“อย่าซื้อ ฟาร์มมันซะ”
Andres Cronjre – Founder Yearn Finance
ถ้าใครที่ติดตามกระแสของโลก Defi นั้น เราอาจจะได้เห็นแพลตฟอร์มมากมายที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะ Sushi swap, Balancer, YFI, Curve, Uniswap, Compound ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถทำ Liquidity mining หรือ Yield Farming ได้ หรืออาจจะเรียกว่าเรามาเป็นชาวนากันเถอะ ซึ่งมันได้รับความนิยมอย่างมากในโลก Defi ปัจจุบันถึงขนาดที่มันเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่า Gas ใน Ethereum แพงขึ้นอย่างมหาศาลเลยทีเดียว
Yield Farming คืออะไร?
Yield Farming คือ รูปแบบการทำกำไรอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างคล้ายการ Staking แต่มันแตกต่างกันตรงที่ เงินที่เราเอาไปฝากนั้นถูกนำไปใช้ในระบบจริง ๆ เพราะมันจะกลายเป็น “สภาพคล่อง” ให้ระบบ ๆ นั้นใช้งาน และเราก็จะได้ผลตอบแทนจากระบบในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเหรียญ หรือ ค่าธรรมเนียมที่อาจจะมาจากการใช้งานจริง ๆ
Uniswap
Uniswap เป็นแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมและเปิดมานานที่สุดในโลกของ Defi และอาจเรียกได้ว่ามีความเสี่ยงน้อยที่สุดก็ว่าได้ เพราะในขณะที่แพลตฟอร์มอื่น ๆ นั้นทำการแจก Governance Token ที่มีมูลค่าขึ้นลง แต่ Uniswap นั้นจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้งานใช้เท่านั้น โดย Uniswap นั้นเป็น Dex ที่คิดค่าธรรมเนียม 0.3% และนำค่าธรรมเนียมนั้นมาจ่ายให้กับผู้ใช้งานที่ฝากสภาพคล่องแก่ Uniswap
ผลตอบแทน APY (ค่าธรรมเนียม):
- Stablecoin Pair: 5-20%
- Coin/Stablecoin: 20-70%
Balancer
Balancer นั้นเป็น Dex ที่เป็นรูปแบบของกองทุนในรูปแบบหนึ่ง มันมีความแตกต่างจาก Uniswap ตรงที่เราสามารถกำหนดสัดส่วนของคู่เหรียญได้ เช่น 95:5 ในขณะที่ Uniswap กำหนดไว้ที่ 50:50 และยังสามารถกำหนดค่า Fee เองได้อีกด้วย Balancer นั้นจะแจกทั้งค่าธรรมเนียมและ Governance Token อย่าง Bal อย่างไรก็ตามเนื่องจาก Smart Contract ที่ซับซ้อนนั้นทำให้ Balancer นั้นมีคนใช้งานน้อยกว่า Uniswap จากการที่ค่าธรรมเนียมนั้นแพงกว่า แต่โดยรวมแล้วให้ผลตอบแทนที่มากกว่า Uniswap แต่มีความเสี่ยงของมูลค่า Balancer
ผลตอบแทน APY (คิดจาก Bal ไม่รวมค่าธรรมเนียม):
- Stablecoin Pair: 5-50%
- Coin/Stablecoin: 20-50%
SushiSwap
SushiSwap นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดในช่วงเดือนสิงหาคม 2020 แม้ว่าตอนแรกจะโดนโจมตีว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ลอกเลียนแบบ Uniswap และนำโมเดลการแจก Governance Token ของ Compound มาใช้ ถึงขนาดโดนกล่าวหาว่าเป็นแพลตฟอร์ม Scam แต่ปัจจุบันหลังจากที่มีการเปลี่ยนผู้พัฒนา แนวทางการพัฒนาของตัวแพลตฟอร์มเองค่อนข้างดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และมีความชัดเจน ปัจจุบันรองรับเชนมากถึง 10 เชนด้วยกัน พร้อมทั้งยังมีการขยาย Product อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น Launchpad และกำลังจะมี Product ด้าน NFT เพิ่มขึ้นมา
ผลตอบแทน APY (Sushi Token):
- Stablecoin Pair: 5-20%
- Coin/Stablecoin: 20-50%
ฝากให้คิดกับ Yield Farming
ปัจจุบันมี DeFi platform เกิดขึ้นมากมายแตกออกเป็นการให้บริการหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แพลตฟอร์มการกู้ยืมเงิน, Decentralized Exchange หรือ Yield Aggregator แพลตฟอร์มที่เกิดใหม่หลาย ๆ แพลตฟอร์มก็จะนำโครงหรือรูปแบบการให้บริการเดิมไปใช้ บางแพลตฟอร์มก็จะมีการพัฒนาเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ขึ้นมาให้ดีขึ้น บางแพลตฟอร์มก็ก๊อปปี้แทบจะเหมือนกันเลย ในแพลตฟอร์มจำนวนมากนี้ผู้ลงทุนต้องกรอง และรู้จักคัดเลือกให้ดี เพราะอาจจะไปเจอแพลตฟอร์มที่มุ่งหวังจะมาขโมยเงินจากนักลงทุนเลยก็ได้
อย่างไรก็ตามในความยากย่อมมีโอกาสจากจำนวนผลิตภัณฑ์และบริการที่มากมายหลายรูปแบบ ทำให้เรามีโอกาสในการคัดเลือกแพลตฟอร์มที่ดีน่าเชื่อถือ และให้ผลตอบแทนที่สูงสุดแก่เราเช่นกัน
Bitcoin Addict
ที่มาบทความ https://bitcoinaddict.org/2020/09/04/what-is-yield-farming-the-way-to-make-profit-on-defi/
อ่านเพิ่มเติม DeFi คืออะไร? ทำความรู้จักกับโลกการเงิน ที่ไม่ต้องพึ่งธนาคาร
อ่านเพิ่มเติม ปรับ Mindset ก่อนลงทุนใน DeFi
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน