ผมได้มีโอกาสเข้าฟังสัมมนา “Quarterly Economic Assessment and Outlook” ที่จัดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเป็นที่มาของเรื่องราวในวันนี้ที่อยากจะแลกเปลี่ยนวิธีคิดของผู้จัดการ กองทุนคนหนึ่ง ในการที่จะวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจของไทยที่ประกาศออกมา และนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การลงทุน โดยหวังว่าท่านผู้อ่านน่าจะได้นำแนวคิดไปใช้เป็นอาวุธเสริมสำหรับการจัดพอร์ ตการลงทุนของท่านเอง

ตัวเลขเศรษฐกิจหาจากไหน

หลาย ท่านอาจคิดว่าต้องเป็นนักลงทุนสถาบัน จึงจะมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลได้มากกว่านักลงทุนรายย่อย ซึ่งไม่จริงทีเดียวสำหรับตัวเลขเศรษฐกิจครับ เพราะตัวเลขเศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่จะมีที่มาจากหน่วยงานราชการ ซึ่งสมัยนี้มักจะนำเสนอผ่านเวบไซต์ โดยผู้ลงทุนทุกประเภทสามารถเข้าถึงได้พร้อมกัน และได้รับข้อมูลที่เหมือนกัน สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไทยหลัก ๆ ที่น่าติดตาม ผมคิดว่ามีดังนี้ครับ

1. รายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (http://www.bot.or.th/ >>> เลือก “ภาวะเศรษฐกิจ”) โดยรายงานนี้จะเผยแพร่เป็นรายเดือน ทุก ๆ วันทำการสุดท้ายของเดือน โดยครอบคลุมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ เช่น ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม, อัตราการใช้กำลังการผลิต, เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน, เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน, อัตราเงินเฟ้อ, ภาคส่งออก-นำเข้า ฯลฯ

2. รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (http://www.bot.or.th/ >>> เลือก “ภาวะเศรษฐกิจ” >>> เลือก “รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ”) รายงานนี้มีประโยชน์มากครับ เพราะจะมีรายละเอียดเชิงลึกของทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ รวมถึงประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจในปีข้างหน้า ทั้งตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวม และแต่ละภาคส่วน โดยรายงานนี้จะเผยแพร่เป็นรายไตรมาส ในเดือน มกราคม, เมษายน, กรกฎาคม, และตุลาคม ของทุกปีครับ

3. ตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (http://www.nesdb.go.th/
>>> เลือก “ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม” >>> เลือก “บัญชีประชาชาติ” >>> เลือก “Quarterly Gross Domestic Product”) โดยตัวเลข GDP จะประกาศหลังจากสิ้นไตรมาสประมาณ 2 เดือน เช่น ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2/52 ปีนี้จะประกาศประมาณช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2552 นี้ โดยรายงานฉบับนี้จะลงลึกในรายละเอียดทั้งหมดของอัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ประกาศจากหน่วยงานรัฐครับ เช่น ตัวเลขเงินเฟ้อ และตัวเลขการส่งออก / นำเข้า ที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์ (http://www.mof.go.th/), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ประกาศโดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (http://www.thaiechamber.com/) เป็นต้น

ตัวเลขเศรษฐกิจหลัก ๆ ที่ควรติดตาม

ถ้า คุณไม่ได้ทำงานที่ต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจ อย่างใกล้ชิด คงจะเป็นการยากหากคุณจะต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจทุก ๆ ตัว และทุก ๆ เดือนอย่างที่ผู้จัดการกองทุนทุกคนต้องทำ ดังนั้น ผมจึงแนะนำให้ติดตามเป็นรายไตรมาสครับโดยติดตาม รายงาน 2 ฉบับนี้ครับ

1. “รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ” ของแบงค์ชาติ เพื่อให้ทราบว่าประมาณการเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อของแบงค์ชาติเมื่อมองไปข้างหน้าเป็นอย่างไร สำคัญคือการปรับประมาณการครับ ว่า 3 เดือนที่ผ่านมาแบงค์ชาติได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ ถ้าปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจขึ้นหรือลงครั้งละมาก ๆ ก็มักจะมีผลต่อตลาดหุ้น, ตลาดตราสารหนี้, รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

2. ตัวเลข GDP จริงที่ประกาศโดยสภาพัฒน์ฯ อันนี้จะทำให้เราเข้าใจว่าแต่ละภาคส่วนของเศรษฐกิจมีแนวโน้มเป็นอย่างไร รวมถึงสามารถนำไป Cross check กับการประมาณการเศรษฐกิจของแบงค์ชาติได้ ด้วยครับ ยกตัวอย่างเช่น หากประมาณการเศรษฐกิจที่ออกมาในเดือนเมษายนบอกว่าปีนี้ เศรษฐกิจจะโตมาก แต่พอตัวเลขจริงของไตรมาส 1 ที่ประกาศในเดือนพฤษภาคม ออกมาไม่ดี เราก็พอจะคาดเดาได้ครับว่าน่าจะการปรับลดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจที่จะ ประกาศในเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นบ้างแน่นอน ไม่มาก ก็น้อยครับ

วิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจ

เมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม 2552 แบงค์ชาติได้เผยแพร่รายงานภาวะเงินเฟ้อล่าสุดออกมา โดยปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP และเงินเฟ้อของปี 2552 จาก และปรับเพิ่มประมาณการของปี 2553 รายละเอียดตามตารางครับ


ใน BLOG ฉบับหน้าเราจะมาทำการวิเคราะห์กันครับว่าตัวเลขดังกล่าวจะนำไปวิเคราะห์ได้ อย่างไร และที่สำคัญคือจะนำตัวเลขนั้นไปจัดกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างไร ติดตามฉบับหน้าครับ

โดย เจษฎา สุขทิศ, CFA.

ผู้จัดการกองทุน, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อยุธยา จำกัด.

TSF2024