คอนเซปต์หลักพอร์ต All Weather Strategy (AWS)
- Global: ลงทุนทั่วโลก ไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย
- Long-term: สร้างผลตอบแทนระยะยาวจากหุ้น และจำกัดการขาดทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นพักฐาน
- Diversified: กระจายการลงทุนทั่วโลกผ่าน 4 สินทรัพย์
ภาพรวม AWS
- รีวิว: นักลงทุนกังวลกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย
- ผลการดำเนินงาน: สร้างผลตอบแทนต่ำกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 อยู่ 0.3% ในเดือนพฤษภาคม
- น้ำหนัก: เพิ่มน้ำหนักพันธบัตร ลดน้ำหนักหุ้นสหรัฐฯ
- มุมมอง: สงครามในยูเครน ความต้องการสินค้าและบริการที่ฟื้นตัว ท่ามกลางภาวะคอขวดด้านห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และทองคำปรับตัวขึ้น
- สรุป FVMR รายภูมิภาค (พื้นฐานของหุ้น / Fundamentals, มูลค่าของหุ้น / Valuation, โมเมนตัมของหุ้น / Momentum และความเสี่ยง / Risk)
- ความเสี่ยง: เงินเฟ้อควบคุมได้ การล็อกดาวน์ และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง (crash)
อัปเดต: ความท้าทายในการดำเนินนโยบายของธนาคารกลาง
อัปเดต: เงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อคนรายได้น้อย
- คนรายได้น้อยไม่สามารถต่อรองเพื่อเพิ่มรายได้ให้ตนเองได้ ทำให้เงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อคนกลุ่มนี้มากกว่า
อัปเดต: ศรีลังกาเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ
อัปเดต: หลายประเทศในแอฟริกาไม่มีเงินพอซื้อน้ำมัน
อัปเดต: หลายคนมองว่าประเทศเหล่านี้เป็นเหยื่อทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตะวันตก
อัปเดต: ผลของการลงทุนที่น้อยเกินไปเริ่มแสดงผล
อัปเดต: วิกฤตพลังงานอาจทวีความรุนแรงขึ้น เช่น อาจเกิดการขาดแคลนพลังงานในฤดูร้อนที่มีความต้องการพลังงานสูง
อัปเดต: เราเริ่มเห็นการประท้วงขาดแคลนอาหารแล้ว
- เงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่องทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และเกิดความวุ่นวายในสังคม
อัปเดต: เริ่มมีการประท้วงเพราะราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้น
- ประเทศที่แรเงาสีแดงเป็นประเทศที่มีการประท้วงเกี่ยวกับราคาอาหารในช่วงที่ผ่านมา
อัปเดต: ผลตอบแทนส่วนต่าง (credit spread) จากพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนสูงที่ปรับตัวขึ้นอย่างฉับพลันมักส่งสัญญาณถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย
รีวิว: ผลตอบแทนของดัชนีต่าง ๆ ทั่วโลก
- NASDAQ ปรับตัวลงในเดือนที่ผ่านมา
- ตลาดหุ้นจีนฟื้นตัว
- ตลาดหุ้นสำคัญในยุโรปปรับตัวลงเล็กน้อย
สัดส่วนน้ำหนักสินทรัพย์นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022
สัดส่วนน้ำหนักหุ้นตามภูมิภาคนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022
รีวิว: หุ้นโลกปรับตัวลง
- หุ้นโลกปรับตัวขึ้น 19.0% ในปี 2021 แต่ตั้งแต่ต้นปี 2022 ปรับตัวลง 12.6%
- ในเดือนพฤษภาคม 2022 หุ้นโลกปรับตัวขึ้น 0.2%
รีวิว: หุ้นสหรัฐฯ ทรงตัวในเดือนพฤษภาคม 2022
- เราให้น้ำหนัก 25% กับหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนพฤษภาคม 2022
- หุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนได้ดีเป็นอันดับที่ 3 จากตลาดหุ้นทั้งหมด
รีวิว: ยุโรปสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดจากตลาดหุ้นทั้งหมดในเดือนพฤษภาคม 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% กับหุ้นยุโรปในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
