เงินเดือน 20,000 บาท แบ่งใช้-เก็บ ยังไงดี?
เคยเจอปัญหานี้กันมั้ยครับ? เงินเดือนออกทีไรก็ใช้ไปเรื่อย ๆ เหลือก็ค่อยเก็บ ไม่พอก็ยืมเงินในอนาคตอย่างใช้บัตรเครดิตรูดไปก่อน วนไปอย่างนี้ทุกเดือน ถ้าอย่างนั้นมาลองปรับการใช้เงินกันใหม่ดีกว่าครับ โดยแอดยกตัวอย่างมาให้ดูเป็น 3 สายด้วยกัน ทั้งสายชิวใช้คนเดียว สายดูแลครอบครัวด้วย และสายประหยัดเน้นเก็บ

สายชิลใช้คนเดียว

เงินเดือน 20,000 บาท แบ่งใช้-เก็บ ยังไงดี?

Step 1 : เงินเดือน 20,000 บาท
Step 2 : หักออมก่อนเลย 10% เท่ากับ 2,000 บาท โดยเราจะตั้งเป้าหมายเป็น 3 ระยะ ดังนี้
  1. ระยะสั้น 20% (400 บาท) ไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน เผื่อเจ็บป่วยหรือตกงาน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในสินทรัพย์สภาพคล่อง หากจำเป็นต้องใช้เงินก็สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที เช่น บัญชีออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือซื้อประกันสุขภาพไว้ดูแลตอนเจ็บป่วย
  2. ระยะกลาง 50% (1,000 บาท) ไว้เป็นค่าใช้จ่ายซื้อบ้าน แต่งงาน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในพอร์ตลงทุนความเสี่ยงปานกลาง เช่น กองทุนรวมผสม พันธบัตรรัฐบาล
  3. ระยะยาว 30% (600 บาท) ไว้ใช้ยามเกษียณอายุ แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ใน RMF, ประกันบำนาญ หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

Step 3 : หักค่าใช้จ่าย โดยเราจะแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

  1. ค่าใช้จ่ายคงที่ที่ต้องจ่ายทุกเดือน อย่างเช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับที่อยู่อาศัย พวกค่าเช่า ค่าน้ำ-ไฟ ค่าของใช้จิปาถะ ประมาณ 9,000 บาท
  2. ค่าใช้จ่ายผันแปร ที่สามารถปรับเปลี่ยนหรือกำหนดเองได้ อย่างเช่น ค่ากิน ค่าเดือนทาง ตั้งไว้ที่ 9,000 บาท

ปล. สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของรายได้และรายจ่ายของแต่ละคน

สายดูแลพ่อแม่ด้วย

เงินเดือน 20,000 บาท แบ่งใช้-เก็บ ยังไงดี?

Step 1 : เงินเดือน 20,000 บาท

Step 2 : หักออมก่อนเลย 10% เท่ากับ 2,000 บาท โดยเราจะตั้งเป้าหมายเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะสั้น 20% (400 บาท) ไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน เผื่อเจ็บป่วยหรือตกงาน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในสินทรัพย์สภาพคล่อง หากจำเป็นต้องใช้เงินก็สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที เช่น บัญชีออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือซื้อประกันสุขภาพไว้ดูแลตอนเจ็บป่วย
  2. ระยะกลาง 50% (1,000 บาท) ไว้เป็นค่าใช้จ่ายซื้อบ้าน แต่งงาน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในพอร์ตลงทุนความเสี่ยงปานกลาง เช่น กองทุนรวมผสม พันธบัตรรัฐบาล
  3. ระยะยาว 30% (600 บาท) ไว้ใช้ยามเกษียณอายุ แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ใน RMF, ประกันบำนาญ หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

Step 3 : หักค่าใช้จ่าย โดยเราลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง เพื่อจะได้มีเพียงพอที่จะดูแลพ่อแม่ร่วมด้วย แต่จะแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันเหมือนเดิม ดังนี้

  1. ค่าใช้จ่ายคงที่ที่ต้องจ่ายทุกเดือน อย่างเช่น ให้เงินพ่อแม่ ค่าใช้จ่ายสำหรับที่อยู่อาศัย พวกค่าเช่า ค่าน้ำ-ไฟ ค่าของใช้จิปาถะ โดยต้องทำการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงบ้าง อย่างเช่นเปลี่ยนมาใช้เน็ตรายปีที่ตกเดือนละ 200 บาทแทน จะคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินประมาณ 11,000 บาท
  2. ค่าใช้จ่ายผันแปร ที่สามารถปรับเปลี่ยนหรือกำหนดเองได้ อย่างเช่น ค่ากินที่เน้นทำอาหารทานเองที่บ้าน ค่าเดือนทาง ตั้งไว้ที่ 7,000 บาท

ปล. แนะนำหารายได้เสริมเพื่อเพิ่มรายได้ ให้การเงินไม่ตึงจนเกินไป ดูแลครอบครัวแล้วอย่าลืมดูแลอนาคตตัวเองด้วยครับ และสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของรายได้และรายจ่ายของแต่ละคน

สายเน้นเก็บ

เงินเดือน 20,000 บาท แบ่งใช้-เก็บ ยังไงดี?

Step 1 : เงินเดือน 20,000 บาท

Step 2 : หักออมก่อนเลย 25% เท่ากับ 5,000 บาท เน้นเก็บโดยเฉพาะ โดยเราจะตั้งเป้าหมายเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะสั้น 20% (1,000 บาท) ไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน เผื่อเจ็บป่วยหรือตกงาน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในสินทรัพย์สภาพคล่อง หากจำเป็นต้องใช้เงินก็สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที เช่น บัญชีออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือซื้อประกันสุขภาพไว้ดูแลตอนเจ็บป่วย
  2. ระยะกลาง 50% (2,500 บาท) ไว้เป็นค่าใช้จ่ายซื้อบ้าน แต่งงาน แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในพอร์ตลงทุนความเสี่ยงปานกลาง เช่น กองทุนรวมผสม พันธบัตรรัฐบาล
  3. ระยะยาว 30% (1,500 บาท) ไว้ใช้ยามเกษียณอายุ แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ใน RMF, ประกันบำนาญ หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

Step 3 : หักค่าใช้จ่าย โดยเราลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง เพื่อจะได้มีเงินเก็บมากขึ้น แต่จะแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันเหมือนเดิม ดังนี้

  1. ค่าใช้จ่ายคงที่ที่ต้องจ่ายทุกเดือน อย่างเช่น ให้เงินพ่อแม่ ค่าใช้จ่ายสำหรับที่อยู่อาศัย พวกค่าเช่า ค่าน้ำ-ไฟ ค่าของใช้จิปาถะ โดยต้องทำการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงบ้าง อย่างเช่นเปลี่ยนมาใช้เน็ตรายปีที่ตกเดือนละ 200 บาทแทน จะคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้เกินประมาณ 7,500 บาท
  2. ค่าใช้จ่ายผันแปร ที่สามารถปรับเปลี่ยนหรือกำหนดเองได้ อย่างเช่น ค่ากินที่เน้นทำอาหารทานเองที่บ้าน ลดค่ากาแฟจากทุกวันเหลือแค่วันเว้นวัน หรือทำเองที่บ้านแทน ตั้งไว้ที่ 7,000 บาท

Step 4 : ดูว่าคงเหลือเท่าไหร่ ซึ่งอาจจะให้เป็นรางวัลตัวเองอย่างบุฟเฟต์สักมื้อ หรือจะเก็บเพิ่มก็ได้เช่นกัน

ปล. ยิ่งเราประหยัดและลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นได้มากเท่าไหร่ ก็จะเหลือเก็บมากขึ้นเท่านั้น และสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของรายได้และรายจ่ายของแต่ละคน

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/finspace.co/posts/pfbid089qurhjxpagncLQAi8m3RzuAxv72W3PhWvW5MLBQRiPxSPxdpe3eZYuFgR5726aYl

TSF2024