หลายๆคนคงๆรู้อยู่แล้วว่าประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเร็วๆ นี้
ผู้สูงอายุจะกลายเป็นประชากรสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของประเทศในอีก 15-20 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเกิดปัญหาใหญ่อย่างการขาดแคลนแรงงานส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจได้ จำนวนแรงงานในประเทศไทยเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2013 ที่ประมาณ 39 ล้านคน
ปัจจุบันเหลือ 38 ล้านคนกว่าๆคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง
วิธีการแก้ปัญหาคืออาจจะใช้แรงงานต่างชาติเข้ามาทดแทนแต่ประเทศไทยก็ไม่มีนโยบายที่ดีพอที่จะดึงดูดแรงงานต่างชาติ อีกวิธีหนึ่งคือการให้ผู้หญิงเข้ามาทำงานมากขึ้นเพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดไป อเมริกาและญี่ปุ่นเคยใช้วิธีนี้ตอนมีปัญหาแรงงานซึ่งก็ช่วยบรรเทาปัญหาได้ระดับนึง แล้วไทยจะใช้วิธีนี้บ้างได้หรือไม่?
ถ้าเรามาดูที่ตัวเลขอัตราส่วนแรงงานหญิงในไทยซึ่งอยู่ที่ประมาณ 63% ถือว่าสูงมากแล้วสูงกว่าสิงคโปร, ฮ่องกง, เกาหลี และญี่ปุ่น การจะเพิ่มผู้หญิงเข้ามาทดแทนแรงงานที่หายไปน่าจะเป็นเรื่องที่ยาก
แล้วถ้าจะแก้ปัญหาด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนมีลูกมากขึ้นจะช่วยได้ไหม?
อัตราการเกิดของประเทศไทยณ.ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณเด็ก 1.5 คนต่อผู้หญิง 1 คนลดลงจากเมื่อ 20 ปีที่แล้วที่อยู่ประมาณ 2 และอัตราการเกิดของไทยตํ่ากว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศอเมริกา,อังกฤษ,ฝรั่งเศสและเยอรมัน
ปัญหาหลักที่สาวๆไม่กล้ามีลูกก็อาจจะเป็นเพราะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทำให้ผู้หญิงต้องทำงานหนักไม่มีเวลาที่จะคิดเรื่องสร้างครอบครัว คือทุกวันนี้แต่เอาตัวรอดก็อาจจะรู้สึกยากแล้ว แต่ถึงสร้างเด็กได้ตอนนี้ก็ต้องรออีกกว่า 20 กว่าปีถึงจะสามารถเข้ามาทำงานได้ก็ไม่ทันอยู่ดี
ลักษณะปัญหาของประเทศไทยคล้ายกับประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 20-30 ปีที่แล้วมากคือมีปัญหาเรื่องแรงงานเหมือนๆกัน แต่ความแตกต่างก็คือรายได้ต่อหัวเฉลี่ยของคนญี่ปุ่นในตอนที่เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุนั้นสูงกว่าประเทศไทยมาก
30 ปีก่อนของญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 23,000 เหรียญ ปัจจุบันของไทยอยู่ที่ประมาณ 6,000 เหรียญ
คนญี่ปุ่นแก่แต่มีเงินพอที่จะสามารถเกษียณและดูแลตัวเองได้ ส่วนคนไทยจะแก่แต่มีเงินไม่พอไม่สามารถเกษียณและ ใช้จ่ายในบั้นปลายชีวิต นี่จึงจะเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าปัญหาขาดแคลนแรงงานของประเทศไทยซะอีก
นอกจากเศรษฐกิจไม่โตแล้ว คนไทยส่วนใหญ่จะแก่ก่อนที่จะสะสมเงินเพื่อการใช้หลังเกษียณได้อย่างเพียงพอ
คนไทยสูงอายุประมาณ 30% ต้องทำงานต่อไปเพื่อให้มีเงินพอเลี้ยงชีพ อีกประมาณ 30% ต้องพึ่งเงินที่ได้จากลูกหลานที่อยู่ในวัยทำงาน
ซึ่งก็จะยิ่งทำให้พวกเขาเหล่านั้นยิ่งไม่กล้ามีลูกเข้าไปใหญ่เพราะต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ ปัญหาแรงงานก็จะยิ่งหนักขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป
มีการประเมินไว้ว่าครอบครัวที่มีแต่ผู้สูงอายุต้องประหยัดจะมีการใช้จ่ายที่ตํ่ากว่าปกติประมาณ 30% ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อในอนาคตหดหายเป็นอย่างมาก การลงทุนทำธุรกิจในประเทศไทยจะยิ่งยากขึ้นและนี่คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ตัวเลขการลงทุนต่างประเทศ Outward FDI ของบริษัทยักษ์ใหญ่เมืองไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการลงทุนในประเทศ ASEAN ทำจุดสูงสุดในปี 2016 ประมาณ 200,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามในความสิ้นหวังก็ยังคงพอมีความหวังอยู่บ้างถ้าไทยเริ่มต้นแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง
ปัจจุบันงานในไทยส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ต้องการใช้แรงงานซะเยอะทำให้เป็นปัญหาต่อผู้สูงอายุเพราะสุขภาพจะไม่ค่อยดีทำงานหนักๆก็ไม่ได้แล้ว ถ้าไทยเปลี่ยนไปมุ่งเน้นงานที่เป็น Service มากขึ้น แทนที่งานแบบโรงงานหรือเกษตรกรรม ก็อาจจะทำให้ผู้สูงอายุเหล่านี้สามารถกลับมาเข้าสู่ระบบแรงงานทำงานต่อไปได้ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการเกษียณ ตัวอย่างก็เช่นการที่ SE-ED มีโครงการจ้างผู้สูงอายุมาทำงานในร้านหนังสือ ถ้าเราไปที่ญี่ปุ่นจะเห็นว่าร้านอาหารไม่น้อยที่มีพนักงานเป็นผู้สูงอายุ ไทยก็อาจจะต้องใช้กลยุทธคล้ายๆกัน
สองไทยต้องปรับปรุงกฏเกณท์และนโยบายแรงงานต่างชาติให้ชัดเจนเพื่อจูงใจให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยมากขึ้นทดแทนแรงงานคนไทยที่กำลังเข้าสู่วัยแก่ ประเทศไทยอาจจะไม่ได้ผลประโยชน์เต็มที่เหมือนให้คนไทยทำแต่ก็ถือว่าเป็นวิธีหนึ่งที่จะแก้ปัญหาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
สามหนี้สาธารณะของไทยถือว่าไม่สูงอยู่ที่ประมาณ 42% ของ GDP และถ้าไม่เอาหนี้ของหน่วยงานราชการมารวมก็จะลดเหลือเแค่ 31% ของ GDP ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่หนี้ตํ่าที่สุดใน Asia รัฐบาลยังสามารถใช้การลงทุนภาครัฐเพื่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้วประเทศกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกมากพอสมควร ซึ่งรัฐบาลเองก็มีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้วเริ่มมากอย่างมีนัยยะในปี 2018 จนไปถึงปี 2021
แม้สถานการณ์ของประเทศไทยจะดูไม่สู้ดีนักแต่ล่าสุดจำนวนนักท่องเที่ยงเมืองไทยยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ถือว่ายังเป็นอุตสาหกรรมเดียวที่ยังเติบโตต่อเนื่องอย่างแข็งแกร่งไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ในเชิงภูมิศาสตร์ประเทศไทยเองก็ถือว่าอยู่ในตำแหน่งที่ดี พื้นฐานของประเทศก็แข็งแกร่งเป็นอันดับต้นๆในภูมิภาคนี้ หากมีการบริหารจัดการและพัฒนาที่ดีก็อาจจะพ้นวิกฤตได้ไม่ยากนักและไม่ต้องกังวลจนเกินไป เพราะถ้าคนไทยถ้าตั้งใจทำอะไรก็ไม่แพ้ใครอยู่แล้ว!
ที่มาบทความ : http://buffettcode.com/olderthailand/