MBS คือ ตราสารทางการเงินชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการนำสินเชื่อบ้านที่ถูกคัดกรองแล้วมามัดรวมกันโดยสถาบันการเงินซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นคนกลางจับคู่นักลงทุนกับผู้กู้ยืม โดยนักลงทุนจะได้ประโยชน์จากการสร้างรายได้ต่อเนื่องผ่านผู้กู้ยืมที่ผ่อนชำระนั่นเอง
หัวใจสำคัญของ MBS ก็คือ “สินเชื่อบ้าน” ซึ่งหากเรามองในมุมง่าย ๆ สมัยก่อนเวลาเราอยากได้เงิน เราก็จะเดินไปที่ธนาคาร
ทางนายธนาคารก็จะทำการตรวจสอบว่า เราผ่อนจ่ายหนี้ให้เขาได้ไหม? รายได้ต่อเดือนเท่าไร? ทำอาชีพอะไร? ซึ่งถ้าผ่านเงื่อนไขเขาก็จะให้เงินก้อนกับเรามา และเราก็นำไปซื้อบ้าน
ถ้าคิดง่าย ๆ ก็คงจะเป็นเช่นนั้น แต่ MBS ในสมัยก่อนถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมก็ว่าได้ที่เข้ามา Disrupt โมเดลปล่อยกู้ เพราะ MBS เกิดขึ้นจากการที่สถาบันการเงินต่าง ๆ หรือนายธนาคารมารับซื้อ สินเชื่อบ้าน และนำไปรวมกันคล้าย ๆ กับกองทรัสต์ จนกลายเป็นตราสารอย่าง MBS ขึ้นมา
โดย MBS ก็จะนำเงินที่ผู้กู้ยืมไปซื้อบ้านผ่อนจ่ายมาเป็นงวด ๆ มาให้กับนักลงทุนอีกต่อหนึ่งคล้าย ๆ กับกระแสเงินสดแบบต่อเนื่อง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือนักลงทุนก็กลายเป็นผู้ปล่อยกู้ ที่มีลูกหนี้เป็นผู้ที่มาขอกู้กับธนาคารก่อนหน้า
ส่วนสถาบันทางการเงินก็ได้ประโยชน์จากการเก็บค่าดำเนินการจากการเป็นคนกลางนั่นเอง
หลัก ๆ แล้วมี 2 ประเภท คือ
นำสินเชื่อบ้านมามัดรวมกันเพื่อให้มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับลงทุน และนำเงินที่เจ้าของบ้านผ่อนมาให้กับนักลงทุนโดยตรง มีจุดประสงค์ของการรวมสินเชื่อเพื่อให้ได้ขนาดที่เพียงพอสำหรับการมัดรวมเป็น MBS
นำสินเชื่อบ้านที่มีความแตกต่างใน ดอกเบี้ย อายุ และความน่าเชื่อถือ หลากหลายรูปแบบมามัดรวมกัน มีจุดประสงค์ของการรวมสินเชื่อเพื่อผสมผสานสินเชื่อทั้งในรูปแบบปลอดภัยสูง และผลตอบแทนสูง ทำให้สร้างผลตอบแทนได้มากกว่า แต่ก็ชดเชยด้วยความเสี่ยงที่สูงกว่าแบบ Pass Throughs เช่นเดียวกัน
หลัก ๆ แล้วมี 2 ภาคส่วน คือ
ออกโดยรัฐและมีการประกันโดยรัฐบาลสหรัฐ เช่น Ginnie Mae เป็นต้น
ออกโดยสถาบันทางการเงินต่าง ๆ เช่น JPMorgan, Goldman Sachs เป็นต้น
มีมุมมองค่อนข้างบวกเกี่ยวกับสินทรัพย์เสี่ยงจากการที่เส้นผลตอบแทนปรับตัวขึ้นสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
แต่ถึงอย่างนั้นมาตรการกระตุ้นของธนาคารกลางทำให้มูลค่าของสินทรัพย์จำนวนมากเริ่มมีความตึงตัวในด้านมูลค่าและราคา
สินทรัพย์สร้างกระแสเงินสด (Fixed Income) แบบระยะสั้นที่มีแรงตอบสนองน้อยกับการปรับตัวขึ้นของเส้นผลตอบแทนอาจมีความน่าสนใจ เช่น MBS ในหมวดที่อยู่อาศัยจากหน่วยงานเอกชน ที่มีแรงสนับสนุนจากยอดการขายบ้านใหม่ที่ปรับตัวขึ้น 8.20% และยอดการสมัครสินเชื่อบ้านที่ 9.80% ในช่วงที่ผ่านมา
ช่วงที่ผ่านมาผลจากภาวะดอกเบี้ยต่ำทำให้ 80% ของสินเชื่อในส่วนนี้ทำการ refinance เพื่อลดดอกเบี้ยจึงอาจทำให้กระแสเงินสดใน mbs ลดลง
อย่างไรก็ตามตัวเลขในส่วนนี้เริ่มลดลงมาที่ 60% จึงเป็นแรงหนุนให้กับภาคส่วนนี้ และมีแรงสนับสนุนจากการเข้าซื้อของ Fed ซึ่งอาจดำเนินไปจนถึงสิ้นปี และค่อย ๆ ลดลงจนสร้างแรงกดดันกับสินทรัพย์ในส่วนนี้
MBS เป็นอีกหนึ่งตราสารที่ผู้คนอาจจะมองข้ามกันไป แต่ถึงอย่างนั้น MBS ก็เป็นตราสารที่มีความเสี่ยงเทียบผลตอบแทนที่ดี รวมถึงเคลื่อนที่ตรงกันข้ามกับหุ้นและตราสารหนี้ในรูปแบบอื่น ๆ จึงอาจเป็นสินทรัพย์สำหรับกระจายการลงทุนที่ไม่ควรมองข้ามเช่นเดียวกัน
UGIS-N (สร้างผลตอบแทน) และ UGIS-A (จ่ายกระแสเงินสด)
กองทุนทั้งสองเป็นกองทุนที่ถูกบริหารโดย PIMCO กองทุนที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารสินทรัพย์จำพวกตราสารหนี้โดยเฉพาะ แต่ถึงอย่างนั้นเอง สัดส่วนปัจจุบันนั้นมีการลงทุนใน MBS แบบ Agency Mortgage-Backed Securities เป็นหลัก ซึ่งเป็น MBS ที่ออกโดยหน่วยงานของภาครัฐ
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ
เรียบเรียงและจัดทำโดย Mr. Serotonin
เนื้อหาต้นฉบับโดย Sonal Desai, CFA
Chief Investment Officer, Franklin Templeton
David Yuen
Director of Multi-Sector Strategy, Franklin Templeton
John Beck
Director of Global Fixed Income, Franklin Templeton
และ
David Zahn
Head of European Fixed Income, Franklin Templeton
https://www.diamond-hill.com/insights/a-124/benefits-of-investing-in-mortgage-backed-securities.fs
ข้อสงวนสิทธิ์
แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ไม่รับผิดใด ๆ ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ เว็บไซต์ หรือเนื้อหาใด ๆ ที่ได้จัดทำหรือปรากฏในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอกนั้น อีกทั้ง Franklin Templeton ไม่ได้ให้คำรับรอง รับประกัน หรือเป็นตัวแทน ไม่ว่าจะโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายในเนื้อหาหรือความถูกต้องของข้อมูลในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอก และไม่รับผิดต่อสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น
ในกรณีที่มีความแตกต่างกันระหว่างเอกสารภาษาอังกฤษกับการแปลเป็นภาษาไทย ให้ยึดถือตามเอกสารภาษาอังกฤษ
แหล่งข้อมูล
Franklin Templeton Academy
Article, FINNOMENA Franklin Templeton, Knowledge, Long Content, Picture Slide, ศัพท์การเงิน
สวัสดีครับทุกคน ปัจจุบันผมสนใจทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนเชิงเทคนิค และการวิเคราะห์เศรษฐกิจในระดับประเทศ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนครับ