รีวิว
- ตลาดหุ้นร่วงในเดือนกันยายน
- กันยายน 2020: ทำผลงานได้โดดเด่นอันเนื่องมาจากสัดส่วนหุ้นที่ค่อนข้างน้อย
- ตั้งแต่ก่อตั้ง: แพ้หุ้นโลก แต่มีจุดขาดทุนสูงสุด (Drawdowns) ที่ต่ำกว่า
- ตั้งแต่ก่อตั้ง: เมื่อเทียบกับความผันผวนของตลาดหุ้นโลก พอร์ต All Weather Strategy มีความผันผวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
- ตั้งแต่ก่อตั้ง: พอร์ตการลงทุนนี้มีการปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลก ในช่วงเวลาเดียวกัน
- ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS มักจะทำผลงานได้เหนือกว่า เมื่อหุ้นโลกเผชิญภาวะร่วงหนัก
มุมมอง
- มุมมองต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกยังคงมืดมน
- โฟกัสการจำกัดความเสี่ยงขาลง
รีวิว: ตลาดหุ้นร่วงในเดือนกันยายน
- ในเดือนกันยายน ทุกตลาดหุ้นยกเว้นตลาดญี่ปุ่นปรับตัวลง หุ้นสหรัฐฯ ทำผลงานแย่ที่สุด
- การที่เราได้เพิ่มน้ำหนักหุ้นสหรัฐฯ เป็น 10% จาก 5% นั้นกลายเป็นตัวฉุดผลการดำเนินงานไปเล็กน้อย
- เรามีสัดส่วน 25% ในหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ซึ่งกลายเป็นตัวฉุดที่หนักกว่า
รีวิว: ผลตอบแทนตราสารหนี้ยังคงนิ่ง ดังที่คาดไว้ครับ
- ในการปรับพอร์ตครั้งล่าสุด เราลดสัดส่วนตราสารหนี้เหลือ 15% จาก 30% เหตุเพราะตราสารหนี้เริ่มน่าสนใจน้อยลง โดยเราถือแค่ตราสารหนี้ภาครัฐของประเทศไทยเท่านั้น แทนที่จะถือผสมกับตราสารหนี้ภาครัฐโลก และตราสารหนี้ภาคเอกชน
- สัดส่วนตราสารหนี้ที่ 15% แทนที่จะเป็น 5% นั้นช่วยจำกัดความเสี่ยงขาลง ซึ่งผลตอบแทนจากตราสารหนี้ภาครัฐของไทยนั้นยังคงนิ่งนับตั้งแต่เราสับเปลี่ยนเข้าไป
รีวิว: โภคภัณฑ์ปรับตัวลงในช่วงเดือนกันยายน
- เราเพิ่มสัดส่วนโภคภัณฑ์เป็น 5% จากก่อนหน้านี้อยู่ที่ 0% ในการปรับพอร์ตครั้งล่าสุด
- ในเดือนกันยายน โภคภัณฑ์ปรับตัวลงอันเนื่องมาจากความกังวลต่อเวฟที่สองของโควิด-19
- โลหะมีค่าและน้ำมันทำผลงานได้ไม่ดีนักจากค่าเงินดอลล่าร์ที่แข็งตัว และความต้องการโลหะอุตสาหกรรมก็หดตัวลงจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง
- กลุ่มโภคภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและปศุสัตว์ (Soft Commodities) ได้รับผลดี
รีวิว: ราคาทองคำถูกกดลงโดยค่าเงินดอลล่าร์ที่แข็งขึ้น
- สัดส่วนทองคำในพอร์ตของเรายังคงไว้ที่ 30%
- ค่าเงินดอลล่าร์ที่แข็งขึ้นได้กดราคาทองลงในเดือนกันยายน
- ดูเหมือนว่านักลงทุนบางท่านจะขายทองออกไปเพื่อแลกเป็นเงินสด
กันยายน 2020: ทำผลงานได้โดดเด่นอันเนื่องมาจากสัดส่วนหุ้นที่ค่อนข้างน้อย
รูปที่ 1: รูปเปรียบเทียบผลตอบแทน AWS กับสินทรัพย์อื่น ๆ
ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 2020 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- AWS: ชนะหุ้นโลกไป 4%
- ตราสารหนี้: ยังคงนิ่ง
- เอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น): ชนะยุโรปพัฒนาแล้วและสหรัฐฯ
- สหรัฐฯ: ทำผลงานแย่สุดของกองทุนหุ้นในเดือนกันยายน 2020
- ทองคำ: ทำผลงานแย่สุด
ตั้งแต่ก่อตั้ง: แพ้หุ้นโลก แต่มีจุดขาดทุนสูงสุด (Drawdowns) ที่ต่ำกว่า
รูปที่ 2: เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่าง AWS และ MSCI World
ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 2020 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- พอร์ต All Weather Strategy โดยส่วนใหญ่มีการกระจายการลงทุนในหุ้น 45-65% และลงทุนในทองคำ 25%
- ตั้งแต่ 3 กันยายนที่ผ่านมา สัดส่วนคือหุ้น 50% ตราสารหนี้ 15% ทองคำ 30% และโภคภัณฑ์ 5%
- ความเสี่ยงขาลงมีน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกลยุทธ์ที่มีหุ้นเพียงอย่างเดียว
ตั้งแต่ก่อตั้ง: เมื่อเทียบกับความผันผวนของตลาดหุ้นโลก พอร์ต All Weather Strategy มีความผันผวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
รูปที่ 3: ความผันผวนของแต่ละสินทรัพย์
ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 2020 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- ความผันผวนของพอร์ต AWS นั้นมีน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ของความผันผวนหุ้นโลก
- สัดส่วน 25-65% ในหุ้นช่วยลดความผันผวนลง
- ทองคำไม่มีความสัมพันธ์กับหุ้น จึงช่วยลดความผันผวนของพอร์ต AWS
ตั้งแต่ก่อตั้ง: พอร์ตการลงทุนนี้มีการปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลก ในช่วงเวลาเดียวกัน
รูปที่ 4: ผลดำเนินงานของ 10 วันที่แย่ที่สุดของหุ้นโลก เทียบกับ AWS
ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 2020 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- ลักษณะที่โดดเด่นของ AWS คือ ตั้งเป้าให้ปรับตัวลงน้อยกว่า ยามตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง
- นับตั้งแต่ก่อตั้งพอร์ต เมื่อดูข้อมูลของ 10 วันที่ตลาดหุ้นมีผลตอบแทนย่ำแย่ที่สุด พบว่าผลตอบแทนของ AWS ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลกในวันนั้น
- ส่วนใหญ่เป็นเพราะสัดส่วนหุ้นที่น้อย และการกระจายลงทุนในทองคำ
ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS มักจะทำผลงานได้เหนือกว่า เมื่อหุ้นโลกเผชิญภาวะร่วงหนัก
รูปที่ 5: เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน AWS และ MSCI World ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 2020 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- ผลการดำเนินงานของ AWS เหนือกว่าหุ้นโลกที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม 2020 กุมภาพันธ์ 2020 พฤษภาคม 2019 และ สิงหาคม 2019 ซึ่งเป็นช่วงที่หุ้นโลกร่วงหนักสุด ๆ
- ทองคำและตราสารหนี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือคุมความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพในหลาย ๆ ช่วงที่ตลาดปรับตัวลง
มุมมอง: เฟด การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง และบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่จะช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไปได้ต่อ
- การอัดฉีดเงินและการประกาศของเฟดนั้นช่วยให้ตลาดหลบเลี่ยงการร่วงหนักได้ แต่ไม่สามารถพยุงตลาดได้ตลอดไป
- การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนั้นเพิ่มความไม่แน่นอนในสหรัฐฯ
- การแทรกแซงของเฟด การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง และบริษัทเทคฯ ยักษ์ใหญ่จะช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไปได้ต่อได้ในระยะสั้น
