FINNOMENA The Opportunity Morning Brief 16/08/2021
“โควิดกระทบเศรษฐกิจจีน ตลาดจับตาแบงก์ชาติจีนผ่อนคลายเพิ่ม”
ภาพความเคลื่อนไหวล่าสุดของตลาดหุ้นทั่วโลก
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Dow Jones +15.53 จุด (+0.04%) S&P500 +7.17 จุด (+0.16%) Nasdaq +6.60 จุด (+0.04%) Small Cap 2000 -22.41 จุด (-1.00%) VIX index อยู่ที่ 15.43 (-1.03%) Dow Jones และ S&P500 ทำ All time high ต่ออีกวัน
ตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 50 +3.37 จุด (+0.08%) Dax เยอรมัน +39.93 จุด (+0.25%) CAC 40 ฝรั่งเศส +13.57 จุด (+0.20%)
ตลาดหุ้นเอเชียล่าสุด (เช้าวันที่ 16 ส.ค. 2564) ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับลดแรงประมาณ 1.8% ตลาดหุ้นจีน CSI 300 เคลื่อนไหวในแดนบวก และตลาดหุ้นฮ่องกง (Hang Seng) เคลื่อนไหวในแดนลบ และ SET Index ล่าสุดติดลบประมาณ 10 จุด
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช้าวันที่ 16 ส.ค. 2564) ราคาทองคำ 1,781.55 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Silver ราคา 23.72 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ WTI 67.44 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Brent 69.81 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
ราคา Cryptocurrency (เช้าวันที่ 16 ส.ค. 2564) Bitcoin 47,860 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Ethereum 3,313.75 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Dogecoin 0.336396 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Binance Coin 416.12 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
ภาพรวมสินทรัพย์ทั่วโลกที่ปรับตัวได้ดีและแย่ที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ 3 อันดับแรก กลุ่มที่ปรับตัวในทิศทางบวก – ทองคำ (+2.9%), น้ำมัน (+2.3%) และหุ้นสหราชอาณาจักร (+1.6%) ปรับตัวในทิศทางลบ – หุ้นตลาดกำลังพัฒนา (-1.0%), ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (-0.5%) และตราสารหนี้ High Yield Bond (-0.1%)
ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวได้ดีและแย่ที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ 3 อันดับแรก กลุ่มที่ปรับตัวในทิศทางบวก – ตลาดหุ้นอินเดีย Nifty (+1.7%), ตลาดหุ้นอังกฤษ FTSE100 (+1.6%) และตลาดหุ้นเยอรมัน Dax (+1.5%) ปรับตัวในทิศทางลบ – ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ (-4.5%), ตลาดหุ้นเกาหลี (-2.7%)และตลาดหุ้นไต้หวัน (-2.6%)
GDP ของญี่ปุ่นประกาศออกมาที่ 1.3% ในไตรมาส 2 ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และดีกว่าไตรมาส 1 แต่ในไตรมาสต่อไป ตัวเลขมีโอกาสที่ต่ำลง หลังจากกลับมาใช้สถานการณ์ฉุกเฉิน และมีการล็อคดาวน์บางเมือง ทำให้มีโอกาสที่เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบ
ผลกระทบจาก COIVD-19 ระลอกใหม่ กระทบกับซัพพลายเชนโลก ทำให้การขนส่งหยุดชะงัก และต้นทุนเพิ่มขึ้น
ตัวเลขการส่งออกจากเอเชียหลายประเทศทำจุดสูงสุดใหม่ อาทิ จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และมาเลเซีย
ภาคการผลิตในหลายประเทศเริ่มโดนผลกระทบจากไวรัสสายพันธุ์ Delta ทำให้ดัชนี PMI ภาคการผลิตต่ำกว่า 50 จุด เช่น ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ประเทศที่ดัชนี PMI อยู่ในระดับสูง 2 ประเทศ คือ ไต้หวัน และอินเดีย ขณะที่เกาหลีใต้ แม้จะยังยืนอยู่เหนือ 50 จุด แต่มีทิศทางชะลอลง
จีนเริ่มกลับมาพบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ ทำให้เริ่มมีการออกมาเสนอให้ทางการจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ
สินเชื่อในภาคอสังหาริมทรัพย์จีนมีอัตราการเติบโตต่ำกว่าสินเชื่อรวมในปี 2021
ตัวเลขผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ของจีน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากจุดต่ำสุดในรอบ 1 ปี หลังจากมีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ
ตัวเลข NMI ของจีนอยู่ที่ระดับ 53.3 ขณะที่ตัวเลข PMI มีแนวโน้มชะลอลง แต่ยังอยู่เกินกว่าระดับ 50 จุด
อัตราส่วน RRR (Require Reserve Ratio) จีนปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดใหม่ตั้งแต่ปี 2007 เป็นสัญญาณให้เห็นถึงการส่งเสริมสภาพคล่องในระบบ
คาดการณ์ความน่าจะเป็นในการเกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจ (recession) ของจีนลดลงทำจุดต่ำสุด นับตั้งแต่เกิดวิกฤติ COVID-19
ตัวเลข MLF อายุ 1 ปี ของจีน อยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2016
ล่าสุดจีนประกาศตัวเลขยอดค้าปลีกเดือนกรกฎาคม +8.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ (+11%) ผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม +6.4% ต่ำกว่าคาดการณ์ (+7.8%) และตัวเลขการลงทุนในสินทรัพย์คงทน +10.3% ต่ำกว่าคาดการณ์ (+11.3%)
อินเดียประกาศแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 1.4 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ เน้นการพัฒนาพลังงานสะอาด แผนกระตุ้นนี้ยังช่วยส่งเสริมการจ้างงานในอินเดีย
คาดการณ์ GDP อินเดีย ปี 2021 ค่ากลางอยู่ที่ 19.1% ใน Q2, 8.0% ใน Q3 และ 6.0% ใน Q4 ราคาหุ้นอินเดีย (ดัชนี Nifty 50) เทียบกับ S&P500 อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย ขณะที่คาดการณ์กำไรเมื่อเทียบกับ S&P500 ทำได้ต่ำกว่า
ราคา Bitcoin ฟื้นตัว ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันแล้ว ภาพรวมตลาด cryptocurrency ทั่วโลก ทะลุ 2 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ แล้ว ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา Cardano และ Dogecoin ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นโดดเด่น
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในรายใหม่ไทยอยู่ที่ 21,157 ราย (ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 20,499 ราย จากในเรือนจำ 658 ราย) เสียชีวิตเพิ่ม 182 ราย หายป่วยกลับบ้าน 20,984 ราย ผู้ป่วยสะสม 899,451 ราย หายป่วยสะสม 682,220 ราย
The Opportunity
ผลตอบแทนกองทุนหุ้นเทคโนโลยีย้อนหลัง 3 ปี 3 อันดับแรก B-INNOTECH +27.60%, KT-WTAI-A +27.15% และ KF-GTECH +25.14% ตัวเลข Sharpe Ratio B-INNOTECH โดดเด่นที่สุด ที่ 1.35 รองลงมา คือ TISTECH-A ที่ 1.11
ในส่วนของ 3D Diagram B-INNOTECH โดดเด่นที่สุดเทียบกับ KT-WTAI-A และ KF-GTECH
B-INNOTECH เป็น Feeder Fund เน้นลงทุนใน Fidelity Funds – Global Technology Fund
Sector หลัก –Information Technology 74.4%, Consumer Services 10.3%, Consumer Discretionary 7.6% และ Industrials 4.5%
รายประเทศ – สหรัฐฯ 71.9%, เกาหลีใต้ 4.7%, เยอรมัน 4.6%, ญี่ปุ่น 4.1% และจีน 2.9%
หุ้น 5 อันดับแรก – Microsoft 9.07%, Apple 5.40%, Visa 4.36%, Salesforce.com 3.49% และ Alphabet 3.42%
ผลการดำเนินงานของกองทุนหลักเปรียบเทียบในด้านของความเสี่ยงและผลตอบแทนทำได้ดี มีผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปี และมีความผันผวนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปี
ผลการดำเนินงานกองทุนหลักทำได้ดีกว่าดัชนี Nasdaq ทั้งในรอบ 1 ปี (43.60% VS 33.18%) และ 5 ปี (195.49% VS 182.97%) (กองทุนหลักยังเปิดมาไม่ครบ 5 ปีเต็ม)