ในรอบเดือน มิ.ย. นี้ คงไม่มีข่าวใดน่าสนใจไปกว่าข่าวจากประเทศจีน เมื่อวันที่ 19-20 มิ.ย. ที่ผ่านมา PBoC (People’s Bank of China) ประเทศจีนได้ประกาศว่า “ถึงเวลาแล้วที่ต้องทำให้ RMB มีความยืดหยุ่นมากขึ้น” ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น “สัญญาณของการสิ้นสุดการ Peg ค่าเงินระหว่าง USD-CNY” (ในที่นี้ขอใช้ CNY หรือ Chinese Yuan แทน Renminbi, RMB นะครับ)

เมื่อ PBoC ปรับเปลี่ยน Official daily trading band (กรอบการแกว่งตัว) ของค่าเงิน CNY ให้กว้างขึ้นเป็น +/-0.5% ต่อวัน พบว่ามีผลทันทีต่อค่าเงิน CNY โดย CNY ได้ปรับแข็งค่าขึ้นจาก 6.8267 ในวันศุกร์ที่ 18 มิ.ย. เป็น 6.812 ในวันจันทร์ที่ 21 ขณะที่ผมกำลังเขียน article นี้อยู่

หลายปีที่ผ่านมา PBoC มักถูกกล่าวถึงในประเด็นของการ “Peg ค่า CNY กับ USD ไว้อ่อนค่าเกินความเป็นจริง” เพื่อส่งเสริมให้การส่งออก (Export) สินค้าตนเองไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อค่าเงิน CNY อ่อนค่ากว่าที่ควรจะเป็น และนำไปสู่ประเด็นเรื่อง “Global imbalance” ที่สหรัฐฯและประเทศคู่ค้ารายใหญ่อื่นๆเรียกร้องมาโดยตลอด

clip_image002

รูปที่ 1 ตั้งแต่ปี 2004 PBoC ได้มีการปรับนโยบายค่าเงิน CNY 3 ครั้ง ในปี 2005 ปี 2008 และปี 2010

clip_image004

รูปที่ 2 PBoC ได้ประกาศปรับให้ CNY มีความยืดหยุ่นขึ้นโดยการขยาย Band ในเดือน มิ.ย. 2010 โดย CNY ได้แข็งค่าขึ้นทันที 0.03%

รูปที่ 1 แสดงค่าเงิน CNY เมื่อเทียบกับ USD พบว่า PBoC มีนโยบายเรื่องการ Peg (ผูกค่าเงิน), Re-peg (ผูกค่าเงินใหม่ที่ rate อื่น) และ De-peg (เลิกการผูกค่าเงิน) ดังนี้ครับ:

1) ก่อนปี 2004 PBoC เลือก Peg (ผูกค่าเงิน) ค่าเงิน CNY กับ USD โดยกำหนดให้ 1 หน่วย USD สามารถแลก CNY ได้สูงถึง 8.2765 หน่วย

2) ในวันที่ 24 ก.ค. 2005 PBoC ได้มีการปรับหรือ Re-peg (ผูกค่าเงินใหม่ที่ rate อื่น) ค่าเงินCNY ใหม่ครั้งใหญ่โดยปรับให้ CNY แข็งค่าขึ้นจาก 8.27 เป็น 8.11 (ภายในวันเดียว) เมื่อเทียบกับ USD พร้อมกันนั้น PBoC ได้กำหนด “กรอบ” หรือ “Band” ให้ CNY สามารถเคลื่อนไหวได้ในกรอบแคบๆ (แคบมากที่ประมาณ 1-2bps ต่อวัน) “De-peg (เลิกการผูกค่าเงิน)” โดยค่อยๆปล่อยให้ CNY แข็งค่าขึ้นทีละน้อย กล่าวคือ ตัวเลข 8.2765 จะค่อยๆลดค่าลง เมื่อเทียบกับ USD

3) จนกระทั่งในเดือน ก.ค. ปี 2008 PBoC ได้เลือกที่จะ Peg ค่าเงิน CNY กับ USD อีกครั้ง ที่ระดับ 6.83

4) เมื่อวันที่ 21 มิ.ย 2010 นี่เองที่ PBoC ตัดสินใจ De-peg อีกครั้ง โดยเปิด band ให้กว้างขึ้นจาก 1-2 bps เป็น 10-20bps ต่อวัน) และดังแสดงในรูปที่ 2 ค่า CNY ปรับแข็งค่าขึ้นในทันที

