Polygon: เรือธง Ethereum Scaling

หลังจากการอัปเกรด London Hard Fork ของ Ethereum เมื่อปี 2021 ไปแล้ว ทาง Vitalik Buterlin ได้เผยออกมาว่า การอัปเกรด The Merge คาดว่าจะเสร็จสิ้นในปลายไตรมาสที่ 3 หรือต้นไตรมาสที่ 4 ของปี 2022 และเมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมาได้มีการทดสอบ Ropsten Testnet ของ Ethereum เสร็จสิ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการอัปเกรด The Merge ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือน ในบทความนี้จะพูดถึงว่า The Merge นั้นคืออะไรและหลังจากอัปเกรด The Merge แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้างและส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไรบ้าง

The Merge คืออะไร?

The Merge หรือ Ethereum 2.0 คือ การเปลี่ยนวิธีการตรวจสอบธุรกรรมจากกลไก Proof-of-Work (PoW) เป็นกลไก Proof-of-Stake (PoS) เนื่องจากระบบ Proof-of-Work ต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการตรวจสอบธุรกรรม ดังนั้น Ethereum จึงเปลี่ยนระบบเป็น Proof-of-Stake เพราะสามารถลดพลังงานไปได้มากถึง 90% เมื่อเทียบกับกลไกเดิม เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2020 Ethereum ได้เริ่มต้นใช้ระบบ Proof-of-Stake โดยสร้าง Beacon Chain มาเป็นเชนคู่ขนานกับ Ethereum Blockchain ที่ยังเป็นระบบ Proof-of-Work อยู่ และในปัจจุบันมี Validator ที่ Stake เหรียญ ETH บนเครือข่ายกว่า 40,000 คน สำหรับ The Merge ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะมีการผสาน Beacon Chain และระบบ Proof-of-Work เข้าด้วยกันและเปลี่ยนระบบเป็น Proof-of-Stake อย่างเต็มรูปแบบ หลังจากการอัปเกรด The Merge เสร็จสิ้น นักขุด (Miner) ไม่ต้องตรวจสอบธุรกรรมอีกต่อไป เนื่องจาก Validator จะเป็นผู้ที่ตรวจสอบธุรกรรมแทน สำหรับการเป็น Validator ได้นั้นจะมีการต้อง Stake เหรียญ ETH บนเครือข่ายก่อน

The Merge คืออะไรและส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?

ภาพแสดงกระบวนการของ The Merge

เปลี่ยนแปลงกลไกจาก Proof-of-Work เป็น Proof-of-Stake

การเปลี่ยนไปใช้กลไก Proof-of-Stake ส่งผลให้เปลี่ยนผู้ตรวจสอบธุรกรรมด้วย โดยเปลี่ยนจากนักขุด (Miner) เป็น Validator ผู้ที่อยากจะเป็น Validator ได้นั้นจะต้อง Stake เหรียญ 32 ETH บนเครือข่ายเพื่อรัน Node และได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของ Block Rewards, Tips และ MEV จำนวนผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ที่เข้ามา Stake และปริมาณกิจกรรมบนเครือข่าย ดังนั้นเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนหรือ Yield จะอยู่ในช่วงระหว่าง 7% – 13% และสำหรับผู้ที่ Stake เหรียญไปแล้วจะต้องมีการเข้าคิวในการเป็น Validator ในปัจจุบันใช้ระยะเวลารอมากกว่า 2 อาทิตย์ ถ้าหากมี Validator หรือ Staker หน้าใหม่เข้ามาอาจจะทำให้ระยะเวลาในการรอคิวนานกว่าเดิม สำหรับใครที่มีทุนไม่เพียงพอหรือไม่ต้องการที่จะรับผิดชอบในการรัน Node ก็สามารถใช้บริการแพลตฟอร์ม Decentralized Exchange (DEX) ได้ แพลตฟอร์มจะทำหน้าที่เป็นตัวรวบรวมเหรียญ ETH เพื่อเป็น Validator Node และสำหรับผู้ที่ Stake เหรียญ ETH เข้ามาในแพลตฟอร์ม DEX จะได้รับเหรียญ stETH เป็นผลตอบแทนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 1 ETH และสามารถแลกคืนเป็น ETH ได้ก็ต่อเมื่อ The Merge เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีการกำหนดวันไว้อย่างแน่ชัด ตัวอย่างแพลตฟอร์ม DEX ที่เปิดให้บริการได้แก่ แพลตฟอร์ม Lido Finance, Rocketpool และ Stkr เป็นต้น

The Merge คืออะไรและส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?

ภาพแสดงปริมาณเหรียญ ETH ที่ถูก Stake ไว้บนเครือข่าย

ตั้งแต่ Ethereum ได้เปิดตัว Beacon Chain พบว่าจำนวนเหรียญ ETH ที่ถูก Stake ไว้บนเครือข่าย มีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันปริมาณเหรียญที่ถูกฝากไว้สะสมทั้งหมดมีประมาณ 10 กว่าล้าน ETH

The Merge คืออะไรและส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?

ภาพแสดงปริมาณเหรียญ ETH ที่ถูก Stake ไว้บน Decentralized Exchange

นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม Decentralized Exchange (DEX) ที่ได้รับความนิยมในการ Stake เหรียญ ETH จากกราฟพบว่าแพลตฟอร์ม Lido Finance เป็นแพลตฟอร์มที่มีจำนวน ETH ถูก Stake ไว้มากที่สุดจำนวน 4.1 ล้าน ETH (ณ วันที่ 17 มิถุนายน) ถือว่าแพลตฟอร์ม Lido Finance ครอง Market Share มากที่สุดในบรรดากลุ่มแพลตฟอร์ม DEX ที่ให้บริการ Staking ETH คิดเป็น 90.8% และตามมาด้วยแพลตฟอร์มอื่น ๆ อีก เช่น Rocketpool, Stakehound, Stkr และ Stakewise ตามลำดับ

จะเกิดอะไรขึ้นหลังจาก The Merge เสร็จสมบูรณ์

นอกจาก The Merge จะแก้ปัญหาด้านความสามารถในการขยายขนาด (Scalability) แล้ว ยังสามารถรองรับจำนวนธุรกรรมได้มากขึ้นและรวดเร็วมากขึ้นจากการใช้ Shard Chains ที่สามารถกระจายข้อมูลและขยายเครือข่ายได้ 64 Blockchain แต่ในปัจจุบันมี Layer-2 Blockchain ที่เข้ามาแก้ไขปัญหาด้านการปรับขนาดและมีค่าธรรมเนียมต่ำกว่า Ethereum เมื่อ The Merge เกิดขึ้นทาง Shard Chains จะสามารถทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยีของ Layer-2 ได้ด้วย

อุปทานเหรียญ Ethereum อาจเกิดภาวะเงินฝืด

โดยระบบ Proof-of-Work ทาง Miner จะได้รับผลตอบแทนจากการตรวจสอบธุรกรรม ซึ่งได้รับเหรียญ ETH ประมาณ 13,000 ETH/วัน ระบบ Proof-of-Work มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง เช่น ค่าอุปกรณ์ ค่าไฟ เป็นต้น ทำให้ Miner จำเป็นต้องเทขายเหรียญออกมาบางส่วนเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายและเกิดแรงขายเหรียญจากกลุ่ม Miner เมื่อ Ethereum เปลี่ยนระบบเป็น Proof-of-Stake โดยให้ผลตอบแทนหรือ Reward แก่ Validator เพียงแค่ 1,500 ETH/วัน ทำให้ปริมาณเหรียญที่ออกมาใหม่นั้นน้อยกว่าเดิมมาก อีกทั้งยังมีการเผาจากค่าธรรมเนียมอีก ในอนาคต Supply จะกลายเป็นภาวะเงินฝืด (Deflation) ถ้ามีจำนวนการใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า Validator หรือ Staker ได้รับปริมาณเหรียญลดลง แต่พวกเขาอาจจะไม่มีความจำเป็นต้องเทขายเหรียญออกมาก็ได้ เนื่องจากระบบ Proof-of-Stake ไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมากนัก เมื่อเทียบกับระบบ Proof-of-Work และอาจจะส่งผลดีต่อราคาเหรียญ ETH ในอนาคต

The Merge คืออะไรและส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?

ภาพเปรียบเทียบจำนวนเหรียญ Ethereum ทั้งก่อนและหลังอัปเกรด The Merge

สรุปแล้ว The Merge เป็นการผสานระบบ Proof-of-Work และ Beacon Chain เข้าด้วยกันเพื่อเปลี่ยนระบบเป็น Proof-of-Stake อย่างเต็มตัว การที่ Ethereum ย้ายระบบมาเป็น Proof-of-Stake ก็เพราะว่า Ethereum ต้องการที่จะเพิ่มการขยายขนาด (Scalability) อย่างที่ทุกคนทราบว่า Ethereum เผชิญกับปัญหานี้มานานมาก ดังนั้นจึงแก้ปัญหาด้วยการเพิ่ม Shard Chains เข้ามาเพื่อรองรับธุรกรรมให้มากขึ้น สำหรับกลไก Proof-of-Stake มีการให้ผลตอบแทนแก่ผู้ที่มา Stake เหรียญและทำให้จำนวนเหรียญที่ออกมานั้นลดลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อราคาเหรียญ

Zipmex


คำเตือน

การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง อาจสูญเสียเงินลงทุนผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูลรวมทั้งลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้