- หุ้นยุโรปปรับตัวขึ้น 1.2% ในเดือนพฤษภาคม 2022
รีวิว: หุ้นจีนพยุงตลาดเกิดใหม่
- เราให้น้ำหนัก 5% กับหุ้นตลาดเกิดใหม่ โดยปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนพฤษภาคม 2022
- การฟื้นตัวของตลาดหุ้นจีนช่วยประคองผลตอบแทนของตลาดหุ้นเกิดใหม่
รีวิว: หุ้นเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวม ญี่ปุ่น) ปรับตัวลง 0.3% ในเดือนพฤษภาคม 2022
- เราให้น้ำหนักการลงทุน 5% ในหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวม ญี่ปุ่น)
- นอกจากหุ้นจีน และไต้หวันที่มีน้ำหนัก 55% แล้ว หุ้นอื่นๆ ในกลุ่มนี้ปรับตัวลงทั้งหมด
รีวิว: หุ้นญี่ปุ่นทรงตัวในเดือนพฤษภาคม 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งปรับตัวขึ้น 0.1% ในเดือนพฤษภาคม 2022
รีวิว: ตลาดตราสารหนี้ไทยทรงตัว
- เราให้น้ำหนัก 5% กับตราสารหนี้ไทย ซึ่งทรงตัวในช่วงที่ผ่านมา
- วัตถุประสงค์หลักของการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยง
รีวิว: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในเดือนพฤษภาคมที่ 3.4%
- เราให้น้ำหนัก 25% กับสินค้าโภคภัณฑ์
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นขาขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน 2020
รีวิว: ราคาพลังงานปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
- ราคาพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความตึงเครียดของสงครามในยูเครน
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 115 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนพฤษภาคม 2022
รีวิว: ทองคำทำผลงานได้แย่ที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2022
- เราให้น้ำหนัก 25% ในทองคำ
- ราคาทองคำอยู่ที่ 1,837 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ในเดือนพฤษภาคม หรือปรับตัวลง 3.3%
3 เดือนที่ผ่านมา: AWS ปรับตัวลง แต่ถือว่ายังสร้างผลตอบแทนได้ดี
- AWS: สร้างผลตอบแทนเหนือพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 อยู่ 2%
- สินค้าโภคภัณฑ์: สร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดจากสินทรัพย์ทั้งหมด แต่ทองคำและหุ้นสหรัฐฯ ยังทำผลงานได้ไม่ดี
เดือนพฤษภาคม 2022: AWS สร้างผลตอบแทนต่ำกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 อยู่ 0.3%
- AWS: สร้างผลตอบแทนต่ำกว่าพอร์ตการลงทุน 60/40 อยู่ 0.3%
- สินค้าโภคภัณฑ์: สร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดจากสินทรัพย์ทั้งหมด
- หุ้นสหรัฐฯ: สร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดเป็นอันดับ 3 ของตลาดหุ้นทั้งหมด
- ทองคำ: ทำผลงานได้แย่ที่สุด
AWS สร้างผลตอบแทนเหนือพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40
- AWS สร้างผลตอบแทนมากกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 12% นับจนถึงเดือนพฤษภาคม 2022
AWS สร้างผลตอบแทนได้ดี
- AWS ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 ในทุก ๆ ช่วงเวลา ยกเว้นในเดือนที่ผ่านมาเท่านั้น
- เมื่อหุ้นอยู่ในช่วงปรับฐาน AWS ก็ยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าเช่นกัน แต่ในเดือนที่ผ่านมาไม่ต่างกันมากนัก
ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS มีความผันผวนต่ำกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40
