คอนเซปต์หลักพอร์ต All Weather Strategy (AWS)
- Global: ลงทุนทั่วโลก ไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย
- Long-term: สร้างผลตอบแทนระยะยาวจากหุ้น และจำกัดการขาดทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นพักฐาน
- Diversified: กระจายการลงทุนทั่วโลกผ่าน 4 สินทรัพย์
ภาพรวม AWS
- รีวิว: นักลงทุนกังวลกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย
- ผลการดำเนินงาน: เท่ากับพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 ในเดือนมิถุนายน 2022
- มุมมอง: สงครามในยูเครน ความต้องการสินค้าและบริการที่ฟื้นตัว ท่ามกลางภาวะคอขวดด้านห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และทองคำปรับตัวขึ้น
- สรุป FVMR รายภูมิภาค (พื้นฐานของหุ้น / Fundamentals, มูลค่าของหุ้น / Valuation, โมเมนตัมของหุ้น / Momentum และความเสี่ยง / Risk)
- ความเสี่ยง: เงินเฟ้อควบคุมได้ การล็อกดาวน์ และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง (crash)
อัปเดต: ความท้าทายในการดำเนินนโยบายของธนาคารกลาง
- ธนาคารกลางกำลังต่อสู่กับอัตราเงินเฟ้อ และความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอย
- ตลาดหุ้น และตลาดการเงินก็ตอบสนองต่อความท้าทายดังกล่าว
รีวิว: ตั้งแต่ต้นปี 2021 เงินเฟ้อเป็น “เรื่องชั่วคราว”
- 30 พฤศจิกายน 2021: เราไม่คิดว่าเงินเฟ้อเป็นเรื่อง “ชั่วคราว” อีกต่อไป
รีวิว: FED อาจจะเป็นต้นเหตุ และไม่ใช่ทางออก
รีวิว: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ (นางเจนเน็ต เยลเลน) คาดการณ์ผิดเช่นกัน “ฉันมองผิดไปเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อ”
- เยลเลนกล่าวถ้อยคำนี้ในเดือนพฤษภาคม 2022
- เยลเลนจบปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทองจาก Brown University และจบปริญญาโท และเอกด้านเศรษฐศาสตร์จาก Yale University ในปี 1971
รีวิว: ฉันไม่เชื่อว่าเราจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (พูดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2022)
- “การใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภคอยู่ในระดับสูง และการลงทุนอยู่ในระดับแข็งแกร่ง”
- “ไม่มีอะไรส่งสัญญาณเลยว่าสหรัฐฯ อยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย”
รีวิว: คำพูดของเยลเลนอาจจะเป็นวาทกรรมทางการเมืองเท่านั้น
รีวิว: FED และกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กำลังสูญเสียความน่าเชื่อถือ
- “8 ปี ที่ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 0% เป็นสิ่งที่ดี แต่ตอนนี้เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับปานกลาง เราก็เลยอยากขึ้นดอกเบี้ย75% เราไม่ได้โกหก แต่เป็นเรื่องจริง”
รีวิว: FED กำลังหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
- “เราคิดว่าเหตุการณ์ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก และท้าทายเป็นอย่างยิ่ง”
- “มีหลายอย่างที่เป็นปัจจัยเกี่ยวเนื่อง ที่นอกเหนือการควบคุมของเรา”
รีวิว: โจ ไบเดน ก็บอกว่าไม่อยู่ในความรับผิดชอบ เช่นกัน
- ไบเดนพยายามบอกว่าน้ำมันแพง เกิดจากบริษัทที่ประกอบธุรกิจปั๊มน้ำมันตั้งราคาแพง
รีวิว: คำพูดล้อเลียนจากบัญชีล้อเลียนในทวิตเตอร์
รีวิว: ผลตอบแทนของดัชนีต่าง ๆ ทั่วโลก
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญในเดือนที่ผ่านมา
- ตลาดหุ้นจีนฟื้นตัวต่อเนื่อง
- ตลาดหุ้นสำคัญในยุโรปปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน
สัดส่วนน้ำหนักสินทรัพย์นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2022
- เราไม่ได้ปรับสัดส่วนน้ำหนักสินทรัพย์
สัดส่วนน้ำหนักหุ้นตามภูมิภาคนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2022
- เราไม่ได้ปรับน้ำหนักหุ้นตามภูมิภาค
รีวิว: หุ้นโลกปรับตัวลงในปี 2022
- หุ้นโลกปรับตัวขึ้น 0% ในปี 2021 แต่ตั้งแต่ต้นปี 2022 ปรับตัวลง 20.0%
- ในเดือนมิถุนายน 2022 หุ้นโลกปรับตัวลง 4%
รีวิว: หุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลง 8.3% ในเดือนมิถุนายน 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% กับหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำที่สุดเป็นลำดับที่ 3 จากตลาดหุ้นทั้งหมด
- ความกังวลเศรษฐกิจถดถอยกดดันหุ้นสหรัฐฯ
รีวิว: ยุโรปให้ผลตอบแทนต่ำที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเดือนมิถุนายน 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% กับหุ้นยุโรปในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งปรับตัวลง4% ในเดือนมิถุนายน 2022
- ความเชื่อมั่นที่ลดลง ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น ตลอดจนความต้องการของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่จะขึ้นดอกเบี้ย กดดันตลาดหุ้นยุโรป
รีวิว: หุ้นจีนอย่างเดียวไม่สามารถพยุงตลาดเกิดใหม่
- เราให้น้ำหนัก 5% กับหุ้นตลาดเกิดใหม่ โดยปรับตัวลง 8% ในเดือนมิถุนายน 2022
- นอกจากตลาดหุ้นจีนแล้ว หุ้นตลาดเกิดใหม่ส่วนมากปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญในเดือนที่ผ่านมา
รีวิว: หุ้นญี่ปุ่นสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดในเดือนมิถุนายน 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งปรับตัวลงเพียง3% ในเดือนมิถุนายน 2022
รีวิว: ตลาดตราสารหนี้ไทยทรงตัว
- เราให้น้ำหนัก 25% กับตราสารหนี้ไทย (แทนที่จะเป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ) ซึ่งทรงตัวในช่วงที่ผ่านมา
- วัตถุประสงค์หลักของการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยง
รีวิว: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด
- เราให้น้ำหนัก 25% กับสินค้าโภคภัณฑ์
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นขาขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 แต่ปรับตัวลง3% ในเดือนมิถุนายน 2022
รีวิว: การปศุสัตว์เท่านั้นที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนติดลบ
- การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ FED ในเดือนมิถุนายน เพื่อชะลอเงินเฟ้อ แต่อาจจะก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้
- ธนาคารกลางอื่น ๆ ก็มีแนวโน้มทำตาม FED ซึ่งกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์
- ราคาน้ำมัน WTI ปิดตลาดเดือนมิถุนายน 2022 ที่ 106 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
รีวิว: ทองคำให้ผลตอบแทนได้ดีในเดือนมิถุนายน 2022
- เราให้น้ำหนัก 25% ในทองคำ
- ราคาทองคำอยู่ที่ 1,807 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ในเดือนมิถุนายน หรือปรับตัวลง 9%
เดือนมิถุนายน 2022: AWS สร้างผลตอบแทนเท่ากับพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40
- พันธบัตร: ทำผลงานได้ดีที่สุด โดยทรงตัว
- ทองคำ: ทำผลงานได้เป็นอันดับ 2 โดยปรับตัวลงเล็กน้อย
- สินค้าโภคภัณฑ์: ทำผลงานได้แย่ที่สุด
AWS สร้างผลตอบแทนเหนือพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40
- AWS สร้างผลตอบแทนมากกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 8% นับจนถึงเดือนมิถุนายน 2022
AWS สร้างผลตอบแทนได้ดี
- AWS ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 ในทุก ๆ ช่วงเวลา ยกเว้นในเดือนที่ผ่านมาเท่านั้น
- เมื่อหุ้นอยู่ในช่วงปรับฐาน AWS ก็ยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าเช่นกัน แต่ใน 1 เดือน และ 3 เดือนที่ผ่านมา ไม่ต่างกันมากนัก
ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS มีความผันผวนต่ำกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40
- สัดส่วนการลงทุนในหุ้น 25-65% ช่วยลดความผันผวน
- ทองคำช่วยลดความผันผวนโดยรวมของพอร์ต เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับหุ้น
ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS ขาดทุนน้อยกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 9 ครั้งจาก 10 ครั้งในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงมากที่สุด
- จุดเด่นสำคัญของ AWS คือ การจำกัดการขาดทุนเมื่อตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง
- นับตั้งแต่จัดตั้ง AWS ขาดทุนน้อยกว่าพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 90% ใน 10 วันที่หุ้นโลกทำผลงานได้ย่ำแย่ที่สุด
ตั้งแต่ก่อตั้ง: AWS ทำผลงานเหนือพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40 ใน 65% ของเดือนทั้งหมด
- ในช่วง 26 เดือนจาก 40 เดือน AWS สามารถเอาชนะพอร์ตการลงทุนดั้งเดิมแบบ 60/40
มุมมอง: ความท้าทายในการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางยังคงอยู่
- จากที่ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่านักลงทุนเชื่อว่า FED จะต่อสู่กับอัตราเงินเฟ้ออย่างจริงจัง และเข้มข้น
มุมมอง: นักลงทุนต่างจับจ้องไปที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- ธนาคารกลางส่วนใหญ่ส่งสัญญาณว่าจะสู้กับอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งนักลงทุนดูเหมือนว่าจะเชื่อตามนั้น
- อย่างไรก็ดี เรามองว่าถ้าเกิดวิกฤต หรือเกิดความเสียหายร้ายแรง ธนาคารกลางก็พร้อมที่จะกลับมาพยุงเศรษฐกิจต่อไป
- ทั้งนี้ เราให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นอย่างค่อนข้างระมัดระวังที่ 25%
มุมมอง: การกลับมาสู่ภาวะปกติแบบนุ่มนวลเป็นจุดมุ่งหมายหลัก (soft landing)
- ประธาน FED นายเจอโรม พาวเวลล์ย้ำว่ามีความเป็นไปได้ที่จะชะลออัตราเงินเฟ้อ โดยที่เศรษฐกิจไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย
- อย่างไรก็ดี จากสถิติที่ผ่านมาหลายครั้ง พาวเวลล์ ก็คาดการณ์ผิดพลาด
มุมมอง: ตั้งแต่เดือนมีนาคม ตลาดคาดว่า FED จะดำเนินนโยบายเข้มงวดมากขึ้น
- อย่างไรก็ดี ตลาดคิดว่า FED จะผ่อนคลายนโยบายการเงินในปี 2023
- FED จำเป็นต้องหาสมดุลระหว่างการชะลออัตราเงินเฟ้อ กับการหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเรายังให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ที่ 5%
มุมมอง: ECB ต้องการ soft landing เช่นกัน
- ECB กล่าวถึงการดำเนินนโยบายเพื่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ และหลีกเลี่ยงเศรษฐกิจถดถอย โดยการทำนโยบายแบบ anti-fragmentation
- Fragmentation หมายถึง การที่สมาชิกมีต้นทุนการกู้ยืมเงินต่างกัน เช่น ประเทศที่มีหนี้สูงจะต้องเสียดอกเบี้ยแพงกว่า
- ดังนั้น หาก ECB ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจอิตาลี ก็จะซื้อสินทรัพย์จากประเทศอิตาลี โดยการขายทรัพย์สินอื่น ๆ ทำให้สภาพคล่องคงเดิม จึงไม่ถือว่าเป็นการดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลาย (QE)
มุมมอง: ECB ประกาศว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน
- เงินเฟ้อในกลุ่ม EU ปรับขึ้นสู่ระดับ6% และทำให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจแย่ลงในเดือนมิถุนายน 2022
- ECB ประกาศว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนกรกฎาคม 2022 และอีกครั้งในเดือนกันยายน 2022
- การดำเนินนโยบายทางการเงินแบบตึงตัวอาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตพลังงาน
- เราให้น้ำหนักหุ้นยุโรปกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ 5%
มุมมอง: ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ต้องการคงดอกเบี้ยต่ำ
- BOJ เป็นธนาคารกลางขนาดใหญ่ที่เดียวที่ไม่กังวลต่ออัตราเงินเฟ้อ และเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นจะเป็นเรื่องชั่วคราว
- BOJ ต้องการให้เงินเยนอ่อนตัว เพื่อส่งเสริมการส่งออก
- เราคงน้ำหนักหุ้นญี่ปุ่นที่ 5%
มุมมอง: การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลลบต่อตลาดเกิดใหม่
- การลดวงเงินการซื้อสินทรัพย์ และการขึ้นดอกเบี้ยของ FED น่าจะทำให้เงินเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่า สภาพคล่องในระบบลดลง และทำให้ตลาดเกิดใหม่ได้รับผลกระทบเชิงลบได้
- เงินเหรียญสหรัฐฯ ถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (safe haven) ซึ่งนักลงทุนอาจใช้พักเงินในช่วงที่สถานการณ์โลกมีความไม่แน่นอนสูง
- คงน้ำหนักหุ้นตลาดเกิดใหม่ที่ 5%
มุมมอง: ตลาดหุ้นจีนไม่สามารถดึงผลตอบแทนตลาดหุ้นเอเชียได้
- แม้ว่าหุ้นจีนมีน้ำหนักมากในหุ้นตลาดเกิดใหม่ และหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) แต่ก็ไม่อาจดึงผลตอบแทนตลาดหุ้นเอเชียในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาได้
- คงน้ำหนัก 5% ในหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น)
มุมมอง: ตราสารหนี้ยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ
- เราให้น้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ 25% เนื่องจากเราเห็นความเสี่ยงที่สูงขึ้นในตลาด และต้องการการลงทุนเชิงรับมากขึ้น
- เราลงทุนในตราสารหนี้ไทย ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยของ FED น่าจะไม่ส่งผล หรือส่งผลน้อยต่อการลงทุนดังกล่าว
- ทั้งนี้ หากไทยมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เรามองว่าตราสารหนี้ระยะสั้นจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
มุมมอง: ราคาพลังงานจะทรงตัวในระดับสูง โดยราคาน้ำมันตลาด WTI ปิดที่ 106 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในเดือนมิถุนายน 2022
- การที่ยุโรปพึ่งพิงพลังงานจากรัสเซียจะมีผลต่อราคาพลังงานในตลาด
- เราเชื่อว่าราคาพลังงานจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป
มุมมอง: ราคาน้ำมันอาจปรับตัวสูงขึ้นอีก หากพิจารณาเงินที่มีในระบบมากขึ้น
มุมมอง: วิกฤตพลังงานในยุโรปอยู่ในระดับรุนแรง รวมถึงภูมิภาคอื่น ๆ ก็เจอปัญหาด้านพลังงานด้วย
- บริษัท RWE เป็นผู้ผลิตพลังงานทดแทนที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ในยุโรป
- อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้น และราคาพลังงานที่สูงขึ้นอาจทำให้ความต้องการใช้พลังงานน้อยลง
- อย่างไรก็ดี อาจเกิดภาวะไฟดับในช่วงฤดูร้อนปีนี้
มุมมอง: OPEC+ ประกาศว่าจะเพิ่มกำลังการผลิต แต่ก็ยังเพิ่มได้ไม่ถึงเป้า
มุมมอง: สงครามในยูเครนส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน
- น่าจะมีปัญหาการชะงักงันของอุปทานจากเหตุการณ์ความไม่สงบ และการคว่ำบาตรที่เกี่ยวข้องกับสงครามในยูเครนอีกระยะหนึ่ง
- ราคาพลังงานน่าจะอยู่ในระดับสูงต่อไป จากการลงทุนที่ไม่เพียงพอในโครงการใหม่ ๆ
- นอกจากพลังงานแล้ว รัสเซียยังเป็นผู้ส่งออกโลหะอุตสาหกรรมหลายชนิด รวมถึงรัสเซีย และยูเครนยังเป็นผู้ส่งออกสำคัญของสินค้าทางการเกษตร
- การเปิดเมืองอีกครั้งของจีนอาจทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขี้น
มุมมอง: ราคาอาหารยังอยู่ในระดับสูง โดยใกล้เคียงกับจุดสูงสุด
- รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตข้าวโพด และข้าวสาลี 15-20% ของโลก
- นโยบายการห้ามส่งออกของอินเดีย และอินโดนีเซียน่าจะทำให้การขาดอาหารรุนแรงมากขึ้น และผลักดันให้ราคาสูงขึ้นอีก
มุมมอง: ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ส่งผลต่อราคาอาหาร
- ก๊าซธรรมชาติใช้ในการทำปุ๋ย และราคาที่เพิ่มขึ้นของปุ๋ยทำให้เมล็ดพันธุ์ต้องปรับราคาขึ้นตามไปด้วย
- ข้าวโพดถูกใช้เป็นอาหารของสัตว์ ซึ่งราคาข้าวโพดที่แพงขึ้นทำให้ราคาเนื้อสัตว์ปรับขึ้นตาม
มุมมอง: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์น่าจะยังปรับขึ้นต่อได้
- เราให้น้ำหนักการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ที่ 25%
- การฟื้นตัวของความต้องการ (อาหารและพลังงาน) ภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับสงครามจะผลักดันให้สินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น
มุมมอง: ทองคำจะเป็นเหมือนหลักประกันป้องกันความเสี่ยง
- เราให้น้ำหนักการลงทุนที่ 25% เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง
- สงครามในยูเครนทำให้เกิดความไม่แน่นอน ผลักดันความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อ ทำให้สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ ได้รับความสนใจมากขึ้น
- อย่างไรก็ดี ความคาดหวังการขึ้นดอกเบี้ย และภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจกดดันราคาทองคำ
สรุป FVMR แต่ละภูมิภาค
- พื้นฐาน (Fundamentals): หุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (Return on Equity) สูงที่สุด
- มูลค่า (Valuation): หุ้นตลาดเกิดใหม่มี PE (Price-to-Earnings) ต่ำที่สุด และหุ้นญี่ปุ่นมี PB (Price-to-Book) ต่ำที่สุด
- แนวโน้ม (Momentum): หุ้นญี่ปุ่นสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดในปีที่ผ่านมา
- ความเสี่ยง (Risk): หุ้นญี่ปุ่นมีอัตราหนี้สินต่อทุน (Gearing) ต่ำที่สุด
ความเสี่ยง: เงินเฟ้อถูกควบคุมได้อย่างรวดเร็ว
- AWS ถูกปรับให้ได้รับประโยชน์จากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น โดยน้ำหนัก 25% อยู่ในสินค้าโภคภัณฑ์
- การคลี่คลายของสงครามในยูเครนน่าจะทำให้ราคาพลังงานปรับตัวลง
- การปิดเมืองของจีนอาจลดความต้องการพลังงาน และทำให้ราคาพลังงานปรับตัวลง
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นอาจปรับตัวลงพร้อมกับราคาพลังงาน เนื่องจากพลังงานเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต
ความเสี่ยง: ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยจะกดดันราคาหุ้น
- COVID-19 สายพันธุ์ใหม่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งยังมีความเสี่ยงที่ประเทศต่าง ๆ อาจกลับไปใช้มาตรการล็อคดาวน์ ซึ่งจะเป็นผลลบต่อตลาดหุ้น
- เราเริ่มเห็นสัญญาณของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ซึ่งอาจจะหมายถึงธนาคารกลางกำลังขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย
- การปิดเมืองในจีนลดความต้องการสินค้าและบริการของโลก
ความเสี่ยง: การขึ้นดอกเบี้ยของ FED ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง (crash)
- ถ้าสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง และมากกว่าที่ตลาดคาด อาจทำให้หุ้นปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ
- การที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก และเงินดอลลาร์ถูกใช้เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ การตัดสินใจดำเนินนโยบายของ FED น่าจะทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนตามไปด้วย
สรุป รีวิวพอร์ต All Weather Strategy
- AWS ทำผลตอบแทนได้ต่ำกว่าพอร์ตสัดส่วน 60/40 อยู่ 0.3% ในเดือนพฤษภาคม 2022
- ภาวะสงคราม อุปสงค์ที่ฟื้นตัว และปัญหาห่วงโซ่อุปทานจะช่วยขับเคลื่อนราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ
- ความเสี่ยง: เงินเฟ้อควบคุมได้อย่างรวดเร็ว การล็อกดาวน์ครั้งใหม่เกิดขึ้น และ FED ขึ้นดอกเบี้ยทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง
Andrew Stotz
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”