All Weather Strategy พฤษภาคม 2021: เพิ่มสัดส่วนหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ

รีวิว: หุ้นตลาดพัฒนาแล้วทำผลงานได้ดีที่สุด โภคภัณฑ์ก็ดีเช่นกัน

  • ผลการดำเนินงาน: AWS ได้รับผลกระทบจากการเน้นสัดส่วนหุ้นตลาดเกิดใหม่
  • สัดส่วนพอร์ต: โดยรวมสัดส่วนประเภทสินทรัพย์ยังคงเดิม เรามีเพียงสับเปลี่ยนสัดส่วนหุ้นไปเพิ่มน้ำหนักในหุ้นตลาดพัฒนาแล้ว
  • มุมมอง: ข่าวนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการกระจายวัคซีนเป็นตัวขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อคาดหวัง

รีวิว: การลดสัดส่วนหุ้นเป็นการตัดสินใจที่พลาดไป

  • ในการปรับพอร์ตล่าสุด เราลดสัดส่วนหุ้นเหลือ 65% ซึ่งกลายเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด เพราะดูเหมือนที่ผ่านมาตลาดหุ้นจะทำผลงานได้แข็งแกร่ง

รีวิว: หุ้นตลาดพัฒนาแล้วทำผลงานได้ดีเยี่ยม

  • ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา หุ้นตลาดพัฒนาแล้วทำผลงานได้แข็งแกร่ง ขณะหุ้นตลาดเกิดใหม่ทำผลงานได้แย่กว่าอย่างเห็นได้ชัด น่าเสียดายที่เราไม่ได้ตั้งกลยุทธ์ไว้เพื่อการนี้

รีวิว: แบ่งสัดส่วนหุ้นไปยังภูมิภาคที่ไม่ค่อยดีนัก

  • เรามีสัดส่วนหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดเกิดใหม่ อย่างละ 25% ซึ่งสัดส่วนนี้ส่งผลให้ผลงานของพอร์ตไม่ค่อยดีนัก เมื่อเทียบกับพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 (ในที่นี้หมายถึงพอร์ตที่มีส่วนผสมของหุ้น 60% ตราสารหนี้ 40%)
  • ทั้งสองภูมิภาคนี้กลายเป็นกลุ่มหุ้นที่ทำผลงานได้แย่ที่สุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

รีวิว: เราตัดสินใจถูกที่ยังคงระดับสัดส่วนตราสารหนี้ไว้ต่ำ

  • จากการปรับพอร์ตล่าสุด เรายังคงรักษาสัดส่วนตราสารหนี้อยู่ที่ 5%
  • เนื่องจากมีความเสี่ยงว่าดอกเบี้ยจะขึ้น ตราสารหนี้จึงดูน่าสนใจน้อยกว่าหุ้น โดยกลยุทธ์ของเรายังคงถือแค่ตราสารหนี้ภาครัฐของประเทศไทยเท่านั้น แทนที่จะถือผสมกับตราสารหนี้ภาครัฐโลก และตราสารหนี้ภาคเอกชน

รีวิว: สัดส่วนโภคภัณฑ์ที่ 25% ช่วยกระตุ้นผลตอบแทนของพอร์ต

  • เราเพิ่มสัดส่วนโภคภัณฑ์เป็น 25% ในการปรับพอร์ตเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นี่เป็นการตัดสินใจที่ดีเพราะโภคภัณฑ์เป็นสินทรัพย์ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
  • ข่าวคราวเงินเฟ้อและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงแพร่ต่อไป ยิ่งช่วยขับเคลื่อนราคาโภคภัณฑ์

รีวิว: ทองคำทำผลงานได้ดีในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

  • ในการปรับพอร์ตครั้งล่าสุด เรารักษาสัดส่วนทองคำไว้ที่ 5% และต้องอย่าลืมว่าเรายังมีการลงทุนในทองผ่านสัดส่วนของโภคภัณฑ์เช่นกัน
  • ในขณะที่ตลาดรับรู้ความเสี่ยงว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น ทองคำก็ทำผลงานได้แข็งแกร่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
  • การฟื้นตัวกลับมาของอุปสงค์ของประเทศจีนในด้านเครื่องประดับ ทองแท่ง และเหรียญยังช่วยให้ราคาทองไปต่อได้

3 เดือนที่ผ่านมา: โภคภัณฑ์ทำผลงานได้ดี ส่วนตลาดเกิดใหม่พ่ายแพ้ต่อตลาดพัฒนาแล้ว

All Weather Strategy พฤษภาคม 2021: เพิ่มสัดส่วนหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ

รูปที่ 1: รูปเปรียบเทียบผลตอบแทน AWS กับสินทรัพย์อื่น ๆ
ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • AWS: เมื่อเทียบกับพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 แล้ว AWS ทำผลงานได้น้อยกว่า 0.8%
  • โภคภัณฑ์: ทำผลงานได้ดีที่สุดเป็นอันดับ 3
  • ตลาดเกิดใหม่: ทำผลงานได้แย่ในกลุ่มหุ้นเป็นอันดับ 2
  • เอเชีย–แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น): ทำผลงานได้แย่ที่สุด

ตั้งแต่ก่อตั้ง: ผลตอบแทนน้อยกว่าพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 เล็กน้อย แต่ก็มี Drawdowns ที่ต่ำกว่า

All Weather Strategy พฤษภาคม 2021: เพิ่มสัดส่วนหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ

รูปที่ 2: เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่าง AWS และ พอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40
ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • พอร์ต All Weather Strategy โดยส่วนใหญ่มีการกระจายการลงทุนในหุ้น 45-65% และลงทุนในทองคำ 25%
  • ตั้งแต่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา สัดส่วนคือหุ้น 65% ตราสารหนี้ 5% ทองคำ 5% และโภคภัณฑ์ 25%
  • ความเสี่ยงขาลงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลยุทธ์ที่มีหุ้นเพียงอย่างเดียว

ตั้งแต่ก่อตั้ง: เมื่อเทียบกับความผันผวนของพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 All Weather Strategy มีความผันผวนน้อยกว่า

All Weather Strategy พฤษภาคม 2021: เพิ่มสัดส่วนหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ

รูปที่ 3: ความผันผวนของแต่ละสินทรัพย์
ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • สัดส่วน 25-65% ในหุ้นช่วยลดความผันผวนลง
  • ทองคำไม่มีความสัมพันธ์กับหุ้น จึงช่วยลดความผันผวนของพอร์ต AWS

ตั้งแต่ก่อตั้ง: หากนับ 10 วันที่ตลาดหุ้นทำผลงานแย่ที่สุด AWS ปรับตัวลดลงน้อยกว่าพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 เป็นจำนวนทั้งหมด 8 วัน

All Weather Strategy พฤษภาคม 2021: เพิ่มสัดส่วนหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ

รูปที่ 4: ผลดำเนินงานของ 10 วันที่แย่ที่สุดของหุ้นโลก เทียบกับ AWS
ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • ลักษณะที่โดดเด่นของ AWS คือ ตั้งเป้าให้ปรับตัวลงน้อยกว่า ยามตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง
  • นับตั้งแต่ก่อตั้งพอร์ต เมื่อดูข้อมูลของ 10 วันที่ตลาดหุ้นมีผลตอบแทนย่ำแย่ที่สุด พบว่าผลตอบแทนของ AWS ปรับตัวลดลงน้อยกว่าพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 คิดเป็นสัดส่วน 80% ของ 10 วันที่ตลาดหุ้นแย่ที่สุด

ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS ชนะพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 คิดเป็นสัดส่วน 67% ของจำนวนเดือนทั้งหมด

All Weather Strategy พฤษภาคม 2021: เพิ่มสัดส่วนหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ

รูปที่ 5: เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน AWS และพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • หากไม่นับเดือนมีนาคม ผลตอบแทนของ AWS ตั้งแต่ต้นปีถือว่าแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40