- สัดส่วนการลงทุนในหุ้น 25-65% ช่วยลดความผันผวน
- ทองคำช่วยลดความผันผวนโดยรวมของพอร์ต เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับหุ้น
ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS ขาดทุนน้อยกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 9 ครั้งจาก 10 ครั้งในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงมากที่สุด
- จุดเด่นสำคัญของ AWS คือ การจำกัดการขาดทุนเมื่อตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง
- นับตั้งแต่จัดตั้ง AWS ขาดทุนน้อยกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 90% ใน 10 วันที่หุ้นโลกทำผลงานได้ย่ำแย่ที่สุด
ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS ทำผลงานเหนือพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 ใน 64% ของเดือนทั้งหมด
- ในช่วง 25 เดือนจาก 39 เดือน AWS สามารถเอาชนะพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40
เรามีการปรับน้ำหนักการลงทุนใหม่
น้ำหนัก: เพิ่มน้ำหนักพันธบัตร ลดน้ำหนักหุ้น
- เรามองว่าหุ้นจะมีความผันผวนต่อไปจากสงครามในยูเครน
- เราลดน้ำหนักหุ้นเหลือ 25% จาก 45%
- เราเพิ่มน้ำหนักพันธบัตรเป็น 25% จาก 5%
- เราคงน้ำหนักสินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำที่ 25%
น้ำหนัก: ให้น้ำหนัก 5% ในแต่ละภูมิภาค
- เราลดน้ำหนักหุ้นสหรัฐเหลือ 5% จาก 25%
มุมมอง: ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) นายเจอโรม พาวเวลล์ แสดงมุมมองในวันที่ 17 พฤษภาคม 2022
- เราต้องการภาพที่ชัดเจนว่าแรงกดดันเงินเฟ้อ และเงินเฟ้อกำลังลดลง
- ถ้าเรายังไม่เห็นภาพนั้น เราจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง
- ถ้าเราเห็นภาพนั้นแล้ว เราอาจจะลดระดับความเข้มข้นของนโยบายได้
มุมมอง: ตลาดคาดการณ์ FED จะดำเนินนโยบายแบบตึงตัวน้อยลง
- FED ส่งสัญญาณว่าจะทำทุกอย่างเพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้ได้ แม้ว่าพาวเวลล์ไม่อยากจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วนัก
- ตลาดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยสุดท้ายจะลดลงเล็กน้อย หลังจากที่ FED ขึ้นดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคม 2022 0.5%
มุมมอง: งบดุลของ FED ไม่โตขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2022
- เรายังไม่เห็นว่า FED จะลดงบดุลหรือไม่ และปริมาณเท่าไร (การดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว: QT)
- การดูดสภาพคล่องออกมักจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้น
- เราลดน้ำหนักหุ้นในตลาดสหรัฐฯ เหลือ 5% จาก 25%
มุมมอง: ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) นางคริสติน ลาการ์ด โพสข้อความในบล็อกวันที่ 23 พฤษภาคม 2022
- คิดว่าการซื้อสินทรัพย์จะสิ้นสุดลงในช่วงต้นของไตรมาสที่ 3
- น่าจะสิ้นสุดการใช้ดอกเบี้ยติดลบในช่วงสิ้นสุดไตรมาสที่ 3
มุมมอง: การขึ้นดอกเบี้ย และการดำเนินนโยบายตึงตัวอยู่ในความสนใจของนักลงทุน
- ธนาคารกลางอังกฤษขึ้นดอกเบี้ย 0.75% และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง
- ถ้า ECB ดำเนินนโยบาย QT อาจจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะจากวิกฤตราคาน้ำมัน แต่เราคิดว่า ECB จะดำเนินนโยบาย QT อย่างระมัดระวัง
- เราให้น้ำหนักหุ้นยุโรป 5%
มุมมอง: ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ต้องการคงดอกเบี้ยต่ำ และผลักดันให้เกิดเงินเฟ้อ
- BOJ เป็นธนาคารกลางขนาดใหญ่ที่เดียวที่ต้องการเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ
- เงินเยนที่อ่อนตัวทำให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น ผลักดันอัตราเงินเฟ้อ
- เราคงน้ำหนักหุ้นญี่ปุ่นที่ 5%
มุมมอง: การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลลบต่อตลาดเกิดใหม่
- การลดวงเงินการซื้อสินทรัพย์ และการขึ้นดอกเบี้ยของ FED น่าจะทำให้เงินเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่า สภาพคล่องในระบบลดลง และทำให้ตลาดเกิดใหม่ได้รับผลกระทบเชิงลบได้
- เงินเหรียญสหรัฐฯ ถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (safe haven) ซึ่งนักลงทุนอาจใช้พักเงินในสถานการณ์สงครามในยูเครน
- คงน้ำหนักหุ้นตลาดเกิดใหม่ที่ 5%
มุมมอง: ตลาดหุ้นจีนยังมีน้ำหนักมากในตลาดหุ้นเกิดใหม่
- ยังเร็วไปที่จะบอกว่าหุ้นจีนฟื้นตัว เพราะล็อกดาวน์ยังกดดันเศรษฐกิจ
- หุ้นจีนที่มีน้ำหนักมากในหุ้นตลาดเกิดใหม่ และหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) อาจยังกดดันผลตอบแทนของตลาดเกิดใหม่อยู่
- คงน้ำหนัก 5% ในหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น)
น้ำหนัก: เพิ่มน้ำหนักพันธบัตรเป็น 25% จาก 5%
มุมมอง: ตราสารหนี้ยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ
- เราให้น้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ 25% จาก 5% เนื่องจากเราเห็นความเสี่ยงที่สูงขึ้นในตลาด
- เราลงทุนในตราสารหนี้ไทย ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยของ FED น่าจะไม่ส่งผล หรือส่งผลน้อยต่อการลงทุนดังกล่าว
- ทั้งนี้ หากไทยมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เรามองว่าตราสารหนี้ระยะสั้นจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
- เราให้น้ำหนักพันธบัตร 25% เพื่อป้องกันความเสี่ยงขาลง
น้ำหนัก: คงน้ำหนักสินค้าโภคภัณฑ์ที่ 25%
มุมมอง: ราคาพลังงานจะทรงตัวในระดับสูง โดยราคาน้ำมันตลาด WTI ปิดที่ 115 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในเดือนพฤษภาคม
- การที่ยุโรปพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียจะมีผลต่อราคาพลังงานในตลาด
- รัสเซียเป็นผู้ส่งออกแร่อุตสาหกรรมหลายชนิด นอกจากนั้น รัสเซียและยูครนยังเป็นผู้ส่งออกที่สำคัญของสินค้าโภคภัณฑ์การเกษตร
มุมมอง: ราคาโลหะอยู่ในระดับสูงและอาจปรับตัวขึ้นอีก
- รัสเซียเป็นผู้ส่งออกนิกเกิ้ลคุณภาพสูงที่เป็นส่วนประกอบของรถยนต์ไฟฟ้า คิดเป็น 20% ของนิกเกิ้ลทั้งหมด
- แพลเลเดียม ซึ่งเป็นโลหะสำคัญ และส่วนประกอบของท่อไอเสีย มาจากรัสเซียถึง 40% ของแพลเลเดียมทั้งหมด
มุมมอง: ราคาอาหารยังอยู่ในระดับสูง โดยใกล้เคียงกับจุดสูงสุด
- รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตข้าวโพด และข้าวสาลี 15-20% ของโลก
- นโยบายการห้ามส่งออกของอินเดีย และอินโดนีเซียน่าจะทำให้การขาดอาหารรุนแรงมากขึ้น และผลักดันให้ราคาสูงขึ้นอีก
มุมมอง: ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ส่งผลต่อราคาอาหาร
- ก๊าซธรรมชาติใช้ในการทำปุ๋ย และราคาที่เพิ่มขึ้นของปุ๋ยทำให้เมล็ดพันธุ์ต้องปรับราคาขึ้นตามไปด้วย
- ข้าวโพดถูกใช้เป็นอาหารของสัตว์ ซึ่งราคาข้าวโพดที่แพงขึ้นทำให้ราคาเนื้อสัตว์ปรับขึ้นตาม
มุมมอง: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น
- เราให้น้ำหนักการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ที่ 25%
