หลังตลาดหุ้นจีนทั้ง ดัชนี CSI 300 และดัชนี Hang Seng ปรับตัวทำจุดต่ำสุดใหม่นับตั้งแแต่ปี 2019 และ 2009 ตามลำดับ จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่อ่อนแอ ประกอบกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการเผชิญพายุปัญหาอสังหาริมทรัพย์ครั้งใหญ่ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงจนทำให้เกิดภาวะเงินผืด แต่ต้นสัปดาห์นี้มีข่าวที่ทำให้นักลงทุนหุ้นจีนใจชื้นขึ้นได้บ้าง และอาจจะเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญของตลาดหุ้นจีนก็เป็นได้
รูปที่ 1: Reserve Requirement Ratio ของธนาคารพาณิชย์จีน
Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 24/01/2024
โดยเมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนประกาศลดอัตราการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.5% คาดว่าจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องระยะยาวได้ 1 ล้านล้านหยวน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2024 ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ สามารถปล่อยสินเชื่อและซื้อพันธบัตรเพื่อหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน
รูปที่ 2: มาตรการพยุงตลาดหุ้นจีนโดยการจัดสรรเงินลงทุนเพื่อเข้าซื้อหุ้นจีนในประเทศ
Source: Bloomberg News as of 23/01/2024
ก่อนหน้าที่จะมีข่าวการปรับลด RRR ในวันที่ 23 มกราคมก็มีแหล่งข่าวเปิดเผยว่า ทางการจีนกำลังวางแผนจัดสรรเงินที่อยู่ในต่างประเทศของเหล่าบริษัทรัฐวิสาหกิจ มูลค่ากว่า 2 ล้านล้านหยวน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนกองทุนรักษาเสถียรภาพ (stabilization fund) เพื่อซื้อหุ้นในตลาดแผ่นดินใหญ่ (onshore) อีกทั้งยังมีแผนจัดสรรเงินของกองทุนท้องถิ่นเพื่อลงทุนหุ้นในประเทศผ่าน China Securities Finance Corp. หรือ Central Huijin Investment Ltd. เป็นจำนวน 3 แสนล้านหยวนอีกด้วย แหล่งข่าวคาดว่ามาตรการดังกล่าวอาจจะประกาศออกมาภายในอาทิตย์นี้ ซึ่งประเด็นนี้ต้องรอดูว่าจะมาจริงหรือไม่?
รูปที่ 3: กลไกการเข้าลงทุนผ่าน Shanghai – Hong Kong Stock Connect
Source: FINNOMENA FUNDS, SSE as of 24/01/2024
กลไกการอัดฉีดเงินตามที่ Bloomberg รายงานคือการให้รัฐวิสาหกิจของจีนเข้าลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกงผ่าน Shanghai – Hongkong Stock Connect ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2014 เพื่อทำให้การซื้อขายหุ้นในตลาดจีนแผ่นดินใหญ่มีความคล่องมือมากขึ้น
รูปที่ 4: ความเคลื่อนไหวของดัชนี Hang Seng ในรอบ 10 ปี
Source: FINNOMENA FUNDS, Tradingview as of 24/01/2024
ดัชนี Hang Seng เทรดอยู่ในระด้บราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 14 ปีอีกนิดเดียวก็จะลึกไปจนถึงระดับ Hamburger Crisis ช่วงปี 2008 นับเป็นการปรับตัวลงมามากที่สุดกว่า 56% จากจุดสูงสุดที่เคยขึ้นไปถึงในปี 2018 หรือปรับตัวลงมาแล้วกว่า 52% ในรอบสามปี
รูปที่ 5: ระดับราคา การปรับประมาณการ EPS และ P/E ของดัชนี Hang Seng
Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 23/01/2024
ขณะที่ P/E ของดัชนี Hang Seng เทรดที่ระดับประมาณ 7 เท่า ที่ระดับประมาณ -2.5 S.D. ถูกที่สุดในรอบ 10 ปี
รูปที่ 6: เปรียบเทียบผลการดำเนินงานกองทุนหุ้นจีนในไทย
Source: FINNOMENA FUNDS as of 24/01/2024
หากย้อนกลับไปในรอบ 3 ปีมานี้ นักลงทุนไทยจำนวนมากลงทุนในกองทุนหุ้นจีน นับเป็นมูลค่ากว่าแสนล้านบาท ส่วนใหญ่ได้รับผลขาดทุนประมาณ 50 – 60% ถือเป็นหนึ่งในประเภทกองทุนที่ขาดทุนกันมากที่สุด
รูปที่ 7: การปรับประมาณการกำไรและ valuation ของสินทรัพย์ในกองทุนหุ้นจีน
Source: FINNOMENA FUNDS, SSE as of 24/01/2024
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดการณ์กำไรของตลาดหุ้นจีนจะเติบโตประมาณ 15 – 20% ในปีนี้และปีหน้า ทำให้ระดับ P/E อยู่ที่ระดับ 7 เท่า ถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโต จึงเป็นที่มาของ FundTalk Call ในกองทุน MEGA10CHINA-A ในครั้งนี้ !
รูปที่ 8: ตัวอย่างบริษัทที่ MEGA10CHINA-A เข้าลงทุน
Source: FINNOMENA FUNDS, TALISAM as of 24/01/2024
ตัวอย่างหุ้นจีนที่ MEGA10CHINA-A เข้าไปลงทุน
- Tencent Holdings: บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่มีมูลค่ามากสุดในประเทศจีน เจ้าของโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ในจีนอย่าง wechat ที่มีผู้ใช้งานกว่า 1,300 ล้านคน และเป็นผู้พัฒนาเกมดังอย่าง RoV และ PUBG
- Alibaba: บริษัท E-Commerce ที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก เจ้าของ Alibaba Taobao และ Lazada อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Ping An Insurance: บริษัทประกันเบอร์ต้น ๆ ของจีน ที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก เจ้าของธุรกิจประกันแบบครบวงจร และธุรกิจธนาคาร
- BYD: ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ของโลก เจ้าของแบรนด์ BYD รถยนต์ EV ที่กำลังมาแรงในขณะนี้
- Nongfu Spring: บริษัทน้ำดื่มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
FundTalk Call แนะนำโอกาสการลงทุนสไตล์ชาวสวน (The Contrarian Investor) อีกหนึ่งกลยุทธ์การลงทุนที่เน้นหาสินทรัพย์ที่ถูกทิ้ง จนราคาปรับตัวลงมาลึกมากจนเกินไป แต่ศักยภาพในการเติบโตระยะยาวยังดี ประกอบกับลมหนุนที่ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นได้ ทำให้เรามีโอกาสได้เข้าลงทุน ในสินทรัพย์ที่ดี ราคาถูก ตอนที่คนไม่เหลียวแล
เขียนโดย: เจษฎา สุขทิศ, Chief Executive Officer FINNOMENA Group
MEGA10CHINA-A
รูปที่ 9: สัดส่วนการลงทุนของกองทุน MEGA10CHINA-A
Source: TALISAM as of 30/12/2023
MEGA10CHINA-A เป็นกองทุนที่เข้าไปลงทุนใน 10 บริษัทที่ทรงอิทธิพลของจีน ซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (Hong Kong Stock Exchange: HKEX) โดยแนวทางการคัดเลือกหุ้นคือต้องเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่ มีสภาพคล่องสูง และเน้นความเป็นผู้นำในด้านตราสินค้า (Brand Value) ในกลุ่ม TOP/BEST CHINESE BRANDS จากการจัดอันดับโดยบริษัทที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในเรื่องของการจัดอันดับดังกล่าว
อีกทั้ง MEGA10CHINA-A จะมีเกณฑ์คัดเลือกหุ้น โดยหลีกเลี่ยงบริษัทที่รัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เพราะมองว่าเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ประเมิน และเป็นปัจจัยคาดการณ์ได้ยาก ดังนั้น เงื่อนไขสำคัญจึงเป็นการเข้าไปลงทุนในหุ้นที่มีตัวผู้ก่อตั้งบริหารธุรกิจเอง สร้างอาณาจักรขึ้นมาด้วยตัวเอง ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าเจ้าของจะมีความผูกพันกับบริษัท และมองเห็นประโยชน์ไปในทางเดียวกันกับผู้ถือหุ้น
สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/
ดู Fund Fact Sheet กองทุนแนะนำ
จัดทำโดยบลป. เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)
(คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นหนึ่งในคำแนะนำในรูปแบบ Tactical Call มุ่งหาโอกาสการลงทุนตามสถานการณ์ และปัจจัยทางเทคนิค)
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299