รีวิว
- เอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดเกิดใหม่ ทำผลงานดีสุดในกลุ่มตลาดหุ้น
- มกราคม 2021: AWS ชนะหุ้นโลกไป 2%
- ตั้งแต่ก่อตั้ง: แพ้หุ้นโลกแต่มีจุดขาดทุนสูงสุด (Drawdowns) ที่ต่ำกว่า
- ตั้งแต่ก่อตั้ง: เมื่อเทียบกับความผันผวนของตลาดหุ้นโลก พอร์ต All Weather Strategy มีความผันผวนประมาณครึ่งหนึ่ง
- ตั้งแต่ก่อตั้ง: พอร์ตการลงทุนนี้มีการปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลก ในช่วงเวลาเดียวกัน
- ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS มักจะทำผลงานได้เหนือกว่า เมื่อหุ้นโลกเผชิญภาวะร่วงหนัก
มุมมอง
- สำหรับตลาดฝั่งตะวันตกนั้นยังคงต้องรอตัวกระตุ้นใหม่ ในขณะฝั่งตะวันออกนั้นมีจีนเป็นตัวขับเคลื่อน
- สัดส่วนหุ้นของเราอยู่ที่จุดสูงสุดของขีดจำกัด นั่นคือ 85%
รีวิว: เราไม่ใช่กลุ่ม r/WallStreetBets หรือ Elon Musk
รูปที่ 1: Twitter ของ Elon Musk
ที่มา: A.Stotz Investment Research, Twitter
- AWS ไม่ได้ไล่ตามผลตอบแทนระยะสั้นด้วยการเดิมพันที่เสี่ยงสูง แต่ใช้วิธีชนะแบบช้า ๆ เน้นความมั่นคง
- ไม่เหมือนกับมุกตลกที่มาจาก r/WallStreetBets ใน Reddit ที่ยิ่งแพร่ไปไกลเมื่อ Elon Musk และเศรษฐีรายอื่น ๆ กล่าวถึง
รีวิว: หุ้นโลกร่วงเล็กน้อยในเดือนมกราคม 2021
- ตลาดพัฒนาแล้วทำผลงานได้ไม่ดีเท่าตลาดเกิดใหม่
- ผลการดำเนินงานของตลาดเกิดใหม่นั้นยังคงบวกเป็นเวลา 4 เดือนติดต่อกัน
เอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดเกิดใหม่ ทำผลงานดีสุดในกลุ่มตลาดหุ้น
- เรามีสัดส่วนอย่างละ 25% สำหรับทั้งคู่ ซึ่งก็ช่วยเกื้อหนุนผลการดำเนินงานของพอร์ต
- สหรัฐฯ ทำผลงานได้แย่ที่สุดเป็นอันดับสอง กลายเป็นตัวฉุดผลตอบแทนของ AWS
รีวิว: จีนยังคงไปต่ออย่างแข็งแกร่ง ส่วนตลาดฝั่งตะวันตกนั้นยังไม่มีข่าวอะไรที่ขับเคลื่อนให้ตลาดไปสูงขึ้น
- จีนช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนให้เอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดเกิดใหม่ปรับตัวสูงขึ้น
- ตลาดฝั่งยุโรปพัฒนาแล้วยังไม่เจอแรงหนุนจากข่าวดีเรื่องวัคซีนใด ๆ ตรงกันข้าม กลับเจอข่าวความล่าช้าของวัคซีน AstraZeneca ด้วยซ้ำ
- เมื่อไม่มีการประกาศมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมจากการประชุม FOMC จึงทำให้ผลการดำเนินงานของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง
รีวิว: ยังคงสัดส่วนตราสารหนี้ที่ต่ำ อยู่ที่ 5%
- ในการปรับพอร์ตครั้งล่าสุด เราลดสัดส่วนตราสารหนี้เหลือ 5% จาก 15% เมื่อตราสารหนี้เริ่มดูไม่น่าสนใจเท่าหุ้น โดยเราถือแค่ตราสารหนี้ภาครัฐของประเทศไทยเท่านั้น แทนที่จะถือผสมกับตราสารหนี้ภาครัฐโลก และตราสารหนี้ภาคเอกชน
รีวิว: โภคภัณฑ์ทำผลงานได้ดีที่สุดเป็นอันดับสองในเดือนมกราคม 2021
- ในการปรับพอร์ตครั้งล่าสุด สัดส่วนโภคภัณฑ์ของเรายังอยู่ระดับเดิมที่ 5%
- ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา กลุ่มพลังงานและโลหะอุตสาหกรรมยังคงทำผลงานได้ดีต่อเนื่องเมื่อภาคส่วนอุตสาหกรรมของโลกเริ่มฟื้นตัวกลับมา
- สินค้าโภคภัณฑ์เกษตรบางตัวก็ทำผลงานได้ดีอันเนื่องมาจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากภูมิภาคเอเชีย
รีวิว: ทองคำปรับตัวลงในเดือนมกราคม หลังทำผลงานได้แข็งแกร่งเมื่อเดือนธันวาคม 2020
- ทองคำทำผลงานได้แย่ที่สุดเป็นอันดับสองเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ดังนั้นการที่เราลดสัดส่วนเหลือ 5% จึงช่วยพยุงผลตอบแทนของพอร์ตไว้ได้
มกราคม 2021: AWS ชนะหุ้นโลกไป 2%
รูปที่ 2: รูปเปรียบเทียบผลตอบแทน AWS กับสินทรัพย์อื่น ๆ
ข้อมูล ณ วันที่ 29 ม.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- เอเชีย–แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น): ทำผลงานได้ดีที่สุดในกลุ่มหุ้น
- ตลาดเกิดใหม่: ทำผลงานได้ดีที่สุดเป็นอันดับสองในกลุ่มหุ้น
- สหรัฐฯ: ทำผลงานได้แย่ที่สุดเป็นอันดับสองในกลุ่มหุ้น
ตั้งแต่ก่อตั้ง: แพ้หุ้นโลกแต่มีจุดขาดทุนสูงสุด (Drawdowns) ที่ต่ำกว่า
รูปที่ 3: เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่าง AWS และ MSCI World
ข้อมูล ณ วันที่ 29 ม.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- พอร์ต All Weather Strategy โดยส่วนใหญ่มีการกระจายการลงทุนในหุ้น 45-65% และลงทุนในทองคำ 25%
- ตั้งแต่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา สัดส่วนคือหุ้น 85% ตราสารหนี้ 5% ทองคำ 5% และโภคภัณฑ์ 5%
- ความเสี่ยงขาลงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลยุทธ์ที่มีหุ้นเพียงอย่างเดียว
ตั้งแต่ก่อตั้ง: เมื่อเทียบกับความผันผวนของตลาดหุ้นโลก พอร์ต All Weather Strategy มีความผันผวนประมาณครึ่งหนึ่ง
รูปที่ 4: ความผันผวนของแต่ละสินทรัพย์
ข้อมูล ณ วันที่ 29 ม.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- สัดส่วน 25-65% ในหุ้นช่วยลดความผันผวนลง
- ทองคำไม่มีความสัมพันธ์กับหุ้น จึงช่วยลดความผันผวนของพอร์ต AWS
ตั้งแต่ก่อตั้ง: พอร์ตการลงทุนนี้มีการปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลก ในช่วงเวลาเดียวกัน
รูปที่ 5: ผลดำเนินงานของ 10 วันที่แย่ที่สุดของหุ้นโลก เทียบกับ AWS
ข้อมูล ณ วันที่ 29 ม.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- ลักษณะที่โดดเด่นของ AWS คือ ตั้งเป้าให้ปรับตัวลงน้อยกว่า ยามตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง
- นับตั้งแต่ก่อตั้งพอร์ต เมื่อดูข้อมูลของ 10 วันที่ตลาดหุ้นมีผลตอบแทนย่ำแย่ที่สุด พบว่าผลตอบแทนของ AWS ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลกในวันนั้น
- ส่วนใหญ่เป็นเพราะสัดส่วนหุ้นที่น้อย และสัดส่วนทองคำที่สูง
ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS มักจะทำผลงานได้เหนือกว่า เมื่อหุ้นโลกเผชิญภาวะร่วงหนัก
รูปที่ 5: เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน AWS และ MSCI World ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูล ณ วันที่ 29 ม.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- ผลการดำเนินงานของ AWS เหนือกว่าหุ้นโลกที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม 2020 กุมภาพันธ์ 2020 พฤษภาคม 2019 และ สิงหาคม 2019 ซึ่งเป็นช่วงที่หุ้นโลกร่วงหนักสุด ๆ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ในเดือนกันยายน 2020 และตุลาคม 2020 ก็เป็นอย่างนั้นเช่นกัน