มุมมอง: หุ้นสหรัฐฯ มีมูลค่าที่สูงเกินไป ทางด้านปัจจัยพื้นฐานก็ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว
- ณ จุดนี้ หากตลาดสหรัฐฯ เริ่มร่วงลง เราคาดหวังว่าเฟดจะประกาศเข้าซื้อหุ้นสหรัฐฯ
- เรายังคงมุมมองเดิม ที่ว่ามูลค่าหุ้นสหรัฐฯ นั้นสูงเกินไป ทางด้านปัจจัยพื้นฐานก็ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว
มุมมอง: ทองคำ น้ำมัน และหุ้นสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ที่ตรงกันข้ามกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ
- ดอลล่าร์สหรัฐฯ แข็งค่าในเดือนกันยายน ในขณะที่หุ้นสหรัฐฯ ร่วง
- งานวิจัยล่าสุดของเราชี้ให้เห็นว่าทองคำ น้ำมัน และหุ้นสหรัฐฯ นั้นมีความสัมพันธ์ที่ตรงกันข้ามกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ในหลาย ๆ แง่มุม
มุมมอง: เฟดยังคงดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ
- เราคาดหวังว่าเฟดจะยังคงดอกเบี้ยในระดับต่ำเพื่อช่วยเหลือบริษัทต่าง ๆ ธนาคาร และรัฐบาล
- เงินเฟ้อจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงนั้นติดลบ และสร้างแรงกดดันดอลล่าร์สหรัฐฯ ในระยะยาว ส่งผลให้ตราสารหนี้น่าสนใจน้อยลง
มุมมอง: เราถือตราสารหนี้เพื่อประโยชน์ของการกระจายความเสี่ยง
- ณ ตอนนี้เราถือตราสารหนี้ภาครัฐของไทย
- อย่างไรก็ดี เราคาดว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในสหรัฐฯ และยุโรป รวมถึงเศรษฐกิจที่อ่อนแอจะทำให้ดอกเบี้ยในไทยต่ำเช่นกัน
- เราถือตราสารหนี้เพื่อประโยชน์ของการกระจายความเสี่ยง มากกว่าจะเป็นการแสวงหาผลตอบแทน
มุมมอง: ยังคงสัดส่วนการลงทุนแบบระมัดระวัง
- เรายังคงระวังในการลงทุนหุ้น โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯ ครับ
- อาจเป็นไปได้ว่าจะมีการล็อกดาวน์รอบที่สองในยุโรป รายแรกที่ไปคือสหราชอาณาจักร
- แม้ว่าจะสามารถควบคุมโควิด-19 ได้แล้ว ความกังวลมากมายก็ยังคงอยู่ เช่น ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ การว่างงานในวงกว้าง และปัญหาหนี้
- เรายังคงระมัดระวังในการแบ่งสัดส่วน โดยยังมีทองคำ 30% และตราสารหนี้ 15% ด้วย
สรุป FVMR แต่ละภูมิภาค
รูปที่ 7: สรุป FVMR หุ้นแต่ละกลุ่มประเทศ
ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 2020 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
- พื้นฐาน (Fundamentals): หุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (Return on Equity) สูงที่สุด
- มูลค่า (Valuation): ตลาดเกิดใหม่มี PE (Price-to-Earnings) ต่ำสุด และญี่ปุ่นมี PB (Price-to-Book) ต่ำสุด
- แนวโน้ม (Momentum): มีเพียงตลาดยุโรปพัฒนาแล้วที่ปรับตัวลงในช่วงปีที่ผ่านมา
- ความเสี่ยง (Risk): ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และญี่ปุ่น มีอัตราหนี้สินต่อทุน (Gearing) ต่ำที่สุด
สรุป รีวิวพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือนกันยายน 2020
- All Weather Strategy ทำผลงานได้โดดเด่น ในขณะที่หุ้นโลกร่วงช่วงกันยายน
- อาจเป็นไปได้ว่าจะมีการล็อกดาวน์รอบที่สองในยุโรป รายแรกที่ไปคือสหราชอาณาจักร
- เรายังคงโฟกัสกับการจำกัดความเสี่ยงขาลง ด้วยสัดส่วน 15% ในตราสารหนี้ภาครัฐระยะสั้นและสัดส่วน 30% ในทองคำ
Andrew Stotz
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”