Fed ขึ้นดอกเบี้ยเป็นวิกฤติหรือโอกาส? ย้อนรอยสถิติตลาดหุ้นหลัง Fed ขึ้นดอกเบี้ย พร้อมจับตาอีก 2 ประเด็นที่กดดันตลาดหุ้นปีนี้อย่างน้ำมันแพง และเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ
เรื่องสำคัญที่นักลงทุนต่างจับตาในสัปดาห์นี้คือ การประชุม Fed ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 15-16 มี.ค. โดยมีความเป็นไปได้สูงมากที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยจากระดับใกล้ 0
อย่างที่รู้กันว่า ดัชนี S&P 500 พุ่งขึ้นเกือบ 90% จากระดับสูงสุดในเดือน มี.ค. 2020 คำถามคือ การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed จะทำให้ขาขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ จบลงหรือไม่?
📉 จากสถิติที่ผ่านมาพบว่า การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผันผวนก็จริง แต่ไม่ได้ทำให้ขาขึ้นของตลาดสิ้นสุดลง
ข้อมูลของ LPL Financial ระบุว่า ในการขึ้นดอกเบี้ยทั้งหมด 8 ครั้งก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ปี 1983 หรือย้อนหลังไป 39 ปี ดัชนี S&P 500 ปรับเพิ่มขึ้นทุกครั้งหลังการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกผ่านไป 1 ปี
โดยกลุ่มหุ้นที่มีผลการดำเนินงานดีสุดในดัชนี S&P 500 คือ ‘หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี’ ที่โดยเฉลี่ยรายปีปรับขึ้นมาเกือบ 21% ตามข้อมูลจาก Strategas Securities
🛢️ อีกประเด็นที่อาจตลาดหุ้นคือ “ราคาน้ำมันที่แพง” อยู่ตอนนี้
จากสถิติที่ผ่านมา หลังเกิดวิกฤติน้ำมันจะตามมาด้วยวิกฤติเศรษฐกิจทั้งในช่วงกลางทศวรรษ 1970 ต้นทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจที่ตกต่ำหลังจากนั้นเช่น เหตุการณ์ 911 ในปี 2011 และวิกฤติการเงินโลกปี 2008 ไม่ได้เกิดขึ้นจากราคาน้ำมันดิบที่แพงขึ้น
🗳️ อีกความท้าทายที่นักลงทุนต้องเผชิญคือ การเลือกตั้งมิดเทอมของสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย.
ซึ่งตามสถิติแล้วผลตอบแทนของตลาดจะลดลงจากความเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย แต่แรงกดดันดังกล่าวถูกหักล้างโดยราคาหุ้นที่มักจะแข็งแกร่งในช่วงปลายปี
เมื่อพิจารณาจากทั้ง 2 ปัจจัยแล้ว ข้อมูลของ LPL Financial ระบุว่า ดัชนี S&P 500 ลดลงมากกว่า 17% โดยเฉลี่ยในการเลือกตั้งมิดเทอม โดยไตรมาสที่ 1,2,และ 3 ของปีที่มีการเลือกตั้งมิดทเอม ถือเป็นช่วงที่อ่อนแอที่สุดของวาระปธน.สหรัฐฯ ทั้งหมด 4 ปี
——————-
- Facebook: https://finno.me/the-opp-fb
- Youtube: https://finno.me/youtube-channel