กว่าจะเป็นกองทุนแนะนำ F-Pick

ในปัจจุบัน กองทุนรวมในประเทศไทยมีตัวเลือกมากมายให้นักลงทุนได้พิจารณานับพันกองทุนกระจายอยู่ในหลากหลายหมวด ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มหุ้นสหรัฐฯ กลุ่มหุ้นจีน หรือกลุ่มตราสารหนี้ 

การเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายและซับซ้อนสำหรับผู้ลงทุนจำนวนไม่น้อย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการนี้ Finnomena Funds ได้จัดทำรายชื่อกองทุนเด่นของแต่ละหมวดกองทุนที่สำคัญหรือที่เราเรียกว่า Finnomena Pick (F-Pick) ซึ่งได้มาจากกระบวนการคัดเลือกกองทุนแนะนำในแต่ละหมวด โดยพิจารณาจากหลากหลายปัจจัยทั้งจากข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative) และข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative) เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือกกองทุนให้กับนักลงทุนที่มีความต้องการจะลงทุนในสินทรัพย์หรือหมวดกองทุนประเภทหนึ่ง แต่ต้องการตัวช่วยในการคัดเลือกกองทุน (Fund Selection) ในหมวดนั้น ๆ ได้อย่างมั่นใจและสะดวกรวดเร็ว

เปิดกระบวนการคัดกองเด็ด F-Pick

1. คัดกรองเบื้องต้นด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) 

จากหลากหลายกองทุน เราได้คัดกรองกองทุนในเบื้องต้นที่มีศักยภาพด้วยข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้ Finnomena 3D Diagram ซึ่งประกอบไปด้วยผลตอบแทนและความเสี่ยงในอดีต ได้แก่ ผลตอบแทน ความผันผวน และขนาดของการขาดทุนสูงสุด โดยใช้จากหลากหลายกรอบระยะเวลาทั้ง 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี 

การคัดกรองด้วยผลการดำเนินงานในอดีตเป็นเพียงการคัดกรองเบื้องต้นเพื่อตัดกองทุนที่มีผลการดำเนินงานระยะยาวในอดีตที่ย่ำแย่อย่างชัดเจนออก อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถใช้เป็นผลลัพธ์สุดท้ายได้เนื่องจากผลการดำเนินงานในอดีตไม่ใช่สิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต เราจำเป็นจึงต้องใช้ขั้นตอนนี้ในการคัดกรองอย่างหยาบเท่านั้น และนำกองทุนที่เหลือเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกขั้นถัดไป

2. คัดเลือกด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)

หลังจากผ่านการคัดกรองด้วยข้อมูลเชิงปริมาณแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาจากข้อมูลเชิงคุณภาพในหลากหลายแง่มุม โดยแบ่งออกเป็น 4 มิติหลัก ได้แก่

  1. Policy and Process: พิจารณานโยบายการลงทุน กระบวนการลงทุน ตัวชี้วัดการลงทุน การบริหารความเสี่ยง และนโยบายการจัดการค่าเงิน (FX) เพื่อประเมินว่านโยบายและกระบวนการต่าง ๆ มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุน มีความสมเหตุสมผล และดูมีประสิทธิภาพหรือไม่
  2. People and Profile: ศึกษาโครงสร้างองค์กร โครงสร้างทีมงาน รวมถึงประวัติผู้จัดการกองทุน และความต่อเนื่องในการบริหารกองทุน เพื่อประเมินถึงความน่าเชื่อถือ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของทีมบริหาร
  3. Portfolio: วิเคราะห์สินทรัพย์ที่กองทุนถือครอง การจัดพอร์ต และการซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อดูความสอดคล้องกับกระบวนการและกลยุทธ์ที่กองทุนได้ระบุไว้
  4. Partnership: การสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกและการติดตามให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งอาจรวมไปถึงการการพูดคุยโดยตรงกับผู้จัดการกองทุนเพื่อทำความเข้าใจแนวทางการบริหารในเชิงลึก

Case Study: กองทุน UOBSA

UOBSA เป็นกองทุนหุ้น Asia ex Japan ลงทุนในกองทุนหลัก United Asia Fund และบริหารแบบ Active 

3D-Diagram ของกองทุน UOBSA
Source: Finnomena as of 19 Sep 2024

กองทุน UOBSA ผ่านการวิเคราะห์เชิงปริมาณในช่วงเวลา 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี โดยเมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนในหมวดหมู่เดียวกัน พบว่าสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ผลการดำเนินงานของกองทุนหลักก่อนและหลังการใช้ AI
Source: UOBAM as of 31 March 2024

ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2020 กองทุน UOBSA ได้นำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในกระบวนการลงทุน โดยช่วยในการคัดเลือกหุ้นจากหลายหมื่นตัวให้เหลือเพียง 100 บริษัท โดยพิจารณาจาก Fundamental, Macro และ Technical หลังจากนั้นจึงให้นักวิเคราะห์ทำการวิเคราะห์เชิงลึกต่อ เพื่อคัดลือกหุ้นให้เหลือเพียง 50 บริษัท โดยน้ำหนักของแต่ละ Sector และบริษัทจะถูกจำกัดความเสี่ยงผ่านกระบวนการ Optimization ซึ่งถึงแม้ในบางปีอาจมีผลการดำเนินงานต่ำกว่าดัชนีชี้วัด แต่โดยรวมแล้วผลการดำเนินงานที่ผ่านมายังคงทำได้ดี 

ประวัติผู้จัดการกองทุน Paul Ho
Source: Singapore Fintech Festival

ด้านผู้จัดการกองทุน Paul Ho มีประสบการณ์ในวงการการลงทุนมากกว่า 28 ปี และทำงานที่ UOB Asset Management (UOBAM) ตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งสะท้อนถึงความต่อเนื่องของกองทุน นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในกระบวนการลงทุนของกองทุน โดยก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานในกองทุน Hedge Fund และที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) พร้อมทั้งจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัย Oxford ซึ่งแสดงถึงความเชี่ยวชาญและความสามารถในการบริหารกองทุนอย่างมืออาชีพ

Portfolio Characteristics ของกองทุนหลัก
Source: UOBAM as of September 2024

พอร์ตโฟลิโอของกองทุนหลักมีการลงทุนในหุ้นแต่ละตัวประมาณ 2%-3% เมื่อไม่นับรวม Top 3 Holdings โดยกองทุนจะปรับน้ำหนักการลงทุนให้ใกล้เคียงกัน ซึ่งสไตล์พอร์ตเป็นแบบไม่ยึดตามดัชนีชี้วัด (Benchmark Agnostic) อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา กองทุนได้เพิ่มการลงทุนในหุ้น TSMC เนื่องจากพบปัญหาความกระจุกตัวของหุ้น ส่งผลให้กองทุนมีผลการดำเนินงานต่ำกว่าดัชนีชี้วัด ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา กองทุนจึงได้ทบทวนกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) โดยการปรับน้ำหนักการลงทุนในหุ้น TSMC เมื่อเทียบกับดัชนีชี้วัด เพื่อควบคุมความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของหุ้นขนาดใหญ่ การปรับกลยุทธ์ในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของกองทุนในการบริหารความเสี่ยง และความสามารถในการปรับตัวต่อความผันผวนของตลาดและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Case Study: กองทุน KKP GNP 

กองทุน KKP GNP เป็นกองทุนรวมหุ้นโลกที่ได้รับเรตติ้งจาก Morningstar สูงถึง 5 ดาว มีกองทุนหลัก คือ Capital Group New Perspective Fund ที่บริหารจัดการแบบเชิงรุก (Active Management) โดย Capital Group 

ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก
Source: Capital Group as of 31 July 2024

ผลการดำเนินงานของกองทุนหลักในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าดัชนีชี้วัด เนื่องจากในปี 2022 หุ้นเติบโต (Growth Stocks) ปรับตัวลงอย่างรุนแรง อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงพอร์ตโฟลิโอ พบว่ากองทุนมีสไตล์การลงทุนแบบ Growth Tilt หรือเน้นลงทุนในหุ้นเติบโตเป็นหลัก จึงทำให้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าดัชนีชี้วัด อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การลงทุนที่ใช้ในกองทุนนี้ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 50 ปี ตั้งแต่ปี 1973 และพิสูจน์แล้วว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่เอาชนะดัชนีชี้วัดได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแตกต่างจากกองทุนส่วนใหญ่ เนื่องจากการเอาชนะดัชนีชี้วัดในระยะยาว ทั้งในช่วง 5 ปี 10 ปี หรือแม้แต่ตั้งแต่กองทุนถูกจัดตั้งขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากในอุตสาหกรรม

Investment Team ของกองทุนหลัก
Source: Finnomena Funds, Capital Group as of 31 July 2024

