All Weather Strategy: หุ้นปรับตัวลง แต่มองว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อ
คอนเซปต์หลักพอร์ต All Weather Strategy (AWS)
- Global: ลงทุนทั่วโลก
- Long-term: สร้างผลตอบแทนระยะยาว และจำกัดการขาดทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับฐาน
- Diversified: กระจายการลงทุนทั่วโลกใน 4 สินทรัพย์
ผลการดำเนินงาน AWS
- รีวิว: นักลงทุนกังวลกับการขึ้นดอกเบี้ยและภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- ผลงาน: AWS ปรับตัวลง 9% ในเดือนกันยายน 2022 โดยสร้างผลตอบแทนต่ำกว่าพอร์ต 60/40 อยู่ 0.2%
- มุมมอง: ธนาคารกลางกำลังขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพื่อชะลออัตราเงินเฟ้อ โดยการเกิดภาวะ stagflation (เงินเฟ้อสูง และเศรษฐกิจชะงักงัน) เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้
- ความเสี่ยง: เงินเฟ้อควบคุมได้ นโยบายการเงินทำให้ตลาดหุ้นปรับลงอย่างรุนแรง และเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอ
รีวิว: ผลตอบแทนของดัชนีต่าง ๆ ทั่วโลก
- ตลาดสหรัฐฯ ปรับตัวลงอย่างรุนแรงในเดือนที่ผ่านมา
- ตลาดหุ้นจีน และเอเชียปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน
- ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลง น้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ
อัปเดต: อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นในเยอรมนี
- เงินเฟ้อของสหภาพยุโรปในภาพรวมอยู่ในระดับ 10% ในเดือนกันยายน
อัปเดต: ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว รัฐบาลเยอรมนีกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง
อัปเดต: ราคาพลังงานเป็นส่วนสำคัญของภาวะเงินเฟ้อ
อัปเดต: ปัญหาการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติในยุโรปรุนแรงขึ้น เมื่อท่อส่งก๊าซ Nord Stream เสียหาย
อัปเดต: นักการเมืองโปแลนด์ “ขอบคุณ” สหรัฐฯ ที่ทำให้เกิดวิกฤตด้านพลังงานในยุโรป
- ทวิตเตอร์ข้อความนี้ถูกลบไปแล้ว
- แม้ว่าสื่อมวลชนในยุโรปจะมองว่ารัสเซียเป็นตัวการสำคัญ แต่บางส่วนเชื่อว่าสหรัฐฯ อาจอยู่เบื้องหลังด้วย
- สหรัฐฯ น่าจะได้ประโยชน์จากวิกฤตพลังงานในยุโรป
อัปเดต: เศรษฐกิจ และบริษัทในเยอรมนีได้รับผลกระทบอย่างมากจากการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ
อัปเดต: ราคาก๊าซธรรมชาติส่งผลต่อราคาปุ๋ย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานอาหารในที่สุด
อัปเดต: ราคาปุ๋ยที่สูงขึ้น หรือการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานจะส่งผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มรายได้น้อยมากที่สุด
อัปเดต: ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เพื่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ
อัปเดต: ครั้งนี้เป็นการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วที่สุดของ FED นับตั้งแต่ช่วงปี 1980
อัปเดต: แต่การขึ้นดอกเบี้ยจะช่วยชะลออัตราเงินเฟ้อได้หรือไม่
- การขึ้นดอกเบี้ยจะลดความต้องการสินค้าและบริการ
- อย่างไรก็ตาม นอกจากปัจจัยด้านราคาพลังงานแล้ว เงินเฟ้ออาจมาจากด้านอุปทาน (supply-side) ด้วย
อัปเดต: ตลาดเชื่อว่านโยบายของ FED จะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อได้
- นักลงทุนควรมองไปที่อัตราเงินเฟ้อในอนาคต แทนที่จะมองที่เงินเฟ้อปัจจุบัน
อัปเดต: การขึ้นดอกเบี้ยของ FED ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนในตลาดหุ้น
อัปเดต: ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบายเมื่อเห็นว่าบางสิ่งกำลังสร้างความเสียหาย
- กราฟแสดงให้เห็นผลตอบแทนพันธบัตร 30 ปี ที่ปรับตัวลงอย่างรวดเร็วเมื่อ BOE เข้าแทรกแซง
- แสดงให้เห็นว่าธนาคารกลางพร้อมจะผ่อนคลายนโยบายทันทีที่บางสิ่งเกิดความเสียหายขึ้น
อัปเดต: บริษัทสหรัฐฯ มองว่าเศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย (recession)
อัปเดต: ข่าวดีคือ ถ้านักลงทุนอายุน้อย ราคาหุ้นที่ต่ำเป็นโอกาสในการลงทุนที่ดี
อัปเดต: การปรับตัวลง 20% มักหมายถึง การสร้างผลตอบแทน 40% ในอีก 3 ปีข้างหน้า
ข้อสรุปที่สำคัญ
- เงินเฟ้อยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
- ท่อก๊าซ Nord Stream ที่เสียหายจะทำให้วิกฤตพลังงานในยุโรปรุนแรงขึ้น
- ธนาคารกลางต่าง ๆ ทยอยขึ้นดอกเบี้ย แม้ว่าจะมีความเสี่ยง recession
- ข่าวดีคือ ราคาหุ้นที่ต่ำ จะเป็นโอกาสในการลงทุนที่ดี
รีวิว: เราให้น้ำหนักการลงทุน 25% ในแต่ละสินทรัพย์
- เราไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักในครั้งนี้
รีวิว: หุ้นโลกปรับตัวลงในปี 2022 โดยปรับตัวลง 9.5% ในเดือนกันยายน
- หุ้นโลกปรับตัวขึ้น 0% ในปี 2021 แต่ตั้งแต่ต้นปี 2022 ปรับตัวลง 25.3%
รีวิว: หุ้นสหรัฐฯ ทำผลงานได้แย่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ในเดือนกันยายน 2022 โดยปรับตัวลง 9.8%
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นสหรัฐฯ
- นักลงทุนเชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยของ FED จะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ
รีวิว: หุ้นยุโรปทำผลงานได้ดีที่สุด แม้ว่าจะปรับตัวลง 5.3% ในเดือนกันยายน 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นยุโรปกลุ่มพัฒนาแล้ว ซึ่งปรับตัวลง4% ในเดือนสิงหาคม 2022
- วิกฤตพลังงาน และอัตราเงินเฟ้อยังกดดันเศรษฐกิจยุโรปต่อเนื่อง
รีวิว: ตลาดเกิดใหม่ปรับตัวลง 10.1% ในเดือนกันยายน 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นตลาดเกิดใหม่ ซึ่งปรับตัวลง1% ในเดือนกันยายน 2022
- การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กดดันผลตอบแทนของตลาดเกิดใหม่
รีวิว: หุ้นเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น ปรับตัวลงมากที่สุด โดยปรับตัวลง 11.7% ในเดือนกันยายน 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น ซึ่งปรับตัวลง 11.7%
- การปรับตัวลงของหุ้นจีน และการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ กดดันผลตอบแทนของตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น
รีวิว: ตลาดญี่ปุ่นสร้างผลตอบแทนได้ดีเป็นอันดับ 2 ในเดือนกันยายน 2022 แม้ว่าจะปรับตัวลง 6.2%
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นญี่ปุ่น โดยปรับตัวลง 6.2% ในเดือนกันยายน 2022
- ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจถดถอย และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์กดดันตลาดหุ้นญี่ปุ่น
รีวิว: ตลาดตราสารหนี้ไทยทรงตัว
- เราให้น้ำหนัก 5% กับตราสารหนี้ไทย (แทนที่จะเป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ) ซึ่งทรงตัวในช่วงที่ผ่านมา
- วัตถุประสงค์หลักของการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากตลาดขาลง
รีวิว: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้ผลตอบแทนได้แย่ที่สุด โดยปรับตัวลง 12.2% ในเดือนกันยายน 2022
- เราให้น้ำหนัก 25% กับสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งปรับตัวลง2% ในเดือนกันยายน 2022
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นขาขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน 2020
รีวิว: น้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลง โดยราคาปิด ณ สิ้นเดือนกันยายน 2022 อยู่ที่ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
- ราคาพลังงานกดดันผลตอบแทนของสินค้าโภคภัณฑ์
รีวิว: สินค้าเกษตรสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุด
- ปริมาณสินค้าในโกดังที่ลดลง และการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย ทำให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น
รีวิว: ทองคำปรับตัวลงในปี 2022 โดยปรับตัวลง 2.8% ในเดือนกันยายน 2022
- เราให้น้ำหนัก 25% ในทองคำ
- ราคาทองคำอยู่ที่ 1,661 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ในเดือนกันยายน 2022
รีวิว: ความอ่อนแอของผลตอบแทนจากการลงทุนในทองคำมีส่วนสำคัญจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
- เสมือนว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นคู่แลกเปลี่ยน โดยการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ราคาทองคำต่ำลงในรูปเหรียญสหรัฐฯ
- และหมายความว่า ผลตอบแทนของทองคำ ขึ้นอยู่กับเงินสกุลท้องถิ่นต่าง ๆ ด้วย
รีวิว: มีเพียงเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และสวิสฟรังก์เท่านั้น ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับราคาทองคำในปี 2022
- ตารางนี้ช่วยให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินต่าง ๆ เมื่อเทียบกับทองคำ
- ในเดือนกันยายน เงินเหรียญสหรัฐฯ สวิสฟรังก์ และยูโรสามารถซื้อทองคำได้มากขึ้น (เนื่องจากทองคำมีราคาต่ำลงภายใต้สกุลเงินเหล่านี้)
- ราคาทองคำ เทียบเป็นเงินสกุลอื่น ๆ ค่อนข้างคงที่
รีวิว: AWS ปรับตัวลง 5.9% ในเดือนกันยายน ซึ่งแย่กว่าพอร์ต 60/40 ที่ปรับตัวลง 5.7% เล็กน้อย
- ตั้งแต่ตั้งพอร์ต AWS ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพอร์ต 60/40 อยู่ 6% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2022
เดือนกันยายน 2022: AWS สร้างผลตอบแทนต่ำกว่าพอร์ต 60/40 อยู่ 0.2%
- รีวิวผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่เราให้น้ำหนัก 25%
- สินค้าโภคภัณฑ์: ทำผลงานได้แย่ที่สุด
- พันธบัตร: ทำผลงานได้ดีที่สุด
- ทองคำ: ทำผลงานได้ดีอันดับที่สอง แต่ยังปรับตัวลง
AWS สร้างผลตอบแทนได้ดี
- AWS ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพอร์ต 60/40 ในช่วงเวลาส่วนใหญ่
- ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าทาย
AWS มีความผันผวนต่ำกว่าพอร์ต 60/40
- สัดส่วนการลงทุนในหุ้น 25-65% ช่วยลดความผันผวน
- ทองคำช่วยลดความผันผวนโดยรวมของพอร์ต เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับหุ้น
AWS ขาดทุนน้อยกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 9 ครั้งจาก 10 ครั้งในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงมากที่สุด
- จุดเด่นสำคัญของ AWS คือ การจำกัดการขาดทุนเมื่อตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง
- นับตั้งแต่จัดตั้ง AWS ขาดทุนน้อยกว่าพอร์ต 60/40 อยู่ 9 วันถ้านับจากใน 10 วันที่หุ้นโลกทำผลงานได้ย่ำแย่ที่สุด
AWS ทำผลงานเหนือพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 ใน 60% ของเดือนทั้งหมด แม้ว่าในเดือนกันยายนจะให้ผลตอบแทนไม่ดีนัก
- AWS สามารถสร้างผลตอบแทนเหนือกว่าพอร์ต 60/40 ใน 26 เดือนจาก 43 เดือน
สรุป FVMR แต่ละภูมิภาค
- พื้นฐาน (Fundamentals): หุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (Return on Equity) สูงที่สุด
- มูลค่า (Valuation): หุ้นตลาดเกิดใหม่มี PE (Price-to-Earnings) ต่ำที่สุด และหุ้นญี่ปุ่นมี PB (Price-to-Book) ต่ำที่สุด
- แนวโน้ม (Momentum): หุ้นญี่ปุ่นสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดในปีที่ผ่านมา
- ความเสี่ยง (Risk): หุ้นเอเชียแปซิฟิก และหุ้นญี่ปุ่น มีอัตราหนี้สินต่อทุน (Gearing) ต่ำที่สุด
น้ำหนัก: เราให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้น 25% โดยแบ่งเป็น 5% ในแต่ละภูมิภาค
- เราไม่ได้เปลี่ยนน้ำหนักการลงทุน
มุมมอง: ราคาน้ำมันเริ่มปรับตัวลงมา แต่เงินเฟ้อยังคงสูง
