มุมมองตลาดปัจจุบัน
ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ราคาสินทรัพย์บางประเภทยังคงปรับตัวลดลงต่อ หลังตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐกลับมาปรับตัวสูงขึ้น และอัตราเงินของหลายประเทศพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่ในรอบหลายสิบปี ส่งผลให้เกิดความกังวลว่าธนาคารกลางหลายประเทศอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยในอนาคต ในขณะที่ สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังคงยืดเยื้อส่งผลให้ราคาน้ำมันยังคงทรงตัวในระดับสูง และปัญหาในภาคอุปทานเลวร้ายลง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่เพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ เฟดประกาศขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมครั้งล่าสุด พร้อมทั้งส่งสัญญาณว่าอาจขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% ในการประชุมครั้งถัดไป โดยประธานเฟดระบุว่าจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ถึงแม้มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ดี เฟดประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะรองรับการขึ้นดอกเบี้ย และมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตในอัตราที่ชะลอลงและไม่น่าจะถึงขั้นเข้าสู่ภาวะถดถอย
ตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวได้ดีในช่วงปลายเดือน มิ.ย. หลังนักลงทุนประเมินว่าการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและตัวเลขเศรษฐกิจที่เริ่มมีสัญญาณชะลอลงอาจส่งผลให้เฟดชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต ในขณะที่ตลาดหุ้นจีนฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งหลังจีนผ่อนคลายมาตรการในหลายเมืองสำคัญ พร้อมทั้งประกาศรายละเอียดของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงมีแนวโน้มว่าความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนจะผ่อนคลายลง
สำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก และราคาตราสารหนี้ของไทยปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันกับราคาตราสารหนี้สหรัฐ ในขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มดีขึ้นหลังรัฐบาลผ่อนคลายภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ทางเรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นในระยะยาว โดยมองว่าตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มปรับเข้าสู่จุดสมดุลหลังจากที่ปรับตัวลดลงมากเกินไป
ในส่วนของตราสารหนี้ ผู้จัดการกองทุนยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว ถึงแม้มีความเสี่ยงจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดก็ตาม เนื่องจากตลาดได้ตอบรับการขึ้นดอกเบี้ยไปมากแล้ว จึงเปิดโอกาสในการที่จะสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการที่ตลาดปรับตัวลดลงมามากเกินไป ในขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นมีความน่าสนใจในแง่ของความปลอดภัยและโอกาสในการสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นในอนาคต
พอร์ตการลงทุน
ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 29 มิถุนายน 2022
ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 29 มิถุนายน 2022
กองทุนแนะนำสำหรับการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์/ภูมิภาค
กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ
- กองทุนกลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง – ยาว ยังคงจะเผชิญกับความผันผวนในระดับสูงมากต่อไป จากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ที่อาจจะปรับขึ้นได้ ในช่วงสิ้นปีนี้ ภายหลังความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ เร่งตัวขึ้นสูงกว่าคาด อย่างไรก็ตามการปรับขึ้น อาจจะไม่เท่ากับดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ที่ยังคงเร่งการปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการเริ่มลดขนาดงบดุล โดยคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ จะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในระดับ 50 bps ในการประชุมอีก 2 ครั้งถัดไปสู่ระดับ 75% – 2.00 % ภายในเดือน ก.ค.นี้ สำหรับตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนไทยมีอัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจ ทำให้กองทุนที่มีการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนสามารถช่วยลดความผันผวนของตลาดลงได้บ้าง คาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนกลุ่มนี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเริ่มมีความน่าสนใจโดยเฉพาะสำหรับเงินลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น อาทิเช่น กองทุน KFAFIX-A ขั้นต่ำ 1 ปีขึ้นไป โดยปัจจุบันกรอบ Duration เฉลี่ยของกองทุน KFAFIX-A = 2-3 ปี
กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ
- กองทุนเพิ่มอายุเฉลี่ยขึ้นเล็กน้อย ในส่วนของตราสารหนี้สหรัฐฯ ระยะกลาง และลดการลงทุนใน ประเทศเม็กซิโกและตลาดเกิดใหม่ลง จากความผันผวนของตลาดตราสารหนี้ที่เพิ่มมากขึ้น โดยยังคงมีการลงทุนในพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ และมีการเพิ่มสภาพคล่องในกองทุนรวมถึงคุณภาพตราสารหนี้โดยรวม
กองทุนตราสารทุนในประเทศ
- กองทุนที่เน้นการเฟ้นหาหุ้นที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละภาวะตลาด มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนดีในระยะกลางถึงยาว ตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯที่กองทุนคัดเลือกลงทุน
กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ Developed Market Equity
- ภาพตลาดโดยรวมยังคงมีความผันผวน จึงยังแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุน โดยปกติกองทุนจะมีความผันผวนน้อยกว่าตลาด เนื่องจากกองทุนมีการลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพสูง รายได้และกำไรเติบโตสม่ำเสมอ
- ตลาดยุโรปยังคงมีทิศทางผันผวน โดยได้รับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัว จากทั้งราคาพลังงานและราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากปัญหา Supply chain disruption โดยทางยุโรปมีการพิจารณาลดการใช้พลังงานจากรัสเซียลงภายในสิ้นปี ส่งผลกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อทำให้ธนาคารกลางยุโรป ส่งสัญญาณว่าอาจขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้เร็วกว่าที่คาด
- ตลาดจีนทยอยฟื้นตัว โดยรัฐบาลจีนเริ่มผ่อนคลายมาตรการ lockdown หลังสถานการณ์ covid-19 ปรับตัวดีขึ้น โดยรัฐบาลจีนได้ส่งสัญญาณว่า พร้อมใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้ตามเป้าหมายของปีที่ 5% อย่างไรก็ดี ตลาดจีนยังคงมีความผันผวน โดยนักลงทุนยังคงมีความกังวลเรื่องการ de-list หุ้นจีนออกจากตลาดสหรัฐ และสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงตึงตัว
KFHHCARE :
- Healthcare เป็นอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเชิงรับ หรือมีความ มีพื้นฐานแข็งแกร่ง ราคาไม่ได้แพง ขณะที่ Earnings เติบโตได้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
- กองทุนลงทุนในกองทุนต่างประเทศ iShares Core S&P 500 ETF โดยเน้นลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี S&P 500 Index เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนของกองทุน
ที่มา: เอกสารอัปเดตพอร์ต Krungsri The Masterpiece วันที่: 29 มิถุนายน 2022
หมายเหตุ:
- กองทุน KFGBRAND-A, KFGBRAND-D, KF-EUROPE, KFACHINA-A ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- กองทุน KF-SINCOME, KF-CSINCOM, KFAINCOM-A, KFAINCOM-R, KF-HUSINDX, และ KF-HEUROPE ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร 0 2657 5757