ย้อนกลับไปตอนโลกทราบข่าวการขึ้นมาดำรงตำแหน่ง ประธานาธิปบดีของสหรัฐฯ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ในตอนนั้นหนึ่งในธีมการลงทุนที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากก็คือ Reflation หรือ การเพิ่มขึ้นของการหมุนเวียนเงินในระบบ เพื่อให้เงินเฟ้อสามารถปรับขึ้นมาตามเป้าหมายในระยะยาวได้
สาเหตุที่ตลาดเชื่อว่า Reflation Theme จะกลับมา ก็เพราะ มองว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านนโยบายภาครัฐฯ ตามที่นายทรัมป์หาเสียง ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ การปฏิรูปภาษี การมีนโยบายให้ประโยชน์กับบริษัทที่ประกอบธุรกิจในสหรัฐฯ และการกีดกันทางการค้ากับประเทศที่สหรัฐฯขาดดุล สิ่งเหล่านี้ น่าจะกระตุ้นให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นไม่มากก็น้อย
เพิ่งจะครบรอบ 1 ปีที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งไปเมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมานะครับ เราก็เห็นแล้วว่า ยังไม่มีมาตรการ หรือนโยบายใดๆออกมาเป็นรูปเป็นร่างเลย แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น ตลาดหุ้นสหรัฐฯก็ปรับตัวขึ้นได้ตลอด และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็ปรับตัวขึ้นแทบทุกหมวด จากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
ปีนี้เพิ่งเป็นปีแรกที่เราเห็นการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกพร้อมๆกันรอบโลก เพราะฉะนั้น ในมุมมองของผม ขาขึ้นในตลาดหุ้น (Bull Market Cycle) รอบนี้ น่าจะยังไม่จบรอบภายในปี 2018 แต่เป็นการเข้าสู่ช่วงต่อเวลาพิเศษ ซึ่งทาง INFITINI Global Investors ได้คลอดมุมมองการลงทุนในปี 2018 ให้ทุกท่านได้ตามอ่านกันได้แล้วนะครับ
หนึ่งในธีมการลงทุนที่ผมมองว่า ปี 2018 น่าจะสร้างผลตอบแทนได้น่าพอใจก็คือ การฟื้นตัวของเงินเฟ้อนั่นเอง โดยหลักฐานที่เชื่อว่า เงินเฟ้อจะเริ่มขยับขึ้นช้าๆ ก็มีปัจจัยหลักคือ เมื่อคืนวันศุกร์ต้นเดือนที่ผ่านมา ผลการประชุมระหว่าง OPEC และ non-OPEC ตกลงร่วมกันว่าจะขยายระยะเวลาการตรึงกำลังการผลิตน้ำมันออกไปจนกระทั่งสิ้นปี 2018 สาเหตุหลักก็เพื่อให้อุปทานของราคาน้ำมันจำกัด และให้อุปสงค์ปรับขึ้นราคา
Bloomberg Analysis ได้ทำการวิเคราะห์การตรึงกำลังการผลิตของประเทศที่เข้ารว่ม พบว่า นับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2017 ที่ผ่านมา ทาง OPEC-10 (กลุ่มสมาชิก OPEC 10 ประเทศ) ได้ทำการตรึงกำลังการผลิตน้ำมันอยู่ในกรอบกระหว่าง 62-81% ในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งแปลว่า ข้อตกลงดังกล่าว ยังมีกลุ่มสมาชิกที่ไม่สามารถทำตามได้ ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านั้น อ้างถึงการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากการผลิตได้ต่ำกว่า Capacity และ มีกำหนดส่งมอบตามสัญญากับคู่ค้าที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้
เมื่อเข้าสู่เดือน ก.ค. เป็นต้นมา พบว่า กลุ่มสมารชิก OPEC สามารถตรึงกำลังการผลิตได้ดีขึ้น โดยในเดือน ก.ค. ตรึงกำลังการผลิตได้ 83% และ เดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ขยับขึ้นมาเป็น 94% ตามลำดับ และเมื่อนำข้อมูลนี้มากระทบกับราคาน้ำมันดิบ Crude Oil ก็พบว่า Crude Oil เอง ทำจุดต่ำสุดของปีนี้ที่ $42.05 เมื่อช่วงปลายเดือน มิ.ย. และกลายเป็นขาขึ้นระยะกลาง จนราคาขยับขึ้นมาอยู่เหนือ $57 ณ ปัจจุบัน หรือ บวกขึ้นมา 26% ภายในระยะเวลาเพียง 5 เดือน จึงตั้งสมมติฐานได้ว่า หาก OPEC สามารถจรึงกำลังการผลิตได้ใกล้เคียงกับข้อตกลง น่าจะทำให้ราคาน้ำมันขยับขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
ในฝั่งของสินค้าเกษตรนั้น ขออ้างอิงถึงมุมมองของ World bank ที่ปล่อยมาให้อ่านเมื่อกลางเดือน พ.ย. ที่ผ่านมานะครับ โดย World bank มองว่า สินค้าเกษตรมีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้นในปี 2018 จากอุปทานที่ลดลง ซึ่งที่น่าจะเห็นได้ชัดก็คือ เมล็ดพืชต่างๆ, น้ำมันดับ และ เนื้อสัตว์ ซึ่งตอนที่ World bank ออกมุมมองนี้ ยังไม่ทราบนะครับว่ากลุ่ม OPEC และ non-OPEC จะตรึงกำลังการผลิตหรือเปล่า โดยในส่วนของเมล็ดพื้ช (Grain) นี้ ทาง World bank มีมุมมองว่า ราคาอาจจะปรับตัวขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่ได้ในรอบหลายๆปีเลยทีเดียว สาเหตุเป็นเพราะ เศรษฐกิจโ,กที่ฟื้นตัวโดยพร้อมเพียง ทำให้อุปสงส์กลับมาสร้างสมดุลได้อีกครั้งหนึ่ง
แล้วถ้าเงินเฟ้อกลับมา ถ้าเป็นหุ้น จะลงทุนในอะไรดี?
อย่างแรกเลย ผมนึกถึง หุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินครับ สาเหตุเพราะ เมื่อเงินเฟ้อมา น่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางแกนหลักของโลก นำโดยสหรัฐฯ และในทุกๆครั้งของการปรับขึ้นดอกเบี้ย เหล่าสถาบันกากรเงินจะได้ประโยชน์จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างที่สอง คือ หุ้นกลุ่ม Mid & Small Cap เพราะบริษัทขนาดกลาง ขนาดเล็ก จะมีกำไรโตได้ดีในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ต้องเลือกหุ้นที่มีการขยายตลาด และลงทุนจริงจังด้วยนะครับ
กลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งเกิดจากการลงทุนขนาดใหญ่ ทั้งจากภาครัฐฯ และเอกชน เองที่เริ่มมีความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดีขึ้น และต้องลงทุนเพื่อรองรับอุปสงส์ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
สำหรับธีมการลงทุนอื่นๆในปี 2018 สามารถติดตามอ่านได้จาก INFINITI Global Investors Outlook 2018 นะครับ ขอบคุณครับ