LTF

บทความนี้ เป็นบทความต่อเนื่องจากบทความเรื่อง “เลือก LTF อย่างไร ในสายตาของ FINNOMENA Gurus” นะครับ

ตอนก่อนหน้านี้ คุณเอ กับ คุณเฟิร์น บอกแนวคิด และวิธีการเลือก LTF กับชาวฟินโนมีน่าไปแล้ว มาวันนี้ ผมขอไปถามกูรูที่เหลือบางคนแบบตรงๆเลยว่า เขาเหล่านั้น เลือก LTF กองไหน? และเพราะอะไร?


 

Tanutไปที่หมอนัทของเรา หมอนัทบอกว่า วิธีที่ง่ายแสนง่ายในการซื้อ LTF อย่างถูกต้อง ก็คือการซื้อแบบถัวเฉลี่ยไปเรื่อย ๆ ทุกเดือนครับ เช่น ถ้าปีนี้เราคำนวนคราว ๆ แล้วว่าจะต้องซื้อ LTF ทั้งหมดประมาณ 120,000 บาท ก็ซื้อ LTF ทุกเดือนเดือนละ 10,000 บาท ก็น่าจะทำให้ความผันผวนจากราคา NAV ที่ปรับตัวขึ้น-ลง นั้น ลดลงและได้ราคา NAV เฉลี่ยที่เหมาะสมในการลงทุนระยะยาว ๆ อีกด้วย

ส่วนหมอนัทเลือกกองทุนไหนนั้น หมอนัทบอกว่า ให้เลือกกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุดในระยะ 3-5 ปี มาเปรียบเทียบกัน เนื่องจากสถิติแล้วกองทุนที่ดี ที่เก่ง ในระยะยาว 3-5 ปีขึ้นไป ก็มักจะทำผลตอบแทนได้สม่ำเสมอ มากกว่ากองทุนที่ทำผลตอบแทนได้สูง ๆ เพียงหนึ่งปี หรือ สองปีครับ และกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีในระยะยาว ๆ 3-5 ปีนี้ก็มีอยู่ไม่กี่กองทุนครับ วันนี้หมอนัทขอเล่าถึงกองทุนที่ดูแล้วทำผลตอบแทนได้ดี และน่าสนใจที่จะลงทุนเรามาดูกันครับ ว่ามีกองทุนไหนบ้าง

LTF

ตารางผลตอบแทนของกองทุน LTF (คิดแบบ IRR) จากการทำ DCA  หรือ ทยอยลงทุนทุกเดือน ข้อมูลถึง ณ วันที่ 11/11/58

กองทุน B-LTF นับเป็นกองทุนที่มีผลการดำเนินงานย้อนหลังในรอบ 5 ปีที่ผ่านมามานั้น ทำได้ค่อนข้างดี เพราะด้วยนโยบายการเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และมีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดี บวกกับการที่กองทุนมีอัตราการเปลี่ยนแปลงหุ้นในพอร์ตที่ไม่สูง จึงทำให้กองทุนสร้างผลตอบแทนระยะยาวได้ดีในขณะที่ความผันผวนนั้นก็ค่อนข้างต่ำ

โดยส่วนตัวคิดว่าด้วยข้อจำกัดด้าน ขนาดของกองทุนอาจจะทำให้กองทุนนั้นสามารถลงทุน ในหุ้นของที่จำกัดวงมากขึ้น อาจจะต้องลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่มากกว่า บริษัทขนาดกลาง-เล็กที่มีการเติบโตสูง จึงอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้กองทุนมี ผลตอบแทนย้อนหลังรอบ 3 ปี ที่ลดลงมาบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบการลงทุนสไตล์หุ้นพื้นฐานดีราคาไม่แพง ความผันผวนต่ำละก็ ผมคิดว่ากองทุน B-LTF นั้นเป็นตัวเลือกอันดับแรกครับ

กองทุน CG-LTF กองทุนนี้มีนโยบายในการเลือกหุ้นที่จะลงทุนในบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานและธรรมภิบาลที่ดี มีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ แต่กองทุน CG-LTF นั้นค่อนข้างจะมีการซื้อขายเปลี่ยนแปลงหุ้นค่อนข้างบ่อย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ที่ผ่านมานั้นกองทุน CG-LFT มีความผันผวนค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับกองทุน LTF ตัวอื่น ๆ แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่ดีมาก

ดังนั้น ผมคิดว่าใครก็ตามที่สนใจกองทุน LTF เพื่อใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษี และยังอยากได้พอร์ตแบบค่อนข้างปรับตัวเร็ว และมีการทำ Market timing หน่อยๆ และรับความผันผวนระหว่างที่ลงทุนได้สูง เพื่อผลตอบแทนที่ดีมาก ผมคิดว่า CG-LTF น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมครับ

กองทุน P-LTF เป็นอีกหนึ่งกองทุนจาก บลจ. Phillip ที่ถือว่าทำผลงานได้ดีแบบน่าตกใจ โดยปัจจุบันกองทุนจะเน้นลงทุนในหุ้นขนาดค่อนข้างใหญ่ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีแนวโน้มที่จะโตได้ในระยะยาว

และด้วยขนาดกองทุนที่เล็กกว่าจึงไม่มีข้อจำกัดที่ต้องเลือกหุ้นขนาดใหญ่เท่านั้น ซึ่งข้อได้เปรียบนี้อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้กองทุน P-LTF สามารถทำผลตอบแทนได้ดีในช่วงที่ 5 ปีผ่านมา และเมื่อเลือกหุ้นที่จะลงทุนได้แล้ว กองทุน LTF กองทุนนี้จะเน้นถือหุ้นระยะยาว แต่หุ้นบางส่วนก็จะมีการปรับกลยุทธ์ที่เป็นการลงทุนตามธีมของตลาดหุ้นด้วยในบางครั้ง และถ้าตลาดมีความผันผวนมาก ๆ กองทุนนี้ก็จะปรับตัวไปเลือกหุ้นพื้นฐานดี เพื่อให้ความผันผวนไม่เยอะตามตลาดหุ้นครับ

ทั้งนี้ที่ผ่านมานั้นกองทุน P-LTF จะเน้น Overweight การลงทุนในหุ้นกลุ่ม Defensive stocks จึงทำให้ที่ผ่านมากองทุนมีความผันผวนค่อนข้างต่ำ ซึ่งทำให้ได้ผลตอบแทนที่น่าประทับใจครับ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า กองทุน LTF ที่ถูกกล่าวกันว่าให้ผลตอบแทนดีทั้งระยะสั้น และยาว เห็นจะหนีไม่พ้นกองทุน P-LTF กองทุนนี้ แถมเมื่อทำ DCA เปรียบเทียบกัน กองทุนนี้ก็ทำได้ดีอีกด้วย น่าจะเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการซื้อกองทุนอย่างสม่ำเสมอครับ

โดยส่วนตัวแล้ว ผมค่อนข้างชอบกองทุนที่ไม่ค่อยผันผวนเท่าไหร่นัก ถือแล้วสบายใจ ดังนั้นมุมมองของผมเอง ถ้าเป็นนักลงทุนใหม่ ๆ รับความผันผวนได้ไม่มาก และได้ผลตอบแทนที่ดี ก็อาจจะเลือกกองทุน PLTF เป็นอันดับ 1 หรือใครจะชอบความสะดวกในการซื้อ ก็คงต้องพิจารณาซื้อผ่านธนาคาร ซึ่ง BLTF ก็น่าจะตอบโจทย์ และถ้าใครรับความผันผวนได้มาก ๆ แล้วอยากได้ผลตอบแทนที่ดีละก็คงต้องเลือก CG-LTF ครับ

 


FundTalk

ถึงตา FundTalk บ้างนะครับ

มาถึง ไม่พูดพร่ำทำเพลง พูดออกมาเลยว่า “ผมเลือกกองทุน CG-LTF หรือกองทุนเปิดบรรษัทภิบาล หุ้นระยะยาวของค่าย ยูโอบี
สไตล์ของผู้จัดการกองทุน
ดูจากงบประจำปีของกองทุนย้อนหลัง Turnover Ration สูงถึง 600 – 800% เมื่อเทียบกับขนาดกองทุน หมายความว่าผู้จัดการกองทุนทำการเทรดปีหนึ่งประมาณ 6 – 8 รอบซึ่งจัดว่าเป็นอัตราที่สูง สะท้อนกลยุทธ์การทำ Sector Rotation , Stock Rotation หมายถึงการหมุนเวียนไปที่ Sector หรือหุ้นที่คาดว่าจะทำผลงานได้ดีในแต่ละช่วงเวลาของปี สรุปง่าย ๆ ก็คือกองทุนนี้เป็นสไตล์ trading ก็ไม่ผิดครับ นอกจากนี้เท่าที่ผมทราบกองทุนนี้ยังมีการใช้ Technical ประกอบการตัดสินใจด้วย ถ้าเป็นมวยก็เรียกว่าออกอาวุธครบเลย
ผลตอบแทน
มาดูกันที่อัตราผลตอบแทน กองทุนนี้เป็นกองทุนที่มีอัตราผลตอบแทนสูงเป็นอันดับหนึ่งในบรรดากองทุน LTF ทั้งหมดในช่วงระยะเวลา 3 ปี และ 10 ปีย้อนหลัง (ที่มา: Morningstar) โดยนับแต่จัดตั้งกองทุนมาจนถึงเดือนตุลาคม 2558 ที่่ผ่านมากองทุนทำผลตอบแทนถึง 360.92% เมื่อเปรียบเทียบกับ SET Index ที่ 120.54% สูงกว่าตลาดหุ้นถึง 3 เท่าตัว เรียกได้ว่าเป็นเกียรติภูมิของผู้จัดการกองทุนเลยทีเดียวทีทำผลงานได้ทีเด็ดขนาดนี้ นั่นหมายความว่าการบริหารกองทุนหุ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นแนว Company visit เลือกหุ้นรายตัวอย่างเดียวที่ดี แต่แนว Trading อย่างกองนี้ก็สามารถผงาดขึ้นมาอันดับ 1 ได้เช่นกัน
CG-LTF เป็นคำตอบสุดท้าย
หากไปดูกันที่ความผันผวนของกองทุน ต้องยอมรับว่ากองทุนนี้มีความผันผวนสูงกว่าค่าเฉลี่ยกองทุนหุ้นทั่วไป (ก็แน่ล่ะสิครับ พอร์ตหมุนเร็วขนาดนี้) แต่ผมว่าคุ้มครับ ถ้าความผันผวนและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น นำมาซึ่งผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย และที่สำคัญ LTF จุดประสงค์มันคือการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณอยู่แล้ว ความเสี่ยงจะสูงหน่อยก็เหมาะสมกับระยะเวลาการลงทุนที่ยาวพอดีครับ ที่เด็ดคือกองนี้สามารถแลกความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องรับเป็นผลตอบแทนที่โดดเด่น และคงเส้นคงว่ามาในรอบหลายปีที่่ผ่านมา สรุปคือ LTF ปีนี้ต้อง CG-LTF ยาวไปครับ
หมายเหตุ สัดส่วน Turnover Ratio ของกองทุนที่สะท้อนปริมาณการเทรดเมื่อเทียบขนาดของกองทุน มีประกาศในหมายเหตุประกอบงบของงบการเงินประจำปีแต่ละกองทุนนะครับ

mrmessengerสุดท้าย มาที่ผมละ เล่นบอกแบบหมดเปลือกกันทั้ง 2 คน แล้วผมจะทำยังไงดีละเนี่ย
เอาเป็นว่า ผมพาไปทวนหลักการเลือกกองทุน LTF แบบ Mr.Messenger Style กันอีกรอบนะครับ

1. ดูผลตอบแทนระยะยาว

ยาวในที่นี้ เอา 3 ปี 5 ปี เลยนะครับ ส่วนตัวแล้ว ผมมีความเชื่อว่า ยิ่งกองทุนเปิดมานานเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีอดีตให้เราลองศึกษามากเท่านั้น ว่าแล้ว เราก็เรียงอันดับกองทุน LTF ที่ผลตอบแทนดีที่สุดในรอบ 5 ปี LTF ในตลาดมีทั้งหมด 53 กองทุน เราจะเลือกแค่ 20 กองแรกที่มีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปีดีที่สุดมาวิเคราะห์ต่อ

2. ดูผลตอบแทนระยะสั้น

3 เดือน 6 เดือน 1 ปี ดูใกล้ๆ ซึ่งหากดูตอนนี้ จะเห็นว่า ยากมากครับ ที่กองทุนไทยซักกองจะให้ผลตอบแทนเป็นบวก เพราะหุ้นไทย เข้าสู้รอบการปรับฐานมาได้ปีกว่าๆและไม่สามารถทำ New High สร้างจุดสูงสุดใหม่ได้ แต่ไม่เป็นไร เราก็ลองเรียงดูผลตอบแทนของกองทุนที่ติดลบในช่วงระยะสั้นดู เราจะเห็นภาพชัดขึ้นเมื่อรวมกับที่เราเรียงผลตอบแทนระยะยาวในข้อ 1

3. ดูผลตอบแทนเปรียบเทียบความเสี่ยง

ในที่นี้ ที่นิยมใช้กันก็คือ Sharpe Ratio นั้นเองครับ โดยค่า Sharpe Ratio นี้ ยิ่งมากยิ่งแปลว่า ผลตอบแทนคุ้มกับความเสี่ยง ดังนั้น เวลาดูว่ากองไหนดีกว่ากองไหน ก็ให้ดูกองทุนที่ค่า Sharpe Ratio สูงกว่า โดยส่วนตัว ผมแนะนำให้ดูค่า Sharpe Ratio ที่ระยะยาวหน่อย 3 ปี และ 5 ปี ครับ

4. เข้าไปดูนโยบายการลงทุน

กองทุนที่ติดใน List หลังจากที่เราเปรียบเทียบทั้ง 3 ข้อข้างต้น คือ ผลตอบแทนระยะยาว ระยะสั้น และดู Sharpe Ratio แล้ว เราก็เลือกกองทุนที่เราคิดว่าน่าสนใจออกมาซัก 5 กอง มาศึกษาต่อว่า นโยบายการลงทุนเป็นอย่างไร ลงทุนในหุ้นประเภทไหน ค่าธรรมเนียมแพงหรือเปล่า เพื่อดูว่ามันเหมาะกับเราที่จะฝากผีฝากไข้ในระยะยาวได้จริงๆหรือเปล่า


หลักการครบ 4 ข้อ ผมก็ขอพาไปดู ตารางผลตอบแทน LTF 20 กองแรกที่ผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีดีที่สุดนะครับ
LTF Top20
ข้อมูลจาก www.wealthmagik.com ณ วันที่ 18 พ.ย. 2558
สุดท้าย ก็หนีไม่พ้นกองทุนที่คุณเจท FundTalk และ หมอนัทเลือกครับ เห็นไหมเอ่ย

 

คุณสามารถติดตาม FINNOMENA ผ่านทาง Line และ Facebook ตามลิงค์ด้านล่าง

โดย Scan QR Code

250316

หรือกดปุ่ม

addfriends_en

facebook