- ทองคำและตราสารหนี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือคุมความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพในหลาย ๆ ช่วงที่ตลาดปรับตัวลง
มุมมอง: ตลาดฝั่งตะวันตกนั้นยังคงต้องรอตัวกระตุ้นใหม่
- ดูเหมือนว่าตลาดฝั่งตะวันตกจะกำลังรอตัวกระตุ้นใหม่ วัคซีน ไม่ก็ข่าวดีอื่น ๆ ที่จะช่วยผลักดันให้หุ้นไปต่อได้สูงขึ้น
- ในฝั่งตลาดสหรัฐฯ เองก็ดูเหมือนจะกำลังรอมาตรการกระตุ้นใหม่จากประธานาธิบดีไบเดนเช่นกัน
- ฝั่ง EU ก็กำลังเจอความท้าทายด้านวัคซีน ส่วนสหราชอาณาจักรที่เพิ่งเป็นอิสระจาก EU นั้นก็เจอในระดับที่ต่างกัน
มุมมอง: เอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดเกิดใหม่ มีความน่าสนใจ
- จีนมีการฟื้นตัวทางอุปสงค์ที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลดีต่อเอเชียและตลาดเกิดใหม่โดยรวม การฟื้นตัวของอุปสงค์นี้ยังอาจสามารถช่วยผลักดันโภคภัณฑ์ให้ไปต่อมากขึ้น
- ข่าววัคซีนและมาตรการกระตุ้นสามารถขับเคลื่อนตลาดหุ้นให้ไปไกลกว่านี้ได้
- เอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดเกิดใหม่ คือตลาดหุ้นที่เราสนใจ
มุมมอง: เริ่มมีการพูดถึงเงินเฟ้อมากขึ้น
- ในระยะยาว เราคาดหวังว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น
- ยิ่งมีการพูดถึงเงินเฟ้อมาก ก็อาจส่งให้เกิดการคาดหวังถึงอัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่ติดลบ (Negative Real Rates)
- ความคาดหวังดังกล่าวอาจผลักดันให้เงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เช่น หุ้น
- ความคาดหวังเงินเฟ้อที่มากขึ้นอาจเป็นผลดีต่อทองคำและโภคภัณฑ์
มุมมอง: ปัญหาระยะยาวยังคงอยู่
- หุ้นสหรัฐฯ ยังคงแพงเกินไป และหนี้สหรัฐฯ ก็สูงขึ้นทุก ๆ วัน
- แม้ว่าจะสามารถควบคุมโควิด-19 ได้แล้ว ความกังวลมากมายก็ยังคงอยู่ เช่น ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และการว่างงานในวงกว้าง
- ขณะนี้พวกเรามีสัดส่วนหุ้นอยู่ที่ขีดจำกัดสูงสุด ณ 85% โดยเราจะทำการทบทวนการตัดสินใจนี้ ในอีกไม่เกิน 3 เดือนหน้า
สรุป FVMR แต่ละภูมิภาค
รูปที่ 6: สรุป FVMR หุ้นแต่ละกลุ่มประเทศ
ข้อมูล ณ วันที่ 29 ม.ค. 2021 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
- พื้นฐาน (Fundamentals): หุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (Return on Equity) สูงที่สุด
- มูลค่า (Valuation): ตลาดเกิดใหม่มี PE (Price-to-Earnings) ต่ำสุด และญี่ปุ่นมี PB (Price-to-Book) ต่ำสุด
- แนวโน้ม (Momentum): ตลาดเกิดใหม่ขึ้นเยอะสุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
- ความเสี่ยง (Risk): ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และญี่ปุ่น มีอัตราหนี้สินต่อทุน (Gearing) ต่ำที่สุด
สรุป รีวิวพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือนมกราคม 2021
- All Weather Strategy ชนะหุ้นโลกในเดือนมกราคม 2021 เมื่อตลาดเกิดใหม่และเอเชีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ทำผลงานได้แข็งแกร่ง
- สำหรับตลาดฝั่งตะวันตกนั้นยังคงต้องรอตัวกระตุ้นใหม่ ในขณะฝั่งตะวันออกนั้นมีจีนเป็นตัวขับเคลื่อน
- สัดส่วนหุ้นของเราอยู่ที่จุดสูงสุดของขีดจำกัด นั่นคือ 85%
Andrew Stotz
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”