หมายเหตุ: บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้
Key Takeaways
- Core PPI MoM และ PPI MoM มีแนวโน้มที่จะลดลง
- Core Inflation Rate MoM และ Inflation Rate MoM มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
- Core Retail Sales MoM มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
WEEKLY TONE : BUY WEEK
สำหรับสัปดาห์นี้ มีตัวเลขทางเศรษฐกิขที่สำคัญออกมาหลายตัวมาก ๆ อาจทำให้ตลาดนั้นมีความผันผวนในช่วงเวลาหนึ่ง ตัวเลขที่สำคัญก็จะมี Core PPI MoM มีแนวโน้มที่จะลดตัวลง แสดงว่าราคาต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจ อาจนำไปสู่การลดราคาสินค้าในอนาคต Core CPI MoM มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น แสดงว่าราคาสินค้าและบริการโดยรวม ยกเว้นอาหารและพลังงานสูงขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณเงินเฟ้อ Core Retail Sales MoM เพิ่มขึ้น แสดงว่าผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง ใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณเศรษฐกิจดีขึ้น สำหรับในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย FED อาจกังวลเรื่องเงินเฟ้อจาก Core CPI ที่เพิ่มขึ้น แต่การลดลงของ Core PPI อาจช่วยบรรเทาความกังวลได้บ้าง ในส่วนของตลาดคริปโทฯ ตัวเลขที่ออกมาแบบไม่ได้ไปในทางเดียวก็สามารถทำให้ตลาดมีความผันผวนได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งการที่ซื้อขายระยะสั้น หรือ Day Trade ในช่วงนี้จะได้รับความเสี่ยงในระดับที่สูงมาก แต่อย่างไรก็ตามนักลงทุนที่เน้นเล่น Long Term ก็ยังสามารถซื้อในส่วนของ Altcoin ได้ เนื่องจากราคานั้นยังลดลงมาเยอะมาก และตอนนี้ราคาก็ยังขยับขึ้นไม่ไกลจากจุดที่ต่ำ ทำให้การซื้อ Altcoin ในช่วงนี้สามารถสร้างผลกำไรได้ดีกว่าการซื้อเหรียญที่มี Market Cap ใหญ่ อย่าง Bitcoin อย่างแน่นอน
Important Economic Data this week
1. Core PPI MoM
Core PPI หรือ Core Producer Price Index คือ จะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในราคาขายสำหรับสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตได้ขายโดยที่ไม่รวมถึงสินค้าประเภทอาหารและพลังงาน ดัชนีราคาผู้ผลิตจะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในราคาจากมุมองของผู้ขาย เมื่อผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตสินค้าและบริการนั้นก็น่าจะเป็นไปได้มากว่าผู้ผลิตจะให้ผู้บริโภคแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นแทน ดังนั้นดัชนีราคาผู้ผลิตนี้จึงเชื่อว่าเป็นดัชนีสำคัญที่จะชี้วัดภาวะเงินเฟ้อของผู้บริโภค
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core PPI MoM นั้นมีแนวโน้มที่จะลดตัวลงจาก 0.4% เหลือ 0.2%
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-producer-prices-mom
การคาดการณ์
และพลังงานลดลง แสดงให้เห็นถึงแรงกดดันด้านราคาสินค้าเริ่มลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้ FED มีแนวโน้มพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยให้ลดมากกว่าครั้งเดียวหรือไม่
2. Core CPI and Core Inflation Rate
Core CPI หรือ Core Consumer Price Index จะสามารถใช้ชื่อเรียกอีกอย่างได้คือ Core Inflation Rate หรือแปลว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ที่หักสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออก เนื่องจากเป็นหมวดที่มีความเคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล และอยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงิน เหลือแต่รายการสินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core CPI มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 0.1% เหลือ 0.3%
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-producer-prices-mom
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นของ Core CPI หมายความว่า ราคาสินค้าและบริการโดยรวมยกเว้นอาหารและพลังงานมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น และยังเป็นปัญหาอย่างมากต่อ FED ในการตัดสินใจในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มของ Core CPI ยังส่งสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อนั้นยังคงเป็นปัญหาอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจต่ออัตราดอกเบี้ยของ FED นั้นยังต้องคำนวณกับตัวชี้วัดอื่น ๆ อีกด้วย
3. Core Retail Sales MoM
Core Retail Sales MoM หรือ ดัชนียอดค้าปลีก เป็นการวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายอดขายทั้งหมดในระดับการค้าปลีก ซึ่งเป็นดัชนีที่สำคัญมากที่สุดที่บ่งชี้ถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งคิดเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม สำหรับ Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core Retail Sales MoM มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 0% เป็น 0.2%
Source : https://tradingeconomics.com/united-states/retail-sales
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การที่ Core Retail Sales MoM มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น หมายความว่า ยอดขายสินค้าค้าปลีกโดยรวมยกเว้นรถยนต์และน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของ Core Retail Sales บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจมีกำลังซื้อที่ดี ผู้บริโภคใช้จ่ายเงินมากขึ้น สถานการณ์นี้อาจทำให้ FED มีความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อมากขึ้น เนื่องจากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอาจกดดันราคาสินค้าให้สูงขึ้นอีก การเพิ่มขึ้นของ Core Retail Sales มักส่งผลดีต่อตลาดหุ้น เพราะบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจที่แข็งแรง
CRYPTOCURRENCY EVENT THIS WEEK
Credit from Layergg and Coindar
Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล
12 สิงหาคม
- $MKR – เปิดตัวโปรเจกต์ Spark Tokenization Grand Prix
13 สิงหาคม
- การประกาศค่า U.S. PPI
14 สิงหาคม
- การประกาศค่า U.S. CPI
- $MNDE – เปิดตัว Stake Auction Marketplace
15 สิงหาคม
- $ALEX – xBTC และ xUSD integration
16 สิงหาคม
- $FTT – การโหวต FTX Repayment Process
Weekly Crypto Must Watch
Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap
ในส่วนของ Funding rate สำหรับอาทิตย์นี้มีการฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ แสดงถึงมุมมองของนักลงทุนต่อตลาดที่ยังคงเป็นเชิงลบ และมีการเปิดสถานะชอร์ตที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรจับตามอง Funding rate ของ Altcoins ที่หากติดลบมาก อาจทำให้เกิด Short squeeze ในอนาคตได้
Source : https://www.coinglass.com/BitcoinOpenInterest
ในฝั่งของ Bitcoin Open Interest ปริมาณเงินลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนนึงมาจากการ Liquidate มหาศาลที่เป็นผลกระทบมาจากความกังวลเศรษฐกิจถดถอยในสัปดาห์ก่อน แสดงถึงการ Risk-off ของนักลงทุนโดยการปิดสถานะไป
Source : https://farside.co.uk/?p=997
ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกจาก Spot Bitcoin ETFs รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 167 ล้านเหรียญ ซึ่ง IBIT ก็มีแรงซื้อน้อยลง ในขณะที่ FBTC, ARKB, และ GBTC ก็มีแรงเทขายออกมาอย่างต่อเนื่อง ภาพรวมทำให้กระแสเงินสุทธิออกมาติดลบ บ่งบอกถึงมุมมองของนักลงทุนที่ยังมอง Bitcoin เป็นสินทรัพย์เสี่ยง และเมื่อต้องมีการ Risk-off ก็มีแรงเทขายจากนักลงทุนสถาบันออกมา
Source : https://farside.co.uk/?p=1518
ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลเข้าทั้งสิ้น 104.8 ล้านเหรียญ แรงซื้อส่วนใหญ่มาจาก ETHA และ FETH กว่า 233 ล้านเหรียญ ประกอบกับการที่ ETHE ของ Grayscale มีแรงเทขายที่น้อยลงเรื่อย ๆ ทำให้กระแสเงินสุทธิเป็นบวก นอกจากนี้ หากพิจารณาปริมาณเงินที่ไหลเข้าในวันที่ 5 และ 6 สิงหาคม 2567 ที่มีปริมาณสูงมาก แสดงถึงมุมมองของนักลงทุนสถาบันต่อการร่วงของราคา Ethereum ว่าเป็นโอกาสในการเข้าซื้อที่ดี
Liquidity Contraction
สัปดาห์ที่ผ่านมา จากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย สงคราม และการไหลกลับของเม็ดเงินที่ Carry trade เงินเยน จนทำให้เกิดเหตุการณ์ Black Monday ที่ทุกสินทรัพย์ร่วงลงพร้อมกันแบบที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งตลาดคริปโตเคอร์เรนซีก็ได้รับผลกระทบจากความกังวลของ Macroeconomics ในครั้งนี้ ส่งผลให้เกิด Liquidation ในตลาด Futures ครั้งใหญ่กว่า $1.1B และราคา Bitcoin ได้ทำ Drawdown ครั้งใหญ่ที่สุดใน Cycle นี้ที่ -32% จากจุดสูงสุด
Source : https://www.coinbase.com/institutional/
ปริมาณ USDC ที่ถูกกู้ยืมบน Aave เชน Ethereum แสดงให้เห็นว่า ตัวเลขตกลงกว่า 20% จาก $1.43B เหลือเพียง $1.14B ซึ่งนับว่าเป็นการลดลงที่เยอะที่สุดตั้งแต่มีการเปิดตัว Aave V3 เลยทีเดียว โดยเหตุการณ์ครั้งนี้ หนึ่งในเหรียญที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ Ethereum เนื่องจาก Ethereum เป็นเหรียญที่ถูกนำไปใช้ในการค้ำประกันเพื่อกู้เงินออกมามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ Bitcoin หรือ Solana ทำให้การ Liquidation ครั้งใหญ่ส่งผลให้เกิดวัฎจักรขาลงตามมา ในวันที่ 4 สิงหาคม 2567 ปริมาณเงินจากสถานะลองที่ถูก Liquidate ของ Ethereum อยู่ที่ $261M ซึ่งนับว่าเกือบเทียบเท่ากับ Bitcoin ที่ $281M
เหตุการณ์ดังกล่าวประกอบกับการเทขาย Ethereum ครั้งใหญ่ของ Jump Crypto ทำให้เกิดเป็นภาพลบต่อ Ethereum มากกว่าเหรียญอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2567 ได้มีแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันเข้ามาใน Ethereum Spot ETF เป็นจำนวนมากถึง 147 ล้านเหรียญ บ่งบอกว่านักลงทุนสถาบันอาจจะมองเป็นโอกาสในการเข้าซื้อที่ดี
Source : https://insights.glassnode.com/the-week-onchain-week-32-2024/
การปรับตัวลดลงของราคาอย่างรุนแรง ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มทำการตัดขาดทุน รวมเป็นจำนวนเงินกว่า $1.38B ซึ่งนับว่าเป็นการรับรู้การขาดทุนที่ใหญ่เป็นอันดับ 13 ในประวัติศาสตร์ และเมื่อพิจารณาสัดส่วนของนักลงทุนที่ทำการตัดขาดทุน จะสังเกตได้ว่า กว่า 97% เป็นนักลงทุนระยะสั้น
ข้อมูล MVRV ของนักลงทุนระยะสั้น สามารถบ่งบอกถึงพฤติกรรมของนักลงทุนกลุ่มนี้ได้จากกำไรขาดทุนของสถานะ ข้อมูลในอดีตแสดงให้เห็นว่า ถ้านักลงทุนระยะสั้นขาดทุนประมาณนึง จะทำให้เกิดแรงเทขายที่น้อยลง โดยปัจจุบัน MVRV อยู่ที่ 0.84 ซึ่งนับว่าเป็นจุดที่ต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤต FTX ในปี 2022 อาจจะเป็นสัญญาณของ Local Bottom ในระยะสั้น
Source : https://insights.glassnode.com/the-week-onchain-week-32-2024/
อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในตลาดยังค่อนข้างต่ำ จากนักลงทุนรายย่อยที่ยังไม่ได้เข้ามามากนัก ทำให้การลงทุนในเหรียญ Altcoin ที่จะมีกำหนดการปล่อยเหรียญจำนวนมหาศาลในอนาคต เป็นสิ่งที่ควรระมัดระวัง
WEEKLY TECHNICAL ANALYSIS
by Cryptomind Advisory
BTC/USDT
$BTC มีการ Retrace จากการลงรุนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ราคาอยู่ในกรอบได้อีกครั้ง จุดสำคัญของการรักษา Momentum ราคาในสัปดาห์ข้างหน้าคือการที่ราคาไม่หลุด $54,000 เพราะทำให้เป็นขาลงที่ชัดเจน ในระยะสั้นแล้วหากราคาสามารถยืนเหนือแนวรับ $56,500 ได้อาจทำให้ $BTC ในช่วงข้างหน้านั้นมีโอกาสกลับตัวได้ โดยอาจทำราคา Sideway Up ไปก่อนในช่วงแรก
แนวต้าน : $61,000 | $67,000 | $73,500
แนวรับ : $56,500 | $52,500 | $48,000
ETH/USDT
$ETH มีการ Retrace ขึ้นมาหลังจากลงรุนแรงในช่วงสัปดาห์ที่แล้วโดยขึ้นมาพร้อมกับการมี Bullish Divergence ใน RSI ระยะสั้นอีกด้วย อย่างไรก็ตามหลังจากการ Retrace ขึ้นมามีโอกาสที่ราคาจะ Sideway หรือ Sideway Down ออกไปก่อนในช่วงข้างหน้าเนื่องจากราคาหลุดกรอบชุดสะสมขนาดใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การกลับตัวเป็นขาขึ้นอีกครั้งนั้นอาจจะต้องมีการสร้างชุดสะสมอีกระยะหนึ่งก่อนที่จะมีการเคลื่อนที่ของราคาที่รุนแรงได้
แนวต้าน : $2,870 | $3,350 | $3,700
แนวรับ : $2,400 | $2,125 | $1,870
ASSET ALLOCATION
by Cryptomind Advisory
“มีความเป็นไปได้สูง” ของการลดดอกเบี้ยของ FED จะมาถึงในเดือนกันยายน และ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% และการมาของ Ethereum spot ETF และมุมมองเชิงบวกมาก ๆ ต่อตลาดคริปโทในสหรัฐในเชิงการเมืองที่อาจจะเห็นภาพชัดเจนในไตรมาสที่ 4 และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง
BITCOIN 40%
SELECTIVE ALTCOINS (ETH, LAYER 2 ,LSD) 40%
STABLECOIN 20%
Merkle Capital
ที่มา: https://merkle.capital/articles/Merkle-Weekly-Snapshot-13th-16th-August-2024
คำเตือน
สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ | ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต | ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อเสนอการลงทุนหรือการจัดการใด ๆ ของการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล | เนื้อหาข้างต้นเป็นการรวบรวมเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลในอดีตอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล