tmbam-weekly-21-mar

tmb-02

หยวนไม่หยวน

  • เฟด ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด ประมาณการดอกเบี้ย (dots) ย้ำความมั่นใจ “3 ครั้ง” ในปีนี้ ดังนั้น ราคาตลาด (ดอลลาร์, ยีลด์พันธบัตร) ซึ่งก่อนหน้านี้สะท้อนความคาดหวังว่า เฟดอาจขยับ dots ขึ้นไปเป็น 4 ครั้ง จึงปรับความคาดหวังส่วนเกินดังกล่าวออกไปจากราคา >> ดอลลาร์อ่อนค่า, ยีลด์พันธบัตรร่วงลง
  • Protectionism การประชุม รัฐมนตรีคลัง/ผู้ว่าฯธนาคารกลาง G-20 เสร็จสิ้น โดยปราศจากข้อความ “ต่อต้านการกีดกันการค้า (protectionism) ทุกรูปแบบ” ในแถลงการร่วม ถึงแม้ว่าประเทศส่วนใหญ่ต้องการให้ที่ประชุมระบุข้อความดังกล่าวลงไป …ต้นเหตุคือ สหรัฐฯ โดย รมว.คลัง Mnuchin ขวางลำ ไม่ยอมให้เขียน
  • พร้อมรบ บรรดาชาติมหาอำนาจที่ “ได้เปรียบ” ดุลการค้ากับสหรัฐฯ เช่น ญี่ปุ่น, เยอรมนี รวมถึง จีน คงผิดหวังไม่น้อย ต่อท่าทีของ รัฐบาลทรัมป์ ซึ่งเผยตัวชัดเจนแล้วว่า ต้องการดำเนินนโยบายกีดกันการค้า ไม่มากก็น้อย และสุ่มเสี่ยงที่จะนำพาโลกเข้าสู่ภาวะ “สงครามการค้า” …ประเทศเหล่านี้จึงต้องเตรียม “พร้อมรบ”
  • เงินหยวน อ่อนค่ามากกว่า 1% เมื่อเทียบกับ “ตะกร้าเงิน” (แต่เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเทียบกับดอลลาร์ซึ่งอ่อนค่า) นับตั้งแต่ช่วงหลังประชุมเฟด ต่อเนื่องมาจนหลังประชุม G-20 ธนาคารกลางจีน (PBOC) จันทร์-อังคาร ปรับ “ค่ากลางหยวน” อ่อนค่า 0.29% เทียบดอลลาร์ …เราจับตาดูว่า PBOC จะชี้นำให้หยวนอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องหรือไม่? สมมุติฐานประการหนึ่งคือ จีนอาจต้องการ “ขู่” ว่า หากสหรัฐฯเปิดฉากกีดกันการค้า จีนก็สามารถตอบโต้ด้วยการลดค่าเงินหยวน

tmb-01

เฟดย้ำปีนี้ 3 ครั้ง / เลือกตั้งดัชท์ฉลุย / Macron ชนะดีเบตฝรั่งเศส >> Risk On

  • เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 0.75-1.00% ตามคาด จำนวนเจ้าหน้าที่เฟดซึ่งมองว่า ดอกเบี้ยปลายปีนี้น่าจะอยู่ที่ 1.25-1.50% (หมายความว่า ปีนี้เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยรวม 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25%) เพิ่มขึ้นจาก 6 คนในการประชุมเดือน ธ.ค. เป็น 9 คนในการประชุมครั้งนี้
  • ตลาดมอง เฟดค่อนข้าง “ผ่อนคลาย” เพราะนักลงทุนบางส่วนคาดไว้ก่อนหน้านี้ว่า เฟดอาจปรับ dots ขึ้นเป็น 4 ครั้ง >> ดอลลาร์อ่อน, ยีลด์ปรับตัวลง
  • นักลงทุนคลายกังวลความเสี่ยงการเมืองยุโรป หลังผลเลือกตั้งเนเธอร์แลนด์ พรรคเสรีนิยม ของนายกฯ Mark Rutte ชนะขาดเหนือพรรคของนาย Geert Wilders ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านอียูและกีดกันมุสลิม
  • ดีเบตระหว่าง 5 ผู้สมัครชิงตำแหน่ง ปธน.ฝรั่งเศส โพลชี้ “Macron” พูดดีสุด ขณะ Le Pen อยู่ที่อันดับสามร่วม ด้านผลโพลเลือกตั้ง Le Pen ยังนำเป็นอันดับหนึ่งในรอบแรก แต่จะแพ้ Macron ในรอบสองด้วยคะแนน 40:60
  • นายกฯอังกฤษ Theresa May แจ้งต่อสภายุโรปว่า จะประกาศใช้มาตรา 50 สนธิสัญญาลิสบอน วันที่ 29 มี.ค. เริ่มนับถอยหลัง 2 ปี การเจรจาเพื่อแยกตัวออกจากอียู (Brexit) ด้านเงินเฟ้อ UK ก.พ. พุ่งแรงทะลุเป้า 2%

tmb-03

ความเห็น: “ตลาดอาจปรับฐานในระยะสั้น ชอบกองทุนหุ้นที่เน้นตลาดเกิดใหม่”

  • เฟด กลายเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์เสี่ยง เพราะการขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ ขณะเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวได้ดี เป็นสิ่งที่ตลาดยอมรับได้ (สบายๆ) ประกอบกับ ยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯ, ค่าเงินดอลลาร์ ได้ซึมซับความคาดหวังดังกล่าวไปหมดแล้ว นักลงทุนในตลาดจึง “ผ่อนคลาย” หลังประชุมเฟด ดอลลาร์อ่อนค่าลง ผลักดันให้เงินไหลไปแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น ในตลาดที่มัก “ชอบ” ดอลลาร์อ่อน คือ ตลาดเกิดใหม่
  • EUR และ GBP แข็งค่า ยีลด์พันธบัตรยุโรปพุ่งขึ้น จากปัจจัยความเสี่ยงการเมืองลดลง ภายหลังดีเบตผู้สมัครชิงตำแหน่ง ปธน.ฝรั่งเศส “Macron” ทำได้ดี และ เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นถึงเป้า 2% ทั้งใน ยูโรโซน และ UK
    เราเชื่อว่า เงินยูโร, ปอนด์ อาจแข็งค่าต่อไปได้ไม่มาก และยีลด์พันธบัตร ก็ไม่น่าจะปรับตัวขึ้นได้มากนักจากระดับปัจจุบัน เพราะ 1.
  • ค่าเงิน, ยีลด์ ปรับตัวขึ้นมามาก ซึมซับความคาดหวังว่า ECB, BOE ใกล้จะขึ้นดอกเบี้ย และลด QE 2. เลือกตั้งฝรั่งเศส เหลืออีก 1 เดือน Macron : Le Pen = 60 : 40 ไม่ห่างมาก 3. Brexit ใกล้เริ่มเจรจา EU, UK ยังมีจุดยืนที่แตกต่างกันมาก (เป็นธรรมดา)
  • ตลาดหุ้นอาจจะปรับฐานตามฤดูกาลในระยะสั้น (จากนี้ – ต้น พ.ค.)
  • ชอบ “กองทุนหุ้น” ที่เน้นตลาดเกิดใหม่ Asian Growth Leaders, China Opportunity, China Equity Index และ IPO: Emerging Active Equityหากตลาดหุ้นปรับฐานลงมาในระยะสั้น ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อลงทุน

คำเตือน : ความคิดเห็นใดๆ ในเอกสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของทีมผู้เขียน คือ ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน TMBAM มิได้เป็นความคิดเห็นอย่างเป็นทางการของ TMBAM ดังนั้น TMBAM จึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น

ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

กองทุน คำแนะนำ หมายเหตุ
สัปดาห์

ที่แล้ว

ปัจจุบัน
Global Income  up  up “Overweight ทางเลือกแรกของกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ กองทุนหลักสไตล์ Unconstrained มีความยืดหยุ่นสูง ผู้จัดการกองทุนสามารถปรับพอร์ตให้เหมาะกับภาวะปัจจุบัน ซึ่งตลาดตราสารหนี้เผชิญแรงกดดันจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น

ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนตราสารหนี้สไตล์ Unconstrained ได้ที่ https://www.tmbam.com/home/th/market-sense-detail.php?k=972

Global Bond  no  no “Neutral” ยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯอาจย่อลงได้อีกในระยะสั้น กองทุนหลักเน้นตราสารเกรดสูง ดูเรชั่นใกล้เคียงดัชนีชี้วัด (ยาว) จึงมัก underperform ในภาวะเศรษฐกิจขาขึ้น (ยีลด์พันธบัตรปรับตัวขึ้น) แต่มัก outperform เมื่อนักลงทุนกังวลปัจจัยเสี่ยง (ยีลด์ลง) …เรามองว่าในระยะ 1 เดือนข้างหน้า ยีลด์พันธบัตรอาจจะปรับตัวลงได้ง่ายกว่าที่จะปรับตัวขึ้น
Asian Bond  no  no “Neutral” ยีลด์สหรัฐฯอาจย่อลงอีก, Fund Flows ไหลเข้า เป็นปัจจัยหนุนระยะสั้น นักลงทุนคลายกังวลเฟด NAV กองทุนหลักฟื้นตัว fund flows ไหลเข้าเอเชีย สะท้อนความต้องการที่แข็งแกร่งของนักลงทุน …ระยะถัดไป หากความเสี่ยงการเมืองยุโรปทวีความไม่แน่นน ธนาคารกลางก็อาจผ่อนคลายกว่าคาด >> เป็นปัจจัยบวกต่อ NAV
Global Quality Growth  no  no Neutral” ตลาดมีเหตุผลมากขึ้น หนุนหุ้นคุณภาพ outperform ปัจจุบันกองทุนหลักเน้นหุ้นกลุ่ม I.T. ซึ่งผลกำไรเติบโตอย่างมีคุณภาพ (quality growth) และกลับมา outperform ในปีนี้ หลังจากนักลงทุนหายตื่นเต้นกับการมาของทรัมป์ ทั้งนี้ ผู้บริหารกองทุนหลักยังคงยึดวิธีคัดเลือกหุ้นอย่างเป็นระบบและทำซ้ำได้ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
Global Infrastructure Equity  no  no Neutral” ปัจจัยเฉพาะของหุ้นแต่ละตัว มีผลค่อนข้างมากต่อ NAV ณ สิ้นเดือน ม.ค. กองทุนหลักถือหุ้นเพียง 26 ตัว (น้อย) ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น โดยเฉพาะ 10 อันดับแรก จึงมีอิทธิพลมากต่อ NAV ปัจจัยหนุนระยะสั้นในแง่มหภาคคือ เงินยูโรอาจอ่อนค่าลง (กองทุนหลักลงทุนในยุโรปมาก โดยป้องกันความเสี่ยง EUR/USD) ท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านการเมือง ซึ่งน่าจะทำให้หุ้นในพอร์ต ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะ defensive (ทนภาวะเศรษฐกิจ) สามารถ outperform ตลาดได้
World EQ Index  down  down “Underweight” ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว น่าจะ underperform ในปีนี้ เราเชื่อว่า ตลาดหุ้นกำลังพัฒนา (ตลาดเกิดใหม่) ซึ่งเพิ่งเริ่มฟื้นตัวเมื่อปีที่แล้ว และระดับราคาต่ำกว่า มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้มากกว่า
US500,

US Blue Chip

 no  no “Neutral” upside/downside ไม่น่าจะมาก US500 (ลงทุนตาม S&P 500) เหนือกว่า US Blue Chip (เน้นหุ้น growth) ใน 2 เดือนสุดท้ายของปี 2016 เพราะตลาดหันไปหาหุ้น value, cyclical ซึ่งพบมากในดัชนี แต่พอเข้าสู่ปี 2017 US Blue Chip กลับมา outperform เพราะนักลงทุนลดความคาดหวังต่อปธน.คนใหม่ และหันกลับมาหาหุ้นเติบโตคุณภาพสูง
European Growth, German EQ  no  no Neutral” ความเสี่ยงการเมืองยุโรปซาลง (ชั่วคราว) นักลงทุนคลายกังวลเลือกตั้งฝรั่งเศส เพราะผลโพลชี้ว่า Le Pen จะได้คะแนนไม่ถึง 40% ในรอบสอง (แพ้) แต่บทเรียนจาก “ผลโพล” ในปีที่แล้ว (Brexit, US Elections) ทำให้เรามิอาจวางใจ และเชื่อว่า “ความกังวล” น่าจะกลับมา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในช่วง กลาง มี.ค. – ต้น พ.ค. หากทำให้หุ้นยุโรป, เยอรมัน ปรับฐานลงมาแรงๆ ก็อาจสร้างโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อ German Equity เพราะ ความเสี่ยงการเมือง ไม่น่าจะกระทบแนวโน้มการฟื้นตัวตามวัฏจักรของเศรษฐกิจโลกมากนักในปีนี้ แต่จะทำให้ธนาคารกลางหลักๆรวมถึง ECB “ผ่อนคลาย” นโยบายการเงินต่อไป “หุ้นเยอรมัน” น่าจะได้ประโยชน์เพราะ ดอกเบี้ยต่ำ ยูโรอ่อนค่า ช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจเยอรมนี ซึ่งแกร่งอยู่แล้ว ขณะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีขึ้นเป็นปัจจัยบวกต่อภาคส่งออก
Japan EQ,

