All Weather Strategy มีนาคม 2021: คงสัดส่วนหุ้น 65% โภคภัณฑ์ 25%

รีวิว

  • หุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) หุ้นตลาดเกิดใหม่ และโภคภัณฑ์ ต่างปรับตัวลงในเดือนมีนาคม
  • มีนาคม 2021: AWS ทำผลงานต่ำกว่าหุ้นโลกอยู่ 5%
  • ตั้งแต่ก่อตั้ง: แพ้หุ้นโลกแต่มีจุดขาดทุนสูงสุด (Drawdowns) ที่ต่ำกว่า
  • ตั้งแต่ก่อตั้ง: เมื่อเทียบกับความผันผวนของตลาดหุ้นโลก พอร์ต All Weather Strategy มีความผันผวนประมาณครึ่งหนึ่ง
  • ตั้งแต่ก่อตั้ง: พอร์ตการลงทุนนี้มีการปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลก ในช่วงเวลาเดียวกัน
  • ตั้งแต่ก่อตั้ง: มักจะทำผลงานได้เหนือกว่า เมื่อหุ้นโลกเผชิญภาวะร่วงหนัก

มุมมอง

  • ตลาดหุ้นฝั่งตะวันตกน่าจะยังสามารถคงความแข็งแกร่งไว้ได้ขณะที่ยังมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนฝั่งตะวันออกก็ถูกขับเคลื่อนโดยประเทศจีน
  • สัดส่วนหุ้นของเราอยู่ที่ 65% และโภคภัณฑ์อยู่ที่ 25%

รีวิว: ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วครองแชมป์ในเดือนมีนาคม

  • ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วทำผลงานได้ดีที่สุด เมื่อนักลงทุนเริ่มมีมุมมองแง่ดีต่อการฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังของ 2021
  • หุ้นสหรัฐฯ ทำผลงานได้ดีที่สุดเป็นอันดับสอง โดยได้รับการสนับสนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่าล้านล้านดอลล่าร์ของประธานาธิบดีไบเดน

รีวิว: เงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น หมายถึงตลาดเกิดใหม่ที่อ่อนแอ

  • ตลาดหุ้นเกิดใหม่พ่ายแพ้อย่างรุนแรงต่อตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว
  • ส่วนหนึ่งสามารถอธิบายได้จากเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะส่งผลเสียต่อตลาดเกิดใหม่
  • เหตุผลก็คือ การลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ เริ่มน่าสนใจกว่า และหนี้ที่มีหน่วยเป็นดอลล่าร์สหรัฐฯ ก็จะยิ่งแพงขึ้น

รีวิว: หุ้นของประเทศแถบเอเชียส่วนใหญ่ทำผลงานไม่ดีนักในช่วงเดือนมีนาคม

  • ดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น และราคาน้ำมันที่ร่วงลง เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้หุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ทำผลงานได้ไม่ดีนัก
  • มุมมองต่อการฟื้นตัวของแต่ละอุตสาหกรรม เช่น ท่องเที่ยว ยังคงไม่แน่นอน
  • โดยรวมแล้ว นักลงทุนทั่วโลกเหมือนจะเริ่มเห็นหนทางการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นในฝั่งตลาดพัฒนาแล้ว

รีวิว: สัดส่วนตราสารหนี้ที่ต่ำ โดยถือครองที่ 5% ของมูลค่าพอร์ต

  • เรามีสัดส่วนตราสารหนี้อยู่ที่ 5% เพราะตราสารหนี้ดูน่าสนใจน้อยกว่าหุ้น โดยเราถือแค่ตราสารหนี้ภาครัฐของประเทศไทยเท่านั้น แทนที่จะถือผสมกับตราสารหนี้ภาครัฐโลก และตราสารหนี้ภาคเอกชน

รีวิว: ราคาโภคภัณฑ์ปรับตัวลงหลังพุ่งขึ้นมาหลายเดือน

  • ราคาโภคภัณฑ์ร่วงลงในเดือนมีนาคม หลังจากทำผลงานได้แข็งแกร่งมาหลายเดือน
  • ดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น โดยปกติแล้วก็จะเป็นผลลบต่อราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อราคาโภคภัณฑ์
  • ราคาของหลาย ๆ โลหะอุตสาหกรรมร่วงลงในเดือนมีนาคม เมื่ออุปทานของเหล็กเพิ่มขึ้นจากข้อตกลงระหว่างจีนและอินโดนีเซีย นอกจากนี้อุปสงค์ของนิกเกิลจากอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าก็ลดลง

รีวิว: ราคาทองคำยังคงอ่อนตัวในเดือนมีนาคม

  • ทองคำยังคงทำผลงานได้ไม่ดีนัก อันเนื่องมาจากดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น และอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้น
  • นอกจากนี้ นักลงทุนยังดูเหมือนจะชอบสินทรัพย์เสี่ยงมากกว่า เช่น หุ้น

มีนาคม 2021: AWS ทำผลงานต่ำกว่าหุ้นโลกอยู่ 5%

All Weather Strategy มีนาคม 2021: คงสัดส่วนหุ้น 65% โภคภัณฑ์ 25%

รูปที่ 1: รูปเปรียบเทียบผลตอบแทน AWS กับสินทรัพย์อื่น ๆ
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • ตลาดเกิดใหม่: ทำผลงานได้แย่สุดอันดับสองในกลุ่มตลาดหุ้น
  • โภคภัณฑ์: เป็นสินทรัพย์ที่ทำผลงานได้แย่สุดเป็นอันดับสาม
  • เอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น): เป็นตลาดหุ้นที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด

ตั้งแต่ก่อตั้ง: แพ้หุ้นโลกแต่มีจุดขาดทุนสูงสุด (Drawdowns) ที่ต่ำกว่า

All Weather Strategy มีนาคม 2021: คงสัดส่วนหุ้น 65% โภคภัณฑ์ 25%

รูปที่ 2: เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่าง AWS และ MSCI World
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • พอร์ต All Weather Strategy โดยส่วนใหญ่มีการกระจายการลงทุนในหุ้น 45-65% และลงทุนในทองคำ 25%
  • ตั้งแต่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา สัดส่วนคือหุ้น 65% ตราสารหนี้ 5% ทองคำ 5% และโภคภัณฑ์ 25%
  • ความเสี่ยงขาลงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลยุทธ์ที่มีหุ้นเพียงอย่างเดียว

ตั้งแต่ก่อตั้ง: เมื่อเทียบกับความผันผวนของตลาดหุ้นโลก พอร์ต All Weather Strategy มีความผันผวนประมาณครึ่งหนึ่ง

All Weather Strategy มีนาคม 2021: คงสัดส่วนหุ้น 65% โภคภัณฑ์ 25%

รูปที่ 3: ความผันผวนของแต่ละสินทรัพย์
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • สัดส่วน 25-65% ในหุ้นช่วยลดความผันผวนลง
  • ทองคำไม่มีความสัมพันธ์กับหุ้น จึงช่วยลดความผันผวนของพอร์ต AWS

ตั้งแต่ก่อตั้ง: พอร์ตการลงทุนนี้มีการปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลก ในช่วงเวลาเดียวกัน

All Weather Strategy มีนาคม 2021: คงสัดส่วนหุ้น 65% โภคภัณฑ์ 25%

รูปที่ 4: ผลดำเนินงานของ 10 วันที่แย่ที่สุดของหุ้นโลก เทียบกับ AWS
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • ลักษณะที่โดดเด่นของ AWS คือ ตั้งเป้าให้ปรับตัวลงน้อยกว่า ยามตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง
  • นับตั้งแต่ก่อตั้งพอร์ต เมื่อดูข้อมูลของ 10 วันที่ตลาดหุ้นมีผลตอบแทนย่ำแย่ที่สุด พบว่าผลตอบแทนของ AWS ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลกในวันนั้น
  • ส่วนใหญ่เป็นเพราะสัดส่วนหุ้นที่น้อย และสัดส่วนทองคำที่สูง

ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS มักจะทำผลงานได้เหนือกว่า เมื่อหุ้นโลกเผชิญภาวะร่วงหนัก

All Weather Strategy มีนาคม 2021: คงสัดส่วนหุ้น 65% โภคภัณฑ์ 25%

รูปที่ 5: เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน AWS และ MSCI World ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • ผลการดำเนินงานของ AWS เหนือกว่าหุ้นโลกที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม 2020, กุมภาพันธ์ 2020, พฤษภาคม 2019 และ สิงหาคม 2019 ซึ่งเป็นช่วงที่หุ้นโลกร่วงหนักสุด ๆ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ในเดือนกันยายน 2020 และตุลาคม 2020 ก็เป็นอย่างนั้นเช่นกัน
  • ทองคำและตราสารหนี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือคุมความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพในหลาย ๆ ช่วงที่ตลาดปรับตัวลง

มุมมอง: นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดความคาดหวังต่อการฟื้นตัวและเงินเฟ้อในสหรัฐฯ

  • ข่าววัคซีนและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนเงินเฟ้อต่อไปได้
  • นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่าล้านล้านดอลล่าร์ของประธานาธิบดีไบเดนนั้นส่งผลให้เกิดความคาดหวังว่าจะมีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในสหรัฐฯ
  • อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่าตลาดกำลังคาดหวังเงินเฟ้อ

