ภาวะเศรษฐกิจรอบโลกในเดือนทีผ่านมา
สหรัฐอเมริกา
- ในคำแถลงระหว่างพิธีเข้ารับตำแหน่ง ประธานาธิบดี Trump ได้ให้คำมั่นในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านภาษี การเข้าเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และกล่าวว่านโยบายการปกป้องประเทศจะนำไปสู่ความมั่งคั่งและความเข้มแข็งของสหรัฐฯ โดยหลังจากเข้ารับตำแหน่ง Trump ได้ลงนามในคำสั่งอย่างเป็นทางการในการถอนตัวจากข้อตกลงเขตการค้าแปซิฟิก (TPP) และเริ่มต้นเจรจาการค้าใหม่กับหลายประเทศ รวมไปถึงการเพิ่มมาตรการควบคุมการเข้าเมือง ในขณะที่คณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลงมติเป็นเอกฉันท์ในการคงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ระดับร้อยละ 0.5 – 0.75 โดยระบุถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯในเดือนมกราคมปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงที่สุดในรอบ 13 เดือน สะท้อนมุมมองเชิงบวกหลังการเลือกตั้ง
- นอกจากนี้การใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 MoM ในขณะที่รายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนธันวาคม ยอดขายบ้านมือสองปรับตัวลดลงในเดือนธันวาคม หลังจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3 เดือนติดต่อกัน พร้อมกับการลดลงของอุปทานสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี โดยยอดขายบ้านใหม่ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือนเช่นกันหลังจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างแข็งแกร่ง 3 เดือนติดต่อกัน โดยอาจมีสาเหตุมาจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ในด้านบวกการก่อสร้างบ้านใหม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยสนับสนุนมาจากการฟื้นตัวของกลุ่มที่พักอาศัยแบบรวม (Multi-family) และจำนวนบ้านใหม่ที่รอปิดการขายปรับตัวเพิ่มขึ้นแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นก็ตาม
- อัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 2.1 YoY ในเดือนธันวาคม นับเป็นระดับที่เกินกว่าเป้าหมายของ Fed เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 นับเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดจากเดือนพฤศจิกายน 2557 ปัจจัยขับเคลื่อนมาจากการผลิตที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมโลหะและยานยนต์ รวมไปถึงการผลิตสาธารณูปโภคหลังจากที่เข้าสู่ฤดูหนาว
- ยอดคำสั่งซื้อสินค้าทุนหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 MoM ในเดือนธันวาคมเทียบกับร้อยละ 1.5 ในเดือนก่อนหน้า การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 227,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่คาดไว้ จีดีพีขยายตัวร้อยละ 1.9 ในไตรมาส 4/59 ชะลอตัวลงจากไตรมาส 3 ซึ่งขยายตัวที่ระดับร้อยละ 3.5 โดยแม้ว่าการลงทุนภาคธุรกิจและการใช้จ่ายของภาครัฐจะฟื้นตัว การเติบโตได้รับผลกระทบจากยอดขาดดุลการค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มการคาดการณ์การเติบโตของสหรัฐฯเป็นร้อยละ 2.3 ในปี 2560 และร้อยละ 2.5 ในปี 2561 นับเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับจากการคาดการณ์ในเดือนตุลาคม และระบุว่าการกระตุ้นทางการคลัง และการปฏิรูปภาษีของ Trump จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตในปี 2561 อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลเกี่ยวกับการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว
ยุโรป
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ย และคงการดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) แม้ว่าจะมีสัญญาณการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นผู้บริโภค และการจ้างงาน ในขณะที่ Teresa May ระบุว่าสหราชาอาณาจักรตั้งใจที่จะออกจากระบบตลาดเดียวของสหภาพยุโรป (EU) และจะไม่ปฏิบัติตามนโยบายผู้อพยพของ EU หรืออยู่ภายใต้อำนาจศาลของยุโรป (European Court of Justice) อีกต่อไป โดยสหราชาอาณาจักรจะเข้าเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีใหม่กับ EU ต่อไป
- ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงที่สุดในรอบ 6 ปี และอัตราเงินเฟ้อในภูมิภาคขยายตัวร้อยละ 1.8 YoY ในเดือนมกราคมจากเดิมร้อยละ 1.1 ในเดือนก่อนหน้านับเป็นระดับสูงที่สุดนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2556 อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อแท้จริงทรงตัวที่ระดับร้อยละ 0.9 YoY
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของยูโรโซนปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 55.2 จุดในเดือนมกราคมจากเดิมที่ระดับ 54.9 จุดนับเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 69 เดือน PMI ภาคบริการ และ PMI โดยรวมทรงตัวที่ระดับ 53.7 จุด และ 54.4 จุดตามลำดับ
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 9.8 ในเดือนพฤศจิกายน อัตราการว่างงานของภูมิภาคในเดือนพฤศจิกายนทรงตัวที่ระดับร้อยละ 9.8 จีดีพีของยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 1.8 YoY ส่งผลให้ตลอดทั้งปีจีดีพีขยายตัวร้อยละ 1.7 YoY
จีน
- การเติบโตของกำไรภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงสู่ระดับร้อยละ 2.3 ในเดือนธันวาคม นับเป็นระดับที่ช้าที่สุดในรอบปี สะท้อนถึงการที่ผู้ผลิตไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นสัญญาณว่าอุปสงค์ยังคงอ่อนแอ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 YoY ชะลอตัวลงจากร้อยละ 6.2 ในเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับอ่อนแอที่สุดนับจากเดือนกรกฎาคม
- การส่งออกเดือนธันวาคมปรับตัวลดลงร้อยละ -6.1 YoY และตัวเลขของเดือนพฤศจิกายนถูกปรับแก้เป็นการหดตัวร้อยละ -1.6 จากเดิมที่รายงานว่าขยายตัวร้อยละ 0.1 ส่งผลให้การส่งออกทั้งปีหดตัวลงร้อยละ -7.7 YoY นับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันและเป็นระดับที่แย่ที่สุดตั้งแต่ปี 2552 การนำเข้าเดือนธันวาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 YoY และตัวเลขของเดือนพฤศจิกายนถูกปรับแก้เป็นการขยายตัวร้อยละ 4.7 เพิ่มขึ้นจากการรายงานก่อนหน้า การนำเข้าทั้งปีหดตัวลงร้อยละ -5.5 YoY ปัจจัยลบหลักมาจากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Manufacturing PMI) ของทางการในเดือนมกราคมลดลงจากระดับ 51.4 จุดเป็น 51.3 จุด Manufacturing PMI ที่จัดทำโดย Caixin ปรับตัวลดลงจาก 51.9 จุดสู่ระดับ 51.0 จุด ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อนอกภาคการผลิต(Non-Manufacturing PMI) ของทางการเพิ่มขึ้นจาก 54.5 จุดเป็น 54.6 จุด ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Services PMI) ของ Caixin ปรับตัวลดลงจาก 53.4 จุดซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับจากเดือนกรกฎาคม 2557 เป็น 53.1 จุด
- ยอดค้าปลีกเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 YoY หลังจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ในเดือนก่อนหน้านับเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดจากเดือนธันวาคม 2558 อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 YoY ในเดือนธันวาคมเทียบกับร้อยละ 2.3 ในเดือนก่อนหน้า ปัจจัยหลักมาจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นแต่ถูกชดเชยด้วยการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าที่มิใช่อาหาร อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวที่ระดับร้อยละ 1.9 จีดีพีไตรมาส 4/59 ขยายตัวร้อยละ 6.8 YoY ส่งผลให้การขยายตัวทั้งปีอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.7 YoY
ญี่ปุ่น
- คณะกรรมการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ลงมติ 7-2 ในการคงนโยบายการเงิน และคงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ปีหน้าที่ร้อยละ 1.5 อย่างไรก็ตามคณะกรรมการคาดการณ์ว่าจีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปีงบประมาณปัจจุบันและร้อยละ 1.5 ในปีถัดไป ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ 0.2 ตามลำดับจากการคาดการณ์ก่อนหน้า
- มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบแบบปีต่อปีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน โดยยอดส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 YoY ในเดือนธันวาคม สูงกว่าที่คาดไว้ เทียบกับการหดตัวร้อยละ -0.4 ในเดือนพฤศจิกายน โดยปัจจัยบวกมาจากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ รวมไปถึงการส่งออกรถยนต์ไปสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 YoY ในเดือนพฤศจิกายนเทียบกับการหดตัวร้อยละ -0.4 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดนับจากเดือนมีนาคม 2557 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานหดตัวลงร้อยละ -0.2 YoY ในเดือนธันวาคมเทียบกับการหดตัวร้อยละ -0.2 YoY ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเมื่อหักราคาอาหารและพลังงานทรงตัวที่ระดับร้อยละ 0.1 YoY ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 43.1 จุดในเดือนธันวาคมจาก 40.9 จุดในเดือนก่อนหน้า และสูงกว่าที่คาดไว้ นับเป็นระดับที่แข็งแกร่งที่สุดจากเดือนกันยายน 2556 โดยมีปัจจัยบวกมาจากการฟื้นตัวในทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตามการเติบโตของยอดค้าปลีกชะลอตัวสู่ระดับร้อยละ 0.6 YoY ในเดือนธันวาคมต่ำกว่าที่คาดไว้หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ในเดือนก่อนหน้า
ภาวะเศรษฐกิจไทย
- การส่งออกในเดือนธันวาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 YoY หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ในเดือนก่อนหน้านับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ปัจจัยสนับสนุนมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการฟื้นตัวของการส่งออกภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม เมื่อพิจารณาทั้งปี 2559 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.5 YoY นับเป็นระดับดีที่สุดในรอบ 4 ปี นอกจากนี้การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.3 YoY เปรียบเทียบกับร้อยละ 3.0 ในเดือนก่อนหน้านับเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
- กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าการส่งออกทั้งปี 2560 การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 2.5 – 3.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากราคาน้ำมันและการทรงตัวของค่าเงินบาท อัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 1.55 YoY (0.16 MoM) เปรียบเทียบกับร้อยละ 1.13 YoY (0.13 MoM) ในเดือนก่อนหน้า ปัจจัยขับเคลื่อนมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาเชื้อเพลิงและอาหาร อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 0.75 YoY เปรียบเทียบกับร้อยละ 0.74 YoY ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับสูงที่สุดในรอบ 11 เดือนที่ 74.5 จุดจากเดิมที่ 73.7 จุด
- ธนาคารแห่งประเทศไทยคงการคาดการณ์การเติบโตของจีดีพี ปี 2560 ที่ร้อยละ 3.2 และคาดว่าการพื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะสนับสนุนการส่งออกในปีนี้ บนสมมติฐานว่าไม่มีผลกระทบจากนโยบายปกป้องการค้าของสหรัฐฯ
มุมมองการลงทุนรายกองทุน |
||
กองทุน | คำแนะนำ | เหตุผล |
กองทุนที่เน้นลงทุนในประเทศ |
||
ตราสารหนี้ ระยะสั้น |
กองทุนเน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีระดับผลตอบแทนจากการถือครองสูง และมี ความเสี่ยงจากความผันผวนตามราคาตลาดรายวันในระดับต่ำ โดยจะเน้นลงทุนในเงินฝากต่างประเทศ และ ตราสารหนี้ภาคเอกชนไทยที่มีคุณภาพด้านเครดิตดี โดยแนะนำกองทุน KFSPLUS และ KFSMART |
|
ตราสารหนี้ ระยะกลาง-ยาว |
กองทุนเน้นลงทุนในตราสารหนี้ทุกรุ่นอายุที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากตราสารหนี้ระยะสั้นได้ (Active managed) โดยแต่ละกองทุนจะมีความเสี่ยงจากการความผันผวนตามราคาตลาดรายวันรายวันอยู่ในระดับที่มากขึ้นตาม Duration โดยแนะนำกองทุน KFMTFI (ขั้นต่ำ 6 เดือนขึ้นไป) และ KFAFIX (ขั้นต่ำ 1 ปี ขึ้นไป) |
|
หุ้นไทย |