สัดส่วน: ในเชิงกลุ่มสินทรัพย์ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง

  • ในเชิงกลุ่มประเภทสินทรัพย์ เรายังคงรักษาสัดส่วนเดิม
  • รักษาสัดส่วนหุ้นที่ 65% และโภคภัณฑ์ที่ 25%
  • รักษาสัดส่วนตราสารหนี้และทองคำอยู่ที่อย่างละ 5%
  • เพิ่มสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯ และหุ้นยุโรปพัฒนาแล้ว เป็นอย่างละ 25%
  • ลดสัดส่วนหุ้นตลาดเกิดใหม่ และหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) เหลืออย่างละ 5%

สัดส่วน: ในเชิงกลุ่มสินทรัพย์ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง

All Weather Strategy พฤษภาคม 2021: เพิ่มสัดส่วนหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ

รูปที่ 6: สัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ต AWS
ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research)

  • ในเชิงกลุ่มประเภทสินทรัพย์ เรายังคงรักษาสัดส่วนเดิม
  • รักษาสัดส่วนหุ้นที่ 65% และโภคภัณฑ์ที่ 25%

สัดส่วน: ในฝั่งของหุ้น มีการสับเปลี่ยนไปยังตลาดพัฒนาแล้ว

All Weather Strategy พฤษภาคม 2021: เพิ่มสัดส่วนหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ

รูปที่ 7: สัดส่วนหุ้นในพอร์ต AWS
ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research)

  • เพิ่มสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯ และหุ้นยุโรปพัฒนาแล้ว เป็นอย่างละ 25% จากเดิม 5%
  • ลดสัดส่วนหุ้นตลาดเกิดใหม่ และหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) เหลืออย่างละ 5% จากแต่เดิม 25%

มุมมอง: ข่าววัคซีนและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนตลาด

  • นอกจากประเทศจีนแล้ว เราจะพบว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นในตลาดพัฒนาแล้วฝั่งยุโรปเยอะที่สุด
  • การกระจายวัคซีนนั้นเกิดขึ้นเร็ว และนโยบายกระตุ้นก็ช่วยดันให้การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคแตะระดับสูงสุดใหม่
  • Fed และ ECB พร้อมที่จะเพิ่มเงินเฟ้อเป้าหมายเกินกว่าปกติ
  • สิ่งนี้อาจเป็นตัวขับเคลื่อนให้ความคาดหวังเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้นต่อ

มุมมอง: การใช้งบประมาณอันยิ่งใหญ่ จากการเสนอแผนของประธานาธิบดีไบเดน

  • แผน American Jobs Plan มูลค่า 7 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ของประธานาธิบดีไบเดนนั้นโฟกัสที่โครงสร้างพื้นฐาน เช่น การขนส่ง การจัดการแหล่งน้ำ พลังงานสะอาด และเครือข่ายบรอดแบรนด์ความเร็วสูง
  • เมื่อรวมกับแผน American Families Plan การใช้จ่ายทั้งหมดจะแตะ 4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

มุมมอง: การใช้จ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯ จะกระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้อ

  • การใช้จ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯ น่าจะกระตุ้นทั้งการเติบโตและเงินเฟ้อ
  • เป็นปัจจัยด้านบวกที่จะผลักดันหุ้นสหรัฐฯ ในระยะสั้นนี้

มุมมอง: คาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปล่อยให้เงินเฟ้อวิ่งต่อไป

  • ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เงินเฟ้อในแถบยูโรโซนพุ่งขึ้นมาเหนือกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • คุณ Christine Lagarde ประธาน ECB มองว่าเงินเฟ้อเป็นเรื่องชั่วคราว
  • ดังนั้น ด้วยระดับเงินเฟ้อ ณ ตอนนี้ ธนาคารกลางจึงยังไม่ดำเนินนโยบายที่รัดกุม

มุมมอง: การกระจายวัคซีนที่ไวขึ้น ช่วยขับเคลื่อนบรรยากาศการลงทุนที่เป็นบวกในแถบยุโรปพัฒนาแล้ว

