tmb-smart-weekly-update-4-april-2560-tmbam

Sweet Spot

01-tmb-4-4

  • Downgrade สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ปรับลดเครดิตพันธบัตรแอฟริกาใต้ (สกุลดอลลาร์) จาก BBB- เหลือ BB+ ต่ำกว่าระดับลงทุน แต่ยังไม่ถือว่าเป็น “junk” (ต้องรอให้อีก 2 สถาบันฯ Fitch, Moody’s ปรับลงมาจนต่ำกว่าระดับลงทุนด้วย) …ตลาดคาดไม่น่ารอด… Moody’s มีกำหนดรีวิวเครดิตศุกร์นี้
  • การเมืองพ่นพิษ สัปดาห์ที่แล้ว ปธน. Jacob Zuma สั่งปลด รมว.คลัง Pravin Gordhan ซึ่งตลาดการเงินเชื่อถือ และแต่งตั้งรมว.คนใหม่ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการเงินหรือธุรกิจ …ข่าวว่าเป็นเพราะ Gordhan “ขวางทาง” กระบวนการคอรัปชั่น/ฟอกเงิน… นักลงทุนวิตก เงินแรนด์แอฟริกาใต้ (ZAR) อ่อนค่ากว่า -10%

02-tmb-4-4

  • เรื่องธรรมดา เหตุการณ์ทำนองนี้ เกิดขึ้นบ่อยๆในตลาดเกิดใหม่ ทันสถานการณ์ลงทุน “Waka Waka” https://www.tmbam.com/home/download/Knowledge/ins1010_170404.pdf
  • โอกาส ตลาด “รับรู้” เกือบแน่นอนแล้วว่า แอฟริกาใต้จะกลายเป็น junk และผลกระทบไม่น่าลุกลามไปที่อื่นๆ ขณะข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดยืนยันว่า เศรษฐกิจโลก รวมถึง “ตลาดเกิดใหม่” ยังอยู่ในวัฏจักรขาขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนการลงทุนหุ้นตลาดเกิดใหม่ >>> คงมุมมอง “overweight” กองทุน Emerging Active Equity
  • “Sweet Spot” for Property Income Plus ภาวะปัจจุบัน “เอื้อ” ต่อสินทรัพย์ประเภทนี้… fund flows ไหลเข้ามาซื้อตราสารหนี้ ดันราคาขึ้น บีบ spreads แคบลง เม็ดเงินบางส่วนจึงอาจเริ่ม “หมุน” ออกจากตราสารหนี้ และเคลื่อนเข้าไปยังสินทรัพย์ที่เน้น “ยีลด์” อื่นๆอย่างเช่น กองทุนอสังหาฯ/โครงสร้างพื้นฐาน และ REITs

03-tmb-4-4

Trump Rally จบ : Yield Curve สหรัฐฯ “ราบสุด” นับตั้งแต่ทรัมป์ชนะเลือกตั้ง

  • เส้นอัตราผลตอบแทน (yield curve) พันธบัตรสหรัฐฯ “ราบลง” (flattened) นับตั้งแต่ต้นปี เห็นได้จาก ส่วนต่าง (term premium) ระหว่างยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี และ 2 ปี ลดลงเหลือ 108 bps แคบสุดนับตั้งแต่ 9 พ.ย. หลังทรัมป์ชนะเลือกตั้งใหม่ๆ
  • สภาพดังกล่าว “ตรงกันข้าม” กับช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีแล้ว ซึ่งนักลงทุนคาดหวัง (มากไป) ว่าทรัมป์จะเข้ามาเร่ง การเติบโต/เงินเฟ้อ อย่างมโหฬาร ส่งผลให้ yield curve ชันขึ้น (steepened, term premium กว้างขึ้น)
  • ยูโรโซน : เงินเฟ้อ มี.ค. ชะลอ กลับมาต่ำเป้า +2% เพราะผลจาก “ฐานต่ำ” ของราคาน้ำมันปีที่แล้วเริ่มหมดไป (ราคาน้ำมันดิบผ่านจุดต่ำสุด ก.พ. 2016) ECB เตือน นักลงทุนตีความ “เกินเลย” ไปว่า ดอกเบี้ยจะขึ้น, QE จะเลิก ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ECB ต้องการสื่อสารเพียงแค่ “ความเสี่ยงลดลง” เท่านั้น >> เงินยูโรกลับอ่อนค่า หลังแตะแนวต้านใกล้ 1.09 ดอลลาร์ ยีลด์พันธบัตรเยอรมนี 10 ปี ร่วงจากจุดสูงสุดของรอบ 0.50% ลงมาต่ำกว่า 0.30%
  • UK : นายกฯอังกฤษ ประกาศใช้มาตรา 50 สนธิสัญญาลิสบอน เพื่อเริ่มกระบวนการเจรจาแยกตัวออกจากอียู (Brexit) …ความคาดหวังของตลาดเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนที่ว่า BOE อาจจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆนี้เพราะเงินเฟ้อพุ่ง ดูเหมือนจะจางหายไปอย่างรวดเร็ว เพราะ กำลังซื้อภาคครัวเรือน ถูกบั่นทอนจาก 2 ปัจจัยคือ “เงินเฟ้อเร่งตัว” แต่ “ค่าจ้างขึ้นช้า”

ความเห็น: “Trump Rally จบ แต่… Global Recovery ยังไม่จบ”

  • ความคาดหวัง (เกินเลย) เกี่ยวกับศักยภาพของ ปธน.ทรัมป์ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ/เงินเฟ้อ ค่อยๆ “ถอน” ออกมาจากราคาสินทรัพย์ในตลาด นับตั้งแต่ต้นปี (ยีลด์พันธบัตรปรับตัวลง, curve ราบลง, ดอลลาร์อ่อนค่า)
  • พลังขับเคลื่อนแท้จริง ที่ผลักดันเงินทุน ให้ไหลไปหาผลตอบแทนในสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ “ยังคงอยู่” และ “แข็งแรงดี” คือ การฟื้นตัวตามวัฏจักรของเศรษฐกิจโลก (ไม่ใช่ทรัมป์ …ย้ำ… ไม่ใช่ทรัมป์)
  • สุดโต่ง นักลงทุนในตลาด มักมองโลกในแง่ ร้ายเกินไป หรือไม่ก็ ดีเกินไป ส่งผลให้ราคาตลาดมัก สูงเกินไป หรือ ต่ำเกินไป >>> สร้างโอกาสลงทุน
  • 2.3X% ยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ปัจจุบันอยู่แถวๆ “ขอบล่าง” ของกรอบการเคลื่อนไหว 2.3-2.6% ในช่วง 4 เดือนล่าสุด >> หากเศรษฐกิจยังดีต่อไป ยีลด์น่าจะปรับตัว “ขึ้น” ง่ายกว่า ลง และ curve “ชันขึ้น” ง่ายกว่า ราบลง …ทว่า การปรับตัวขึ้นในรอบต่อไป คงจะ “มีสติ” ไม่รุนแรงเหมือน Trump Rally
  • หุ้นญี่ปุ่น แม้ยังมีความเสี่ยงขาลงอยู่บ้าง (หากจ้างงานฯสหรัฐฯ ศุกร์นี้ แย่กว่าคาด ยีลด์อาจลงต่อ, เยนแข็งค่า) แต่เศรษฐกิจโลกภาพรวมยังโตดี, ความเสี่ยงเลือกตั้งฝรั่งเศสยังต่ำและไม่เพิ่มขึ้น >>> ปรับมุมมอง neutral หุ้นญี่ปุ่น

 

คำเตือน : ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของทีมผู้เขียน คือ ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน TMBAM มิได้เป็นความคิดเห็นอย่างเป็นทางการของ TMBAM ดังนั้น TMBAM จึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น

ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

กองทุน คำแนะนำ หมายเหตุ
สัปดาห์

ที่แล้ว

ปัจจุบัน
Global Income  up  up “Overweight” ทางเลือกแรกของกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ กองทุนหลักสไตล์ Unconstrained มีความยืดหยุ่นสูง ผู้จัดการกองทุนสามารถปรับพอร์ตให้เหมาะกับภาวะปัจจุบัน ซึ่งตลาดตราสารหนี้เผชิญแรงกดดันจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น
ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนตราสารหนี้สไตล์ Unconstrained ได้ที่ https://www.tmbam.com/home/th/market-sense-detail.php?k=972
Global Bond  no  no “Neutral” มองกลางๆในระยะสั้น กองทุนหลักเน้นตราสารเกรดสูง ดูเรชั่นใกล้เคียงดัชนีชี้วัด (ยาว) จึงมัก underperform ในภาวะเศรษฐกิจขาขึ้น (ยีลด์พันธบัตรปรับตัวขึ้น) แต่มัก outperform เมื่อนักลงทุนกังวลปัจจัยเสี่ยง (ยีลด์ลง) …ยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี อยู่แถวๆ 2.3X% ไม่น่าจะลงต่อได้ไกล เสี่ยงกลับตัวขึ้น หากขาดปัจจัยลบใหม่ๆ
Asian Bond  no  no “Neutral” ดีมานด์แกร่ง แต่ยีลด์อาจกลับตัวขึ้นได้ในไม่ช้า NAV กองทุนหลักพุ่งขึ้นมาแรง ตลาดคลายกังวลเฟด fund flows ไหลเข้าเอเชีย สะท้อนความต้องการที่แข็งแกร่งของนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเลือกตั้งฝรั่งเศส “เบา” กว่าที่คิด ยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯ, ยุโรป อาจผ่านจุดต่ำสุดและกลับตัวขึ้นในช่วงสัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งจะกดดันตราสารหนี้โดยทั่วไป
Global Quality Growth  no  no “Neutral” ตลาดมีเหตุผลมากขึ้น หนุนหุ้นคุณภาพ outperform ปัจจุบันกองทุนหลักเน้นหุ้นกลุ่ม I.T. ซึ่งผลกำไรเติบโตอย่างมีคุณภาพ (quality growth) และกลับมา outperform ในปีนี้ หลังจากนักลงทุนหายตื่นเต้นกับการมาของทรัมป์ ทั้งนี้ ผู้บริหารกองทุนหลักยังคงยึดวิธีคัดเลือกหุ้นอย่างเป็นระบบและทำซ้ำได้ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
Global Infrastructure Equity  no  no “Neutral” ปัจจัยเฉพาะของหุ้นแต่ละตัว มีผลค่อนข้างมากต่อ NAV กองทุนหลักมีจำนวนหุ้นในพอร์ตค่อนข้างน้อย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น โดยเฉพาะ 10 อันดับแรก จึงมีอิทธิพลมากต่อ NAV ในช่วงที่ผ่านมา แม้เงินยูโรแข็งค่าขึ้น สวนทางกับที่เราคาดไว้ แต่กองทุนหลักก็สามารถ outperform ตลาดได้
World EQ Index  down  down “Underweight” ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว น่าจะ underperform ในปีนี้ เราเชื่อว่า ตลาดหุ้นกำลังพัฒนา (ตลาดเกิดใหม่) ซึ่งเพิ่งเริ่มฟื้นตัวเมื่อปีที่แล้ว และระดับราคาต่ำกว่า มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้มากกว่า
US500,

US Blue Chip

 no  no “Neutral” upside/downside ไม่น่าจะมาก US500 (ลงทุนตาม S&P 500) เหนือกว่า US Blue Chip (เน้นหุ้น growth) ใน 2 เดือนสุดท้ายของปี 2016 เพราะตลาดหันไปหาหุ้น value, cyclical ซึ่งพบมากในดัชนี แต่พอเข้าสู่ปี 2017 US Blue Chip กลับมา outperform เพราะนักลงทุนลดความคาดหวังต่อปธน.คนใหม่ และหันกลับมาหาหุ้นเติบโตคุณภาพสูง
European Growth, German EQ  no  no “Neutral” ความเสี่ยงการเมืองยุโรป ‘เบา’ กว่าที่คิด แต่ยังไม่วางใจ นักลงทุนคลายกังวลเลือกตั้งฝรั่งเศส เพราะผลโพลชี้ว่า Le Pen จะได้คะแนนไม่ถึง 40% ในรอบสอง (แพ้) แต่บทเรียนจาก “ผลโพล” ในปีที่แล้ว (Brexit, US Elections) ทำให้เรามิอาจวางใจ และ “ความกังวล” อาจจะกลับมา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จากนี้ – ต้น พ.ค. หากทำให้หุ้นยุโรป, เยอรมัน ปรับฐานลงมาแรงๆ ก็อาจสร้างโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อ German Equity และ European Growth
Japan EQ,

