หุ้นปลอดภัย (Defensive Stock) คือหุ้นของกิจการที่มีผลดำเนินงานค่อนข้างสม่ำเสมอ มั่นคง ไม่ค่อยแปรผันไปตามเศรษฐกิจ จึงเป็นที่ต้องการของนักลงทุนและมักสร้างผลตอบแทนเหนือตลาด (outperform) ในช่วงเศรษฐกิจขาลงหรือมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น เมื่อได้ยินคำว่า defensive stocks คนส่วนใหญ่จึงนึกถึงหุ้นของบริษัทที่ขายสิ่งจำเป็น อาทิ สินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นต่อการดำรงชีวิต (consumer staples) สาธารณูปโภค (utilities) ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
Defensive มิได้จำกัดอยู่แค่ “สิ่งจำเป็น” แต่กว้างกว่านั้นคือ “ความแน่นอน” ต่างหากที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไขว่คว้าเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอน จำได้หรือไม่? หุ้นของบรรดาบริษัทยักษ์จ้าวเทคโนโลยีถูกใช้เป็น new defensive หุ้นปลอดภัยยุค new normal เพราะท่ามกลางความไม่แน่นอนสูงเศรษฐกิจหยุดชะงักจาก lockdown ตลาดมั่นใจว่า big tech เหล่านี้กำไรโตค่อนข้างแน่ จึงโถมเข้าไปซื้อจนกลายเป็นธีมใหญ่แห่งปี 2020 สร้างผลตอบแทนสูง เทียบกับเศรษฐกิจจริงที่ถดถอยรุนแรงแล้วราวกับหนังคนละม้วน
ปัจจุบันปี 2021 หลายปัจจัยเปลี่ยนไปรวมถึง “นโยบายรัฐ” จากเดิมพิมพ์เงินแจกปฐมพยาบาลเศรษฐกิจ แต่ในไม่ช้าสหรัฐอาจต้องขึ้นภาษีเพื่อจัดหาเงินไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ภาษีสูงขึ้นกดดันกำไรบริษัทและราคาหุ้นโดยภาพรวมก็จริง แต่เกมนี้มี “ผู้ชนะ” ชัดเจนได้แก่บรรดาธุรกิจ “ลดโลกร้อน” เพราะ Climate Change คือหัวใจของเมกะโปรเจคดังกล่าว ปธน.โจ ไบเดนผลักดันแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Bill) $2 ล้านล้าน มิใช่แค่สร้างถนนซ่อมสะพานดังเช่นในอดีต แต่มุ่งแก้ปัญหา “การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ” (Climate Change)
รัฐบาลทั่วโลกทุ่มงบมหาศาลลงทุนสารพัดโครงการ Climate Change หลายประเทศเพิ่งเห็นความสำคัญหันมาเข้าร่วม แนวโน้มดังกล่าวคงทวีความเข้มข้นต่อไปอีกหลายปีหรือหลายสิบปีข้างหน้า จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายตาม “ข้อตกลงปารีส” (Paris Agreement) ซึ่งมุ่งขจัดการปล่อยก๊าซ CO2 ให้เหลือศูนย์ (net zero) และจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในกลางศตวรรษ
ฟินแลนด์ เทงบช่วยเหลือที่ได้จากอียูเข้าลงทุนโครงการ Climate Change วงเงินสูงเป็นประวัติการณ์
Climate: The New Defensive งบประมาณภาครัฐทั่วโลกมุ่งสนับสนุนโครงการลดโลกร้อนต่อไปอีกหลายปีหรือหลายสิบปีข้างหน้า Climate Change จึงมาแรงแซงทุกธีมลงทุนเข้าข่ายหุ้น defensive บนแนวโน้มความ “แน่นอน” ดังกล่าว
กองทุนเปิดเคแทม โกลบอล ไครเมท เชนจ์ อิควิตี้ ฟันด์ (KT-CLIMATE-A) เน้นลงทุนในหน่วยของ Schroder International Selection Fund Global Climate Change Equity (กองทุนหลัก) เชื่อว่าธุรกิจที่ตระหนักถึงภัยคุกคามของการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศและปรับตัวตั้งแต่ต้น จะได้ประโยชน์จากการเติบโตเชิงโครงสร้างระยะยาว กองทุนหลักคัดเลือกหุ้นโดยอิงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) สร้างโอกาสระดับ Unstoppable Megatrend รับพลังสนับสนุนจากภาครัฐ มุ่งพัฒนาสิ่งแวดล้อม พร้อมก่อกำเนิดเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
สับเปลี่ยนทั้งหมด (10%) ออกจาก KTSTPLUS-A ไปเข้า KT–CLIMATE-A
Krungthai Asset Management
สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Krungthai Belief Allocation สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >> เว็บไซต์ FINNOMENAสำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Krungthai Belief Allocation คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน
โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก 1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT |
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”