ผลกระทบจากนโยบายการเงินที่ "แพ้ไม่เป็น"

การเป็นผู้แพ้นั้นมันช่างแย่ แล้วก็เจ็บปวด…

ถ้าคุณสามารถหลีกหนีความเจ็บปวดจากการสูญเสียได้ คุณจะทำไหมครับ? หากคุณสามารถหลีกหนีความเจ็บปวดวันนี้ แต่ไปทุกข์ทรมานในวันข้างหน้าแทน คุณจะทำไหม?

ถ้าลูก ๆ ของคุณอยากทานขนมหวานล่ะครับ? คุณจะให้พวกเขาทานตอนนี้เพื่อเสี่ยงเป็นเบาหวานในวันข้างหน้าไหม?

กลไกราคาแบบตลาดเสรี…ได้ตายไปแล้ว

หลักการของตลาดเสรีคือการทำงานของกลไกราคาอย่างอิสระ ซึ่งราคาของสินค้าและบริการนั้นจะถูกขับเคลื่อนด้วยตลาดที่เปิดกว้างการเข้ามามีส่วนร่วมของธุรกิจต่าง ๆ และผู้บริโภคครับ

การเคลื่อนไหวของทั้งอุปสงค์และอุปทานนั้นจะต้องปราศจากการเข้าแทรกแซงโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่น ๆ รวมไปถึงผู้มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การผูกขาด และความขาดแคลนเทียมที่เกิดจากการผูกขาดด้วย

ตลาดสหรัฐฯ นั้นไม่เสรี และกำลังถูกริดรอนเสรีภาพลงเรื่อย ๆ

Financial Impact of the “No Loser Policy”

เลิกเสียเถอะครับกับนิสัยเสีย ๆ ที่ทำให้เด็กเสียคน

ในหนังสือ 13 Things Mentally Strong People Don’t Do: Take Back Your Power, Embrace Change, Face Your Fears, and Train Your Brain for Happiness and Success (ชื่อภาษาไทย “13 สิ่งที่คนเข้มแข็งเขาไม่ทำกัน”) คุณ Amy Moring ได้ระบุถึงพฤติกรรมเหล่านี้ไว้

  1. ยอมให้เกิดความรู้สึกของการเป็น “ผู้ถูกทำร้าย”
  2. สอนให้ลูก ๆ เอาความรู้สึกผิดมากำหนดการตัดสินใจ
  3. ชูให้ลูก ๆ เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล
  4. ปล่อยให้ความกลัวครอบงำการตัดสินใจของเด็ก ๆ
  5. ให้อำนาจลูก ๆ เหนือกว่าตน
  6. คาดหวังความสมบูรณ์แบบ
  7. ปล่อยให้ลูก ๆ หลีกหนีความรับผิดชอบ
  8. ปิดกั้นลูก ๆ จากความเจ็บปวด
  9. รู้สึกว่าต้องรับผิดชอบต่อความรู้สึกของลูก ๆ
  10. ป้องกันไม่ให้ลูก ๆ ทำผิดพลาด
  11. สร้างความสับสนระหว่าง “กฏระเบียบ” กับ “บทลงโทษ”
  12. ใช้ทางลัดเพื่อหลีกหนีความยากลำบาก
  13. สูญเสียการมองเห็นคุณค่าของตัวเอง

มีประชาชนไม่น้อยที่เชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะสามารถป้องกัน (หรืออย่างน้อยก็เลื่อน) ความเจ็บปวด

  • พวกเขาไม่ต้องการให้ราคาสินทรัพย์ร่วงลง
  • พวกเขาไม่ต้องการให้ตลาดหุ้นร่วงลง
  • พวกเขาไม่ต้องการให้ค่าแรงลดลง
  • พวกเขาไม่ต้องการจ่ายดอกเบี้ยแพง ๆ ไปกับการกู้เงิน
  • พวกเขาต้องการกู้ยืมแบบไม่สิ้นสุด

ดอกเบี้ยติดศูนย์ของ Fed อาจจมอยู่ไปอีก 5 ปีเพื่อเลี้ยงบริษัทต่าง ๆ

Financial Impact of the “No Loser Policy”

ท้ายที่สุดแล้ว ดอกเบี้ย 0% จะเข้าไปหล่อเลี้ยงบริษัทต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้บริษัทมีแนวโน้มที่จะลงทุนอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

Financial Impact of the “No Loser Policy”

การซื้อหุ้นคืนคือหนึ่งในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากดอกเบี้ย 0%

Financial Impact of the “No Loser Policy”

บางบริษัทใหญ่ ๆ ดำเนินงานด้วยจำนวนหุ้นเพียงน้อยนิด (หรือไม่มีเลย) เพราะการซื้อหุ้นคืนนี่ละครับ

Financial Impact of the “No Loser Policy”

Fed พยายามที่จะขจัดความเสี่ยงด้านราคาที่เป็นผลมาจากตลาดเสรี ด้วยการเข้าซื้อ/ควบคุมตราสารหนี้ High Yield

Financial Impact of the “No Loser Policy”

ประเด็นสำคัญ

  • ประชาชนคาดหวังว่ารัฐบาลจะช่วยเหลือพวกเขา
  • ทุกคนเริ่มจะพึ่งพาภาครัฐมากขึ้นเมื่อบริษัทต่างปิดตัวลง
  • คาดหวังได้เลยครับว่าสหรัฐฯ (และประเทศอื่น ๆ) จะใช้โอกาสนี้เพิ่มอำนาจของรัฐบาล
  • รัฐบาลกำลังใช้อำนาจทุกวิถีทางเพื่อป้องกันไม่ให้ประชนรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งส่งผลให้ราคานั้นไม่สะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริง
  • แม้ว่าจะมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่คุณจะได้รับเงินตอบแทนน้อยลงจากการรับความเสี่ยงนี้ครับ

Andrew Stotz

แปลและเรียบเรียงจาก: https://becomeabetterinvestor.net/financial-impact-of-the-no-loser-policy/


**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