ข้อตกลงการใช้งานและคู่มือภาษี
ข้าพเจ้าได้ศึกษาคู่มือภาษี หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ คำเตือน และความเสี่ยงของกองทุนที่สั่งซื้อหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนแล้ว พร้อมทั้งรับทราบสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ดังรายละเอียดนี้แล้ว
- กองทุนเพื่อการออมระยะยาว ไม่สามารถขายคืนได้ก่อน 10 ปี นับจากวันซื้อ โดยไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี (ระยะเวลาที่ใช้ลดหย่อน ภายในปี 2563-2567)
- จำนวนเงินลงทุนขั้นสูงสุดต่อปี ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และต้องไม่เกิน 200,000 บาท
- กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุน หรือการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบ 10 ปี (นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุน)
- ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นทั้งหมดทันที พร้อมจ่ายเงินเพิ่มให้รัฐ 1.5% ต่อเดือน โดยคิดย้อนหลังตั้งแต่ เดือน เม.ย.ของปีที่เคยยื่นขอลดหย่อนภาษีไว้ จนถึงวันที่ยื่นคืนภาษี
- กำไรที่ได้จากการขายคืนถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืน ซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณภาษีด้วย โดย บลจ. จะหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- หากขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือครองต่ำกว่า 1 ปี จะเสีย exit fee ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นของมูลค่าซื้อขาย (ถ้ามี)
- กรณีซื้อเกินสิทธิ SSF (ส่วนที่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี หรือเกิน 200,000 บาท แล้วแต่กรณี)
- ไม่สามารถนำเงินลงทุนส่วนเกินไปลดหย่อนภาษีได้
- กำไรส่วนเกิน (Capital Gain) ที่รับจากการขายหน่วยลงทุนเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิ จะถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืน ซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณภาษีด้วย แม้จะถือหน่วยลงทุนเกิน 10 ปีแล้วก็ตาม
- หากขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือครองต่ำกว่า 1 ปี จะเสีย exit fee ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นของมูลค่าซื้อขาย (ถ้ามี)
- ผู้ลงทุนต้องแจ้งความประสงค์การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุนใน SSF เพื่อนำไปหักค่าลดหย่อนภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
ข้าพเจ้าได้ศึกษาคู่มือภาษี หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ คำเตือน และความเสี่ยงของกองทุนที่สั่งซื้อหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนแล้ว พร้อมทั้งได้รับทราบสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ดังรายละเอียดนี้แล้ว
- กองทุนเพื่อวัยเกษียณ ไม่สามารถขายคืนได้ก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ยกเว้นกรณีทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต โดยต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี ติดต่อกัน) และต้องถือครองหน่วยลงทุนอย่างน้อย 5 ปีนับจากวันซื้อครั้งแรก
- จำนวนเงินลงทุนขั้นสูงสุดต่อปี ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอื่นๆได้แก่ กองทุนSSF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือ กองทุนการออมแห่งชาติ
- กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุน ในกรณี จำนวนเงินลงทุนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด หรือ ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้ลงทุนจะอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือ ลงทุนไม่ครบ 5 ปีเต็ม
- ผิดเงื่อนไขและลงทุนไม่ถึง 5 ปี – ต้องคืนเงินภาษีทั้งหมดทุกปีที่ได้รับยกเว้นมา* และ กำไรที่ได้จากการขายคืนที่ผิดเงื่อนไข ถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืนซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณภาษีด้วย โดยบลจ. จะหักภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ผิดเงื่อนไขและลงทุน 5 ปีขึ้นไป – ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้น 5 ปีย้อนหลัง* และ กำไรที่ได้จากการขายคืน ไม่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษี
* หากผู้ลงทุนคืนภาษีล่าช้า ต้องจ่ายให้รัฐ 1.5% ต่อเดือน โดยคิดตั้งแต่เดือน เม.ย. ของปีที่ถัดจากปีที่ขายผิดเงื่อนไขการลงทุนนั้น
- กรณีซื้อเกินสิทธิ RMF (ส่วนที่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี หรือเกิน 500,000 บาท แล้วแต่กรณี)
- ไม่สามารถนำเงินลงทุนส่วนเกินไปลดหย่อนภาษีได้
- เมื่อขายคืนจะต้องนำผลประโยชน์ที่ได้(กำไร)รวมกับเงินได้อื่น เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลในปีที่ขายคืน
- การขายคืนส่วนที่ลงทุนเกินสิทธิโดยไม่เป็นไปตามเงื่อนไข อาจจะส่งผลให้ผิดเงื่อนไขของการลงทุน RMF ทั้งหมดที่ลงทุนมา
- ผู้ลงทุนต้องแจ้งความประสงค์การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุนใน RMF เพื่อนำไปหักค่าลดหย่อนภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
ข้าพเจ้าได้ศึกษาคู่มือภาษี หนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ คำเตือน และความเสี่ยงของกองทุนที่สั่งซื้อหรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนแล้ว พร้อมทั้งได้ศึกษาและรับทราบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุน และเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน หรือ Thailand ESG Fund (ThaiESG) ดังรายละเอียดนี้แล้ว
- กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ไม่สามารถขายคืนได้ก่อน 5 ปี นับจากวันซื้อ โดยไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ลงทุนปีไหนก็ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ในปีนั้น(ระยะเวลาที่ใช้ลดหย่อน ภายในปี 2567-2569) – จำนวนเงินลงทุนขั้นสูงสุดต่อปี ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และต้องไม่เกิน 300,000 บาท (ไม่รวมในวงเงิน 500,000 บาทเดิม*)
- กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุน หรือมีการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบ 5 ปี (นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุน)
1. ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นทั้งหมดทันที พร้อมจ่ายเงินเพิ่มให้รัฐ 1.5% ต่อเดือน โดยคิดย้อนหลังตั้งแต่ เดือน เม.ย.ของปีที่เคยยื่นขอลดหย่อนภาษีไว้ จนถึงวันที่ยื่นคืนภาษี
2. กำไรที่ได้จากการขายคืนถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืน ซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณภาษีด้วย โดย บลจ. จะหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3. หากขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือครองต่ำกว่า 1 ปี จะเสีย exit fee ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นของมูลค่าซื้อขาย (ถ้ามี) - กรณีซื้อเกินสิทธิ ThaiESG (ส่วนที่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี หรือเกิน 300,000 บาท แล้วแต่กรณี)
1. ไม่สามารถนำเงินลงทุนส่วนเกินไปลดหย่อนภาษีได้
2. กำไรส่วนเกิน (Capital Gain) ที่รับจากการขายหน่วยลงทุนเฉพาะส่วนที่เกินสิทธิ จะถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืน ซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณภาษีด้วย แม้จะถือหน่วยลงทุนเกิน 5 ปีแล้วก็ตาม
3. หากขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือครองต่ำกว่า 1 ปี จะเสีย exit fee ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นของมูลค่าซื้อขาย (ถ้ามี) - ผู้ลงทุนต้องแจ้งความประสงค์การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุนใน Thai ESG เพื่อนำไปหักค่าลดหย่อนภาษีตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร
*กรอบ 500,000 บาท รวมการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนออมแห่งชาติ
สรุปความแตกต่างของ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ Thai ESG
*วงเงินกลุ่มเกษียณ ในที่นี้หมายถึง การซื้อกองทุน SSF. กองทุน RMF. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือ ก่องทุนการออมแห่งชาติเมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 500.000 บาทในแต่ละปีภาษี
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2567 กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง บริษัทจะปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและขอให้ยึดถือคู่มือการลงทุนฉบับล่าสุดที่ได้ปรับปรุงเป็นสำคัญ