างละเอียด ผมรู้สึกว่าผมต้องหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดเพื่อที่จะเอาไปตอบหัวหน้า และเตรียมเผื่อหัวหน้าถามเพิ่มเติม

หลายชั่วโมงผ่านไป หัวหน้าของผมก็แวะมาถามหาคำตอบ แต่สิ่งที่ผมตอบไปคือ “ผมยังไม่พร้อมตอบครับ” จนกระทั่งหมดวัน ผมกลับบ้านไปพร้อมกับตั้งมั่นว่าพรุ่งนี้เช้าผมจะเตรียมคำตอบให้ได้ดีที่สุด

แต่ยิ่งผมวิเคราะห์ข้อมูลที่มีมากเท่าไหร่ ผมก็ยิ่งรู้สึกว่าผมต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมมากเท่านั้น ผมจึงเพิ่มไฟล์ใน Excel สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลการเงินของบริษัทนั้น

เลือกอะไรดี? ระหว่างความเรียบง่าย หรือความแม่นยำ

จริง ๆ แล้วตัวอย่างโมเดลนี้จะเป็นเวอร์ชั่นที่ใหม่ขึ้นมาหน่อย แต่น่าจะพอให้เห็นภาพได้ว่าโมเดลของผมเป็นอย่างไรในเวลานั้น

ในวันนั้นตอนที่หัวหน้าของผมกลับมาจากการพักกลางวัน เขาตรงมาหาผมและถามว่า “คุณหาคำตอบได้หรือยัง” ผมอธิบายวิธีการหาคำตอบของผมให้เขาฟัง และบอกเขาว่าผมจะสามารถหาคำตอบที่ถูกต้องมาให้ได้ในไม่ช้านี้

เมื่อใกล้จะหมดวัน ผมเข้าไปหาหัวหน้า

เขาเอ่ยถามว่า ผมได้ข้อสรุปหรือยัง

ผมเล่าให้เขาฟังอย่างละเอียด รวมถึงอธิบายไฟล์ Excel ของผมกว่าร้อยบรรทัดให้เขาฟัง และเล่าถึงมุมมองของผมให้เขาฟังอย่างกระจ่าง แต่หัวหน้าของผมกลับแสดงออกถึงความรำคาญ และพูดกลับมาเพียงว่า แค่บอกตัวเลขมา

“9.73%”

หัวหน้ายิ้มและพูดว่า ดี เพราะเมื่อวานผมบอกลูกค้าไปว่าประมาณ 10%”

หัวหน้าของผมมีประสบการณ์กว่า 20 ปี ส่วนผมมีประสบการณ์เพียง 1 ปี

เขาประมาณคำตอบให้เข้าใจง่าย และชัดเจนที่สุด ส่วนผมพยายามหาคำตอบที่ซับซ้อน

คำตอบของผมอาจจะถูกมากกว่า แต่ท้ายที่สุดแล้ว ลูกค้าก็ไม่ได้รับรู้ถึงความซับซ้อนกว่าจะมาเป็นคำตอบที่สมบูรณ์แบบนี้

ในตอนนี้ ผมก็มีประสบการณ์มามากกว่า 20 ปีแล้ว ผมเห็นถึงความจำเป็นที่เราต้องเลือกระหว่างความซับซ้อนกับความเรียบง่าย ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่หัวหน้าของผมเห็นในตอนนั้น: เมื่อคุณได้เหลาดินสอให้แหลมจนมันสามารถเขียนได้แล้ว จงหยุดทำมันตั้งแต่ตอนนั้น เพราะไม่ว่าคุณจะพยายามเหลามันให้สมบูรณ์แบบขนาดไหน จงระลึกไว้ว่าคุณเสียเวลานั้นไปในระหว่างที่คนอื่นเขาเริ่มต้นนำดินสอนั้นออกมาเขียนแล้ว

ประสบการณ์สอนผมว่า มันน่าคิดนะ ที่ความสามารถในการคาดการณ์ทางการเงินของนักวิเคราะห์นั้นแย่กว่าการโยนเหรียญเสียอีก ผมไม่ได้กำลังบอกให้คุณเลิกคาดการณ์ แต่ผมกำลังเตือนให้คุณเข้าใจในกฎการลดน้อยถอยลงในแง่ของการบริหารเวลา ถึงจุด ๆ หนึ่ง เวลาที่คุณใช้เพิ่มเติมเพื่อพยายามปรับจูนการคาดการณ์ที่สมบูรณ์แล้ว จะสามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าหากนำไปทำอย่างอื่น

อยากเรียนรู้มากกว่านี้ ต้องทำอย่างไร ?

ผมมีคอร์สที่จะสอนคุณทุกอย่างในการประเมินมูลค่าหุ้น ไปจนถึงการเริ่มต้นอาชีพในสายการเงิน มาเรียนคอร์ส Valuation Master Class Boot Camp กันได้เลย

พิมพ์ FINNOMENA เพื่อเป็นส่วนลดพิเศษได้ถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐ

ที่มาบทความ: https://becomeabetterinvestor.net/the-trade-off-between-simplicity-and-precision/


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้