ในโลกของการลงทุนที่มีความไม่แน่นอน การค้นหาวิธีการสร้างรายได้ที่มั่นคงและลดความเสี่ยงถือเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนมองหา วันนี้เราจะมาพูดถึงหนึ่งในกลยุทธ์การลงทุนที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพ นั่นคือ การลงทุนในตราสารหนี้แบบ Bond Ladder
Bond Ladder คืออะไร
Bond ladder หรือการลงทุนตราสารหนี้แบบขั้นบันได เป็นที่นิยมมากในฝั่งอเมริกา เนื่องจากเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์นักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและสร้างรายได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ ที่เน้นรักษาเงินต้นและผลลัพธ์ของการลงทุนเติบโตงอกเงยมีแต่ขึ้นกับขึ้น โดยทั่วไปแล้ว Bond Ladder จะประกอบไปด้วยการถือตราสารหนี้ที่มีวันครบกำหนดแตกต่างกัน ตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 10 ปีหรือมากกว่านั้น ด้วยแนวทางนี้ นักลงทุนสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยและความผันผวนในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ที่ได้รับดอกเบี้ยอย่างเงินฝาก หรือประกันออมทรัพย์ ที่อัตราดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และยังเน้นรักษาเงินต้นให้อยู่ในระดับเดิม
Bond Ladder แตกต่างจาก Bond Portfolio อย่างไร
ทั้งสองแบบเป็นลักษณะการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการกระจายการลงทุนไปยังตราสารหนี้หลากหลายตัวมากกว่าการกระจุก อย่างไรก็ตามการจัดพอร์ตตราสารหนี้แบบ portfolio ส่วนใหญ่ นักลงทุนจะเน้นเพียงการกระจายการลงทุนไปยังบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลากหลาย แต่การจัดพอร์ตแบบ bond ladder จะนำเรื่องของวันครบกำหนด (Maturity) เข้ามาประกอบการจัดพอร์ตด้วยเพื่อให้ได้กระเเสเงินสดตามที่นักลงทุนตั้งใจไว้เพื่อตอบโจทย์สภาพคล่อง (liquidity)
ทำไม “วันครบกำหนด (Maturity)” ถึงมีความสำคัญ
ในสภาวะดอกเบี้ยทรงตัว อย่างในปี 2020-2022 อายุหรือวันครบกำหนดตราสารหนี้นั้นอาจจะไม่ได้มีนัยสำคัญเนื่องจาก นักลงทุนสามารถลงทุนต่อ (reinvest) เพื่อให้ได้อัตราผลตอบแทนในอัตราเท่าเดิม อย่างไรก็ตามในยุคหลังโควิดที่ธนาคารกลางทั่วโลกมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์แล้วนั้น นักวิเคราะห์หลาย ๆ สถาบันมองว่าต่อไปนี้อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงขาลงโดยเฉพาะในปี 2025-2026 ซึ้งจะทำให้การ reinvest เพื่อให้ได้อัตราผลตอบแทนที่เท่าเดิมนั้นมีความยากลำบากมากขึ้น
วิธีการสร้าง Bond Ladder แบบง่าย ๆ
1. กำหนดงบประมาณ
เริ่มต้นด้วยการกำหนดจำนวนเงินที่นักลงทุนต้องการลงทุนในตราสารหนี้ หรือเลือกจากเป้าหมายว่าอยากจะได้กระเเสเงินสดที่เท่าใดต่อเดือน
2. เลือกระยะเวลาครบกำหนด
ตัดสินใจเกี่ยวกับวันครบกำหนดของตราสารหนี้ที่จะซื้อ โดยนักลงทุนอาจเลือกตราสารหนี้ที่มีวันครบกำหนดตั้งแต่ 1 ปี, 3 ปี, 5 ปี, 7 ปี จนถึง 10 ปี เพื่อสร้างโครงสร้างที่เหมาะสม
3. เลือกตราสารหนี้ที่เหมาะสม
ค้นหาและเลือกตราสารหนี้ที่มีคุณภาพดี เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้บริษัทที่มีเครดิตดี ซึ่งจะช่วยให้การลงทุนของคุณมีความปลอดภัย
บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท ได้พัฒนาโมเดล 5F2M ที่สามารถหลีกเลี่ยงหุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ* หากท่านต้องการรับบริการนี้สามารถติดต่อที่ปรึกษาทางการเงินของกลุ่มฟินโนมีน่า หรือลงแบบฟอร์มได้ที่นี่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ https://forms.gle/iioFXYQodWYJysbd6
4. ลงทุนต่อ (Reinvest)
เมื่อตราสารหนี้ถึงกำหนด ให้ reinvest เงินที่คืนมาในตราสารหนี้ใหม่ เพื่อรักษาโครงสร้าง bond ladder ไว้และสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างการลงทุนแบบ Bond Ladder
เพื่อให้เห็นภาพการลงทุนแบบ Bond Ladder ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองพิจารณาตัวอย่างการสร้างกระแสเงินสดจากการลงทุนในพันธบัตรที่มีวันครบกำหนดแตกต่างกันดังนี้:
- หุ้นที่ 1: ดอกเบี้ย 2.8% อายุ 1 ปี
- หุ้นที่ 2: ดอกเบี้ย 3% อายุ 2 ปี
- หุ้นที่ 3: ดอกเบี้ย 3.2% อายุ 3 ปี
- หุ้นที่ 4: ดอกเบี้ย 3.5% อายุ 4 ปี
- หุ้นที่ 5: ดอกเบี้ย 3.7% อายุ 5 ปี
- หุ้นที่ 6: ดอกเบี้ย 3.7% อายุ 5 ปี (เมื่อครบกำหนดหุ้นที่ 5)
- หุ้นที่ 7: ดอกเบี้ย 4% อายุ 6 ปี (เมื่อครบกำหนดหุ้นที่ 6)
เมื่อหุ้นแต่ละตัวครบกำหนด นักลงทุนสามารถ reinvest เงินที่ได้จากหุ้น 1, 2, 3, 4, และ 5 ในหุ้นใหม่อายุ 5 ปี และเมื่อหุ้นที่ 6 ครบกำหนด ท่านก็สามารถ reinvest ในหุ้นใหม่อายุ 6 ปี ได้เช่นกัน เพื่อรักษาโครงสร้าง bond ladder และสร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่องในอนาคต
Bond Ladder ช่วยแก้ปัญหาการลงทุนอย่างไร
- ลดความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย: การลงทุนในตราสารหนี้ที่มีวันครบกำหนดที่แตกต่างกันช่วยให้นักลงทุนสามารถเฉลี่ยผลตอบแทนของตราสารหนี้ในช่วงเวลาต่าง ๆ ซึ่งเป็นการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด นอกจากนี้ หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น นักลงทุนยังสามารถซื้อตราสารหนี้ในอัตราที่สูงขึ้นได้
- กระจายรายได้: การมีตราสารหนี้หลายชุดช่วยให้นักลงทุนมีรายได้ที่มั่นคงและคาดการณ์ได้ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น หากนักลงทุนมีตราสารหนี้ครบกำหนดในทุกปี จะได้รับเงินคืนที่สามารถนำไปลงทุนใหม่หรือใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้
- ความยืดหยุ่นในการลงทุน: เมื่อลงทุนใน Bond Ladder นักลงทุนมีความยืดหยุ่นในการจัดการกระแสเงินสด เนื่องจากตราสารหนี้แต่ละชุดจะคืนทุนในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ช่วยให้ท่านสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Bond Ladder เหมาะกับนักลงทุนประเภทไหน
- นักลงทุนระยะยาว: นักลงทุนมีเป้าหมายในการสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว Bond Ladder จะช่วยให้มีรายได้ที่สม่ำเสมอ
- นักลงทุนที่ต้องการรายได้คงที่: นักลงทุนที่ต้องการรับรายได้ประจำในรูปแบบของดอกเบี้ยจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนใน Bond Ladder
- นักลงทุนที่มีรับความเสี่ยงจำกัด เน้นรักษาเงินต้น: นักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน กลยุทธ์นี้จะเป็นตัวเลือกที่ดี
สรุป
การลงทุนในตราสารหนี้แบบ Bond Ladder เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้คุณจัดการความเสี่ยงและสร้างรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนที่ต้องการความยืดหยุ่นและลดความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนของตน อย่างไรก็ตามการจัดพอร์ตนั้นอาจมีความซับซ้อนและสภาพคล่องของการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีจำกัด
อย่างไรก็ตาม บลป.เดฟินิท สามารถให้คำแนะนำการลงทุนที่ทั้งตอบโจทย์กระเเสเงินสดและยังมีสภาพคล่องสูง ท่านสามารถติดต่อที่ปรึกษาทางการเงินของกลุ่มฟินโนมีนา หรือลงแบบฟอร์มได้ที่นี่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ https://forms.gle/iioFXYQodWYJysbd6 เพื่อช่วยนักลงทุนในการวางแผนการลงทุนที่ดีที่สุดเพื่อตอบโจทย์การลงทุนของนักลงทุน
Source:
- https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/en/our-roles/monetary-policy/mpc-publication/press-statement/SlideMPC_2024_5.pdf
- https://www.jpmorgan.com/insights/global-research/economy/fed-rate-cuts
- https://www.finnomena.com/definit/5f2m-model/
- https://www.investopedia.com/terms/b/bondladder.asp
คำเตือน: ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในหุ้นกู้ไม่ใช่การฝากเงิน | การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้เป็นเพียงข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนเท่านั้น มิใช่สิ่งชี้นำการซื้อขายตราสารหนี้ที่เสนอขาย และไม่ได้เป็นการรับประกันความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้
ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ บลป.เดฟินิท 02-109-9933
Disclaimer : เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุนจากบริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ จัดทาโดยอาศัยข้อมูลที่จัดหามาจากแหล่งที่เชื่อหรือควรเชื่อว่ามีความน่าเชื่อถือและ/หรือถูกต้อง อย่างไรก็ตามบริษัทไม่ยืนยัน และไม่รับรองถึงความครบถ้วนสมบูรณ์หรือถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว และไม่ได้ประกันราคา,ผลตอบแทนของหน่วยลงทุนหรือโอกาสผิดนัดชำระหนี้ที่ปรากฏข้างต้น แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะปรากฏข้อความที่อาจเป็น หรืออาจตีความว่าเป็นเช่นนั้นได้ บริษัทจึงไม่รับผิดชอบต่อการนาเอาข้อมูล ข้อความ ความเห็น และหรือบทสรุปที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไปใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ บริษัทรวมทั้งบริษัทที่เกี่ยวข้อง ลูกค้า ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทต่าง ๆ อาจจะทำการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ที่ปรากฎในเอกสารฉบับนี้ได้ทุกเวลา ข้อมูล และความเห็นที่ปรากฎอยู่ในเอกสารฉบับนี้ มิได้ประสงค์จะชี้ชวน เสนอแนะ หรือจูงใจให้ตัดสินใจลงทุน หรือซื้อ หรือขายหน่วยลงทุนที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ และข้อมูลอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ผู้ลงทุนควรใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบในการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อหรือขายหลักทรัพย์ บริษัทสงวนลิขสิทธิ์ในข้อมูลที่ปรากฎในเอกสารนี้ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ ทำซ้า ดัดแปลง นำออกแสดง ทาให้ปรากฏหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ซึ่งข้อมูลในเอกสารนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากบริษัท เป็นการล่วงหน้า การกล่าวคัด หรืออ้างอิงข้อมูลบางส่วนตามสมควรในเอกสารนี้ ไม่ว่าในบทความ บทวิเคราะห์ บทวิจัย หรือในเอกสาร หรือการสื่อสารอื่นใดจะต้องกระทำโดยถูกต้อง และไม่เป็นการก่อให้เกิดการเข้าใจผิดหรือความเสียหายแก่บริษัท ต้องรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในข้อมูลของบริษัท และต้องอ้างอิงถึงฉบับที่และวันที่ในเอกสารฉบับนี้ของบริษัทโดยชัดแจ้งการตัดสินใจลงทุน หรือซื้อ หรือขายหน่วยลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ท่านควรทาความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อลักษณะของหน่วยลงทุนแต่ละประเภท และควรศึกษาข้อมูลของบริษัทที่ออกหน่วยลงทุนและข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องก่อนการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อหรือขายหน่วยลงทุน