คอนเซปต์หลักพอร์ต All Weather Strategy (AWS)
- Global: ลงทุนทั่วโลก ไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย
- Long-term: สร้างผลตอบแทนระยะยาวจากหุ้น และจำกัดการขาดทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นพักฐาน
- Diversified: กระจายการลงทุนทั่วโลกผ่าน 4 สินทรัพย์
ภาพรวม AWS
- รีวิว: หุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง แต่สินค้าโภคภัณฑ์ยังให้ผลตอบแทนดี
- ผลการดำเนินงาน: สร้างผลตอบแทนเหนือกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 ที่ 2% ในเดือนเมษายน
- มุมมอง: สงครามในยูเครน ความต้องการสินค้าและบริการที่จำเป็น (necessities) ท่ามกลางภาวะคอขวดด้านห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และทองคำปรับตัวขึ้น
- สรุป FVMR รายภูมิภาค (พื้นฐานของหุ้น / Fundamentals, มูลค่าของหุ้น / Valuation, โมเมนตัมของหุ้น / Momentum และความเสี่ยง / Risk)
- ความเสี่ยง: เงินเฟ้อควบคุมได้ ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง (crash)
ผลตอบแทนของดัชนีต่าง ๆ ทั่วโลก
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้แก่ NASDAQ ทำผลงานได้แย่ที่สุด โดยที่ NYSE ก็ถูกกดดันเช่นกัน
- ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลง รวมถึงหุ้นจีนที่ปรับตัวลงต่อเนื่อง
- ตลาดหุ้นสำคัญในยุโรปปรับตัวลง แต่น้อยกว่าสหรัฐฯ และจีน
สัดส่วนน้ำหนักสินทรัพย์นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022
- เราไม่ได้เปลี่ยนน้ำหนักการลงทุนจากเดือนก่อนหน้า
สัดส่วนน้ำหนักหุ้นตามภูมิภาคนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022
- น้ำหนักการลงทุนในหุ้น แยกเป็นภูมิภาค โดยเราไม่ได้ปรับเปลี่ยนน้ำหนักการลงทุนจากเดือนก่อนหน้า
รีวิว: เดือนเมษายน 2022 ถือเป็นเดือนที่แย่ที่สุดอันดับที่ 12 ตั้งแต่มีการเก็บสถิติของตลาดหุ้น NASDAQ
รีวิว: ถ้ามองในแง่บวก การปรับตัวลงในปี 2022 ใกล้เคียงกับการปรับตัวลงของดัชนี S&P500 โดยเฉลี่ย
รีวิว: ถ้ามองในแง่บวก ในระยะยาว น่าจะยังสร้างผลตอบแทนได้ดี
- จากสถิติตั้งแต่ปี 1929 หากนักลงทุนในดัชนี S&P500 5 ปี มีโอกาส 90% ที่จะได้กำไร
- และถ้าลงทุนในดัชนี S&P500 10 ปี มีโอกาส 94% ที่จะได้กำไร
รีวิว: หุ้นโลกและหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง
- หุ้นโลกปรับตัวขึ้น 0% ในปี 2021 แต่ตั้งแต่ต้นปี 2022 ปรับตัวลง 12.8%
- ในเดือนเมษายน 2022 หุ้นโลกปรับตัวลง 0%
รีวิว: เราให้น้ำหนัก 25% กับหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งทำผลงานได้แย่ที่สุด
- เราให้น้ำหนัก 25% กับหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งปรับตัวลง 9% ในเดือนเมษายน 2022
- โดยมีสาเหตุมาจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจชะลอตัว เงินเฟ้อ และการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบตึงตัว (Monetary tightening)
รีวิว: ยุโรปได้รับแรงกดดันจากความกังวลคล้ายกับสหรัฐฯ และราคาน้ำมัน โดยปรับตัวลง 2.0% ในเดือนเมษายน 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% กับหุ้นยุโรปในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
- ยุโรปเผชิญกับความกังวลจากเศรษฐกิจชะลอตัว เงินเฟ้อ และการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบตึงตัว คล้ายกับสหรัฐฯ รวมถึงการพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซีย
รีวิว: หุ้นจีนและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กดดันให้หุ้นตลาดเกิดใหม่ปรับตัวลง 5.6% ในเดือนเมษายน
- เราให้น้ำหนัก 5% กับหุ้นตลาดเกิดใหม่
- หุ้นตลาดเกิดใหม่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และหุ้นจีนที่ปรับตัวลง
- การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มักส่งผลทางลบต่อตลาดเกิดใหม่
รีวิว: หุ้นเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวม ญี่ปุ่น) ปรับตัวลง 4.6% ในเดือนเมษายน 2022
- เราให้น้ำหนักการลงทุน 5% ในหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวม ญี่ปุ่น)
- หุ้นจีนและไต้หวัน ซึ่งมีน้ำหนักในหุ้นกลุ่มดังกล่าว 55% ปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ
รีวิว: หุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลงเพียง 1.8% ในเดือนเมษายน 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นญี่ปุ่น
- การที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบช่วยพยุงตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้
- เงินเยนที่อ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญ เป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออก
รีวิว: ผลตอบแทนพันธบัตรโลกปรับตัวลง 11% ตั้งแต่ต้นปี
- ตลาดตอบสนองต่อสัญญาณของธนาคารกลางที่จะดำเนินนโยบายทางการเงินแบบตึงตัว
- ดัชนีผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ โดย Bloomberg ชี้ให้เห็นว่า ผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ในระดับต่ำที่สุด ตั้งแต่จัดทำดัชนีขึ้นในปี 1973
รีวิว: ตลาดตราสารหนี้ไทยทรงตัว
- เราให้น้ำหนัก 5% กับตราสารหนี้ไทย ซึ่งทรงตัวในช่วงที่ผ่านมา
- วัตถุประสงค์หลักของการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยง
รีวิว: ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น
รีวิว: ราคาสินค้าและพลังงานปรับตัวสูงขึ้น
- การกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล และธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งผลต่อเงินเฟ้อสหรัฐฯ
- การพึ่งพิงพลังงานในระดับสูงของยุโรป ทำให้เงินเฟ้อในยุโรปสูง
รีวิว: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในเดือนเมษายนที่ 3.8%
- เราให้น้ำหนัก 25% กับสินค้าโภคภัณฑ์
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นขาขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน 2020
รีวิว: ราคาพลังงานและสินค้าเกษตรปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
- พลังงานและสินค้าเกษตรถือเป็นสิ่งจำเป็น ทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 104 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนเมษายน
- รัสเซียและยูเครนถือเป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ ซึ่งภาวะสงครามทำให้เกิดภาวะชะงักงันด้านอุปทาน ผลักดันให้ราคาสูงขึ้น
รีวิว: ราคาทองคำปรับตัวลงเล็กน้อยในเดือนเมษายน 2022
- เราให้น้ำหนัก 25% ในทองคำ
- ราคาทองคำอยู่ที่ 1,896 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ในเดือนเมษายน หรือปรับตัวลง6%
1 เดือนที่ผ่านมา: AWS สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าพอร์ตดั้งเดิม 1.2%
- AWS: สร้างผลตอบแทนเหนือพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 อยู่ 2%
- สินค้าโภคภัณฑ์: สร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดจากสินทรัพย์ทั้งหมด
- หุ้นสหรัฐฯ: ให้ผลตอบแทนแย่ที่สุดในเดือนนี้
- ทอง: ทำผลงานได้ดีเป็นอันดับ 3
AWS สร้างผลตอบแทนเหนือพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40
- AWS สร้างผลตอบแทนมากกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 6% นับจนถึงเดือนเมษายน 2022
AWS สร้างผลตอบแทนได้ดี
- AWS ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 ในทุก ๆ ช่วงเวลา และให้ผลตอบแทนสูงกว่าเช่นกัน เมื่อหุ้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS มีความผันผวนต่ำกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40
- สัดส่วนการลงทุนในหุ้น 25-65% ช่วยลดความผันผวน
- ทองคำช่วยลดความผันผวนโดยรวมของพอร์ต เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับหุ้น
ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS ขาดทุนน้อยกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 8 ครั้งจาก 10 ครั้งในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงมากที่สุด
- จุดเด่นสำคัญของ AWS คือ การจำกัดการขาดทุนเมื่อตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง
- นับตั้งแต่จัดตั้ง AWS ขาดทุนน้อยกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 80% ใน 10 วันที่หุ้นโลกทำผลงานได้ย่ำแย่ที่สุด
ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS ทำผลงานเหนือพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 ใน 66% ของเดือนทั้งหมด
- ในช่วง 25 เดือนจาก 38 เดือน AWS สามารถเอาชนะพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40
มุมมอง: เราคาดการณ์ความผันผวนในระดับสูงต่อเนื่อง จากสงครามในยูเครน
- ในเดือนมีนาคม 2022 เราลดน้ำหนักหุ้นเหลือ 45% จาก 65%
- เราเพิ่มน้ำหนักทองคำเป็น 25% จาก 5%
มุมมอง: เราคาดหวังว่า FED จะช่วยขับเคลื่อนตลาดสหรัฐฯ เมื่อจำเป็น
- บริษัทสัญชาติอเมริกันทำผลงานได้ดีและมีอำนาจต่อรองด้านราคาทั่วโลก
- เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากการใช้จ่ายภาครัฐ
- ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และพรรคเดโมแครต ต้องการให้นายเจอโรม พาวเวลช่วยกระตุ้นตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพื่อเตรียมการเลือกตั้งกลางสมัยช่วงเดือนพฤศจิกายน
- เราจึงให้น้ำหนัก 25% ในการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ
มุมมอง: การขึ้นดอกเบี้ยของ FED ในเดือนพฤษภาคมถูกพิจารณาแล้ว (Priced-in)
- ตลาดมั่นใจ 100% ว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2022
- ตลาดเชื่อมั่น8% ว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย 0.5% เข้าสู่ระดับดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.75-1.00%
มุมมอง: ตลาดคาดการณ์ FED จะดำเนินนโยบายแบบตึงตัวมากขึ้นอีก
- ตลาดเคยคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 2022 ที่ 2% แต่ตอนนี้ปรับเพิ่มเป็น 3% (เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ 25-0.50%)
- FED ต้องต่อสู้กับเงินเฟ้อ และในขณะเดียวกันต้องหาสมดุลเพื่อไม่ให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- เราอาจจะเห็นการเร่งการขึ้นดอกเบี้ย แต่เรามองว่า FED จะทำอย่างระมัดระวังจากสงครามยูเครน และความเสี่ยงจากตลาดหุ้นปรับฐานอย่างรุนแรง (market crash)
มุมมอง: การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลลบต่อตลาดเกิดใหม่
- การลดวงเงินการซื้อสินทรัพย์ และการขึ้นดอกเบี้ยของ FED น่าจะทำให้เงินเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่า สภาพคล่องในระบบลดลง และทำให้ตลาดเกิดใหม่ได้รับผลกระทบเชิงลบได้
- เงินเหรียญสหรัฐฯ ถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (safe haven) ซึ่งนักลงทุนอาจใช้พักเงินในสถานการณ์สงครามในยูเครน
มุมมอง: ตลาดหุ้นจีนยังมีน้ำหนักมากในตลาดหุ้นเกิดใหม่
- ตลาดหุ้นเกิดใหม่ และตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวม ญี่ปุ่น) ประกอบด้วยหุ้นจีนที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก ซึ่งอาจกดดันผลตอบแทนโดยรวมได้
มุมมอง: ตราสารหนี้ยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ
- เราให้น้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ 5%
- เราลงทุนในตราสารหนี้ไทย ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยของ FED น่าจะไม่ส่งผล หรือส่งผลน้อยต่อการลงทุนดังกล่าว
- ทั้งนี้ หากไทยมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เรามองว่าตราสารหนี้ระยะสั้นจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
มุมมอง: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เราให้น้ำหนักการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ที่ 25%
- การฟื้นตัวของความต้องการ (อาหารและพลังงาน) ภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับสงครามจะผลักดันให้สินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น
มุมมอง: ราคาพลังงานจะทรงตัวในระดับสูง โดยราคาน้ำมันตลาด WTI ปิดที่ 104 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในเดือนเมษายน
- การที่ยุโรปพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียจะมีผลต่อราคาพลังงานในตลาด
- รัสเซียตัดการส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังเบลารุส และโปแลนด์
มุมมอง: สงครามในยูเครนส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน
- นอกจากพลังงานแล้ว รัสเซียยังเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ในโลหะอุตสาหกรรม ทั้งนี้ รัสเซียและยูเครนยังเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของสินค้าโภคภัณฑ์การเกษตรด้วย
- การที่ประธานาธิบดีปูตินไม่ให้มีการชำระราคาด้วยเงินเหรียญสหรัฐฯ หรือยูโร น่าจะทำให้เกิดปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานมากขึ้นอีก
มุมมอง: ราคาโลหะปรับตัวขึ้น
- รัสเซียเป็นผู้ส่งออกนิกเกิ้ลคุณภาพสูงที่เป็นส่วนประกอบของรถยนต์ไฟฟ้า คิดเป็น 20% ของนิกเกิ้ลทั้งหมด
- แพลเลเดียม ซึ่งเป็นโลหะสำคัญ และส่วนประกอบของท่อไอเสีย มาจากรัสเซียถึง 40% ของแพลเลเดียมทั้งหมด
มุมมอง: ราคาอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้น
- ก๊าซธรรมชาติใช้ในการทำปุ๋ย และราคาที่เพิ่มขึ้นของปุ๋ยทำให้เมล็ดพันธุ์ต้องปรับราคาขึ้นตามไปด้วย
- รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตข้าวโพด และข้าวสาลี 15-20% ของโลก
- ข้าวโพดถูกใช้เป็นอาหารของสัตว์ ซึ่งราคาข้าวโพดที่แพงขึ้นทำให้ราคาเนื้อสัตว์ปรับขึ้นตาม
- ข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบสำคัญของขนมปัง พาสต้า ขนมขบเคี้ยว และซีเรียล ซึ่งข้าวสาลีที่อียิปต์ และตุรกีนำเข้ากว่า 70% มาจากยูเครน และรัสเซีย
มุมมอง: ทองคำจะเป็นเหมือนหลักประกันป้องกันความเสี่ยง
- เราให้น้ำหนักการลงทุนที่ 25% เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง
- สงครามในยูเครนทำให้เกิดความไม่แน่นอน ผลักดันความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อ ทำให้สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ ได้รับความสนใจมากขึ้น
- อย่างไรก็ดี ความคาดหวังการขึ้นดอกเบี้ย และภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจกดดันราคาทองคำ
สรุป FVMR แต่ละภูมิภาค
- พื้นฐาน (Fundamentals): หุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (Return on Equity) สูงที่สุด
- มูลค่า (Valuation): หุ้นตลาดเกิดใหม่มี PE (Price-to-Earnings) ต่ำสุด และหุ้นญี่ปุ่นมี PB (Price-to-Book) ต่ำสุด
- แนวโน้ม (Momentum): หุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
- ความเสี่ยง (Risk): หุ้นญี่ปุ่นมีอัตราหนี้สินต่อทุน (Gearing) ต่ำที่สุด
ความเสี่ยง: เงินเฟ้อถูกควบคุมได้อย่างรวดเร็ว
- AWS ถูกปรับให้ได้รับประโยชน์จากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี 2022
- มีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะเป็นปัจจัยชั่วคราว และอาจส่งผลต่อผลการดำเนินงานของ AWS
- การคลี่คลายของสงครามในยูเครนน่าจะทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำปรับตัวลง
ความเสี่ยง: ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยจะกดดันราคาหุ้น
- COVID-19 สายพันธุ์ใหม่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งยังมีความเสี่ยงที่ประเทศต่าง ๆ อาจกลับไปใช้มาตรการล็อคดาวน์ ซึ่งจะเป็นผลลบต่อตลาดหุ้น
- เราเริ่มเห็นการกลับทิศทางของกราฟแสดงผลตอบแทนพันธบัตร (yield curve inversion) ซึ่งมักใช้พยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้แม่นยำ
- ตั้งแต่ปี 1970 นับตั้งแต่เกิด yield curve inversion จะใช้เวลาประมาณ 12 เดือนจึงเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ความเสี่ยง: การขึ้นดอกเบี้ยของ FED ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง (crash)
- ถ้าสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง และมากกว่าที่ตลาดคาด อาจทำให้หุ้นปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก และน่าจะทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนตามไปด้วย
สรุป รีวิวพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือนเมษายน 2022
- AWS ทำผลตอบแทนได้เหนือกว่าพอร์ตสัดส่วน 60/40 อยู่ 1% ในเดือนมีนาคม 2022
- การที่ FED ไม่ต้องการให้ตลาดปรับฐานรุนแรงอาจทำให้หุ้นปรับตัวสูงขึ้น
- ภาวะสงคราม อุปสงค์ที่ฟื้นตัว และปัญหาห่วงโซ่อุปทานจะช่วยขับเคลื่อนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ
- ความเสี่ยง: เงินเฟ้อควบคุมได้อย่างรวดเร็ว การล็อกดาวน์ครั้งใหม่เกิดขึ้น และ FED ขึ้นดอกเบี้ยทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง
Andrew Stotz
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”