ในระยะสั้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวตามกระแสเงินลงทุนต่างชาติ และปัจจัยภายนอกประเทศ ได้แก่ การดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ ส่วนในระยะกลางถึงยาว บลจ. กรุงศรี มีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนตราสารทุน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2560 อีกทั้งผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนฯ ที่มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ยังเป็นที่น่าสนใจลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นเติบโตสูง (KFSEQ-D หรือ KFSEQ) รวมไปถึงกองทุนที่เน้นการเฟ้นหาหุ้นที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละภาวะตลาด (KFDNM-D หรือ KFDYNAMIC) มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นปันผลดี (KFSDIV หรือ KFVALUE) ในภาวะที่อัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ดีขึ้น |
|
กองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ |
||
KF-SINCOME & KF-CSINCOM |
กองทุนเน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นถึงปานกลางที่มี carry สูง ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากวงจรดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐ และยังได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่ส่งผลให้คุณภาพด้านเครดิตของตราสารที่ลงทุนมีแนวโน้มแข็งแกร่งมากขึ้น |
|
KF-TRB |
ภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในระยะสั้น โดยเฉพาะหากมีการดำเนินมาตรการทางการคลังเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ การขยายตัวในช่วงที่ตลาดแรงงานตึงตัวอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอาจเร่งตัวขึ้นมาก ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่ธนาคารกลางสหรัฐอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาด |
|
KF-ELI |
เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตลาดเกิดมีแนวโน้มใหม่ฟื้นตัวดีขึ้นตามภาวะตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ทำให้มีเงินลงทุนไหลเข้ากลับไปลงทุนตลาดตราสารหนี้สกุลท้องถิ่น อย่างไรก็ตามในระยะสั้นอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่ม Emerging จะยังมีความผันผวนจากความไม่แน่นอนของนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐ |
|
กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นต่างประเทศตลาดพัฒนาแล้ว |
||
KF-EUROPE & KF-HEUROPE |
เงินเฟ้อเริ่มฟื้นตัวในยุโรป ส่งผลบวกต่อคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจและกำไรของบริษัทจดทะเบียน ECB ขยายระยะเวลาทำ QE สะท้อนแนวนโยบายผ่อนคลายต่อเนื่อง โมเมนตัมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นทั้งภาคการเผลิตและความเชื่อมั่นผู้บริโภค นอกจากนี้ Valuation ของตลาดอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากความกังวลเรื่องการเลือกตั้งในยุโรป |
|
KF-HJAPAND |
ค่าเงินเยนมีแนวโน้มกลับมาอ่อนค่า BOJ ยังคงเน้นกระตุ้นเงินเฟ้อและการบริโภคภายในประเทศ ด้วยนโยบายการคลังและมาตรการ QE แบบควบคุมผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve Control) บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) ที่ดีขึ้น ส่งผลให้บริษัทที่มีกระแสเงินสดสูงมีแนวโน้มจ่ายเงินปันผลและซื้อหุ้นคืน (Share Buyback) มากขึ้น |
|
KF-US |
เศรษฐกิจสหรัฐฯและกำไรของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นจากนโยบายภาครัฐทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การปรับลดภาษีบริษัทจดทะเบียนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการปรับลดกฏเกณฑ์ในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการเงิน นอกจากนี้ ทิศทางการฟื้นตัวของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ยังช่วยหนุนการเติบโตของกำไรในกลุ่มพลังงาน |
|
ตลาดกำลังพัฒนา |
||
KF-BRIC |
เศรษฐกิจบราซิลและรัสเซีย มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ตามทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวดีขึ้น ภาครัฐมีช่องทางกระตุ้นเศรษฐกิจหลังเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงเริ่มปรับตัวลดลง ขณะที่อินเดียมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวหลังผลกระทบของนโยบายปราบคอร์รัปชั่น ด้านเศรษฐกิจจีนเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวในอุตสาหกรรมหลัก |
|
KF-EM |
ตลาดหุ้น EM ได้รับอานิสงค์จากการฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ Demand ที่เร่งตัวขึ้นในจีน และการฟื้นตัวของอินเดียหลังจากผลกระทบจากการยกเลิกธนบัตรหมดไป ด้านนโยบายการค้าและภาษีของสหรัฐฯ อาจส่งผลกระทบผ่าน Supply chain ในตลาด EM ขณะที่การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอาจสร้างแรงกดดันให้กับตลาด EM เป็นระยะๆ |
|
KF-CHINA |
เศรษฐกิจจีนกลับมามีเสถียรภาพจากการฟื้นตัวของภาคการผลิต การลงทุน และภาคอสังหาฯในประเทศ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและนโยบายลดกำลังการผลิตส่วนเกินในอุตสาหกรรมหนัก (Supply Side Reform) เช่น ถ่านหินและเหล็ก ปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังคือแรงกดดันจากภาวะเงินทุนไหลออก ตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินหยวน |
|
KF-LATAM |
ตลาดหุ้นละตินอเมริกาได้รับอานิสงค์จากการฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศหลัก เช่น บราซิล มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี และแรงกดดันจากเงินเฟ้อลดลง เปิดโอกาสให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลดดอกเบี้ยได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี นโยบายการค้าและการเคลือนย้านแรงงานของสหรัฐฯอาจส่งผลกดดันการขยายตัวของเม็กซิโก |
|
KF-HCHINAD |
โครงสร้างเศรษฐกิจจีนที่เปลี่ยนไปเอื้อต่อการเติบโตของบริษัทในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ซึ่งกองทุนหลักเน้นลงทุน และมีแนวโน้มเติบโตไปกับกระแสการขยายตัวของภาคบริการและการบริโภคภายในประเทศ เช่น หุ้นในหมวดเทคโนโลยี ค้าปลีก และประกันชีวิต |
|
ลงทุนทั่วโลก |
||
KF-GLS |
ได้รับผลบวกจาก Net Long Position ในหุ้นกลุ่ม Healthcare ที่ทาง บลจ.กรุงศรีมีมุมมองเชิงบวก แต่หักล้างกับ Net Short Position ในหุ้นกลุ่ม Industrial ที่ราคายังปรับขึ้นต่อเนื่อง แม้ระดับราคาสูงเกินพื้นฐาน จาก Expectation ของตลาดที่สูงเกินไป ทั้งนี้ บลจ.กรุงศรี ยังมีมุมมองในเชิงบวกกับกอง KF-GLS ในระยะยาว และคาดว่ากองทุนจะฟื้นตัวได้ เมื่อตลาดลด Speculation ในหุ้นกลุ่ม Industrial |
|
KF-GBRAND |
จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางของการฟื้นตัว นักลงทุนเริ่มกลับมาให้ความสนใจต่อหุ้นในกลุ่ม Cyclical มากกว่ากลุ่ม Defensive อาจส่งผลให้หุ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ไม่ปรับตัวขึ้นมากในระยะสั้น อย่างไรก็ตามคาดว่ากองทุนจะได้ประโยชน์ในระยะกลาง-ยาว เนื่องจากน้ำหนักการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐฯซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุน หากปธน.ทรัมพ์ ดำเนินนโยบายปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาตามที่ได้เคยหาเสียงไว้ได้สำเร็จ ซึ่งจะส่งผลบวกต่อหุ้นสหรัฐฯ |
|
KF-GTECH |
กำไรของ Sector สามารถเติบโตได้ดีกว่าตลาดโดยรวม จาก Innovation ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ตอบสนองต่อสินค้าและบริการ ขณะที่ระดับ Valuation อยู่ในระดับที่เหมาะสมใกล้เคียงกับตลาดหุ้นโลก กองทุนเน้นลงทุนบริษัทที่มีนวัตกรรมใหม่ๆใน การเปลี่ยนอุตสาหกรรม และมีปัจจัยพื้นฐานที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง |
|
KF-HEALTHD |
ผลประกอบการเติบโตได้ดีตามแนวโน้ม Healthcare Spending ที่ยังสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ราคาหุ้นลดลงจากความกลัวเรื่องการควบคุมราคายามากเกินไป ซึ่งปลายเดือน ม.ค. ที่ทรัมป์ comment เรื่องการควบคุมราคายาแต่แลกกับการผ่อนปรนการกำกับดูแลและอนุมัติยาให้เร็วขึ้น ราคาของหุ้นกลุ่ม Healthcare ได้ตอบสนองในเชิงบวก แสดงให้เห็นว่าตลาดเริ่มคลายความกังวล และราคาหุ้นมีแนวโน้มกลับมาสู่พื้นฐานที่ดีของกลุ่มต่อไป |
|
KF-GPROPD |
ระดับราคาสินทรัพย์และค่าเช่าของ Global REITs มีแนวโน้มสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ภาวะอุปสงค์อุปทานของ Global REITs โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสม อย่างไรก็ตามในระยะสั้น REITs จะถูกกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นโดยเฉพาะใน US |
|
KF-SMCAPD |
Brexit และการเลือกตั้งในยุโรป อาจนำความผันผวนมาสู่การลงทุนในอังกฤษและยุโรป ซึ่งกองทุนมีสัดส่วน OW แต่พอร์ตการลงทุนมีแนวโน้มได้รับประโยชน์จาการลงทุนในสหรัฐฯและเอเชีย ตามทิศทางการกระตุ้นภาครัฐและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ |
|
กองทุนผสม | ||
KF-INCOME & KF-CINCOME |
ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐเริ่มมีทิศทางอ่อนค่าลงในระยะสั้น ขณะที่สัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาค Developed Market ซึ่งอาจยังมีความผันผวนจากสถานการณ์การเมืองทั้งจากสหรัฐฯและบางประเทศในยุโรปที่จะมีการเลือกตั้งในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ สำหรับตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูง (High yield) ยังคงมีความน่าดึงดูด เนื่องจากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย |
|
KF-AINCOME |
Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติเริ่มทยอยกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐมีทิศทางอ่อนค่าลง ส่งผลตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ประกอบกับ Valuation ยังอยู๋ในระดับที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ขณะที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ในเอเชียยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ และตราสารหนี้ที่อยู่ในพอร์ตการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในระดับ Investment Grade |
|
กองทุนที่เน้นลงทุนในสินทรัพย์โภคภัณฑ์ | ||
KF-GOLD & KF-HGOLD |
ทองคำจะมีบทบาทสำคัญในการลดความผันผวนจากการลงทุนในตลาดโลก ซึ่งอาจเกิดจากการเลือกตั้งในยุโรป และความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่เงินเฟ้อที่เร่งตัวช่วยเพิ่มความน่าสนใจในทองคำในฐานะ Inflation-hedged asset อย่างไรก็ดี ทองคำมีแนวโน้มถูกกันจากภาวะแข็งค่าของเงินดอลลาร์และวัฏจักรดอกเบี้ยขาขี้นในสหรัฐฯ |
|
KF-OIL |
การบรรลุข้อตกลง “ลด” กำลังการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่ทั้งกลุ่ม OPEC, รัสเซีย และเม็กซิโก ช่วยให้สมดุลของตลาดน้ำมันโลกดีขึ้น ส่งผลให้กรอบราคาน้ำมันดิบ West Texas มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเหนือระดับ 45-55 เหรียญต่อบาร์เรล ทั้งนี้ การดำเนินการตามข้อตกลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่และปริมาณการผลิตในสหรัฐฯที่อาจเพิ่มขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมัน เป็นปัจจัยที่อาจกลับมากดดันราคาน้ำมันอีกรอบ |
กองทุน KF-US, KF-EUROPE, KF-EM, KF-BRIC, KF-CHINA, KF-LATAM, KF-GLS, KF-GBRAND, KF-GTECH, KF-GPROPD, KF-SMCAPD, KF-HEALTHD, KF-INCOME, KF-CINCOME ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
กองทุน KF-TRB, KF-ELI, KF-SINCOME, KF-CSINCOM, KF-AINCOME, KF-HJAPAND, KF-HCHINAD และ KF-HEUROPE ป้องกันความเสี่ยงเต็มจำนวน
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต อนาคต ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน
โดยปกติกองทุน KF-US, KF-EUROPE, KF-EM, KF-BRIC, KF-CHINA, KF-LATAM, KF-GLS, KF-GBRAND, KF-GTECH, KF-GPROPD, KF-SMCAPD, KF-HEALTHD, KF-INCOME, KF-CINCOME จะไม่ใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยง ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงิน จึงอาจมีความเสี่ยงสูงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
กองทุน KF-INCOME, KF-CINCOME และ KF-AINCOME คือกองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อยและผู้มีเงินลงทุนสูงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน โดยกองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ในอัตราส่วนที่มากกว่าอัตราส่วนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป กองทุนจึงอาจมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ความเสี่ยงด้านเครดิต และ ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องมากกว่ากองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป
เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) /ผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน
บทความโดย : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด
https://www.krungsriasset.com