Japan Active

no no “Neutral” เงินเยนไม่น่าแข็งกว่า 110 เยน/ดอลลาร์ ระยะสั้น กรณีฐาน USD/JPY ไม่น่าร่วงลงต่ำกว่า 110 แต่เงินเยนยังมีโอกาสที่จะแข็งค่าได้อีก หากตลาดกังวลเลือกตั้งฝรั่งเศส (แม้โพลชี้ Le Pen ถูกทิ้งห่าง) ระยะยาว หากเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวดี ยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯขยับขึ้น กดเยนอ่อนค่า หุ้นญี่ปุ่นก็น่าจะฟื้นขึ้นมาได้ ภายใต้นโยบาย Yield Curve Control ของ BOJ
EM EQ Index up up “Overweight” Emerging Active กองทุนนี้… ที่รอคอย นักลงทุนคลายกังวลนโยบาย ทรัมป์ ปัจจัยมหภาคสำคัญๆ คือ เศรษฐกิจจีน/ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทรงตัว ขณะเฟดยังคงค่อยๆขึ้นดอกเบี้ยอย่างระมัดระวัง เป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเพิ่งเริ่มฟื้นตัวเมื่อปีที่แล้ว และระดับราคายังไม่แพง …ชอบ TMB Emerging Active Equity กองทุนหลักบริหารเชิงรุก (actively managed) เน้นหุ้นสไตล์ value (ระดับราคาถูก) มีโอกาส outperform ในภาวะเศรษฐกิจขาขึ้น
Asian Growth Leaders  up  up “Overweight” ตลาดเกิดใหม่น่าจะ outperform ในปีนี้ นักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับนโยบาย ทรัมป์ ในส่วนที่แต่เดิมเชื่อกันว่า อาจเป็นปัจจัยลบต่อตลาดเกิดใหม่ นอกจากนี้ ปัจจัยมหภาคสำคัญๆ คือ เศรษฐกิจจีน/ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทรงตัว ขณะเฟดยังคงค่อยๆขึ้นดอกเบี้ยอย่างระมัดระวัง เป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเพิ่งเริ่มฟื้นตัวเมื่อปีที่แล้ว และระดับราคายังไม่แพง เมื่อเทียบกับตลาดพัฒนาแล้ว
China EQ, China Opportunity  up  up “Overweight” ระยะสั้น จีนเก่า – ระยะยาว จีนใหม่ เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวหนุนหุ้น “จีนเก่า” China Equity Index ในระยะสั้น ทว่าในระยะยาว จีนสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศ หนุนหุ้นกลุ่ม “จีนใหม่” ซึ่ง China Opportunity เน้นลงทุนในปัจจุบัน อนึ่ง ดอลลาร์ชะลอการแข็งค่า ช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินหยวน ลดความเสี่ยงที่จีนจะลดค่าเงินแรงๆเพื่อเบรกเงินไหลออก
SET50, JUMBO25,
TMBTMSMV
 no  no “Neutral” ระดับราคา (เทียบกับภูมิภาค) น่าสนใจยิ่งขึ้น หุ้นไทยซึ่ง outperform ตลาดภูมิภาคในปี 2016 กลับมา underperform ในปีนี้ ระดับราคาจึงเริ่มน่าสนใจในเชิงเปรียบเทียบ โดยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย: เกินดุลบัญชีเดินสะพัด ทุนสำรองสูง เงินเฟ้อต่ำ ทำให้ทนทานต่อภาวะเงินทุนไหลออก และยังคงเป็นเหตุผลหลักที่ดึงดูดเม็ดเงินจากต่างชาติ หากตลาดหุ้นปรับฐานตามฤดูกาล (ซึ่งเราเชื่อว่ามีโอกาสเกิดขึ้นจากนี้ – ต้น พ.ค.) ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อ
Gold,
Gold Singapore
no no “Neutral” ความเสี่ยงการเมืองยุโรป ‘เบา’ กว่าที่คิด ตลาดหุ้นอาจจะเผชิญความผันผวนมากขึ้นในอนาคต หากนักลงทุน “ช็อก” จากความเสี่ยงเชิงระบบ โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เข้ามากระทบตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ควรใช้ทองคำเพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตที่มีการลงทุนในหุ้น โดยเราย้ำว่าทองคำไม่ใช่สินทรัพย์ลงทุนหลักของพอร์ต
Property
Income Plus
up up “Overweight” ภาวะปัจจุบัน ‘Sweet Spot’ ของกองทุนอสังหาฯ ยีลด์พันธบัตรปรับตัวขึ้น, ดอลลาร์แข็งค่า น่าจะผ่านพ้นช่วงที่เคลื่อนไหวรุนแรงไปแล้ว แรงกดดันต่อสินทรัพย์ที่เน้น “ยีลด์”: กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) จึงน่าจะบรรเทาเบาบางลง
ระยะสั้น ตราสารหนี้เอเชียเป็นที่ต้องการมากในช่วงที่ผ่านมา fund flows ไหลเข้าภูมิภาคมาซื้อตราสารหนี้ ดันราคาขึ้น บีบ spreads แคบลง เม็ดเงินบางส่วนจึงอาจเริ่ม “หมุน” ออกจากตราสารหนี้ และเคลื่อนเข้าไปยังสินทรัพย์ที่เน้น “ยีลด์” อื่นๆอย่างเช่น กองทุนอสังหาฯ/โครงสร้างพื้นฐาน และ REITs
ระยะยาว อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (dividend yield) ของสินทรัพย์ประเภทนี้ สูงกว่ายีลด์พันธบัตร และจ่ายปันผลค่อนข้างสม่ำเสมอ (ผันผวนน้อยกว่าปันผลของหุ้นสามัญ) จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำ
(Dividend Yield 12 เดือนย้อนหลังของดัชนีกองทุนอสังหาฯ, ยีลด์พันธบัตรอายุ 10 ปี, ส่วนต่าง)
ไทย (5.60%, 2.66%, 2.94%) สิงคโปร์ (6.05%, 2.20%, 3.85%)

