คอนเซปต์หลักพอร์ต All Weather Strategy (AWS)
- Global: ลงทุนทั่วโลก ไม่เฉพาะไทย
- Long-term: สร้างผลตอบแทนระยะยาว และจำกัดการขาดทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับฐาน
- Diversified: กระจายการลงทุนทั่วโลกใน 4 สินทรัพย์
ผลการดำเนินงาน AWS
- รีวิว: มีแค่ทองคำเท่านั้นที่ปรับขึ้น
- ผลงาน: AWS ปรับตัวลง 7% ในเดือนธันวาคม 2022 แต่ดีกว่าพอร์ต 60/40 อยู่ 2.3%
- มุมมอง: ธนาคารกลางกำลังขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพื่อชะลออัตราเงินเฟ้อ โดยการเกิดภาวะ stagflation (เงินเฟ้อสูง และเศรษฐกิจชะงักงัน) เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้
- ความเสี่ยง: เงินเฟ้อควบคุมได้ นโยบายการเงินทำให้ตลาดหุ้นปรับลงอย่างรุนแรง และเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอ
รีวิว: ผลตอบแทนของดัชนีต่าง ๆ ทั่วโลก
- ตลาดสหรัฐฯ ปรับตัวลงในเดือนธันวาคม
- ดัชนี NASDAQ ปรับตัวลงถึง 30% ในปี 2022 ซึ่งถือเป็นผลงานที่แย่ที่สุดของดัชนีหุ้นที่ปรากฎในตารางนี้
- ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลง ในขณะที่ตลาดหุ้นฮ่องกงเริ่มฟื้นขึ้น
- ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงเช่นกัน
อัปเดต: ปี 2022 ถือเป็นปีที่แย่ของตลาดพันธบัตรโลก
อัปเดต: ปี 2022 ถือเป็นปีที่แย่ของตลาดพันธบัตรโลก
- พันธบัตรโลกปรับตัวลง 16% ในปี 2022
อัปเดต: เงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอตัวลง และต่ำกว่าระดับที่ตลาดคาดการณ์
อัปเดต: เงินเฟ้อในยุโรปยังอยู่ในระดับสูง และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ขึ้นดอกเบี้ยตามธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) แต่ด้วยอัตราที่ช้ากว่า
อัปเดต: เงินเยนเริ่มแข็งค่าขึ้น
อัปเดต: ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเราไม่เห็นดอกเบี้ยระดับนี้มานานแล้ว
อัปเดต: ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเราไม่เห็นดอกเบี้ยระดับนี้มานานแล้ว
อัปเดต: ดอกเบี้ยที่สูงทำให้กลุ่มกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ถูกกดดัน
อัปเดต: การที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ เพราะว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์มีขนาดใหญ่
อัปเดต: แต่ยังโชคดีที่ ฤดูหนาวในยุโรปไม่รุนแรงมากนัก
อัปเดต: แต่ยังโชคดีที่ ฤดูหนาวในยุโรปไม่รุนแรงมากนัก
อัปเดต: ก๊าซธรรมชาติมีความสำคัญกับยุโรปมาก โดยใช้สร้างความร้อนถึง 39% ในฤดูหนาว
อัปเดต: ก๊าซธรรมชาติมีความสำคัญกับยุโรปมาก โดยใช้สร้างความร้อนถึง 39% ในฤดูหนาว
อัปเดต: ธนาคารกลางเข้ามาสะสมทองคำมากขึ้น
ข้อสรุปที่สำคัญ
- ปี 2022 ถือเป็นปีที่ตลาดพันธบัตรโลกค่อนข้างแย่
- ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกดดันตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีสินทรัพย์ขนาดใหญ่กระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวม
- ฤดูหนาวในยุโรปไม่รุนแรงมากนัก ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติทรงตัว
- ธนาคารกลางเริ่มเก็บสะสมทองคำ
น้ำหนักการลงทุนก่อนหน้า: เราให้น้ำหนักการลงทุน 25% ในแต่ละสินทรัพย์
- เราไม่ได้เปลี่ยนน้ำหนักการลงทุนในการทบทวนครั้งนี้
รีวิว: หุ้นโลกปรับตัวลงในปี 2022 กว่า 18.0%
- ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจถดถอย และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเปิดเมืองของจีนทำให้ตลาดหุ้นถูกกดดันในเดือนธันวาคม 2022
รีวิว: หุ้นสหรัฐฯ ทำผลงานได้แย่ที่สุด โดยปรับตัวลง 5.8% ในเดือนธันวาคม 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นสหรัฐฯ