ทีมลงทุนของกองทุนมีการแบ่งหน้าที่การบริหารอย่างชัดเจน สมาชิกแต่ละคนมีประสบการณ์การทำงานยาวนานและเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนอย่างลึกซึ้ง โดยสมาชิกที่มีประสบการณ์น้อยที่สุดในทีมทำงานกับ Capital Group มานานถึง 13 ปี ขณะที่ผู้มีประสบการณ์มากที่สุดทำงานมานานถึง 32 ปี ความต่อเนื่องนี้เกิดจากโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทที่เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ส่งผลให้พนักงานอยู่กับบริษัทในระยะยาว ทำให้กลยุทธ์การลงทุนของกองทุนสามารถสืบทอดได้อย่างมั่นคงต่อเนื่องมากกว่า 50 ปี และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้แม้จะผ่านหลากหลายวัฏจักรเศรษฐกิจ

Portfolio Characteristics ของกองทุนหลัก
Source: Capital Group as of 31 August 2024

กองทุนหลักถือหุ้นทั้งหมด 247 ตัว ซึ่งนับว่ามีการกระจายการลงทุนในหุ้นจำนวนมากและหลากหลาย ไม่ได้กระจุกตัวอยู่แค่ในสหรัฐฯ เหมือนกองทุนหุ้นโลกอื่น ๆ โดยมีการลงทุนในบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น Novo Nordisk ผู้นำด้านเภสัชกรรมที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และ TSMC บริษัทผลิตชิปรายใหญ่ของไต้หวัน ทำให้กองทุนมีการกระจายความเสี่ยงอย่างชัดเจน พร้อมทั้งมี Turnover ที่ต่ำ จึงเป็นกองทุนที่สามารถเข้าถึงโอกาสการลงทุนทั่วโลกได้อย่างรอบด้านและเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพอร์ตการลงทุนที่ครอบคลุมทุกมิติ


Finnomena จัดให้ครบทุกทางเลือกการลงทุนในกองทุนรวม

ในแพลตฟอร์มของ Finnomena เราแบ่งบริการออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ Portfolio ซึ่งเป็นการจัดพอร์ตการลงทุนแบบครบวงจรตามคำแนะนำที่คัดสรรมาให้เหมาะกับเป้าหมายของนักลงทุนแต่ละคน และ DIY หรือการเลือกลงทุนรายกองทุนด้วยตนเอง

1. Port

Portfolio
Source: Finnomena Funds as of 27 September 2024

เรามีการจัดพอร์ตโฟลิโอมากกว่า 30 พอร์ต ให้นักลงทุนเลือกสรรตามความเหมาะสมและเป้าหมายการลงทุน โดยมาพร้อมกับคำแนะนำเชิงลึกและการแจ้งเตือนเมื่อถึงเวลาปรับพอร์ต เพื่อให้การลงทุนของนักลงทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อทุกความเคลื่อนไหวของตลาด

2. DIY / รายกอง

เราได้แบ่งออกเป็นอีก 3 หมวดหมู่หลักตามความสำคัญ เพื่อช่วยให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

Opportunity Hub
Source: Finnomena Funds as of 27 September 2024

แหล่งรวมโอกาสการลงทุนจาก Finnomena ประกอบด้วย FundTalk, Mr.Messenger และ MEVT ซึ่งนำเสนอการวิเคราะห์จังหวะและกลยุทธ์การลงทุนของกองทุนต่าง ๆ โดยแต่ละ Call ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์นักลงทุนในหลากหลายสไตล์ เพื่อช่วยให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้ตามแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด

กองทุนเด็ดจาก Finnomena
Source: Finnomena Funds as of 27 September 2024

หากนักลงทุนดูตาม Call แล้วยังไม่พบกองทุนที่ตรงใจ เราขอแนะนำ F-Pick ซึ่งเป็นการคัดเลือกกองทุนที่ดีที่สุดในแต่ละหมวดหมู่ โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์และคัดกรองอย่างเข้มข้น 

Fund Filter จาก Finnomena
Source: Finnomena Funds as of 27 September 2024

อย่างไรก็ดี หากนักลงทุนยังไม่พบกองทุนที่ตรงใจ เรายังมี Fund Filter ซึ่งช่วยให้นักลงทุนสามารถกรองกองทุนตามหมวดหมู่ที่สนใจ พร้อมทั้งสามารถจัดเรียงตามผลการดำเนินงาน เช่น Sharpe Ratio หรือการจ่ายปันผล นอกจากนี้ ยังสามารถเปรียบเทียบข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น ขนาดสินทรัพย์ (Asset Size) และนโยบายการลงทุน เพื่อให้นักลงทุนสามารถเลือกกองทุนได้อย่างละเอียดและตอบโจทย์ความต้องการได้มากที่สุด

จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

TSF2024