- น้ำมันเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับการเกษตร การผลิต และการคมนาคม
- ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงมาอาจช่วยชะลออัตราเงินเฟ้อ หรือทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงได้
- อย่างไรก็ดี เรากลับพบว่า อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้น
มุมมอง: อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง
- ราคาสินค้าและบริการที่แพงขึ้น เมื่อถึงจุดหนึ่งจะทำให้ความต้องการลดลง
- ฐานเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จะแสดงระดับอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง
- ดังนั้น เงินเฟ้ออาจเข้าใกล้จุดสูงสุดแล้ว แม้ว่าธนาคารกลางยังไม่ได้เข้าแทรกแซง
- แคนาดา 7% สหรัฐฯ 8%
- ฮ่องกง 2% จีน 2.6% ญี่ปุ่น 2.8%
- สิงคโปร์ 7.4% ไทย 7.9% ปากีสถาน 25.4%
- สวิสเซอร์แลนด์ 3.4% ฝรั่งเศส 5.9% นอร์เวย์ 6.7%
- โปแลนด์ 16% สาธารณรัฐเช็ก 18% ยูเครน 23%
มุมมอง: ประธาน FED เหมือนจะพร้อมแล้วที่ต้องชะลอเศรษฐกิจ
- “แม้ว่าการขึ้นดอกเบี้ย การเติบโตที่ช้าลง และตลาดแรงงานที่ลดความร้อนแรงจะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อ แต่ว่าจะนำพามาซึ่งความเจ็บปวดต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ”
- “อย่างไรก็ดี เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นผลจากการสู้กับอัตราเงินเฟ้อ แต่ถ้าเราไม่ชะลออัตราเงินเฟ้อ ประชาชนจะเดือดร้อนมากกว่า”
- ประธาน FED ยืนยันว่าความเดือดร้อนเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้เงินเฟ้อชะลอตัวลง
มุมมอง: การขึ้นดอกเบี้ยในเดือนพฤศจิกายนได้ถูกตลาดคาดการณ์ไว้แล้ว (priced in)
- ตลาดมั่นใจ 100% ว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป
- โดยเชื่อมั่น 53% ว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย75% เข้าสู่ระดับ 3.75-4.00%
มุมมอง: ตั้งแต่เดือนมีนาคม ตลาดคาดว่า FED จะดำเนินนโยบายเข้มงวดมากขึ้น
- ตลาดเชื่อว่าดอกเบี้ยนโยบายจะสูงสุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2023
- FED กำลังสู้กับเงินเฟ้ออย่างเข้มข้น แม้ว่าจะต้องเสี่ยงกับเภาวะศรษฐกิจถดถอย
มุมมอง: ตลาดคาดว่ามีเพียง BOE เท่านั้นที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงกว่า FED
- ธนาคารกลางอื่น ๆ คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยตาม FED
- ดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำกว่าของ ECB และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ทำให้เชื่อว่าเงินยูโร และเงินเยนจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
มุมมอง: การกลับทิศของกราฟอัตราส่วนผลตอบแทนพันธบัตร (inverted yield-curve) รุนแรงขึ้น
- ตั้งแต่ปี 1970 inverted yield-curve จะเกิดขึ้นก่อนภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- หลังจากเกิด inverted yield curve จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยเฉลี่ยภายใน 1 ปี (ประมาณกลางปี 2023)
มุมมอง: ผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น พร้อมกับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (real interest rates)
- ดอกเบี้ยที่แท้จริงในระดับต่ำผลักดันให้นักลงทุนเข้าหาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง
- ดอกเบี้ยที่แท้จริงในระดับสูงเป็นประโยชน์กับพันธบัตรออกใหม่ แต่ไม่เป็นผลดีต่อพันธบัตรระยะยาว หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ
มุมมอง: จับตาดูความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตร (yield spread)
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แตกต่างกันมากขึ้น แสดงให้เห็นว่านักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้น ให้คุ้มค่ากับความเสี่ยง
- สหภาพยุโรปมี yield spread ใกล้เคียงกับในช่วง COVID แล้ว แต่ yield spread ในสหรัฐฯ ยังต่ำกว่า
มุมมอง: ความเห็นตลาดยังมองว่ากำไรของบริษัทจะเพิ่มขึ้น
- เป็นสิ่งที่ดี
- นักวิเคราะห์เชื่อว่ากำไรของบริษัทจะเติบโต 8% ในปีหน้า และจะเติบโตมากขึ้นเป็นลำดับ
มุมมอง: สำหรับภูมิภาคอื่น ๆ คาดว่าอัตราการทำกำไรจะลดลงต่อเนื่อง ยกเว้นตลาดเกิดใหม่ และเอเชียที่จะฟื้นตัวได้ในปีที่ 3
- แม้ว่าจะมีความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย แต่ว่ายังมีการเติบโตของกำไร (การเติบโตไม่ติดลบ)
- นักวิเคราะห์ค่อนข้างกังวลกับบริษัทในสหรัฐฯ ทั้งนี้ นักลงทุนมักจะมองโลกในแง่ดีกว่าความเป็นจริง และไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของตลาดทันท่วงที
รีวิว: ECB ทำตาม FED
- ECB มุ่งมั่นในการสู้กับเงินเฟ้อเหมือนกับ FED โดยล่าสุดอัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายนอยู่ที่ 10%
- ECB ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% ในเดือนกันยายน และตลาดคาดว่าในเดือนตุลาคมจะขึ้นอีก
- ECB ต้องขึ้นดอกเบี้ยให้ใกล้เคียงกับ FED มิเช่นนั้นค่าเงินยูโรจะอ่อนตัวลงอีก ทำให้เกิดภาวะขาดดุลทางการค้า
มุมมอง: ยังไม่มีการดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว (QT) เท่าไรนัก
- งบดุลของธนาคารกลางไม่โตขึ้นแล้ว
มุมมอง: เราเชื่อว่าธนาคารกลางจะกลับทิศนโยบายในอนาคต
- ธนาคารกลางสื่อสารว่าจะควบคุมให้เงินเฟ้อลดลง และนักลงทุนดูเหมือนว่าจะเชื่อเช่นนั้น
- เราเชื่อว่าธนาคารกลาง และนักการเมืองพร้อมที่จะเปลี่ยนนโยบาย หากมีความเสียหายเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ
มุมมอง: BOE เปลี่ยนทิศทางนโยบายเมื่อกำลังจะเกิดความเสียหาย
- เมื่อรัฐบาลอังกฤษเสนอนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบขาดดุล ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น เงินปอนด์อ่อนค่าอย่างรุนแรง
- ผลตอบแทนที่สูงขึ้นทำให้กองทุนบำนาญถูกเรียกหลักประกัน
- BOE เข้ามาซื้อพันธบัตรที่ถูกขายออกมา เพื่อไม่ให้ราคาตกต่ำ และให้คำมั่นว่าจะเข้าแทรกแซงหากเกิดความเสียหาย
- แสดงให้เห็นว่าธนาคารกลางพร้อมกลับทิศทางนโยบาย หากมีความเสี่ยงที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น
มุมมอง: stagflation จะเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้น
- ถ้าธนาคารกลางชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถหยุดเงินเฟ้อได้ จะเกิดภาวะ stagflation
- ภาวะ stagflation ส่งผลเสียต่อหุ้นและพันธบัตร
- สินค้าโภคภัณฑ์มักสร้างผลตอบแทนได้ดีในช่วงเงินเฟ้อ และทองคำมักสร้างผลตอบแทนได้ดีในช่วง stagflation
- เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนสูง เราเชื่อว่าการกระจายความเสี่ยงในหลาย ๆ สินทรัพย์เป็นกลยุทธ์ที่ดี
มุมมอง: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ค่อนข้างแข็งแกร่ง
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีบทบาทมากต่อตลาดการเงินโลก
- เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเหมือนสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยและการทำ QT จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นอีก
- เราเชื่อว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความยืดหยุ่นต่อความเสี่ยงได้ดีกว่าตลาดหุ้นอื่น
- เรายังให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นในแต่ละภูมิภาคอย่างน้อย 5% เนื่องจากเราเชื่อว่าตลาดหุ้นยังอ่อนแอ
มุมมอง: ECB ก็ต้องสู้กับเงินเฟ้อเช่นกัน
- ราคาพลังงานที่สูงขึ้นจะกดดันการบริโภค และการผลิต
- เราคงน้ำหนัก 5% ในการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปกลุ่มพัฒนาแล้ว
มุมมอง: การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลลบต่อตลาดเกิดใหม่
- การขึ้นดอกเบี้ยของ FED น่าจะทำให้เงินเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่า สภาพคล่องในระบบลดลง และทำให้ตลาดเกิดใหม่ได้รับผลกระทบเชิงลบได้
- เงินเหรียญสหรัฐฯ ถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (safe haven) ซึ่งนักลงทุนอาจใช้พักเงินในช่วงที่สถานการณ์โลกมีความไม่แน่นอนสูง
มุมมอง: ตลาดเกิดใหม่ที่มีรายได้น้อย และตลาดเอเชียอาจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตพลังงานยุโรป
- เนื่องจากยุโรปต้องตามหาแหล่งพลังงานใหม่ ทำให้ราคาพลังงานน่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ
- ประเทศที่รวยกว่าจะได้เปรียบในการให้ราคาสูงกว่าในการนำเข้าพลังงาน ซึ่งทำให้ประเทศที่จนกว่าได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนพลังงาน
มุมมอง: การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และเศรษฐกิจจีนยังเป็นข้อกังวล
- การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้การชำระหนี้ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทำได้ยากขึ้น เนื่องจากจะต้องใช้เงินสกุลท้องถิ่นมาแลกมากขึ้น
- เรายังไม่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัว
- รัฐบาลจีนยังคงสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ทำอย่างระมัดระวังไม่ให้มากจนเกินไป
มุมมอง: หุ้นจีนยังคงกดดันผลตอบแทนหุ้นตลาดเกิดใหม่ และตลาดเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น
- หุ้นจีนน่าจะยังคงกดดันผลตอบแทนหุ้นตลาดเกิดใหม่ และตลาดเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นต่อไป
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นตลาดเกิดใหม่ และ 5% ในหุ้นตลาดเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น
มุมมอง: เงินเยนน่าจะอ่อนค่าต่อไป
- ข้อมูลภาคการผลิตของญี่ปุ่นยังคงอ่อนแอจากราคาพลังงาน และราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น
- เราให้น้ำหนัก 5% ในตลาดหุ้นญี่ปุ่น
มุมมอง: เราให้น้ำหนัก 25% ในพันธบัตร
- เราไม่ได้มีการเปลี่ยนน้ำหนักในการลงทุน
มุมมอง: พันธบัตรมักจะเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยในช่วงนี้
- ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย การลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น พันธบัตรรัฐบาล มักให้ผลตอบแทนดี
- อย่างไรก็ดี ในช่วงที่เงินเฟ้อสูง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ต่ำ อาจทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (real return) ติดลบ
- เราไม่ได้ใช้พันธบัตรในการเก็งกำไร เพื่อสร้างผลตอบแทน แต่เรามองว่าพันธบัตรสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ดี
มุมมอง: เราให้น้ำหนักสินค้าโภคภัณฑ์ที่ 25%
- เราไม่ได้มีการเปลี่ยนน้ำหนักในการลงทุน
มุมมอง: ราคาพลังงานจะทรงตัวในระดับสูง
- การที่ยุโรปพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียจะมีผลต่อราคาพลังงานในตลาด
- OPEC+ ผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย และยังประกาศลดระดับกำลังการผลิต
มุมมอง: ปัจจัยพื้นฐานยังสนับสนุนราคาน้ำมัน
- สงครามในยูเครนน่าจะก่อให้เกิดปัญหาด้านอุปทานต่ออีกระยะหนึ่ง ตลอดจนการระเบิดของท่อก๊าซ Nord Stream
- ราคาพลังงานน่าจะอยู่ในระดับสูงต่อไป จากการลงทุนที่ไม่เพียงพอในโครงการใหม่ ๆ
มุมมอง: อุปทานสำหรับสินค้าทางการเกษตรอาจตึงตัวมากขึ้นอีก
- นอกจากพลังงานแล้ว รัสเซียยังเป็นผู้ส่งออกโลหะอุตสาหกรรมหลายชนิด รวมถึงรัสเซีย และยูเครนยังเป็นผู้ส่งออกสำคัญของสินค้าทางการเกษตร
- ลานีญ่า (La Nina) อาจทำให้อุปทานสินค้าเกษตร เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง และแป้ง ลดลง ซึ่งลานีญ่านี้เองทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป เกิดพายุรุนแรง และความแห้งแล้ง ซึ่งผลกระทบอาจแตกต่างกันตามภูมิภาค
มุมมอง: ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ส่งผลต่อราคาอาหาร แต่ราคาธัญพืชปรับตัวลงในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม
- ก๊าซธรรมชาติใช้ในการทำปุ๋ย และราคาที่เพิ่มขึ้นของปุ๋ยทำให้เมล็ดพันธุ์ต้องปรับราคาขึ้นตามไปด้วย
- บริษัทผลิตปุ๋ยรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลกลดกำลังการผลิตปุ๋ยลง 50%
- ข้าวโพดถูกใช้เป็นอาหารของสัตว์ ซึ่งราคาข้าวโพดที่แพงขึ้นทำให้ราคาเนื้อสัตว์ปรับขึ้นตาม
มุมมอง: ดัชนีราคาอาหารโลกปรับขึ้นสูงที่สุดในเดือนมีนาคม 2022 ที่ 160 และปัจจุบันอยู่ที่ 138 ในเดือนสิงหาคม 2022
- การห้ามการส่งออกอาหารของบางประเทศทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารและทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น
- ราคาน้ำมันพืชและธัญพืชที่ปรับตัวลงทำให้ดัชนีราคาอาหารปรับตัวลง โดยน้ำมันพืชปรับตัวลง 19% และธัญพืชปรับตัวลง 11%
- ราคาน้ำมันพืชปรับตัวลงมากที่สุดในเดือนสิงหาคม เช่นกัน
มุมมอง: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์น่าจะยังปรับขึ้นต่อได้
- การฟื้นตัวของความต้องการ (อาหารและพลังงาน) ภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับสงครามจะผลักดันให้สินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น
- การเปิดเมืองอีกครั้งของจีนจะทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น
- ถ้าเกิดภาวะ stagflation คาดว่าสินค้าโภคภัณฑ์จะสร้างผลตอบแทนได้ดี
มุมมอง: เราให้น้ำหนักทองคำที่ 25%
- เราไม่ได้เปลี่ยนแปลงน้ำหนักการลงทุน
มุมมอง: ทองคำจะเป็นเหมือนหลักประกันป้องกันความเสี่ยง
- สงครามในยูเครนทำให้เกิดความไม่แน่นอน ผลักดันความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อ ทำให้สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ ได้รับความสนใจมากขึ้น
- อย่างไรก็ดี ความคาดหวังการขึ้นดอกเบี้ย อาจกดดันราคาทองคำ
- โดยทั่วไป ทองคำจะช่วยป้องกันความเสี่ยงในช่วงตลาดขาลงได้
ความเสี่ยง: เงินเฟ้อถูกควบคุมได้อย่างรวดเร็ว
- AWS ถูกปรับให้ได้รับประโยชน์จากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น จากการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์
- ถ้าธนาคารกลางสร้างความแปลกใจให้กับตลาดด้วยการขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรง พร้อมกับการดึงสภาพคล่องออกจากตลาด อาจจะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง
- เศรษฐกิจจีนที่อ่อนแออาจลดความต้องการของสินค้าโภคภัณฑ์ กดดันทำให้ราคาต่ำลงได้
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นอาจปรับตัวลงพร้อมกับราคาพลังงาน เนื่องจากพลังงานเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต
ข้อสรุปที่สำคัญ
- AWS สร้างผลตอบแทนต่ำกว่าพอร์ต 60/40 อยู่ 0.2% ในเดือนกันยายน 2022
- ธนาคารกลางกำลังขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพื่อชะลออัตราเงินเฟ้อ โดย stagflation เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้
- ความต้องการสินค้าจำเป็น (อาหารและพลังงาน) ภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาห่วงโซ่อุปทานจะทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น
- พันธบัตรและทองคำใช้ในการลดความเสี่ยง
- ความเสี่ยง: เงินเฟ้อควบคุมได้ นโยบายการเงินทำให้ตลาดหุ้นปรับลงอย่างรุนแรง และเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอ
Andrew Stotz
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”