“ไม่มีใครบังคับให้คุณเปลี่ยนแปลง การเอาตัวรอดเป็นสิ่งที่คุณเลือกจะทำหรือไม่ทำก็ได้” – ดร. วิลเลียม เอ็ดเวิร์ส เดมมิ่ง
If Japan Can… Why Can’t We? (แปลไทยคือ “ถ้าญี่ปุ่นทำได้…ทำไมเราจะทำไม่ได้?”) คือชื่อตอนของรายการโทรทัศน์อเมริกันทางช่อง NBC News ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายการ NBC White Paper ที่ฉาย ณ วันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1980 ครับ เนื้อหากล่าวถึงการเริ่มต้นปฏิวัติด้านคุณภาพการผลิต (Quality Revolution) และแนะนำวิธีของ ดร. วิลเลียม เอ็ดเวิร์ส เดมมิ่ง ให้ผู้ประกอบการอเมริกันได้รู้จัก
รายงานดังกล่าวได้ระบุถึงรายละเอียดวิธีที่ญี่ปุ่นปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณเดมมิ่ง เพื่อฝึกฝนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมองการผลิตในรูปแบบระบบโดยรวม ไม่ใช่แค่ชิ้นส่วนกระจัดกระจาย ส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถครอบครองส่วนแบ่งตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ของโลกได้
ทางผู้สร้างรายการได้ร่วมมือกับคุณเดมมิ่ง ในการผลิตสารคดีชุด ความยาว 14 ชั่วโมง ซึ่งระบุรายละเอียดวิธีการของเขาผ่านการบรรยาย การสัมภาษณ์ การสาธิตเชิงปฏิบัติ และกรณีศึกษาของบริษัทต่าง ๆ ที่ประยุกต์ใช้วิธีของเขา
ทำไมสิ่งนี้ถึงสำคัญล่ะครับ?
ผู้คนที่คาดหวังว่าภาคการผลิตของอเมริกาจะฟื้นตัวนั้นชี้ไปยังญี่ปุ่นในฐานะตัวอย่างประเทศที่ไม่มีปัญหาอะไรมากแม้ว่าจะมีหนี้ต่อจีดีพีสูง
ไม่มีอะไรจะมาหยุดยั้งรัฐบาลสหรัฐฯ ได้แล้วครับในตอนนี้
จะเหมือนญี่ปุ่นไหม? ค่าแรงซบเซา สามทศวรรษแห่งเงินเฟ้อระดับศูนย์
จะเหมือนญี่ปุ่นไหม? สองทศวรรษที่ตลาดหุ้นตก 60% แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะต่ำ
ในปี ค.ศ. 2000 เบน เบอร์นันเก้ ได้กล่าวไว้ว่า:
“ญี่ปุ่นยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งมีอัตราการว่างงานรวมถึงปริมาณคนรายได้น้อยที่ต่ำ เราไม่ควรมองข้ามจุดแข็งด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นอัตราการฝากเงินที่สูง แรงงานที่มีทักษะ และภาคการผลิตที่ก้าวหน้า”
แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ดีอย่างนั้นน่ะสิครับ
ชาวญี่ปุ่นยังคงเป็นหนึ่งในผู้ที่มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดในโลก ในขณะที่คุณภาพชีวิตของสหรัฐฯ นั้นร่วงลงต่อเนื่องเรื่อยมา
ความยากจนและระดับการว่างงานของญี่ปุ่นอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่สหรัฐฯ กำลังต่อสู้กับความยากจนและการว่างงาน
ญี่ปุ่นมีอัตราการฝากเงินที่สูง แรงงานที่มีทักษะ และภาคการผลิตที่ก้าวหน้า ในขณะที่สหรัฐฯ นั้นอ่อนแอในทุกด้าน
อุปสงค์ที่ลดลง
“อุปสงค์มวลรวมนั้นต่ำเกินไป นโยบายต่าง ๆ ยังคงฝืดเคือง”
“เงินเฟ้อแบบทบต้นนั้นอยู่ที่ระดับศูนย์…มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991”
“การปรับขึ้นของราคาสินค้าที่เชื่องช้า ทำให้เกิดอุปสงค์มวลรวมที่ไม่เพียงพอ”
มูลค่าที่ร่วงลงของสินทรัพย์ค้ำประกัน ทำให้การปล่อยกู้ติดขัด
“เงินเฟ้อระดับศูนย์นั้นส่งผลอันตรายกว่า เพราะเศรษฐกิจสมัยใหม่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงินในระดับสูง”
เบอร์นันเก้กล่าวต่อ…
ผู้กำหนดนโยบายมีอำนาจที่จะเพิ่มอุปสงค์มวลรวมและราคา การทำให้เงินเยนอ่อนค่าเป็นหนึ่งในวิธีที่เขาแนะนำเพื่อเพิ่มอุปสงค์มวลรวม เพราะท้ายที่สุดแล้วหนี้ภาครัฐจะส่งผลให้เกิดการขึ้นอัตราการเก็บภาษีเพิ่มเติม มันดูเป็นการดีครับที่จะอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบในขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมอยู่ที่ 0 แถมมีระยะเวลาการคืนหนี้ที่ไร้ขอบเขต แต่ท้ายที่สุดแล้วมันก็ต้องแลกมากับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
สรุปประเด็นหลัก
- การพิมพ์เงินเหมือนจะไม่ส่งผลอะไร แต่ญี่ปุ่นก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วง
- การขาดแคลนอุปสงค์ทำให้ GDP ต่ำมาตลอดหลายทศวรรษ
- อัตราการกู้ยืมที่ถูกจำกัดไว้ ส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืด ค่าแรงซบเซา และราคาที่ดินตกต่ำในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
- สหรัฐฯ นั้นเริ่มต้นที่จุดหนักหนาสาหัสกว่ามาก สงครามอาจจะเป็นทางออกเดียวครับ
Andrew Stotz
แปลและเรียบเรียงจาก: https://becomeabetterinvestor.net/if-japan-can-why-cant-we-deming/
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