  • การกระจายวัคซีนที่ไวขึ้นเป็นตัวช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
  • เมื่อควบรวมกับความช่วยเหลือด้านนโยบายการเงิน ในระยะสั้นเรามีมุมมองที่เป็นบวก
  • เราคิดว่าบรรยากาศที่เป็นบวกนี้จะยิ่งช่วยขับเคลื่อนหุ้นยุโรปพัฒนาแล้ว

มุมมอง: เอเชียยังคงต่อสู้กับโรคระบาด

  • หลาย ๆ ประเทศในเอเชียกำลังเผชิญตัวเลขการติดเชื้อโควิด-19 ที่ไต่สูงขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้การกระจายวัคซีนยังทำได้ช้ากว่าประเทศในแถบตะวันตก
  • เหตุการณ์นี้อาจส่งผลให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเอเชียและตลาดเกิดใหม่ล่าช้าออกไปอีก
  • ดัชนีตลาดหุ้นของเอเชียและตลาดเกิดใหม่ยังไม่กลับขึ้นไปแตะจุดสูงสุดเดิม

มุมมอง: โภคภัณฑ์น่าจะทำผลงานได้ดี จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อียู และจีน

  • การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อียู และจีนน่าจะเป็นตัวกระตุ้นเงินเฟ้อคาดหวัง การฟื้นตัวของอุปสงค์ก็ควรจะขับเคลื่อนราคาโภคภัณฑ์ให้สูงกว่านี้ได้เช่นกัน
  • ในระยะยาว ยิ่งมีการพูดถึงเงินเฟ้อมาก ก็อาจส่งให้เกิดการคาดหวังถึงอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ติดลบ (Negative Real Rates)
  • เหตุการณ์นี้อาจส่งผลดีต่อราคาทอง ซึ่งเราถือสัดส่วนที่ 5% และมีบางส่วนในสัดส่วนโภคภัณฑ์

สรุป FVMR แต่ละภูมิภาค

All Weather Strategy พฤษภาคม 2021: เพิ่มสัดส่วนหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ

รูปที่ 8: สรุป FVMR หุ้นแต่ละกลุ่มประเทศ
ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

  • พื้นฐาน (Fundamentals): หุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (Return on Equity) สูงที่สุด
  • มูลค่า (Valuation): ตลาดเกิดใหม่มี PE (Price-to-Earnings) ต่ำสุด และญี่ปุ่นมี PB (Price-to-Book) ต่ำสุด
  • แนวโน้ม (Momentum): ตลาดเกิดใหม่ขึ้นเยอะสุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
  • ความเสี่ยง (Risk): ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และญี่ปุ่น มีอัตราหนี้สินต่อทุน (Gearing) ต่ำที่สุด

ความเสี่ยง: Fed ลงมือทำอะไรที่รุนแรง

  • แม้ว่าเราจะได้ปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นแล้ว แต่ความเสี่ยงก็ยังคงอยู่
  • ความเสี่ยงใหญ่สุดก็คือการที่ Fed ป้องกันไม่ให้อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาหุ้นและตราสารหนี้วิ่งต่อ

สรุป รีวิวพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือนพฤษภาคม 2021

  • เมื่อเทียบกับพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 พอร์ต AWS ทำผลงานได้น้อยกว่านิดหน่อย ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
  • ข่าวนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการกระจายวัคซีนเป็นตัวขับเคลื่อนหุ้นสหรัฐฯ และหุ้นยุโรปพัฒนาแล้ว เมื่อรวมกับจีนด้วยแล้ว การฟื้นตัวนี้ควรจะช่วยผลักดันราคาโภคภัณฑ์ให้เพิ่มขึ้น
  • เราสับเปลี่ยนไปยังหุ้นตลาดพัฒนาแล้ว แต่ยังรักษาสัดส่วนประเภทสินทรัพย์ไว้คงเดิม

Andrew Stotz

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ FINNOMENA

โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก

1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น
2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ

หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT

**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”