ย้อนรอย 5 วิกฤตการเงิน สะเทือนขวัญคนทั้งโลก

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ยุค 1930s  (The Great Depression)

สืบเนื่องมาจากการที่เพิ่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ทหารปลดประจำการหลั่งไหลไปเป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม​จนทำให้ค่าแรงตก ผลผลิตทางการเกษตรราคาต่ำและมีการปล่อยกู้มาก สุดท้ายจึงเกิดฟองสบู่แตกในทั้งระบบเศรษฐกิจ​และตลาดหุ้น

วิกฤตหนี้สาธารณะในละตินอเมริกา ยุค 1980s (The International Debt Crisis)

สาเหตุของวิกฤตเกิดขึ้นในช่วง 1960s-1970s เมื่อประเทศในแถบละตินอเมริกา ได้แก่ บราซิล อาเจนตินา และเม็กซิโก ได้กู้เงินจำนวนมหาศาลจากเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ หรือธนาคารเอกชน ในที่สุดประเทศเหล่านี้ประกาศว่าไม่มีเงินจ่ายคืนเงินกู้ ซึ่งมีผลให้ปัญหาหนี้ยืดเยื้อจนถึงปี 1989

วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1997 (วิกฤตหนี้ในเอเชีย)

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของวิกฤตต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) โดยสาเหตุหลักคือการที่ไม่สามารถมี 1) กระแสเงินทุนไหลเข้าออกอย่างเสรี 2) นโยบายการเงินที่อิสระ และ 3) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราคงที่ ในเวลาเดียวกันได้ทั้ง 3 ปัจจัย ซึ่ง จอร์จ โซรอส (George Soros) และกองทุน Hedge Fund ต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ในการโจมตีค่าเงินบาทจนทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างหนัก

วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ / ซับไพรม์ ปี 2008 (The Great Recession)

เริ่มจากการที่ภาวะฟองสบู่แตกในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา และการผิดชำระหนี้ของสินเชื่อซับไพรม์และสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัวเริ่มตั้งแต่ปี 2005-2006 โดยปัญหาเริ่มปรากฏชัดขึ้นในช่วงปี 2007 แล้วก็เจอปัญหาอย่างหนักในช่วงปี 2008 วิกฤตนี้นับเป็นวิกฤตการเงินที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1

วิกฤตโรคระบาดโควิด ปี 2020 (COVID-19) 

มีสาเหตุมาจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม 2019 โดยพบครั้งแรกในนครอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ จนทำให้เศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ต้องหยุดชะงักเพราะจำเป็นต้องล็อกดาวน์ประเทศ

บทความโดย คุณานันต์ TechToro

TSF2024