Japan Active

 down  down “Underweight” เงินเยนอาจแข็งค่าได้อีก ระยะสั้น หากความกังวลการเมืองยุโรป, สหรัฐฯ กดดัน sentiment ตลาดหุ้นก็คงจะปรับตัวขึ้นได้ยาก และอาจถูกเทขายทำกำไร/ปรับฐานตามฤดูกาล เงินเยนมักแข็งค่าในภาวะ “กลัวเสี่ยง”
ระยะยาว หากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ดี หุ้นญี่ปุ่นก็น่าจะฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้ ภายใต้นโยบาย Yield Curve Control ของ BOJ
EM EQ Index  no  no “Neutral” ตลาดเกิดใหม่น่าจะ outperform ในปีนี้ นักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับนโยบาย ทรัมป์ ในส่วนที่แต่เดิมเชื่อกันว่า อาจเป็นปัจจัยลบต่อตลาดเกิดใหม่ นอกจากนี้ ปัจจัยมหภาคสำคัญๆ คือ เศรษฐกิจจีน/ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทรงตัว ขณะเฟดยังคงค่อยๆขึ้นดอกเบี้ยอย่างระมัดระวัง เป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเพิ่งเริ่มฟื้นตัวเมื่อปีที่แล้ว และระดับราคายังไม่แพง เมื่อเทียบกับตลาดพัฒนาแล้ว
Asian Growth Leaders  up  up “Overweight” ตลาดเกิดใหม่น่าจะ outperform ในปีนี้ นักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับนโยบาย ทรัมป์ ในส่วนที่แต่เดิมเชื่อกันว่า อาจเป็นปัจจัยลบต่อตลาดเกิดใหม่ นอกจากนี้ ปัจจัยมหภาคสำคัญๆ คือ เศรษฐกิจจีน/ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทรงตัว ขณะเฟดยังคงค่อยๆขึ้นดอกเบี้ยอย่างระมัดระวัง เป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเพิ่งเริ่มฟื้นตัวเมื่อปีที่แล้ว และระดับราคายังไม่แพง เมื่อเทียบกับตลาดพัฒนาแล้ว …หากตลาดย่อลงมาช่วงก่อนประชุมเฟด ถือเป็นโอกาสเข้าซื้อเพิ่ม
China EQ, China Opportunity  up  up “Overweight” ระยะสั้น จีนเก่า – ระยะยาว จีนใหม่ เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวหนุนหุ้น “จีนเก่า” China Equity Index ในระยะสั้น ทว่าในระยะยาว จีนสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศ หนุนหุ้นกลุ่ม “จีนใหม่” ซึ่ง China Opportunity เน้นลงทุนในปัจจุบัน อนึ่ง ดอลลาร์ชะลอการแข็งค่า ช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินหยวน ลดความเสี่ยงที่จีนจะลดค่าเงินแรงๆเพื่อเบรกเงินไหลออก
SET50, JUMBO25,
TMBTMSMV
 no  no “Neutral” หากย่อลงแรงๆก่อนประชุมเฟด อาจเปิดโอกาสเข้าซื้อ หุ้นไทยซึ่ง outperform ตลาดภูมิภาคในปี 2016 กลับมา underperform ปีนี้ ระดับราคาจึงเริ่มน่าสนใจในเชิงเปรียบเทียบ โดยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย: เกินดุลบัญชีเดินสะพัด ทุนสำรองสูง เงินเฟ้อต่ำ ทำให้ทนทานต่อภาวะเงินทุนไหลออก และยังคงเป็นเหตุผลหลักที่ดึงดูดเม็ดเงินจากต่างชาติ
Gold,
Gold Singapore
up up “Overweight” ช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุน ตลาดหุ้นอาจจะเผชิญความผันผวนมากขึ้นในอนาคต หากนักลงทุน “ช็อก” จากความเสี่ยงเชิงระบบ โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เข้ามากระทบตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ควรใช้ทองคำเพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตที่มีการลงทุนในหุ้น โดยเราย้ำว่าทองคำไม่ใช่สินทรัพย์ลงทุนหลักของพอร์ต
Oil up up “Overweight” ราคาร่วงหลุดกรอบ $50-$60 เราเชื่อว่าเป็นเพราะก่อนหน้านี้ “สถานะซื้อ” ของนักลงทุนในตลาด หนาแน่นเกินไป ขณะที่สต็อกน้ำมันสหรัฐฯยังไม่ลดลง (สต็อกฯเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลอยู่แล้วในไตรมาสแรก) เมื่อนักลงทุนแห่ปิดสถานะ จึงกดราคาลงมาได้แรงๆ ระยะสั้น คงมุมมอง overweight ณ ระดับราคาปัจจุบัน เนื่องจากข้อตกลงลดปริมาณผลิตช่วยให้ อุปสงค์-อุปทาน สมดุลกันยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ระยะยาว ผู้ผลิตน้ำมันจากชั้นหิน (shale oil) ในสหรัฐฯ จะเป็นตัวปรับสมดุลตลาด เพราะจุดคุ้มทุนของผู้ผลิตกลุ่มดังกล่าว เฉลี่ยแต่ละภูมิภาคอยู่ที่ประมาณ $45-$55 หากราคาสูงกว่านี้เป็นเวลานานๆ กระตุ้นให้ผู้ผลิตในสหรัฐฯกลับมาเร่งผลิตเพิ่มขึ้นจนแซงหน้าอุปสงค์ ราคาน้ำมันดิบก็จะถูกดึงกลับลงมาให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปัจจุบันอีกครั้ง

** DBO:US (กองทุนหลักของ TMB Oil Fund) ถือสัญญา WTI Mar-18 (หมดอายุ 20 ก.พ. 2018) **

** NAV อาจเคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่เห็นในข่าว (ซึ่งเป็นสัญญาฟิวเจอร์สตัวใกล้สุด) **

Property
Income Plus
up up Overweight” ตลาดซึมซับโอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยไปมากแล้ว ยีลด์พันธบัตรปรับตัวขึ้น, ดอลลาร์แข็งค่า น่าจะผ่านพ้นช่วงที่เคลื่อนไหวรุนแรงไปแล้ว แรงกดดันต่อสินทรัพย์ที่เน้น “ยีลด์”: กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) จึงน่าจะบรรเทาเบาบางลง

ระยะสั้น หาก NAV ผันผวนย่อลงช่วงใกล้ประชุมเฟด (15 มี.ค.) ถือเป็นโอกาสเข้าซื้อลงทุน

ระยะยาว อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (dividend yield) ของสินทรัพย์ประเภทนี้ สูงกว่ายีลด์พันธบัตร และจ่ายปันผลค่อนข้างสม่ำเสมอ (ผันผวนน้อยกว่าปันผลของหุ้นสามัญ) จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำ

(Dividend Yield 12 เดือนย้อนหลังของดัชนีกองทุนอสังหาฯ, ยีลด์พันธบัตรอายุ 10 ปี, ส่วนต่าง)

ไทย (5.59%, 2.78%, 2.81%) สิงคโปร์ (6.21%, 2.26%, 3.95%)


ประเภทกองทุน กองทุน ดัชนีชี้วัด ความเสี่ยง กองทุน / นักลงทุน การป้องกันความเสี่ยง
กองทุนรวมตราสารหนี้ Global Bond JP Morgan Global Government Bond Index (สกุลเงินบาท) 4 / 2 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
GIS Global Income Barclays US Aggregate Total Return Value Unhedged USD (สกุลเงินบาท) 5/ 3 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
กองทุนรวมตราสารแห่งทุน Global Quality Growth MSCI All Country World Daily Total Return Net Index (สกุลเงินบาท) 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
World Equity Index MSCI WORLD NET TOTAL RETURN ในสกุลเงินยูโรและสกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
US 500 Equity Index
US Blue Chip Equity
S&P 500 Index สกุลเงินบาท 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
Jumbo25 SET50 Total Return Index 6 / 4 ไม่มีการลงทุนในต่างประเทศ
European Growth MSCI Europe Index สกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่น้อยกว่า 90 %
ของจำนวนเงินลงทุนในต่างประเทศ
EM Equity Index MSCI Emerging Index ในสกุลดอลลาร์และสกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
Japan Equity Nikkei 225 (สกุลเงินบาท) 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
Japan Active Equity TOPIX (Total Return Net) Index (สกุลเงินบาท) 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
EM Equity Index MSCI Emerging Index ในสกุลดอลลาร์และสกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
Asian Growth Leader MSCI AC Asia Ex Japan NR USD Index  (สกุลเงินบาท) 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
China Equity Index FTSE China A50 Net Total Return Index สกุลเงินดอลลาร์ ฮ่องกงและสกุลเงินบาท 6 / 4 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
China Opportunity MSCI Daily Total return Net China USD Index สกุลเงินบาท 6 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
SET50 SET50 Index 6 / 4 ไม่มีการลงทุนในต่างประเทศ
กองทุนรวม
หมวดอุตสาหกรรม
Property Income Plus ดัชนีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (PFUND) ของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ร้อยละ 50 และ

The FTSE Strait times REIT Index ร้อยละ 50 ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อ คำนวณผลตอบแทนเป็นสกุลบาท ณ วันที่คานวณผลตอบแทน

7 / 4 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
กองทุนรวมสินทรัพย์ทางเลือก Gold Singapore ดัชนีราคาทองคำในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (London Gold AM Fixing) สกุลเงินบาท 8 / 5 ตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน(1)
Gold ดัชนีราคาทองคำในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ 8 / 5 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)
Oil DBIQ Optimum Yield Crude Oil Index Excess Return Index 8 / 5 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง(1)

คำเตือน 1.สำหรับกองทุนที่ ไม่มีการป้องกันความเสี่ยง / ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน / หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินทุนเริ่มแรกได้ 2.การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุน อาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าการลงทุนเริ่มแรกก็ได้ และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดหรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้ 3. กองทุนนี้มิใช่กองทุรรวมคุ้มครองเงินต้น ผู้ลงทุนจึงมีความเสี่ยงจากการลดลงของเงินต้น 4.ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสาระสำคัญของกองทุนรวมโดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและผลการดำเนินงานของกองทุนที่เปิดเผยในแหล่งต่างๆ เช่น เว็บไซด์ของบริษัทจัดการ เป็นต้น 5.ผู้ลงทุนสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ TMBAM, TMB ทุกสาขา และ ผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ได้รับการแต่งตั้ง
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน