After-BREXIT

ผ่านไปแล้วกับเหตุการณ์ระทึกขวัญที่ทำให้ชาวหุ้นตื่นเต้นไปตามๆกัน นั่นก็คือ การทำประชามติ “BREXIT” ของสหราชอาณาจักร ซึ่งผลก็อย่างที่เราทราบกัน

บทความนี้ จะพาไปทบทวนภาพเหตุการณ์ของตลาดทุน ที่เกิดขึ้นหลังจากการโหวตประชามติวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมานะครับ ลองไปดูกัน

นักเศรษฐศาสตร์ และนักลงทุนเกินค่อนตลาด มองว่า BREXIT ไม่ดีกับเศรษฐกิจยุโรป และอังกฤษ ในระยะยาวแน่นอน อย่างสัปดาห์ที่ผ่านมา นาย George Osborne รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอังกฤษ ก็ออกมาบอกว่า พบเห็นสัญญาว่า บริษัทเอกชน ตัดงบประมาณ และชะลอการลงทุน หลังทราบผลประชามติ สิ่งนี้ น่าจะมีผลทำให้เศรษฐกิจอังกฤษมีความเสี่ยงมากขึ้นในระยะกลาง และระยะยาว

✍ ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา S&P กับ Fitch ก็ทำการ Downgrade Credit Rating ของอังกฤษ ไปแล้ว ทำให้อังกฤษสูญเสีย Rating “AAA” เป็นที่เรียบร้อย และล่าสุด  เมื่อคืน S&P ก็ปรับลด Credit Rating ของสหภาพยุโรปลงจาก AA+ เหลือ “AA” เช่นเดียวกัน

S&P02

รูปที่ 1 : Credit Rating ของประเทศอังกฤษ และ EU
แหล่งที่มา : http://www.tradingeconomics.com/country-list/rating

✍ แต่หันมาดูตลาดหุ้น จะพบว่า ถึงแม้ ยุโรป และอเมริกา จะปรับฐานลง 2 วันหลัง BREXIT แต่ก็สามารถรีบาวน์กลับมาได้แข็งแรง S&P500 ลงไปทดสอบแนวรับจิตวิทยา 2,000 จุด และรีบาวน์จากจุดต่ำสุดขึ้นมาแล้ว +4.9%

SP500
รูปที่ 2 : กราฟราย 60 นาที ของดัชนี S&P500
แหล่งที่มา : http://www.investing.com/indices/us-spx-500

✍ ไปดูดัชนี FTSE100 ของอังกฤษ ตัวต้นเหตุให้ตลาดตกใจ กลับกลายเป็น ลงเบาตลาดอื่นในยูโรโซน และล่าสุด เมื่อคืนบวกอีก +2.2% ยืนเหนือ 6,500 จุด ซึ่งสูงกว่าก่อนประกาศผลประชามติเสียอีก และถือว่าแข็งแกร่งที่สุดในบรรดาตลาดพัฒนาแล้ว (Developed Markets)

FTSE
รูปที่ 3 : กราฟราย 60 นาที ของดัชนี FTSE100
แหล่งที่มา : http://www.investing.com/indices/uk-100

✍ ย้อนมาตลาดหุ้นเอเชีย เหมือนจะได้รับอานิสงส์เต็มๆ เพราะตลาดปรับฐานแค่ในวันศุกร์วันเดียว และมีแรงซื้อเข้ามาต่อเนื่อง หุ้นไทย ยืนเหนือราคาปิดก่อนวันทราบผล BREXIT และขึ้นมาทดสอบแนวต้าน 1,450 จุด เป็นการทำ V Shape และน่าจะลุ้นไปต่อไป จาก Fund Flow ที่ไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ต่อเนื่อง

SET
รูปที่ 4 : กราฟราย 60 นาที ของดัชนี FTSE SET All-Share
แหล่งที่มา : http://www.investing.com/indices/ftse-set-all-share

✍ ตลาดพันธบัตรก็ได้อานิสงส์กับเขาเหมือนกัน มี Fund Flow ไหลเข้าลงทุนในตราสารหนี้ทั้งโลก อย่างตราสารหนี้ไทย มีเงินต่างชาติไหลเข้าลงทุน เฉพาะเดือนนี้ ก็เกิน 1 แสนล้านบาท ล่าสุด ถ้าดูเป็น Yield Spread จะพบว่า พันธบัตรรัฐบาล 10 ปีทั่วโลก มีถึง 23 ประเทศ ที่ให้อัตราผลตอบแทนต่ำกว่า US Treasury  ทีเดียว

Spread

รูปที่ 5 : 10-Year Government Bond Spreads
แหล่งที่มา : http://www.investing.com/rates-bonds/government-bond-spreads

