Bear Market Rally เกิดขึ้นเสมอ
นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ที่โลกของเราได้รู้กันแล้วว่าเงินเฟ้อนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ “เรื่องชั่วคราว” แบบที่ Fed เคยประกาศเอาไว้ ซึ่งนำไปสู่การดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวของ Fed ทั้งขึ้นดอกเบี้ย และการทำ QT
ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นปรับตัวลงต่อเนื่อง จนกระทั่งพบจุดต่ำสุดในวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา (อิงจาก S&P500) คิดเป็นการปรับตัวลงกว่า 24% นับว่าเป็นการเข้าสู่ตลาดขาลง (Bear Market) อย่างเต็มรูปแบบ
ตลาดวิ่งครั้งนี้ Bear Market Rally, Fake Bull หรือ จุดเริ่มต้นขาขึ้นรอบใหม่
รูปที่ 1 S&P500 timeframe day Source Tradingview as of 01/08/2022
แต่ถึงอย่างนั้นเราก็จะได้เห็นการปรับตัวขึ้น (รีบาวน์) ที่มากกว่า 5% เป็นครั้งคราว ขึ้นไป จนเป็นความหวังให้นักลงทุนว่า หรือจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว
– นับตั้งแต่ครั้งแรกในช่วงการประชุม FOMC ต้นปีที่ปรับตัวขึ้นประมาณ 6.1%
– การปรับตัวขึ้นหลังผ่อนคลายว่าสงครามรัสเซีย-ยูเครนไม่ลุกลามในช่วงกลางมีนาคม อีก 11.2%
– การปรับตัวขึ้นหลังประชุม FOMC อีกครั้งช่วงกลางพฤษภาอีก 7.2%
– และครั้งล่าสุดที่เริ่มรอบตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมาที่ปรับตัวขึ้นอีก 13% แล้วในช่วงที่ผ่านมา บนท่าทีของ Fed ที่ดูเหมือนจะ Less Hawkish คือ อย่างน้อยๆ ก็ไม่ขึ้นดอกเบี้ยเยอะกว่าคาด อีกทั้งเปิดช่องเอาไว้ว่าจะพิจารณาตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่ก็ย้ำว่าจะเอาเงินเฟ้อลงสู่ระดับ 2% ที่เป็นเป้าหมายสำคัญให้ได้
ซึ่งจะเห็นได้ว่า 3 ใน 4 ครั้งนั้นเป็นการปรับตัวขึ้นตอบรับต่อท่าทีของ Fed ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครั้งล่าสุดที่หลังการประชุม Fed นั้น ตามมาด้วยการประกาศตัวเลขสำคัญ 3 ตัวด้วยกันคือ
– GDP สหรัฐฯ ที่เข้าสู่ Technical Recession เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งจุดที่น่าสนใจคือการลดลงของการลงทุนและ Inventory อย่างมีนัย สะท้อนว่าคนกังวลว่าเศรษฐกิจจะหนักกว่านี้
– PCE ที่สูงกว่าคาด แต่ก็เหมือนคาดเอาไว้แล้วว่าจะสูง
– US Nonfarm Payrolls ที่ดีกว่าคาดถึง 2 เท่า
ซึ่งตลาดตอบรับได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการปรับตัวขึ้นใน 2 เหตุการณ์แรกที่แลดูเหมือนจะสะท้อนว่าเศรษฐกิจกำลังน่าเป็นห่วง แต่ปรับตัวลงกับเหตุการณ์สุดท้าย ที่ชี้ว่าเศรษฐกิจแข็งแกร่ง
นั่นเป็นเพราะปัจจุบันคนกำลังกลัว Fed มากกว่ากลัวเศรษฐกิจ
กล่าวคือ กลัวว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่คิดว่าจะ Less Hawkish เอาไว้ เพราะฉะนั้นยิ่งเศรษฐกิจแย่เท่าไหร่ยิ่งดีต่อตลาดมากกว่า กลับกัน หากเศรษฐกิจดีจะหมายถึงการอนุญาตให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยได้ต่อไป
ทำให้ปัจจุบันเราอยู่ในภาวะที่ Market Dance on Recession Hope เสียมากกว่า เรียกได้ว่าหวังว่าจะเกิด Mild Recession ขึ้น มากกว่าที่จะหวังให้เศรษฐกิจร้อนแรง
หากแต่การปรับตัวขึ้นในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของขาขึ้น (Bull Market) รอบใหม่ ตามนิยามที่ว่าปรับตัวขึ้นมากกว่า 20% หรือไม่ หรือจะเป็นเพียง Bear Market Rally (ขึ้นชั่วคราวแต่ไม่ถึง 20%) หรือจะเป็นเพียง Fake Bull (ขึ้นมากกว่า 20% แต่กลับมาลงต่อในที่สุด)ที่หลอกให้เม่าทั้งหลายได้เริ่งร่ากันชั่วคราว ก่อนที่จะเชื่อดนิ่มๆ อีกครั้งในอนาคต
ย้อนกลับไปก่อนที่ Bear Market Rally นั้นเกิดขึ้นเสมอ
ไม่ว่าจะใน Bear Market ใดก็ตาม มักจะมีการรีบาวน์ หรือ การปรับตัวขึ้นในช่วงสั้นๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนแนวโน้มหลักให้เป็นขาขึ้น เรียกว่า Bear Market Rally
ตลาดวิ่งครั้งนี้ Bear Market Rally, Fake Bull หรือ จุดเริ่มต้นขาขึ้นรอบใหม่
รูปที่ 2 สถิติ Bear Market Rally S&P500 ระหว่างปี 1950 – 01/08/2022
ซึ่งนับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมานั้นเกิดภาวะตลาดหมีมาแล้วทั้งสิ้น 12 ครั้งไม่นับรวมปัจจุบัน ผลปรากฏว่ามีเพียงหนึ่งครั้งเท่านั้นที่ไม่เกิด Bear Market Rally คือในช่วงวิกฤติ COVID-19 ปี 2020 แต่นอกจากนั้นแล้วมักเกิด Bear Market Rally เสมอ เฉลี่ย 3 ครั้ง สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อครั้ง 8.4% และมีการรีบาวน์ที่สูงที่สุดคือ 19.1% ในช่วงวิกฤติ Dot Com ปี 2000
Bear Market Rally เกิดขึ้นเสมอ
รูปที่ 3 S&P500 timeframe day ช่วงวิกฤติ Dot Com Source Tradingview
อย่างไรก็ตาม ในวิกฤติ 2 ครั้งใหญ่ อย่าง Dot Com และ Subprime ปี 2008 นั้นจะถูกแบ่ง Bear Market ออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน เนื่องจากมีการรีบาวน์ขึ่นมากกว่า 20% (นับเป็น Bull Market รอบใหม่) แต่กลับไม่สามารถเป็นขาขึ้นที่แท้จริงได้และปรับตัวลงต่อ สะท้อนว่าในขาลงใหญ่ อาจเกิด Fake Bull ได้ เพราะมีปัจจัยที่พร้อมจะให้ความหวังนักลงทุนเข้ามาอยู่เสมอ
แล้วในครั้งนี้จะเป็นกรณีไหน Bear Market Rally?, Fake Bull หรือ New Bull Run ติดตามอ่านต่อได้วันพรุ่งนี้ครับ

AKN Blog

Source : FINNOMENA, Bloomberg As of 01/08/2022

TSF2024