ประเภทกองทุน กองทุน ดัชนีชี้วัด ความเสี่ยง กองทุน / นักลงทุน การป้องกันความเสี่ยง
กองทุนรวมตราสารหนี้ Global Bond JP Morgan Global Government Bond Index (สกุลเงินบาท) 4 / 2 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
GIS Global Income Barclays US Aggregate Total Return Value Unhedged USD (สกุลเงินบาท) 5/ 3 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
กองทุนรวมตราสารแห่งทุน Global Quality Growth MSCI All Country World Daily Total Return Net Index (สกุลเงินบาท) 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
World Equity Index MSCI WORLD NET TOTAL RETURN ในสกุลเงินยูโรและสกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
US 500 Equity Index
US Blue Chip Equity
S&P 500 Index สกุลเงินบาท 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
Jumbo25 SET50 Total Return Index 6 / 4 ไม่มีการลงทุนในต่างประเทศ
European Growth MSCI Europe Index สกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่น้อยกว่า 90 %
ของจำนวนเงินลงทุนในต่างประเทศ
EM Equity Index MSCI Emerging Index ในสกุลดอลลาร์และสกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
Japan Equity Nikkei 225 (สกุลเงินบาท) 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
Japan Active Equity TOPIX (Total Return Net) Index (สกุลเงินบาท) 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
EM Equity Index MSCI Emerging Index ในสกุลดอลลาร์และสกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
Asian Growth Leader MSCI AC Asia Ex Japan NR USD Index  (สกุลเงินบาท) 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
China Equity Index FTSE China A50 Net Total Return Index สกุลเงินดอลลาร์ ฮ่องกงและสกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
China Opportunity MSCI Daily Total return Net China USD Index สกุลเงินบาท 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
SET50 SET50 Index 6 / 4 ไม่มีการลงทุนในต่างประเทศ
กองทุนรวม
หมวดอุตสาหกรรม
Property Income Plus ดัชนีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (PFUND) ของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ร้อยละ 50 และ

The FTSE Strait times REIT Index ร้อยละ 50 ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อ คำนวณผลตอบแทนเป็นสกุลบาท ณ วันที่คานวณผลตอบแทน

7 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
กองทุนรวมสินทรัพย์ทางเลือก Gold Singapore ดัชนีราคาทองคำในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (London Gold AM Fixing) สกุลเงินบาท 8 / 5 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
Gold ดัชนีราคาทองคำในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ 8 / 5 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
Oil DBIQ Optimum Yield Crude Oil Index Excess Return Index 8 / 5 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)

คำเตือน 1.สำหรับกองทุนที่ ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง / ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน / หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินทุนเริ่มแรกได้ 2.การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน อาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าการลงทุนเริ่มแรกก็ได้ และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดหรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้ 3. กองทุนนี้มิใช่กองทุรรวมคุ้มครองเงินต้น ผู้ลงทุนจึงมีความเสี่ยงจากการลดลงของเงินต้น 4.ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสาระสำคัญของกองทุนรวมโดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและผลการดำเนินงานของกองทุนที่เปิดเผยในแหล่งต่างๆ เช่น เว็บไซด์ของบริษัทจัดการ เป็นต้น 5.ผู้ลงทุนสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ TMBAM, TMB ทุกสาขา และ ผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับการแต่งตั้ง
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน