SCB Grow Together ปรับพอร์ตเดือนมกราคม 2024: เพิ่มสัดส่วนตราสารหนี้ระยะสั้น

มุมมองการลงทุน (January 2024)

มุมมองการลงทุนสำหรับช่วงต้นปี 2567 เราประเมินว่า แรงขับเคลื่อนหลักต่อตลาดหุ้นโลกในช่วงต้นปี มาจากความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การประชุม Fed เมื่อเดือน ธ.ค.2566 มีการเปิดเผย Dot Plot ออกมา โดย Fed ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยตลอดทั้งปี 2567 ทั้งหมด 3 ครั้ง แต่ความคาดหวังของตลาดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง กล่าวคือ มุมมองตลาดผ่าน CME FedWatch Tool ล่าสุด เชื่อว่า Fed จะลดดอกเบี้ย ประมาณ 6 ครั้งในปีนี้ ถือว่า ลงเร็วกว่า Dot Plot ของ Fed ค่อนข้างมาก ดังนั้น หาก Fed ไม่ได้ลดดอกเบี้ยเร็วตามที่ตลาดคิด ก็อาจนำไปสู่แรงขายทำกำไรต่อสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะตลาดหุ้นที่มีการปรับตัวขึ้นมารอตั้งแต่ปลายปีก่อน เรามองว่า ประเด็นนี้ มีโอกาสสร้างความผันผวนได้ในช่วงต้นปี ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปี 2567 จะมีการประชุม Fed 2 ครั้ง ได้แก่ 30-31 ม.ค. และ 19-20 มี.ค.

ภาพรวม Asset Allocation ในรอบนี้ เราเพิ่มน้ำหนักตราสารหนี้อีก 5% ทำให้สัดส่วน หุ้น: ตราสารหนี้ เปลี่ยนเป็น 70:30 (จากเดิม 75:25)

การปรับพอร์ต

  • เพิ่มน้ำหนักกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น SCBSFFPLUS-I จาก 10% เป็น 15%
  • เพิ่มน้ำหนักกองทุนหุ้นโลก SCBWORLD(A) จาก 30% เป็น 35%
  • ปรับกองทุน SCBAXJ(A) และ SCBNDQ(A) ออกจากพอร์ต แล้วนำกองทุนหุ้น Global Digital (SCBDIGI) และกองทุนหุ้นเกาหลีใต้ (SCBKEQTG) เข้าพอร์ต ด้วยน้ำหนัก 10% และ 5% ตามลำดับ

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า

 

SCB Grow Together

SCB Grow Together

 

ภาพแสดงการปรับสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่: 15 มกราคม 2024

เริ่มสร้างแผนลงทุนกับ บลจ. ชั้นนำทั่วฟ้าเมืองไทยที่คุณชื่นชอบ ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
👉 สร้างแผน คลิก >>> https://finno.me/plan-select-playlists-web

คำเตือน  ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้   กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น   กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้  (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย  เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด โทร 02 777 7777 สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

TSF2024