มุมมอง: มีความคาดหวังว่าเศรษฐกิจยุโรปจะฟื้นตัวในครึ่งหลังปี 2021

  • ฝั่ง EU ก็เจอเงินเฟ้อพุ่งพรวดเหมือนกัน แต่ไม่มากเท่าสหรัฐฯ
  • แผนการฟื้นฟูจากคณะกรรมาธิการยุโรปนั้นมีขนาดเล็กกว่าของฝั่งสหรัฐฯ
  • ผลตอบแทนตราสารหนี้ยุโรปก็เริ่มเคลื่อนไหวเช่นกัน
  • ตลาดคาดหวังว่าการแจกจ่ายวัคซีนจะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นในครึ่งหลังปี 2021

มุมมอง: Fed และ ECB อนุญาตให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงได้

  • Fed และ ECB พร้อมที่จะเพิ่มเงินเฟ้อเป้าหมายเกินกว่าปกติ เพราะก่อนหน้านี้เงินเฟ้อต่ำกว่าปกติมานาน
  • สิ่งนี้อาจเป็นตัวขับเคลื่อนให้ความคาดหวังเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้นต่อ
  • เราคิดว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างน้อยก็ในระยะสั้นนี้ บางส่วนเป็นผลกระทบมาจากโควิด-19

มุมมอง: จีนยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนอุปสงค์ของเอเชียและตลาดเกิดใหม่ต่อไป

  • การฟื้นตัวด้านอุปสงค์ที่แข็งแกร่งของจีนยังคงดำเนินต่อ เป็นผลดีต่อเอเชียและตลาดเกิดใหม่ การฟื้นตัวของอุปสงค์นี้ยังอาจสามารถขับเคลื่อนราคาโภคภัณฑ์ให้ไปต่อได้
  • ราคาโภคภัณฑ์ที่แข็งแกร่งมักจะเป็นผลดีต่อตลาดเกิดใหม่
  • ในกลุ่มตลาดหุ้น เราชื่นชอบเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดเกิดใหม่
  • ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาน่าจะเป็นเพียงความอ่อนตัวชั่วคราวของตลาด

มุมมอง: ราคาทองคำน่าจะยังอ่อนตัวในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้

  • ในระยะยาว ยิ่งมีการพูดถึงเงินเฟ้อมาก ก็อาจส่งให้เกิดการคาดหวังถึงอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ติดลบ (Negative Real Rates)
  • อย่างไรก็ดี สิ่งที่เราเพิ่งได้เห็นกัน ก็คือการที่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงเพิ่มขึ้น
  • อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นศัตรูตัวร้ายที่สุดของราคาทองคำ ดังนั้น การคงสัดส่วนทองคำที่ต่ำไว้ก็ยังเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง

สรุป FVMR แต่ละภูมิภาค

All Weather Strategy มีนาคม 2021: คงสัดส่วนหุ้น 65% โภคภัณฑ์ 25%

รูปที่ 8: สรุป FVMR หุ้นแต่ละกลุ่มประเทศ
ข้อมูล ณ วันที่
31 มี.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

  • พื้นฐาน (Fundamentals): หุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (Return on Equity) สูงที่สุด
  • มูลค่า (Valuation): ตลาดเกิดใหม่มี PE (Price-to-Earnings) ต่ำสุด และญี่ปุ่นมี PB (Price-to-Book) ต่ำสุด
  • แนวโน้ม (Momentum): สหรัฐฯ ขึ้นเยอะสุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
  • ความเสี่ยง (Risk): ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และญี่ปุ่น มีอัตราหนี้สินต่อทุน (Gearing) ต่ำที่สุด

ความเสี่ยง: Fed ลงมือทำอะไรที่รุนแรง

  • แม้ว่าเราจะได้ปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นแล้ว แต่ความเสี่ยงก็ยังคงอยู่
  • ความเสี่ยงใหญ่สุดก็คือการที่ Fed ป้องกันไม่ให้อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาหุ้นและตราสารหนี้วิ่งต่อ

สรุป รีวิวพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือนมีนาคม 2021

  • พอร์ต All Weather Strategy แพ้หุ้นโลกในเดือนมีนาคม เมื่อหุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) หุ้นตลาดเกิดใหม่ และโภคภัณฑ์ ต่างปรับตัวลงในเดือนมีนาคม เนื่องจากค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่แข็งขึ้น
  • ตลาดหุ้นฝั่งตะวันตกน่าจะยังสามารถคงความแข็งแกร่งไว้ได้ขณะที่ยังมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนฝั่งตะวันออกก็ถูกขับเคลื่อนโดยประเทศจีน
  • สัดส่วนหุ้นของเราอยู่ที่ 65% และโภคภัณฑ์อยู่ที่ 25%

Andrew Stotz

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้

ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ FINNOMENA

**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

TSF2024