รายงานประชุม FOMC 27-28 ก.ค. สะท้อนท่าทีที่เปลี่ยนไปของเฟด จากเดิม behind the curve “ตามหลังเงินเฟ้อ” หันกลับมากระตือรือร้นมากขึ้นในการพยายามควบคุมระดับราคา แม้ไม่ถึงกับ “นำหน้าเงินเฟ้อ” (ahead of the curve) แต่ดูเหมือนเฟดจะเริ่ม “ไล่จับเงินเฟ้อ” ซึ่งเราตั้งชื่อเรียกเองว่า catch the curve
https://www.cnbc.com/2021/08/18/fed-minutes-july.html
“มองไปข้างหน้า กรรมการส่วนใหญ่ระบุ เศรษฐกิจค่อยๆขยายการฟื้นตัวเป็นวงกว้างตามที่คาดไว้ จึงคิดว่าน่าจะเหมาะสมที่จะเริ่มลด QE ในปีนี้” ถึงแม้เห็นตรงกันว่า การจ้างงานยังไม่ถึงระดับ “substantial further progress” ตามเงื่อนไขที่วางไว้สำหรับการพิจารณาขึ้นดอกเบี้ย
เฟดยืนยันชัดว่าแยก “QE Tapering” ออกจาก “การขึ้นดอกเบี้ย” ย้ำสองเรื่องนี้ไม่เชื่อมโยงกัน สอดคล้องกับคำกล่าวของบรรดากรรมการเฟดที่คาดว่าจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะลด QE ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
นักกลยุทธ์ KTAM มองว่า QE Tapering ปลายปีนี้-ต้นปีหน้า ดูเหมือนจะเกิดขึ้นแน่ๆเพื่อควบคุมระดับราคา สะท้อนท่าทีของเฟดที่เปลี่ยนไปกลายเป็นวิ่งไล่จับเงินเฟ้อหรือ catch the curve ดังกล่าว ขณะโควิดเดลตากระทบการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐมากกว่าที่คาดไว้ ล่าสุด Goldman Sachs หั่นประมาณการ GDP ไตรมาส 3 ของสหรัฐลงอีกครั้งเหลือ +5.5% จากเดิม +8.5%
https://twitter.com/carlquintanilla/status/1428120295932637188
เฟดเปลี่ยนท่าที เศรษฐกิจสหรัฐแผ่วมากกว่าคาด กระทบสมมุติฐานเดิมที่ตั้งไว้ ขณะมาตรการกระตุ้นของจีนอาจไม่สนับสนุนการขยายตัวของภาคอสังหาฯมากนักเพราะต้องการควบคุมความเสี่ยง นอกเหนือจากการลดผลิตเหล็กเส้นที่ดำเนินมาสักพักแล้วเพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อม กดดันความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์บางตัวเช่น สินแร่เหล็ก ในระยะสั้นถึงปานกลาง
https://www.bnnbloomberg.ca/iron-ore-s-plunge-deepens-as-bhp-flags-stern-test-from-china-1.1641363
สมมุติฐานใหม่ “เฟดเลิกตามหลังเงินเฟ้อ” น่าจะทำให้เงินเฟ้อต่ำลงกว่าคาด และ “ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงในระยะสั้นถึงปานกลาง” เพิ่มความเสี่ยงขาลงอย่างมีนัยสำคัญต่อราคา commodities รวมถึงหุ้นกลุ่มโลหะและเหมืองแร่ ถึงแม้ดีมานด์ระยะยาวของโลหะหลายชนิดจากปัจจัยหลักๆเช่น EV, Climate Change ยังคงแข็งแกร่ง แต่พฤติกรรมของหุ้นเหมืองในสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังบริษัทยักษ์ใหญ่เผยกำไรสูงประวัติการณ์และประกาศจ่ายปันผล กลับร่วงลงแรงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเฟดปรับโหมดคุมเงินเฟ้อจริงจัง น่าจะทำให้นักลงทุนโฟกัสปัจจัยระยะสั้น “ราคาโภคภัณฑ์ลง-ดีมานด์แผ่ว” มากกว่าปัจจัยระยะยาว downside “ความเสี่ยงขาลง” จึงเปิดกว้าง เพราะราคาหุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวขึ้นมามากในช่วงปีที่ผ่านมา
เราจึงต้องปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับ assumption ใหม่ให้ทันท่วงทีเพื่อลดความเสี่ยง โดยหยุดเข้าซื้อและลดสัดส่วนการลงทุน KT-MINING ส่วนการลงทุนอื่น ๆ เราไม่กังวลเพราะเมื่อเฟดชัดเจน เงินเฟ้อต่ำลง น่าจะช่วยคลายแรงกดดันด้านนโยบายรวมถึงสินทรัพย์กลุ่มอื่น ๆ ไปอีกสักพักใหญ่
สับเปลี่ยนออก KT-MINING ทั้งหมดไปเข้า KTSTPLUS
คำเตือน: ความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน
Krungthai Asset Management
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Krungthai Belief Allocation สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENAสำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Krungthai Belief Allocation คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก 1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”