- นอกจากความกังวลด้านการเปิดเมืองของจีนแล้ว สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ก็กดดันตลาดหุ้นเช่นกัน
รีวิว: หุ้นยุโรปปรับตัวลง 3.6% ในเดือนธันวาคม 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นยุโรปกลุ่มพัฒนาแล้ว
- ECB น่าจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งละ 5% ซึ่งน่าจะกดดันตลาดหุ้นยุโรป
รีวิว: ตลาดเกิดใหม่ทำผลงานได้ดีเป็นอันดับ 2 แต่ปรับตัวลง 3.2% ในเดือนธันวาคม 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นตลาดเกิดใหม่ ซึ่งทำผลงานได้ดีเป็นอันดับ 2
- ตลาดหุ้นจีน อินเดีย และไต้หวันมีน้ำหนักถึง 60% ในดัชนีตลาดหุ้นเกิดใหม่ ซึ่งทั้งหมดปรับตัวลง
รีวิว: หุ้นเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นทำผลงานได้ดีที่สุด โดยทรงตัวในเดือนธันวาคม 2022
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่น
- หุ้นฮ่องกง และเกาหลีใต้ทำให้ดัชนีโดยรวมทรงตัว
รีวิว: ตลาดญี่ปุ่นสร้างผลตอบแทนได้แย่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเดือนธันวาคม 2022 แต่ยังปรับตัวลง 3.9%
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นญี่ปุ่น
- หุ้นญี่ปุ่นฟื้นตัวจากความคาดหวังของการผ่อนคลายท่าทีของ FED
รีวิว: ตลาดตราสารหนี้ทรงตัวในเดือนธันวาคม 2022
- เราให้น้ำหนัก 25% กับตราสารหนี้ไทย (แทนที่จะเป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ) ซึ่งทรงตัวในช่วงที่ผ่านมา
- วัตถุประสงค์หลักของการลงทุนในตราสารหนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากตลาดขาลง
รีวิว: แม้ว่าจะถือว่าทำผลงานได้ดี แต่หุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลง 1.9% ในเดือนธันวาคม 2022
- เราให้น้ำหนัก 25% กับสินค้าโภคภัณฑ์
รีวิว: น้ำมันดิบ WTI ปิด ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2022 อยู่ที่ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
รีวิว: สินแร่มีค่าสร้างผลตอบแทนดีที่สุด ขณะที่พลังงานปรับตัวลง
- ราคาสินแร่มีค่าปรับตัวขึ้น จากความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในจีน
- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลง ทำให้ราคาสินคาโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย
- ฤดูหนาวที่ไม่รุนแรงเท่าไรนักในยุโรป ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติและราคาน้ำมันปรับตัวลง
รีวิว: ทองคำปรับตัวขึ้น 2.5% ในเดือนธันวาคม 2022 โดยถือเป็นสินทรัพย์ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด
- เราให้น้ำหนัก 25% ในทองคำ
- ราคาทองคำอยู่ที่ 1,823 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์
- ความไม่แน่นอนของการเปิดเมืองในจีน และการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น
รีวิว: สกุลเงินต่าง ๆ อ่อนตัวเมื่อเทียบกับราคาทองคำในปี 2022
- เสมือนว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นคู่แลกเปลี่ยน โดยการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ราคาทองคำต่ำลงในรูปเหรียญสหรัฐฯ
- และหมายความว่า ผลตอบแทนของทองคำ ขึ้นอยู่กับเงินสกุลท้องถิ่นต่าง ๆ ด้วย
รีวิว: AWS ทำผลงานเหนือกว่าพอร์ต 60/40 เมื่อนับตั้งแต่ก่อตั้ง
- ตั้งแต่ตั้งพอร์ต AWS ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพอร์ต 60/40 อยู่ 1% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2022
เดือนธันวาคม 2022: AWS สร้างผลตอบแทนสูงกว่ากับพอร์ต 60/40 อยู่ 2.3%
- รีวิวผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่เราให้น้ำหนัก 25%
