มุมมองตลาดปัจจุบัน
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยยังคงได้แรงหนุนจากการที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐมีทิศทางชะลอลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดคาดหวังว่าเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาด และอาจประกาศลดดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งเร็วกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าเฟดอาจประกาศลดดอกเบี้ยในปีหน้า ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐโดยรวมยังคงแข็งแกร่ง ส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากการที่จีนกลับมาเปิดประเทศเร็วกว่าที่คาด และสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในจีนมีทิศทางดีขึ้น ส่งผลให้ตลาดคาดว่าปัญหาในห่วงโซ่อุปทานจะคลี่คลายลงและช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนอุปทาน รวมถึงคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นจากการที่เศรษฐกิจจีนฟื้นตัว อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าการที่จีนกลับมาเปิดเศรษฐกิจอาจส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันจากจีนเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้อจากราคาน้ำมัน
สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นน้อยกว่าตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลก เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนฯบางแห่งรายงานผลประกอบการออกมาน่าผิดหวัง ถึงแม้เศรษฐกิจไทยมีทิศทางฟื้นตัวชัดเจนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงมีแนวโน้มแข็งแกร่ง
ในส่วนของตราสารหนี้มีการฟื้นตัวต่อเนื่องเช่นกัน หลังอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอลงมากกว่าที่คาด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลง
ทั้งนี้มีแนวโน้มที่ตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ยังคงมีทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังความเสี่ยงจากเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ดี ยังคงมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนฯ ดังนั้น พอร์ตการลงทุนจึงยังคงเน้นลงทุนในกลุ่มหุ้น defensive และลงทุนในหุ้นจีนซึ่งจะได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศ
พอร์ตการลงทุน
ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 30 มกราคม 2022
ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 30 มกราคม 2022
กองทุนแนะนำสำหรับการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์/ภูมิภาค
กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ
- กองทุนกลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง – ยาว ยังคงจะเผชิญกับความผันผวนและแรงกดดันในระดับสูงต่อไปในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 จากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะทยอยปรับขึ้นอย่างค่อยเป็ยค่อยไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่ความไม่แน่นอนของจุดสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯยังคงมีความขัดแย้งกันระหว่างคาดการณ์ของตลาด และคณะกรรมการ FED หากธนาคารกลางสหรัฐฯ สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้สูงกว่าตลาดคาดสู่ช่วง 00%-5.25%ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 อาจทำให้เกิดแรงเทขายขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ยังไม่มีแนวโน้มสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในลำดับถัดไปจากแถลงการณ์ของ FED ในครั้งล่าสุด ดังนั้นเพื่อรองรับความผันผวนดังกล่าว ทำให้กองทุนที่มี่การลงทุนในหุ้นกู้เอกชนยังคงสามารถช่วยลดความผันผวนของตลาดลงได้บ้าง โดยคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนยังคงมีความน่าสนใจสำหรับเงินลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น อาทิเช่น กองทุน KFAFIX-A ขั้นต่ำ 1 ปีขึ้นไป โดยปัจจุบันกรอบ Duration เฉลี่ยของกองทุน KFAFIX-A = 1.9-2.5 ปี
กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ
- ในปี 2565 ที่ผ่านมา นับว่าตลาดตราสารหนี้ในภาพรวมได้รับผลกระทบเชิงลบมากที่สุดในรอบ 40 ปี จากระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เพิ่มสูงขึ้น กองทุนมองว่าความเสี่ยงที่ความแตกแยกทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ และความเสี่ยงที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยในสองปีนี้ยังคงเพิ่มขึ้น โดยเชื่อว่าตราสารหนี้ที่มีคุณภาพสูงจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะถัดไป
กองทุนตราสารทุนในประเทศ
- กองทุนที่เน้นการเฟ้นหาหุ้นที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละภาวะตลาด มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนดีในระยะกลางถึงยาว ตามผลการดำเนินของบริษัทฯที่กองทุนคัดเลือกลงทุน
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ Developed Market Equity
- กองทุนมีการลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพสูง มีรายได้ และกำไรเติบโตสม่ำเสมอ ทำให้กองทุนมีความผันผวน และการปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาด ซึ่งเป็นการลงทุนที่เหมาะกับภาวะที่ตลาดยังคงมีความผันผวน
- การฟื้นตัวของตลาดยุโรปยังคงมีความผันผวน โดยปัจจัยเสี่ยงยังคงมาจากราคาพลังงานที่ทรงตัวในระดับสูง อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อมีทิศทางชะลอตัวลง ซึ่งทำให้ธนาคารกลางยุโรปมีโอกาสชะลอการขึ้นดอกเบี้ยและจะเป็นผลดีต่อตลาด ทว่ายังต้องจับตามองความกังวลเรื่องที่เศรษฐกิจยุโรปอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในปีนี้
- ตลาดจีนส่งสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังจากรัฐบาลผ่อนคลายนโยบาย Zero-Covid โดยล่าสุดอนุญาตให้ชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศและไม่จำเป็นต้องกักตัว อีกทั้งท่าทีต่อ Covid 19 ที่มองว่าไม่เป็นอันตรายเหมือนเมื่อแต่ก่อน ทั้งนี้จีนยังยกเลิกการล็อคดาวน์ที่เข้มงวดและการตรวจเชื้อโควิดในวงกว้าง โดยจะส่งผลดีต่อการบริโภคที่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวได้ดีหลังจากที่ผ่านมาถูกกดดันด้วยนโยบายที่เข้มงวด สำหรับภาคอสังหาฯ ทางรัฐบาลยังออกมาตรการช่วยเหลือต่อเนื่อง
KFHHCARE :
- Healthcare เป็นอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเชิงรับ มีพื้นฐานแข็งแกร่ง, กำไรสุทธิมีความมั่นคง และความผันผวนน้อยกว่าตลาดโดยรวม ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมนี้จะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน
KFUSINDX :
- กองทุนลงทุนในกองทุนต่างประเทศ iShares Core S&P 500 ETF โดยเน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี S&P 500 Index เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนของกองทุน
ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 30 มกราคม 2022
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757