ต้องกล่าวว่า ณ เวลานี้ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายของ PBoC ยังค่อนข้างจำกัด จึงทำให้ความเห็นจากผู้รู้ในตลาดเงิน/ตลาดทุน และตลาดหุ้น มีการคาดการณ์ที่แตกต่างกันออกไปพอสมควร แต่ในเบื้องต้นแล้วการคาดการณ์ส่วนใหญ่เป็นไปดังนี้ครับ

1) Export ของจีนจะปรับลดลงเล็กน้อย DB Research คาดว่าจะลดลง-0.7% ถึง -2.5%

2) Bottom line หรือ GDP จะปรับลดลงเพียง 0.2-0.6%

3) การที่ CNY อ่อนค่ากว่าความเป็นจริง ทำให้ Trade balance ของจีนอยู่ในแดนบวก (เป็น Trade surplus เนื่องจาก Export > Import มาโดยตลอด) และการที่ประเทศมี Trade surplus นั้น ทำให้จีนสามารถสร้างฐานของ Foreign reserve ให้เติบโตถึง USD 2.45 Trillion ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2010 ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยมากกว่าญี่ปุ่นถึง 2.5 เท่า

4) จากข้อ 3 หลายฝ่ายคาดว่าการที่ CNY แข็งค่าจะทำให้จีนสามารถนำเข้าของจากประเทศในทวีปยุโรปและช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจของกลุ่ม EURO ได้

“ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในทันที (วันจันทร์ที่ 21 มิ.ย.) คือ การตอบรับของราคา Risky assets ทุกประเภท” กล่าวคือ ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้น 14 จุด หรือ 1.8% โดยตลาด Hang Seng และ Nikkei ปรับขึ้น 2.5-3.0% น้ำมันปรับขึ้น +$1.3 และ ทองทำ New high ที่ $1,260 นอกจากนั้น EURO ได้แข็งค่าขึ้นไปที่ 1.24 (แต่น่าแปลกใจที่ตลาด Dow Jones กลับไม่รับข่าวนี้) ผมมองว่าการปรับตัวดังกล่าวเปรียบเสมือน Knee-jerk reaction คือเป็นการตอบรับในช่วงสั้นมากๆ เพราะในวันอังคารถัดมา ตลาดต่างๆได้ปรับลดลงเล็กน้อยเสมือนว่า “จริงๆแล้วผลที่เกิดขึ้นอาจไม่มากมายอย่างที่คาดกันไว้”

แม้จีนจะพยายามใช้นโยบายค่าเงินอ่อน (โดยทยอยปรับให้แข็งค่าขึ้นตามลำดับในรอบหลายปีที่ผ่านมา) อย่าลืมนะครับว่าความสามารถในการแข่งขันของจีนถดถอยลงมาช่วงหนึ่งแล้วหลังจากที่ค่าแรงและค่าเชื้อเพลิง/พลังงานในประเทศจีนปรับสูงขึ้นอย่างมาก โดยในปีนี้ค่าแรงงานในจีนได้ปรับขึ้นไปแล้ว 10-20% หลังจากการ strike ของ Honda และทราบหรือไม่ครับว่าราคาน้ำมันในจีนแพงกว่าในสหรัฐถึง 60% นั่นยิ่งทำให้จีนต้องปรับทัพตามให้ทันประเทศเกิดใหม่อื่นๆ ผลจากการปฏิรูปค่าเงิน CNY ในครั้งนี้จะสามารถลดความกดดันจาก “Trade War” ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนลงได้อย่างแน่นอน แต่จะมีต่อเศรษฐกิจโลกมากน้อยเพียงไรเราคงต้องติดตามถึงรูปแบบและแนวทางของนโยบายต่อไป

แต่สิ่งหนึ่งที่ผมทราบแน่ๆ คือ จีนซึ่งเคยเป็นผู้ผลิตและส่งออกของถูกไปยังทั่วโลกกำลังจะกลายเป็นผู้บริโภครายใหญ่ของโลก แม้จะความสามารถในการต่อรองจากมุมของผู้ผลิตจะลดลงแต่ในฐานะของผู้บริโภคนั้น จีนยังคงสามารถทำได้อย่างแน่นอน