- การฟื้นตัวของความต้องการ (อาหารและพลังงาน) ภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับสงครามจะผลักดันให้สินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น
น้ำหนัก: คงน้ำหนักทองคำที่ 25%
มุมมอง: ทองคำจะเป็นเหมือนหลักประกันป้องกันความเสี่ยง
- เราให้น้ำหนักการลงทุนที่ 25% เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง
- สงครามในยูเครนทำให้เกิดความไม่แน่นอน ผลักดันความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อ ทำให้สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ ได้รับความสนใจมากขึ้น
- อย่างไรก็ดี ความคาดหวังการขึ้นดอกเบี้ย และภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจกดดันราคาทองคำ
สรุป FVMR แต่ละภูมิภาค
- พื้นฐาน (Fundamentals): หุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (Return on Equity) สูงที่สุด
- มูลค่า (Valuation): หุ้นตลาดเกิดใหม่มี PE (Price-to-Earnings) ต่ำที่สุด และหุ้นญี่ปุ่นมี PB (Price-to-Book) ต่ำที่สุด
- แนวโน้ม (Momentum): หุ้นญี่ปุ่นสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดในปีที่ผ่านมา
- ความเสี่ยง (Risk): หุ้นญี่ปุ่นมีอัตราหนี้สินต่อทุน (Gearing) ต่ำที่สุด
ความเสี่ยง: เงินเฟ้อถูกควบคุมได้อย่างรวดเร็ว
- AWS ถูกปรับให้ได้รับประโยชน์จากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น โดยน้ำหนัก 25% อยู่ในสินค้าโภคภัณฑ์
- การคลี่คลายของสงครามในยูเครนน่าจะทำให้ราคาพลังงานปรับตัวลง
- การปิดเมืองของจีนอาจลดความต้องการพลังงาน และทำให้ราคาพลังงานปรับตัวลง
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นอาจปรับตัวลงพร้อมกับราคาพลังงาน เนื่องจากพลังงานเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต
ความเสี่ยง: ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยจะกดดันราคาหุ้น
- COVID-19 สายพันธุ์ใหม่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งยังมีความเสี่ยงที่ประเทศต่าง ๆ อาจกลับไปใช้มาตรการล็อคดาวน์ ซึ่งจะเป็นผลลบต่อตลาดหุ้น
- เราเริ่มเห็นสัญญาณของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ซึ่งอาจจะหมายถึงธนาคารกลางกำลังขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย
- การปิดเมืองในจีนลดความต้องการสินค้าและบริการของโลก
ความเสี่ยง: การขึ้นดอกเบี้ยของ FED ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง (crash)
- ถ้าสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง และมากกว่าที่ตลาดคาด อาจทำให้หุ้นปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ
- การที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก และเงินดอลลาร์ถูกใช้เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ การตัดสินใจดำเนินนโยบายของ FED น่าจะทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนตามไปด้วย
สรุป รีวิวพอร์ต All Weather Strategy
- AWS ทำผลตอบแทนได้ต่ำกว่าพอร์ตสัดส่วน 60/40 อยู่ 0.3% ในเดือนพฤษภาคม 2022
- ภาวะสงคราม อุปสงค์ที่ฟื้นตัว และปัญหาห่วงโซ่อุปทานจะช่วยขับเคลื่อนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ
- ความเสี่ยง: เงินเฟ้อควบคุมได้อย่างรวดเร็ว การล็อกดาวน์ครั้งใหม่เกิดขึ้น และ FED ขึ้นดอกเบี้ยทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง
Andrew Stotz
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”