วางแผนลงทุนด้วยด้วย "ปรัชญาความพอเพียง"

คนไทยส่วนใหญ่เมื่อได้ยินคำว่า “ปรัชญาความพอเพียง

เข้าใจว่า ความพอเพียงคือ เรื่องของเกษตรกร
เข้าใจว่า ความพอเพียงคือ แค่การประหยัดเท่านั้น
เข้าใจว่า ความพอเพียงคือ เรื่องของคนจน
เข้าใจว่า ความพอเพียงคือ การไม่พัฒนา อยู่ที่เดิม
เข้าใจว่า การลงทุนแบบทุนนิยม ไม่เกี่ยวข้องกับ “ปรัชญาความพอเพียง”

นั่นคือความเข้าใจผิดของคนไทยต่อ แก่นแท้ของปรัชญาความพอเพียง แท้จริงแล้วปรัชญาความพอเพียงคือ… กรอบการตัดสินใจที่จะช่วยทำให้พวกเราอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยใช้ทั้งความรู้และคุณธรรม บนพื้นฐานของหลักการพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลของสิ่งของวัตถุ สังคม วัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อม จากความหมาย เรามาดูวิธีการนำไปใช้ ผมแบบหลักคิดเป็นรูปของกระบวนการซึ่งจะต้องมี

Input->Process->output

ดังรูปต่อไปนี้

input

1. Input หรือ ข้อมูลที่จะใส่เข้าไป 2 ตัวหลัก

1.1 ความรู้ (Knowledge)

จะต้องมีความรู้และเข้าใจในสิ่งที่จะทำ ยิ่งรู้ละเอียดและลึกมากเท่าไรในสิ่งนั้น เลือกเป็นนักลงทุนแบบใด แบบ value investor หรือ technical ถ้าเลือกแบบ value investor ควรจะรู้อะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น

  • วิเคราะห์ธุรกิจและกลยุทธ์ทางธุรกิจ
  • วิเคราะห์งบการเงิน
  • วิเคราะห์รูปของรายได้
  • ประมาณการกำไรของบริษัทได้
  • ประมาณราคาหุ้นในอนาคตได้
  • รู้จักพอร์ตการลงทุนของหุ้น แบ่งเป็น หุ้นคุณค่า หุ้นเติบโต และอื่นๆ
  • รู้จักจังหวะเข้าทำการซื้อและขาย
  • จิตวิทยาการลงทุน

1.2 คุณธรรม (virtues)

ความรู้ที่ดีอย่างเดียวไม่เพียงพอ จะต้องมีคุณธรรมประจำใจด้วย ตัวอย่างการพิจารณาด้าน

  • เลือกบริษัทที่มี good governance หรือ ธรรมาภิบาล
  • บริษัทมีการจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่างๆ ผู้บริหารมีคุณธรรมไม่มีการ insider trade
  • มีความซื่อสัตย์กับสังคม คู่ค้า ลูกค้า และคนอื่นๆ
  • ไม่ลงทุนในบริษัท เช่น ค้าอาวุธ เหล้า หรือ มลพิษทางอากาศ

2. Process หรือ กระบวนการคิด 3 ตัวหลัก

ทั้ง 3 ตัวหลักจะต้องมีร่วมกัน ขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้ ถ้าขาดให้ถือว่า คิดไม่ครบด้านจะไม่ใช่ปรัชญาความพอเพียง

2.1 พอประมาณ (Moderation)

การไม่ทำอะไรเกินตัว รู้จักพอ รู้จักความสามารถของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น

  • มีหนี้เยอะเกินไปหรือไม่?
  • อย่าละโมบในการลงทุน อย่าลงทุนในหุ้นปั่น
  • มีเงินเพียงพอจริงในการลงทุน?
  • ต้องไปกู้เงินมาลงทุน?

2.2 มีเหตุผล (Reasonableness)

การเข้าใจหลักการ Causes and Effects หลักการเหตุและผลของการกระทำของเรา ถ้าทำสิ่งนี้ จะทำให้สิ่งนั้นตามมา ยกตัวอย่างเช่น

  • อย่าเล่นหุ้นด้วยอารมณ์โดยเด็ดขาด
  • ยึดมั่นในหลักการในการลงทุน
  • อย่าเล่นหุ้นตาม กูรู เซียน

2.3 มีภูมิคุ้มกัน (Prudence)

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น

  • การเผื่อเงินสดฉุกเฉินให้เพียงพอไว้ถ้าเหตุการณ์ฉุกเฉิน
  • จะต้องมีค่าเผื่อการลงทุน หรือ safety of margin
  • จะต้องรู้ความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้นตัวที่เราถืออยู่ ถ้าความเสี่ยงเกิดจริงๆ ต้องรู้ cut
  • จะต้องรู้หลักการของ risk-reward ในการลงทุน

3. Output หรือ ผลที่จะได้จะต้องสร้างความสมดุล 4 ด้านคือ

3.1 สิ่งของวัตถุ (Material)

รู้จักใช้เงินทอง ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทำให้เกิดความมั่งคั่งส่วนบุคคล เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงิน

3.2 สังคม (Social)

กิจการที่เราไปลงทุนนำเงินไปพัฒนาบ้านเมือง อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสุข ไม่เบียดเบียนกัน

3.3 วัฒนธรรม (Cultural)

กิจการที่เราไปลงทุนนำเงินทำ CSR ทำให้เกิดคุณค่า ร่วมอนุรักษ์ค่านิยม ทำให้มีเอกลักษณ์และวัฒนธรรม

3.4 สิ่งแวดล้อม (Environmental)

กิจการที่เราไปลงทุนนำเงินไม่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ดั่งที่ในหลวง ร.9 ได้ให้คำสอนไว้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง คำว่าความพอเพียง นั้นหมายถึงความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น จากทั้งภายนอกและภายใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง

ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้ง ความรู้ ความเข้าใจ ผนวกกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้นในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัตน์ นำสู่ ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ของ ชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม

TSF2024