OutFlow-Again

เป็นอีกวันที่นักลงทุนไทยไม่อยากใส่ใจกับตลาดหุ้น

ดีที่ วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันมหามงคล ที่เราได้ร่วมใจแสดงพลังให้พ่อหลวงของเรา … เท่านี้ก็สุขใจ

แต่ไหนๆก็ไหนๆ อ่านด้วยใจเป็นกลางนะครับ ขออัพเดทสถานการณ์ และภาพที่ผมเห็น ฯ ตอนนี้การการลงทุนในตลาดหุ้นบ้านเราหน่อย

ผมเห็นสัญญาณบางอย่างซึ่งน่าจะทำให้ตลาดเกิดความกลัวมากขึ้นไปอีก 1 level นั้นก็คือ การอ่อนค่าของเงินบาท ณ ตอนนี้ มันเลยจุดที่จะกลับตัวได้ซะแล้ว

ล่าสุด ค่าเงินบาทเริ่มส่งสัญญาณอ่อนค่าทะลุ 36 THB/USD อีกครั้ง และยังผ่านแนวต้าน Fibonacci Retracement 61.8% ขึ้นมาด้วย มุมมองทางเทคนิค บ่งบอกว่า การอ่อนค่าของค่าเงินบาท จะยังดำเนินต่อไป สะท้อนว่า ฝรั่ง น่าจะใช้เดือน ธ.ค. นี้ ในการปรับพอร์ต ลดน้ำหนักหุ้นไทยจริงๆ

THB

ซึ่งอาการมันเตือนมาหลายอย่างก่อนหน้านี้แล้วนะครับ

1. SET Index หลุด Uptrend Line ระยะยาว ตั้งแต่ปี 2009
2. เกิดสัญญาณ Dead Cross เมื่อกลางปี
3. กำไรสุทธิของตลาดปรับตัวลดลงอย่างน่าใจหาย
4. เศรษฐกิจยังส่อเค้าชะลอตัว และไร้การกระตุ้นระยะสั้นจากภาครัฐฯแล้ว


หากเอาหลัก Behavior Finance เข้ามาจับ
ตอนนี้ ก็อาจพูดได้ว่าเป็นจังหวะซื้อ สำหรับนักลงทุนระยะยาว
แต่ซื้อไปก็คงหนาว เพราะหาข่าวดีแทบไม่มีเลย

ล่าสุด
น้ำมันยังลงต่อ  มาเทรดต่ำกว่า $37
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Dow Jones -230 จุด
ตลาดหุ้นยุโรป ลบเฉลี่ย -1.50-2.00%

ทุกคนพุ่งจุดสนใจไปที่การประชุม FOMC วันที่ 15-16 ธ.ค.
ซึ่งแน่นอนว่า น่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ย
แต่ที่ไม่แน่นอนก็คือ ตลาดจะตอบรับอย่างไรกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในครั้งนี้?

ที่น่าสังเกต และผมใช้เป็นจุดในการวิเคราะห์หลายๆครั้งก็คือ สัญญาณการเคลื่อนไหวของค่าเงิน USD เมื่อมองผ่าน Dollar Index นั้น เรากลับพบว่า ค่าเงิน USD ยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับ สกุลหลักอื่นๆ (ยังไม่ผ่าน 98 จุดขึ้นมา) แสดงให้เห็นว่า เงินไหลออกจาก THB ชัดเจน และไม่ใช่เป็นการอ่อนค่าที่เดียวนะครับ ถ้าไปดูอัตรแลกเปลี่ยนของค่าเงินในเอเชียทั้งหมด จะพบว่า ช่วงนี้ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับ USD ทุกสกุล ไม่เว้นแม้แต่ CNY หรือ หยวน ของจีน ทั้งๆที่เพิ่งเข้าคำนวนในตะกร้า SDR ของ IMF

DXYO

กลัวอะไรกันนักหนา กับอีแค่ เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยนิดๆหน่อยๆ

ปัญหาคือ โลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฯไม่เคยขึ้นดอกเบี้ยเลย ขึ้นครั้งล่าสุดก็คือปี 2004 โน้น และสภาวะเหตุการณ์ในโลกก็แตกต่างจากวันนี้ไปพอสมควร เราจึงหาตัวที่พอจะเทียบเคียงเหตุการณ์ หรือ ใช้อดีตมาคาดการณ์ผลที่จะเกิดในอนาคตค่อนข้างยาก ตลาดมันเลยผันผวนแบบที่เราเห็นนี้ละครับ

เมื่อมันวิเคราะห์ได้ยาก ทางที่ควรเลือกทำก็คือ รอดูผลของมันหลังการประชุม และ React ต่อตลาด ในทิศทางที่มันเคลื่อนไหวหลังจากนั้นแทน ดูจะเป็นกลยุทธ์ที่ปลอดภัยกว่า

ส่วนใครอยากรู้ว่า ในมุมมองของ Technical นั้น ผมดูจุดรับตรงไหน ลึกมากเท่าไหร่ แล้วหวังเด้งได้ช่วงไหน เพื่อเป็นกรณีศึกษาและกำหนดกรอบกลยุทธ์ของตัวเอง สุดสัปดาห์นี้ จะไป Update ใน Tradernomics ให้อ่านกันนะครับ