- สินค้าโภคภัณฑ์: ปรับตัวลง แต่ถือว่าดีกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ
- พันธบัตร: ผลงานทรงตัว แต่ถือว่าทำผลงานได้ดี เมื่อหุ้นปรับตัวลง
- ทองคำ: ทำผลงานได้ดีที่สุด
รีวิว: AWS สร้างผลตอบแทนได้ดี
- AWS ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพอร์ต 60/40 ในช่วงเวลาส่วนใหญ่
- แต่ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าทาย
รีวิว: AWS มีความผันผวนต่ำกว่าพอร์ต 60/40
- สัดส่วนการลงทุนในหุ้น 25-65% ช่วยลดความผันผวน
- ทองคำช่วยลดความผันผวนโดยรวมของพอร์ต เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับหุ้น
รีวิว: AWS ขาดทุนน้อยกว่าพอร์ต 60/40 9 ครั้งจาก 10 ครั้งในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงมากที่สุด
- จุดเด่นสำคัญของ AWS คือ การจำกัดการขาดทุนเมื่อตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง
- นับตั้งแต่จัดตั้ง AWS ขาดทุนน้อยกว่าพอร์ต 60/40 อยู่ 9 วันถ้านับจากใน 10 วันที่หุ้นโลกทำผลงานได้ย่ำแย่ที่สุด
รีวิว: AWS ทำผลงานเหนือกว่าพอร์ต 60/40 ในเดือนธันวาคม 2022 และ 61% ของเดือนทั้งหมด
- AWS สามารถสร้างผลตอบแทนเหนือกว่าพอร์ต 60/40 ใน 28 เดือนจาก 46 เดือน
สรุป FVMR แต่ละภูมิภาค
- พื้นฐาน (Fundamentals): หุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (Return on Equity) สูงที่สุด
- มูลค่า (Valuation): หุ้นตลาดเกิดใหม่มี PE (Price-to-Earnings) ต่ำที่สุด และหุ้นญี่ปุ่นมี PB (Price-to-Book) ต่ำที่สุด
- แนวโน้ม (Momentum): หุ้นญี่ปุ่นสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดในปีที่ผ่านมา
- ความเสี่ยง (Risk): หุ้นเอเชียแปซิฟิก และหุ้นญี่ปุ่น มีอัตราหนี้สินต่อทุน (Gearing) ต่ำที่สุด
มุมมอง: ราคาน้ำมันเริ่มปรับตัวลงมา แต่เงินเฟ้อยังคงสูง
- น้ำมันเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับการเกษตร การผลิต และการคมนาคม
- ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงมาอาจช่วยชะลออัตราเงินเฟ้อ หรือทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงได้
- อย่างไรก็ดี เรากลับพบว่า อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้น
มุมมอง: อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐฯ เริ่มต่ำลงแล้ว
- ราคาสินค้าและบริการที่แพงขึ้น เมื่อถึงจุดหนึ่งจะทำให้ความต้องการลดลง
- ฐานเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จะแสดงระดับอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง
- ดังนั้น เงินเฟ้ออาจเข้าใกล้จุดสูงสุดแล้ว แม้ว่าธนาคารกลางยังไม่ได้เข้าแทรกแซง
มุมมอง: ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 3 เดือนปรับตัวสูงขึ้นเป็น 4.3% จาก 1.5% ในปีที่ผ่านมา
- อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเร็วกว่าผลตอบแทนพันธบัตร
- เราคาดหวังว่าธนาคารกลางจะยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อ เพราะดูเหมือนว่ายังชะลอเงินเฟ้อไม่ได้
มุมมอง: ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ดูเหมือนว่าจะสูงที่สุดแล้ว
- ถ้าราคาน้ำมันไม่ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแล้ว เราคาดว่า CPI น่าจะผ่านจุดที่สูงที่สุดแล้ว
- แต่ว่าราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง น่าจะทำให้ราคาอาหารและสินค้าอื่น ๆ ทรงตัวในระดับสูง ทำให้ไม่น่าจะเห็นการปรับตัวลงของ CPI อย่างรวดเร็วภายใน 2-3 เดือนหน้า
มุมมอง: เงินเฟ้อในยุโรปน่าจะยังไม่สูงที่สุด ทำให้ ECB ต้องดำเนินนโยบายแบบเข้มงวดต่อ
มุมมอง: การหดตัวของปริมาณเงินจะทำให้เงินเฟ้อกลับเข้าสู่ระดับปกติในที่สุด
- มิลตัน ฟรีดแมน นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง กล่าวว่า เงินเฟ้อจะเกิดขึ้นถ้าปริมาณเงินเพิ่มขึ้น เกินกว่าปริมาณผลผลิตที่ระบบเศรษฐกิจสร้างขึ้น
มุมมอง: ตลาดมองว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่ภาวะปกติ
- อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์สหรัฐฯ 10 ปี อยู่ที่ 3% ส่งสัญญาณว่าตลาดคาดว่า FED จะควบคุมเงินเฟ้อได้
- ถ้าการคาดการณ์เงินเฟ้อต่ำกว่าความจริง จะทำให้ราคาหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำปรับตัวขึ้น
มุมมอง: ประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าบางครั้งเงินเฟ้อควบคุมยากกว่าที่คิด
- หลายครั้งที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งเกิน 2% ต้องใช้เวลา 10 ปี หรือมากกว่าในการดึงเงินเฟ้อกลับเข้าสู่จุด 2%
- จากสถิติที่ผ่านมา เราคาดการณ์ว่าจะใช้เวลาหลายปีกว่าที่เงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่ระดับ 2%
มุมมอง: ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า 6% จะใช้เวลาประมาณ 16-62 เดือน เพื่อกลับเข้าสู่ระดับครึ่งหนึ่งของระดับสูงที่สุด
- แสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อค่อนข้างจะอยู่กับเศรษฐกิจนานกว่าที่คาด
มุมมอง: เงินเฟ้อจะอยู่กับเศรษฐกิจนานกว่าที่คาด
- ภายใต้สมมติฐานว่าเงินเฟ้อสูงที่สุดอยู่ที่ระดับ1% ในเดือนมิถุนายน 2022
- จากสถิติที่ผ่านมาจะลดลงเหลือ 5% ภายใน 17-32 เดือน
- หมายความว่า อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2023 และต่อไปอีกระยะหนึ่ง
มุมมอง: การขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกุมภาพันธ์ได้ถูกตลาดคาดการณ์ไว้แล้ว (priced in)
- ตลาดมั่นใจ 100% ว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป
- โดยเชื่อมั่น 72% ว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย25% เข้าสู่ระดับ 4.50-4.75%
มุมมอง: การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการปรับขึ้นที่เร็วที่สุดตั้งแต่ช่วง 1980
- ในการขึ้นดอกเบี้ยปี 2004 ดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นรวม 25%
- การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ก็รวมแล้วขึ้น 25% แต่เกิดขึ้นในอัตราที่เร่งกว่ามาก
มุมมอง: ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022 ตลาดคาดว่า FED จะดำเนินนโยบายเข้มงวดมากขึ้น
- ตลาดเชื่อว่าดอกเบี้ยนโยบายจะสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2023
- FED กำลังสู้กับเงินเฟ้ออย่างเข้มข้น แม้ว่าจะต้องเสี่ยงกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง
มุมมอง: หลังจากการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว 4.75% ตลาดเชื่อว่าดอกเบี้ยสูงสุดสุดท้ายจะอยู่ที่ระดับ 5% ในเดือนมิถุนายน 2023
- ปัจจุบันตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสุดท้ายจะเกิดขึ้นในช่วงมีนาคม 2023 ถึงกันยายน 2023
- โดยความน่าจะเป็นสูงที่สุด น่าจะเกิดที่เดือนมิถุนายน 2023
มุมมอง: นับตั้งแต่ช่วงปี 1980 โดยเฉลี่ยแล้ว FED จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงที่สุดประมาณ 6 เดือน
- ในช่วงวิกฤต dotcom FED คงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงที่สุดเป็นระยะเวลา 8 เดือน ในขณะที่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ FED คงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงที่สุดเป็นระยะเวลา 15 เดือน ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุด
- จากสถิติ หากเป็นไปตามค่าเฉลี่ย คาดว่า FED จะคงดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงจนถึงเดือนกันยายน 2023
มุมมอง: ตลาดมองว่า FED เข้มงวดด้านนโยบายการเงินมากที่สุด และ BOE จะเข้มงวดในระดับเดียวกันในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2023
- ดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำกว่าของ ECB และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ทำให้เชื่อว่าเงินยูโร และเงินเยนจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
- อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยนโยบายของกลุ่มยูโรก็เริ่มปรับขึ้นสูงเรื่อย ๆ เมื่อเข้าใกล้กับสหรัฐฯ อาจจะทำให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าได้บ้าง
มุมมอง: การกลับทิศของกราฟอัตราส่วนผลตอบแทนพันธบัตร (inverted yield-curve) รุนแรงขึ้น
- ตั้งแต่ปี 1970 inverted yield-curve จะเกิดขึ้นก่อนภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- หลังจากเกิด inverted yield curve จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยเฉลี่ยภายใน 1 ปี (ประมาณกลางปี 2023)
มุมมอง: จับตาดูความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนพันธบัตร (yield spread)
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แตกต่างกันมากขึ้น แสดงให้เห็นว่านักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้น ให้คุ้มค่ากับความเสี่ยง
- เราเชื่อว่า FED จะเข้ามาแทรกแซงถ้าผลตอบแทนพันธบัตรเริ่มแสดงถึงความแตกต่างที่มากเกินไป จนเกินผลต่อเสถียรภาพ
มุมมอง: หุ้นมีการประเมินมูลค่าที่น่าสนใจมากขึ้น โดยมาจากราคาที่ต่ำลงเป็นสำคัญ
- มูลค่าหุ้นโลกที่ถูกประเมินไว้ปรับตัวต่ำลงมากว่าค่าเฉลี่ยในอดีตเล็กน้อย
- แม้ว่าอัตราการทำกำไรจะต่ำกว่าเดิม แต่ว่ายังไม่มีการปรับประมาณการอัตราการทำกำไรลงอย่างมีนัยสำคัญ
มุมมอง: ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ เหมือนจะผ่านจุดสูงสุดแล้ว
- ธนาคารกลางสื่อสารว่าจะควบคุมให้เงินเฟ้อลดลง และนักลงทุนดูเหมือนว่าจะเชื่อเช่นนั้น
- เราเชื่อว่าธนาคารกลาง และนักการเมืองพร้อมที่จะเปลี่ยนนโยบาย หากมีความเสียหายเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ
- และเราเชื่อว่าสิ่งที่ธนาคารกลางทำกำลังจะทำให้เกิดความเสียหายกับเศรษฐกิจ
มุมมอง: ผลกำไรมักจะต่ำที่สุดตอนปลายของภาวะเศรษฐกิจถดถอย
มุมมอง: อย่างไรก็ตาม ดัชนี S&P500 จะปรับตัวลงก่อนการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- ดัชนี S&P500 ปรับตัวลงไปแล้วถึง 16% ในปี 2022
- การปรับตัวลงของตลาดหุ้นมักจะเกิดขึ้นก่อนภาวะเศรษฐกิจถดถอยเสมอ
มุมมอง: ยังไม่มีการดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว (QT) เท่าไรนัก
- ธนาคารกลางเริ่มให้พันธบัตรหมดอายุ ทำให้งบดุลไม่โตขึ้นแล้ว
- งบดุลของ BOJ โตขึ้นเล็กน้อยในเดือนตุลาคม 2022
มุมมอง: FED เริ่มลดขนาดงบดุลเพื่อที่จะหลีกเลี่ยง stagflation
- แม้ว่างบดุลยังมีขนาดใหญ่มาก แต่ว่าการไม่อัดฉีดเงินเพิ่มเติมทำให้ราคาสินทรัพย์ในตลาดเงินปรับตัวลง
- แต่ถ้า FED กลับไปซื้อสินทรัพย์อีกครัง งบดุลจะโตเพิ่มขึ้นเข้าสู่ระดับสูงสุดอีกครั้ง
มุมมอง: เราเชื่อว่าธนาคารกลางจะกลับทิศนโยบายในอนาคต
- เราเชื่อว่าธนาคารกลาง และนักการเมืองพร้อมที่จะเปลี่ยนนโยบาย หากมีความเสียหายเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ
- และเราเชื่อว่าสิ่งที่ธนาคารกลางทำกำลังจะทำให้เกิดความเสียหายกับเศรษฐกิจ
มุมมอง: ธนาคารกลางอาจทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจสิ้นสุด แต่กลับไม่สามารถหยุดเงินเฟ้อได้ และเราคาดว่าจะเกิดภาวะ stagflation
- ภาวะ stagflation ส่งผลเสียต่อหุ้นและพันธบัตร
- สินค้าโภคภัณฑ์มักสร้างผลตอบแทนได้ดีในช่วงเงินเฟ้อ และทองคำมักสร้างผลตอบแทนได้ดีในช่วง stagflation
- เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนสูง เราจำกัดการลงทุนในหุ้น
มุมมอง: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีบทบาทมากต่อตลาดการเงินโลก
- เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเหมือนสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยและการทำ QT จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นอีก
- เราเชื่อว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความยืดหยุ่นต่อความเสี่ยงได้ดีกว่าตลาดหุ้นอื่น
- เรายังให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นในแต่ละภูมิภาคเพียง 5% เนื่องจากเราเชื่อว่าตลาดหุ้นยังอ่อนแอ
มุมมอง: ECB ต้องสู้กับเงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจถดถอยพร้อม ๆ กัน
- เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังพุ่งต่อเนื่อง เราเชื่อว่า ECB จะดำเนินนโยบายแบบตึงตัวต่อไป
- อย่างไรก็ดี ยุโรปมีความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ยอาจเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าวมากขึ้นอีก
- ราคาพลังงานที่สูงขึ้นจะกดดันการบริโภค และการผลิต
- เราคงน้ำหนัก 5% ในการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปกลุ่มพัฒนาแล้ว
มุมมอง: การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลลบต่อตลาดเกิดใหม่
- การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้การชำระหนี้ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ของประเทศในเอเชียทำได้ยากขึ้น เนื่องจากจะต้องใช้เงินสกุลท้องถิ่นมาแลกมากขึ้น
- การอ่อนตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะเป็นผลดีต่อหุ้นตลาดเกิดใหม่
มุมมอง: เศรษฐกิจจีนยังน่าเป็นห่วง
- เรายังไม่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัว
- ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ครองอำนาจอีกครั้ง และการควบคุมเงินเฟ้อของรัฐบาลอาจกดดันภาคเศรษฐกิจและรายได้ของ
- นโยบาย “COVID-19 เป็นศูนย์” ถูกยกเลิกแล้ว แต่ยังมีความไม่แน่นอนว่าจีนจะจัดการกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างไร
มุมมอง: หุ้นจีนยังคงกดดันผลตอบแทนหุ้นตลาดเกิดใหม่ และตลาดเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น
- หุ้นจีนน่าจะยังคงกดดันผลตอบแทนหุ้นตลาดเกิดใหม่ และตลาดเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นต่อไป
- เราให้น้ำหนัก 5% ในหุ้นตลาดเกิดใหม่ และ 5% ในหุ้นตลาดเอเชียไม่รวมญี่ปุ่น
มุมมอง: เงินเยนน่าจะอ่อนค่าต่อไป
- BOJ ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำ และคาดหวังว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น
- เราให้น้ำหนัก 5% ในตลาดหุ้นญี่ปุ่น
มุมมอง: พันธบัตรยังเป็นการลงทุนที่ปลอดภัย แม้ว่าในปี 2022 จะให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างแย่
- ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย การลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น พันธบัตรรัฐบาล มักให้ผลตอบแทนดี
- อย่างไรก็ดี ในช่วงที่เงินเฟ้อสูง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ต่ำ อาจทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (real return) ติดลบ
- เราไม่ได้ใช้พันธบัตรในการเก็งกำไร เพื่อสร้างผลตอบแทน แต่เรามองว่าพันธบัตรสามารถป้องกันความเสี่ยงได้ดี
- เราให้น้ำหนักในตลาดพันธบัตรไทย 25%
มุมมอง: ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปน่าจะยังผันผวนต่อไป
- ยุโรปยังต้องพึ่งพาก๊าซจากรัสเซีย และถ้าอากาศเย็นลง ปริมาณก๊าซสำรองอาจลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาปรับตัวขึ้น
มุมมอง: ปัจจัยพื้นฐานยังสนับสนุนราคาน้ำมัน
- กลุ่ม OPEC+ ผลิตได้ไม่เป็นไปตามเป้า และมีการลดกำลังการผลิต ซึ่งน่าจะช่วยสร้างเสถียรภาพราคาน้ำมัน
- สงครามในยูเครนน่าจะก่อให้เกิดปัญหาด้านอุปทานต่ออีกระยะหนึ่ง
- ราคาพลังงานน่าจะอยู่ในระดับสูงต่อไป จากการลงทุนที่ไม่เพียงพอในโครงการใหม่ ๆ
มุมมอง: ราคาอาหารเริ่มทรงตัว แต่อุปทานสำหรับสินค้าทางการเกษตรอาจตึงตัวอีกครั้ง
- อุปทานของสินค้าทางการเกษตรอาจตึงตัวอีกครั้ง จากความผันผวนของราคาก๊าซธรรมชาติ และการแบนการส่งออก
- ลานีญ่า (La Nina) อาจทำให้อุปทานสินค้าเกษตร เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง และแป้ง ลดลง
มุมมอง: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์น่าจะยังอยู่ในระดับสูง
- การฟื้นตัวของความต้องการ (อาหารและพลังงาน) ภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับสงครามจะผลักดันให้สินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น
- การเปิดเมืองอีกครั้งของจีนจะทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น
- ถ้าเกิดภาวะ stagflation คาดว่าสินค้าโภคภัณฑ์จะสร้างผลตอบแทนได้ดี
- เราให้น้ำหนัก 25% ในสินค้าโภคภัณฑ์
มุมมอง: ธนาคารกลางเริ่มสะสมทองคำ หรือว่านี่จะเป็นการค่อย ๆ เปลี่ยนจากการเก็บในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
มุมมอง: เราให้น้ำหนักทองคำ 25% ซึ่งจะเป็นหลักประกันป้องกันความเสี่ยง
- สงครามในยูเครนทำให้เกิดความไม่แน่นอน ผลักดันความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อ ทำให้สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ ได้รับความสนใจมากขึ้น
- อย่างไรก็ดี ความคาดหวังการขึ้นดอกเบี้ย อาจกดดันราคาทองคำ
- โดยทั่วไป ทองคำจะช่วยป้องกันความเสี่ยงในช่วงตลาดขาลงได้
ความเสี่ยง: เงินเฟ้อถูกควบคุมได้อย่างรวดเร็ว
- ถ้าธนาคารกลางสร้างความแปลกใจให้กับตลาดด้วยการขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรง พร้อมกับการดึงสภาพคล่องออกจากตลาด อาจจะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง
- เราไม่ได้ให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นมาก หากธนาคารกลางปรับเปลี่ยนนโยบาย และหุ้นปรับตัวสูงขึ้น อาจทำให้เราเสียโอกาสบ้าง
- เศรษฐกิจจีนที่อ่อนแออาจลดความต้องการของสินค้าโภคภัณฑ์ กดดันทำให้ราคาต่ำลงได้
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นอาจปรับตัวลงพร้อมกับราคาพลังงาน เนื่องจากพลังงานเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิต
ข้อสรุปที่สำคัญ
- AWS สร้างผลตอบแทนดีกว่าพอร์ต 60/40 อยู่3% ในเดือนธันวาคม 2022
- ธนาคารกลางกำลังขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพื่อชะลออัตราเงินเฟ้อ โดย stagflation เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้
- ความต้องการสินค้าจำเป็น (อาหารและพลังงาน) ภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาห่วงโซ่อุปทานจะทำใหราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น
- พันธบัตรและทองคำใช้ในการลดความเสี่ยง
- ความเสี่ยง: เงินเฟ้อควบคุมได้ นโยบายการเงินทำให้ตลาดหุ้นปรับลงอย่างรุนแรง และเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอ
Andrew Stotz
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน All Weather Strategy สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENA
**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”