✍ มาที่ Safe Haven อย่างทองบ้าง หลัง BREXIT ราคาทองดีดขึ้นกว่า $100 ขึ้นไปทดสอบที่ $1,370 ก่อนมีแรงเทขายลงมาแกว่งในกรอบ $1,320 – $1,330

Gold
รูปที่ 6 : กราฟ 60 นาที ราคาทอง Spot Gold
แหล่งที่มา : http://www.investing.com/commodities/gold

จุดสังเกต

หลังเหตุการณ์ BREXIT กลับกลายเป็นว่า สินทรัพย์แทบทุกประเภท ปรับตัวขึ้นทั้งหมด สะท้อนภาพว่า Fund Flow ไม่ได้สนใจมุมมองต่อเศรษฐกิจระยะยาวของอังกฤษและอียูที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่เป็นเช่นนี้ เหตุผลหลักน่าจะมีจาก

  1. โอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยก็ลดลงไปด้วย เพราะ BREXIT ไม่ใช่แค่เป็นความเสี่ยงของอียู แต่คือความเสี่ยงของโลก และเศรษฐกิจสหรัฐฯเองด้วย เมื่อเฟดไม่น่าจะขึ้นดอกเบี้ย แนวโน้มค่าเงิน USD ก็น่าจะอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลอื่น
  2. ตลาดเชื่อว่า ธนาคารกลาง (ทั้งอังกฤษ และยุโรป) น่าจะต้องเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น และเตรียมใช้นโยบายการเงินเพิ่มเติมในอนาคตหรือเปล่า?
  3. การที่เงินไหลเข้าตราสารหนี้เป็นจำนวนมาก กดให้ Bond Yield ยิ่งต่ำลง (เพราะกลัวความเสี่ยง) กลับกลายเป็นเพิ่ม Equity Risk Premium (ERP) ให้กับการลงทุนในตลาดหุ้นทันที ตรงส่วนนี้ ด้วย Liquidity ที่มีอยู่ในตลาดมากมายมหาศาล จึงทำให้เงินลงทุนบางส่วน ขยับ Allocation ปรับสัดส่วนโยกมาลงทุนในตลาดหุ้น โดยไม่ได้สนใจพื้นฐานด้านอื่น (มองแค่ความคุ้มค่าผ่าน ERP)

graph37รูปที่ 6 : Equity Risk Premium ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี
แหล่งที่มา : http://www.equitycost.tk/

การปรับตัวขึ้นของตลาดครั้งนี้ จะเป็นแค่เรื่องชั่วคราว หรือ กลายเป็นขาขึ้นระยะยาวในครึ่งปีหลัง นักลงทุนคงต้องนั่งศึกษา และวางแผนปรับกลยุทธ์รับมือกันต่อไป

ก่อนจากกัน พาไปดูภาพสุดท้าย ในฝั่งของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ของตลาด เขามีการปรับลดประมาณการ EPS ของหุ้นทั่วโลกในปีนี้ลงไปอีก -0.1% แน่นอนว่า การปรับลด หลักๆมาจากบริษัทจดทะเบียนในยุโรป ที่น่าจะได้รับผลกระทบเต็มๆ แต่ ที่น่าสนใจคือ ตลาดหุ้นเอเชีย และตลาดเกิดใหม่ เริ่มมีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิที่ดีขึ้น ในช่วง 1-3 เดือนที่ผ่านมา หลังจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่แล้ว

EPSรูปที่ 7 : EPS revisions การปรับประมาณการกำไรสุทธิของนักวิเคราะห์ 
แหล่งที่มา : Goldman Sachs Global Weekly Kickstart

ทั้งนี้ มาร์ค โมเบียส นักลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ระดับตำนานของโลก ให้ความเห็นผ่าน CNBC ว่า “เราควรหันมามองที่ตลาดตะวันออก เพราะการชะลอตัวของเศรษฐกิจอเมริกา และสิ่งที่เกิดขึ้นกับยุโรปนั้น ได้ทำให้ผู้คนหันมากระจายความเสี่ยงมากขึ้น และตลาดเกิดใหม่ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก” แล้วคุณละ มองอย่างไรกันบ้าง

ปล. Equity Risk Premium (EPR) คืออะไรดู ที่นี่

แหล่งที่มาข้อมูล :-
http://www.bbc.com/news/uk-politics-eu-referendum-36661918
http://www.tradingeconomics.com/country-list/rating
http://www.investing.com/indices
https://www.finnomena.com/taspong/news-digest/2016/06/30/19/mark-mobius-uk-vote-leave/
Goldman Sachs Global Weekly Kickstart

คำเตือน
• การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
• ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต
• การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน
• การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง
• ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น