- รีวิว: สัดส่วนหุ้นที่น้อย ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของ AWS ไม่ดีเท่าที่ควร
- มิถุนายน 2020: ผลการดำเนินงานไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากหุ้นยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
- ตั้งแต่ก่อตั้ง: แพ้หุ้นโลก แต่มีจุดขาดทุนสูงสุด (Drawdowns) ที่ต่ำกว่า
- ตั้งแต่ก่อตั้ง: เมื่อเทียบกับความผันผวนของตลาดหุ้นโลก พอร์ต All Weather Strategy มีความผันผวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
- ตั้งแต่ก่อตั้ง: พอร์ตการลงทุนนี้มีการปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลก ในช่วงเวลาเดียวกัน
- ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS มักจะทำผลงานได้เหนือกว่า เมื่อหุ้นโลกเผชิญภาวะร่วงหนัก
มุมมอง
- เฟดไม่สามารถพยุงตลาดได้ตลอดไป การกลับมาเปิดเมืองอีกครั้งยังคงมีข้อจำกัดหลายประการ
- เรายังคงโฟกัสกับการปกป้องความเสี่ยงขาลง
รีวิว: สัดส่วนหุ้นที่น้อย ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของ AWS ไม่ดีเท่าที่ควร
- ในเดือนมิถุนายน เรายังคงระมัดระวังการลงทุนในหุ้น ถึงอย่างนั้นก็ได้เพิ่มสัดส่วนเป็น 40% จาก 25%
- อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยได้แรงหนุนจากการอัดฉีดเงินของเฟด และมุมมองที่สดใสขึ้นท่ามกลางการระบาดของโควิด-19
รีวิว: เพิ่มสัดส่วนให้หุ้นที่ทำผลงานโดดเด่นมากที่สุดและน้อยที่สุด
- จากการปรับพอร์ตครั้งล่าสุด หลัก ๆ คือเราต้องการเพิ่มสัดส่วนหุ้นเล็กน้อย และให้น้ำหนักกับหุ้นสหรัฐฯ ไม่มาก
- หุ้นเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ทำผลงานได้ดีในเดือนมิถุนายน 2020 เมื่อหลาย ๆ ประเทศได้เริ่มเปิดเมือง และมียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่น้อยลง
- ในขณะที่หุ้นญี่ปุ่นยังคงถูก แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นหุ้นที่ทำผลงานแย่ที่สุดในเดือนมิถุนายน เมื่อการฟื้นตัวไม่ได้รวดเร็วดังที่คาดหวังไว้ก่อนหน้านี้
รีวิว: ผลตอบแทนตราสารหนี้ยังคงนิ่ง ดังที่คาดไว้
- เมื่อเดือนมิถุนายน เราลดสัดส่วนตราสารหนี้เป็น 30% จาก 45% ซึ่งเราก็ยังถือแค่ตราสารหนี้ภาครัฐของประเทศไทยเท่านั้น แทนที่จะถือผสมกับตราสารหนี้ภาครัฐโลก และตราสารหนี้ภาคเอกชน
- เหตุผลหลักที่เราเพิ่มสัดส่วนตราสารหนี้และสับเปลี่ยนออกจากตราสารหนี้เอกชน คือเพื่อจำกัดความเสี่ยงขาลง ตั้งแต่นั้นมา ผลตอบแทนก็ยังคงนิ่ง
รีวิว: กลุ่มโภคภัณฑ์ได้ฟื้นตัวขึ้น
- ก่อนหน้านี้เราได้ปรับสัดส่วนโภคภัณฑ์ออกทั้งหมด และก็ยังคงเป็นเช่นนั้น
- ในเดือนมิถุนายน ราคาโภคภัณฑ์ยังคงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขับเคลื่อนโดยน้ำมันและโลหะอุตสาหกรรม
รีวิว: ทองคำแตะจุดสูงสุดใหม่ในเดือนมิถุนายน
- ก่อนหน้านี้ เราเพิ่มสัดส่วนทองคำเป็น 30% จาก 25% และก็ยังคงเป็นเช่นนั้น
- ความไม่แน่นอนที่ยังดำรงต่อไปนั้นเป็นปัจจัยหนุนความต้องการการลงทุนในทองคำ
- ทองคำแตะจุดสูงสุดใหม่ในเดือนมิถุนายน 2020 นับตั้งแต่วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปในช่วงปี 2008-2012
มิถุนายน 2020: ผลการดำเนินงานไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากหุ้นยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
รูปที่ 1: รูปเปรียบเทียบผลตอบแทน AWS กับสินทรัพย์อื่น ๆ
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2020 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- AWS: แพ้หุ้นโลกไป 6%
- ทองคำ: ผลตอบแทนแพ้หุ้น
- ตราสารหนี้: ผลตอบแทนนิ่งดังที่คาด
- เอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น): เป็นหุ้นที่ทำผลงานดีที่สุด
- ญี่ปุ่น: เป็นหุ้นที่ทำผลงานแย่สุดในเดือนมิถุนายน 2020
ตั้งแต่ก่อตั้ง: แพ้หุ้นโลก แต่มีจุดขาดทุนสูงสุด (Drawdowns) ที่ต่ำกว่า
รูปที่ 2: เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่าง AWS และ MSCI World
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2020 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- พอร์ต All Weather Strategy โดยส่วนใหญ่มีการกระจายการลงทุนในหุ้น 45-65% และลงทุนในทองคำ 25%
- ตั้งแต่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา สัดส่วนคือหุ้น 40% ตราสารหนี้ 30% และทองคำ 30%
- การมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่ต่ำกว่าในเชิงเปรียบเทียบ ช่วยลดความรุนแรงของการปรับตัวลงเมื่อเทียบกับกลยุทธ์ที่มีหุ้นเพียงอย่างเดียว
ตั้งแต่ก่อตั้ง: เมื่อเทียบกับความผันผวนของตลาดหุ้นโลก พอร์ต All Weather Strategy มีความผันผวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
รูปที่ 3: ความผันผวนของแต่ละสินทรัพย์
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2020 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- ความผันผวนของพอร์ต AWS นั้นมีน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ของความผันผวนหุ้นโลก
- สัดส่วน 25-65% ในหุ้นช่วยลดความผันผวนลง
- ทองคำไม่มีความสัมพันธ์กับหุ้น จึงช่วยลดความผันผวนของพอร์ต AWS
ตั้งแต่ก่อตั้ง: พอร์ตการลงทุนนี้มีการปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลก ในช่วงเวลาเดียวกัน
รูปที่ 4: ผลดำเนินงานของ 10 วันที่แย่ที่สุดของหุ้นโลก เทียบกับ AWS
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2020 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- ลักษณะที่โดดเด่นของ AWS คือ ตั้งเป้าให้ปรับตัวลงน้อยกว่า ยามตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง
- นับตั้งแต่ก่อตั้งพอร์ต เมื่อดูข้อมูลของ 10 วันที่ตลาดหุ้นมีผลตอบแทนย่ำแย่ที่สุด พบว่าผลตอบแทนของ AWS ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลกในวันนั้น
- ส่วนใหญ่เป็นเพราะสัดส่วนหุ้นที่น้อย และการกระจายลงทุนในทองคำ
ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS มักจะทำผลงานได้เหนือกว่า เมื่อหุ้นโลกเผชิญภาวะร่วงหนัก
รูปที่ 5: เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน AWS และ MSCI World ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2020 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- ผลการดำเนินงานของ AWS เหนือกว่าหุ้นโลกที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม 2020 กุมภาพันธ์ 2020 พฤษภาคม 2019 และ สิงหาคม 2019 ซึ่งเป็นช่วงที่หุ้นโลกร่วงหนักสุด ๆ
- ทองคำและตราสารหนี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือคุมความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพในหลาย ๆ ช่วงที่ตลาดปรับตัวลง
มุมมอง: เฟดไม่สามารถพยุงตลาดได้ตลอดไป
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ผ่านจุดสูงสุดในแง่กำไรและมูลค่าแล้ว
- การปิดเมืองเพราะไวรัสโคโรนาเปรียบเสมือนเข็มที่จิ้มฟองสบู่
- การอัดฉีดเงินครั้งใหญ่ของเฟดช่วงกระตุ้นตลาด ป้องกันไม่ให้ล้มฉับพลัน
- การล้มครั้งนี้มีแนวโน้มดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
มุมมอง: แรงกดดันเพิ่มมากขึ้นเมื่อการเลือกตั้งสหรัฐฯ กำลังจะใกล้เข้ามา
- แรงกดดันเพิ่มมากขึ้นเมื่อการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในวันที่ 3 พฤศจิกายนนั้นเป็นสงครามที่จะขับไล่ทรัมป์ และเพื่อให้พรรคเดโมแครตขึ้นกุมอำนาจแทน
- ทรัมป์ยังมีโอกาสหลงเหลือหากพรรคเดโมแครตผลักดันวาระ BLM (Black Lives Matter) มากเกินไป
- ไม่เช่นนั้น ก็มีความเป็นไปได้ที่พรรคเดโมแครตจะได้คุมรัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งหมด
- ความไม่แน่นอนทางการเมืองมีอยู่มาก ทองคำจึงอาจเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่ดีที่สุดหากพรรคเดโมแครตชนะการเลือกตั้ง
มุมมอง: การกลับมาเปิดเมืองอีกครั้งยังคงมีข้อจำกัดหลายประการ
- เรายังมีมุมมองต่อการเติบโตของโลกที่เป็นลบ
- ดังนั้น สินค้าโภคภัณฑ์จึงยังไม่น่าสนใจสำหรับเรา
- บางธุรกิจอาจจะไม่สามารถดำเนินการต่อได้ และรูปแบบการใช้จ่ายเงินอาจจะเปลี่ยน ดังนั้นการฟื้นตัวแบบสมบูรณ์อาจจะใช้เวลานานมาก
- เรามองว่าเอเชียจะเป็นภูมิภาคที่เติบโตสูงสุดหลังโควิด
มุมมอง: แม้จะควบคุมไวรัสได้ แต่ปัญหาอื่น ๆ จะยังคงอยู่
- เรายังคงโฟกัสในการป้องกันความเสี่ยงขาลง แม้ว่านั่นจะหมายถึงการแพ้ให้กับหุ้นโลกในระยะสั้นก็ตาม
- เรายังคงเห็นความเสี่ยงที่โควิด-19 จะระบาดระลอก 2 ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมให้มุมมองการเติบโตแย่ลงไปอีก
- และหากการระบาดของไวรัสนั้นจบไวกว่าที่คาดไว้ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ การว่างงานในวงกว้าง และปัญหาหนี้ก็จะยังคงอยู่
สรุป FVMR แต่ละภูมิภาค
รูปที่ 6: สรุป FVMR หุ้นแต่ละกลุ่มประเทศ
ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2020 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
- พื้นฐาน (Fundamentals): หุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (Return on Equity) สูงที่สุด
- มูลค่า (Valuation): ตลาดเกิดใหม่มี PE (Price-to-Earnings) ต่ำสุด และญี่ปุ่นมี PB (Price-to-Book) ต่ำสุด
- แนวโน้ม (Momentum): ตลาดสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นมากที่สุดภายในหนึ่งปีที่ผ่านมา
- ความเสี่ยง (Risk): ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และญี่ปุ่น มีอัตราหนี้สินต่อทุน (Gearing) ต่ำที่สุด
สรุป รีวิวพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือนมิถุนายน 2020
- All Weather Strategy มีผลตอบแทนน้อยกว่าหุ้นโลกในเดือนมิถุนายน เมื่อหุ้นยังคงแข็งแกร่ง
- เฟดไม่สามารถพยุงตลาดได้ตลอดไป และแม้ว่าจะควบคุมไวรัสได้ แต่ปัญหาอื่น ๆ ก็ยังคงอยู่
- เรายังคงการตั้งรับด้วยสัดส่วนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ 30% และทองคำที่ 30%
Andrew Stotz
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”