ทำความรู้จักสายสัมพันธ์ระหว่างหุ้น ตราสารหนี้ ทองคำ นํ้ามัน เงินดอลลาร์ และเงินเฟ้อ

หุ้น ตราสารหนี้ ทองคำ นํ้ามัน เงินดอลลาร์ และเงินเฟ้อ

คุณคิดว่าสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่กล่าวมามีความเกี่ยวเนื่องกันหรือไม่? ถ้ามันเกี่ยวข้องกันคุณคิดว่าอะไรคือตัวแปร?

ที่ผ่านมาเราได้ลองทำการทดสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ต่าง ๆ ผ่านข้อมูลรายเดือนตั้งแต่เดือน ธันวาคม ปี 1989

โดยมีสินทรัพย์อย่าง…

  • หุ้น (หุ้นโลกและหุ้นสหรัฐฯ)
  • ผลตอบแทนตราสารหนี้ (ตราสารหนี้โลก)
  • ราคาทองคำ
  • ราคาน้ำมัน
  • ค่าเงินดอลลาร์
  • อัตราเงินเฟ้อ (อัตราเงินเฟ้อโลก)

นอกจากนั้นเราได้ทำการแบ่งช่วงการทดสอบเป็นทุก ๆ 10 ปีเพื่อที่จะดูการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในแต่ละช่วงเวลา

วิธีอ่านค่าความสัมพันธ์ของสินทรัพย์

หากค่าความสัมพันธ์เป็นบวก หมายถึง สินทรัพย์เหล่านั้นอาจเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน

  • >70%: หากค่าความสัมพันธ์มากกว่า 70% สินทรัพย์เหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในระดับสูง
  • >50%: หากค่าความสัมพันธ์มากกว่า 50% สินทรัพย์เหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในระดับกลาง
  • >30%: หากค่าความสัมพันธ์มากกว่า 70% สินทรัพย์เหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในระดับต่ำ

และสินทรัพย์เหล่านั้นจะไม่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหากผลทดสอบมีค่าความสัมพันธ์ในช่วง -30% และ 30%

หากค่าความสัมพันธ์เป็นลบ หมายถึง สินทรัพย์เหล่านั้นอาจเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม

  • <-30%: หากค่าความสัมพันธ์น้อยกว่า -30% สินทรัพย์เหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันแบบเชิงลบในระดับต่ำ
  • <-50%: หากค่าความสัมพันธ์น้อยกว่า -50% สินทรัพย์เหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันแบบเชิงลบในระดับกลาง
  • <-70%: หากค่าความสัมพันธ์น้อยกว่า -70% สินทรัพย์เหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันแบบเชิงลบในระดับสูง

เมื่อเข้าใจกันแล้ว ต่อไปลองมาดูความสัมพันธ์ของแต่ละสินทรัพย์กัน

จากภาพข้างต้นเราจะเห็นได้ว่าหุ้นโลกและหุ้นสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันสูง จากการที่หุ้นสหรัฐฯ เป็นสัดส่วนหลัก ๆ ของหุ้นโลก

ในส่วนของตราสารหนี้อาจไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่มีนัยอะไรมาก หรือจะเรียกได้ว่าไม่สัมพันธ์กันเลยก็ว่าได้ ซึ่งสิ่งนี้เองจะทำให้คุณได้ใช้ประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยงโดยการเพิ่มสินทรัพย์อย่างตราสารหนี้เข้าไปในพอร์ตการลงทุนของคุณ และหากเรามาดูผลการทดสอบแบบแบ่งช่วงทุก ๆ 10 ปี เราก็จะเห็นได้ว่า ตราสารหนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับหุ้น

ส่วนสินทรัพย์อย่างทองคำถือว่าไม่มีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ใด ๆ ยกเว้นค่าเงินดอลลาร์ ดังนั้นคุณสามารถใช้ประโยชน์จากการกระจายการลงทุนได้เช่นเดียวกัน ทองคำนั้นมีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามกับค่าเงินดอลลาร์ ดังนั้นหากเรานำทองคำมาเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนจะหมายถึงราคาทองคำที่สูงขึ้น

และสุดท้ายค่าเงินดอลลาร์ถือได้ว่ามีความสัมพันธ์เชิงลบแทบกับทุกสินทรัพย์ ค่าเงินดอลลาร์ควรมีความสัมพันธ์เชิงลบกับน้ำมัน เพราะ น้ำมันโดยปกติแล้วจะถูกซื้อขายกันในสกุลเงินดอลลาร์ และสังเกตได้จากค่าความสัมพันธ์ข้างต้น อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือค่าเงินดอลลาร์กับหุ้นโลกมีความสัมพันธ์เชิงลบซึ่งกันและกัน

หรือแท้จริง เมื่อค่าเงินอ่อนแล้วหุ้นจะขึ้น?

ดังนั้นหากเงินดอลลาร์อ่อนค่า หุ้น ทองคำ และน้ำมัน ควรได้รับผลบวก

ทองคำและน้ำมันควรทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการที่เงินดอลลาร์อ่อนค่า หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อ นอกจากนั้นหลังวิกฤติการเงินปี 2008 ค่าเงินดอลลาร์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลตอบแทนของหุ้น

แต่ความสัมพันธ์ของหุ้นกับน้ำมันนั้นอาจอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไปจึงอาจทำให้ค่าความสัมพันธ์มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด อีกทั้งยังหมายถึงการที่น้ำมันอาจมีปัจจัยต่าง ๆ หลากหลายที่ส่งผลกระทบได้เช่นเดียวกัน แต่รวม ๆ แล้วเราอาจสรุปได้ว่า “น้ำมันขึ้น หุ้นขึ้น เงินดอลลาร์อ่อน”

หากลองมาดูที่ค่าความสัมพันธ์ในช่วง 10 ปี น้ำมันเริ่มมีความสัมพันธ์ที่เด่นชัดมากขึ้น

อย่างที่กล่าวไว้ก่อนหน้าว่าน้ำมันนั้นมีความสัมพันธ์เชิงลบกับค่าเงินดอลลาร์ตั้งแต่ปี 2011 จนถึงตอนนี้ และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับเงินเฟ้อโลกตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเงินปี 2008 ซึ่งอาจได้จบลงไปแล้ว รวมถึงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับหุ้นตั้งแต่ช่วงวิกฤติการเงินปี 2008 ครับ

Andrew Stotz

แปลและเรียบเรียงจาก: https://becomeabetterinvestor.net/relationships-between-stocks-bonds-gold-oil-us-dollar-and-inflation/


**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ

TSF2024